พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ต้องพิสูจน์ว่าผลิตภัณฑ์นั้นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตอันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้รับใบอนุญาตให้ทำมิได้ทำให้เป็นไปตามมาตรฐานตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฯเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหล็กเส้นของกลางไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ผู้รับใบอนุญาตให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเป็นผู้ผลิต แต่ผลิตโดยบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตเหล็กเส้นธรรมดา ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม่ได้มาตรฐาน จำเลยต้องพิสูจน์ได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตอันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้รับใบอนุญาตให้ทำมิได้ทำให้เป็นไปตามมาตรฐานตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฯเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหล็กเส้นของกลางไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ผู้รับใบอนุญาตให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเป็นผู้ผลิตแต่ผลิตโดยบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตเหล็กเส้นธรรมดาข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบการสถานการค้าประเวณีและประเด็นการแสวงหาผลประโยชน์จากอาชีพอื่นที่ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
แม้จำเลยอายุเกิน 16 ปีซึ่งเป็นผู้ดูแลจัดการสถานการค้าประเวณีได้รับส่วนแบ่งจากการค้าประเวณีของหญิงที่ค้าประเวณี แต่จำเลยก็ประกอบอาชีพอื่นอยู่ด้วยคือขายผ้าและน้ำปลามีรายได้เดือนละ5-6 พันบาท แสดงว่าจำเลยมีรายได้จากการค้าขาย และไม่ปรากฏว่ารายได้ดังกล่าวไม่เพียงพอสำหรับดำรงชีพ ถึงจำเลยจะได้รับส่วนแบ่งจากหญิงซึ่งค้าประเวณีก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 286
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการจำนอง: การตีความสัญญาประกันหนี้ที่ยังมิได้เกิดขึ้น โดยคำนึงถึงเจตนาของคู่สัญญาและหลักประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ขณะจำเลยที่ 4 ที่ 5 ทำสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินกับโจทก์เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เฉพาะหนี้ตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ส่วนหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค ยังไม่เกิดขึ้น เพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งทำสัญญาขายลดเช็ค กับโจทก์ในภายหลัง อีกทั้งข้อความตามสัญญาต่อท้าย สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันมีข้อความว่า ประกันเงินที่ เบิกไปจากผู้รับจำนองเกินกว่ายอดเงินในบัญชีหรือเงินที่ เป็นหนี้อยู่ในเวลานี้หรือเป็นต่อไปในภายหน้า ย่อมมี ความหมายถึงหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยตรงหาใช่หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือหนี้อื่นที่ยังมิได้ เกิดขึ้นแต่อย่างใดไม่ และตามหนังสือสัญญาจำนองก็ ระบุถึงหนี้ที่รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือเวลาใดต่อไป ภายหน้า ก็หมายถึงกำหนดเวลา มิได้หมายถึงลักษณะของหนี้ ไม่มีข้อความที่ระบุให้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือ หนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดมีขึ้นภายหน้า การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ท่านให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้อง เสียในมูลหนี้นั้น ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 การที่ตีความถึงเจตนา ให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสีย ในมูลหนี้จึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นต้องฟัง ว่าสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อ ท้ายสัญญาจำนองที่ดินไม่ได้ ประกันถึงหนี้ที่เกิดจากสัญญาขายลดเช็คซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสัญญาจำนอง: การคุ้มครองหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลัง และหลักการตีความสัญญาที่เป็นคุณแก่ผู้เสีย
ขณะจำเลยที่ 4 ที่ 5 ทำสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินกับโจทก์เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เฉพาะหนี้ตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ส่วนหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คยังไม่เกิดขึ้น เพราะจำเลยที่ 1เพิ่งทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์ในภายหลัง อีกทั้งข้อความตามสัญญาต่อท้าย สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันมีข้อความว่าประกันเงินที่เบิกไปจากผู้รับจำนองเกินกว่ายอดเงินในบัญชีหรือเงินที่ เป็นหนี้อยู่ในเวลานี้หรือเป็นต่อไปในภายหน้า ย่อมมี ความหมายถึงหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยตรง หาใช่หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือหนี้อื่นที่ยังมิได้ เกิดขึ้นแต่อย่างใดไม่ และตามหนังสือสัญญาจำนองก็ระบุถึงหนี้ที่รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือเวลาใดต่อไป ภายหน้า ก็หมายถึงกำหนดเวลา มิได้หมายถึงลักษณะของหนี้ ไม่มีข้อความที่ระบุให้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือ หนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดมีขึ้นภายหน้า การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ท่านให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเสียในมูลหนี้นั้น ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 การที่ตีความถึงเจตนา ให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้จึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นต้องฟัง ว่าสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินไม่ได้ ประกันถึงหนี้ที่เกิดจากสัญญาขายลดเช็คซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดและเบิกเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยถูกต้องตามกฎหมายและสิทธิเรียกร้อง
จำเลยทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มี เงื่อนไขเพียงว่า ถ้าหากธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกิน จำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของจำเลยไป จำเลยยอมใช้เงิน ส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยใน อัตราสูงสุดตามกฎหมายนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงิน โจทก์จำเลยหาได้มีเจตนาตกลงกันโดยตรงว่า สืบแต่นั้น ไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชี หนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหักกลบลบกันคงชำระ แต่ส่วน ที่เหลืออันเป็นลักษณะสำคัญของบัญชีเดินสะพัดไม่ และถือ ไม่ได้ว่าเป็นการค้าอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้น อันจะคิดดอกเบี้ยทบต้นกันได้ จึงไม่เข้าเงื่อนไขเป็น บัญชีเดินสะพัด หรือเป็นการค้าขายอย่างอื่นทำนองเดียวกันนี้ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลย คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันกล่าวถึงการคิดดอกเบี้ยไว้เพียงว่าคิดดอกเบี้ยกันในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย ทั้งกรณีมิใช่เรื่องกู้ยืมเงินและไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้สูงสุดในอัตราเท่าใด จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 คือโจทก์มีสิทธิคิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินจำนวนที่เกินบัญชีนั้นเป็นต้นไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1587/2523) จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันต่อธนาคารโจทก์ตั้งแต่วันที่7 พฤษภาคม 2519 ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และนำที่ดินมาจำนอง เป็นประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาจำนองโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในจำนวนเงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้จำเลยไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 เป็นต้นไป ยอดเงินที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลย เป็นยอดเงินที่คิดดอกเบี้ยมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาตั้งแต่วันที่จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันตลอดมา หาได้คิด ตามสิทธิควรได้ดังกล่าวไม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีมาไม่ถูกต้อง ไม่ได้คิดแยกยอดเงินที่ควรได้รับ นับจากจำเลยขอเปิดบัญชีกระแสรายวันจนถึงวันทำสัญญาขอ กู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ว่าเป็นยอดเงินเท่าใดปรากฏว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คหลายร้อยฉบับ และโจทก์จ่ายเงินเกินบัญชี ให้ไปซึ่งศาลไม่มีหน้าที่จะต้องคิดยอดเงินดังกล่าวให้โจทก์เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องคิดยอดมาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในฟ้องเพื่อให้โจทก์จำเลยได้ตรวจสอบโต้แย้งว่าคิดถูกต้องหรือไม่เพียงใด ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมด โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัด-เบิกเกินบัญชี: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญาและกฎหมาย
จำเลยทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มีเงื่อนไขเพียงว่า ถ้าหากธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกิน จำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของจำเลยไป จำเลยยอมใช้เงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมายนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงิน โจทก์จำเลยหาได้มีเจตนาตกลงกันโดยตรงว่า สืบแต่นั้น ไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหักกลบลบกันคงชำระแต่ส่วน ที่เหลืออันเป็นลักษณะสำคัญของบัญชีเดินสะพัดไม่และถือ ไม่ได้ว่าเป็นการค้าอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้น อันจะคิดดอกเบี้ยทบต้นกันได้ จึงไม่เข้าเงื่อนไขเป็นบัญชีเดินสะพัดหรือเป็นการค้าขายอย่างอื่นทำนองเดียวกันนี้ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลย
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันกล่าวถึงการคิดดอกเบี้ยไว้เพียงว่าคิดดอกเบี้ยกันในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย ทั้งกรณีมิใช่เรื่องกู้ยืมเงินและไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้สูงสุดในอัตราเท่าใด จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7คือโจทก์มีสิทธิคิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินจำนวนที่เกินบัญชีนั้นเป็นต้นไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1587/2523)
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันต่อธนาคารโจทก์ตั้งแต่วันที่7 พฤษภาคม 2519 ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และนำที่ดินมาจำนอง เป็นประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาจำนองโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในจำนวนเงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้จำเลยไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 เป็นต้นไป ยอดเงินที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลย เป็นยอดเงินที่คิดดอกเบี้ยมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาตั้งแต่วันที่จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันตลอดมา หาได้คิดตามสิทธิควรได้ดังกล่าวไม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีมาไม่ถูกต้อง ไม่ได้คิดแยกยอดเงินที่ควรได้รับ นับจากจำเลยขอเปิดบัญชีกระแสรายวันจนถึงวันทำสัญญาขอ กู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ว่าเป็นยอดเงินเท่าใด ปรากฏว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คหลายร้อยฉบับ และโจทก์จ่ายเงินเกินบัญชีให้ไป ซึ่งศาลไม่มีหน้าที่จะต้องคิดยอดเงินดังกล่าวให้โจทก์เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องคิดยอดมาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในฟ้อง เพื่อให้โจทก์จำเลยได้ตรวจสอบโต้แย้งว่าคิดถูกต้องหรือไม่เพียงใด ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมด โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันกล่าวถึงการคิดดอกเบี้ยไว้เพียงว่าคิดดอกเบี้ยกันในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย ทั้งกรณีมิใช่เรื่องกู้ยืมเงินและไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้สูงสุดในอัตราเท่าใด จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7คือโจทก์มีสิทธิคิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินจำนวนที่เกินบัญชีนั้นเป็นต้นไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1587/2523)
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันต่อธนาคารโจทก์ตั้งแต่วันที่7 พฤษภาคม 2519 ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และนำที่ดินมาจำนอง เป็นประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาจำนองโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในจำนวนเงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้จำเลยไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 เป็นต้นไป ยอดเงินที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลย เป็นยอดเงินที่คิดดอกเบี้ยมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาตั้งแต่วันที่จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันตลอดมา หาได้คิดตามสิทธิควรได้ดังกล่าวไม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีมาไม่ถูกต้อง ไม่ได้คิดแยกยอดเงินที่ควรได้รับ นับจากจำเลยขอเปิดบัญชีกระแสรายวันจนถึงวันทำสัญญาขอ กู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ว่าเป็นยอดเงินเท่าใด ปรากฏว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คหลายร้อยฉบับ และโจทก์จ่ายเงินเกินบัญชีให้ไป ซึ่งศาลไม่มีหน้าที่จะต้องคิดยอดเงินดังกล่าวให้โจทก์เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องคิดยอดมาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในฟ้อง เพื่อให้โจทก์จำเลยได้ตรวจสอบโต้แย้งว่าคิดถูกต้องหรือไม่เพียงใด ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมด โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3286/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธความถูกต้องของลายมือชื่อในสัญญากู้ และผลต่อความสมบูรณ์ของหนี้
จำเลยให้การว่าลายเซ็นในสัญญากู้ไม่ใช่ของจำเลย สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม คำให้การดังนี้เป็นการปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของสัญญากู้และอ้างว่าหนี้นั้นไม่สมบูรณ์ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า จำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริงหรือไม่ เมื่อจำเลยนำสืบและคดีฟังได้ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นของจำเลยแต่จำเลยมิได้เขียนข้อความในสัญญากู้ เท่ากับสัญญากู้ไม่ถูกต้อง หนี้ตามสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ จำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ไปจริงดังฟ้อง กรณีจึงหาเป็นการนำสืบและรับฟังนอกประเด็นไปจากข้อต่อสู้ในคำให้การไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3286/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีโดยปฏิเสธความถูกต้องของเอกสารสัญญากู้ และการนำสืบข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับคำให้การเดิม แม้จะมีการยอมรับลายเซ็น
จำเลยให้การว่าลายเซ็นในสัญญากู้ไม่ใช่ของจำเลยสัญญากู้เป็นเอกสารปลอม คำให้การดังนี้เป็นการปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของสัญญากู้และอ้างว่าหนี้นั้นไม่สมบูรณ์ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า จำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริงหรือไม่ เมื่อจำเลยนำสืบและคดีฟังได้ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นของจำเลยแต่จำเลยมิได้เขียนข้อความในสัญญากู้เท่ากับสัญญากู้ไม่ถูกต้อง หนี้ตามสัญญากู้ไม่สมบูรณ์จำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ไปจริงดังฟ้อง กรณีจึงหา เป็นการนำสืบและรับฟังนอกประเด็นไปจากข้อต่อสู้ในคำให้การ ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงินปลอม: โจทก์ฟ้องผิดฐาน ไม่มีสิทธิเรียกร้องหนี้จากจำเลย
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินปลอม โดยปลอมทั้งลายมือชื่อผู้ออกตั๋วและปลอมตราประทับ ซึ่ง ไม่ใช่ตราของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 ตามคำฟ้อง คำให้การ มิได้กล่าวอ้างถึงข้อต่อสู้ตามข้อยกเว้นตอนท้าย ของ มาตรา 1008 ที่ว่า เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึง ถูกยึดหน่วง หรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็น ผู้ต้องตัดบทมิ ให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อ ปราศจากอำนาจ นั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้เลย คดีจึงไม่มี ประเด็นที่ศาล จะวินิจฉัยไปถึงว่า เมื่อฟังว่าลายมือ ในตั๋วปลอมแล้ว จำเลยจะต้องรับผิดเพราะเหตุที่อยู่ ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบท มิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมนั้น เป็นข้อต่อสู้อีก เพราะเป็น การวินิจฉัยนอกประเด็นพิพาท