พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากแพคกิ้งเครดิต: ไม่ถือเป็นกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
โจทก์เป็นตัวแทนของโรงงานน้ำตาลในการจัดส่งน้ำตาลไปจำหน่าย ยังต่างประเทศและบริษัทเจ้าของโรงงานน้ำตาลต่างเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ โจทก์ทำสัญญาขายน้ำตาลกับผู้ซื้อในนามของโจทก์ และผู้ซื้อเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสำหรับราคาน้ำตาลมาในนามของโจทก์ เงินที่โจทก์ให้โรงงานน้ำตาลกู้เป็นเงินที่โจทก์ได้มาจากการนำเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวแล้วไปทำแพคกิ้งเครดิตกับธนาคาร โดยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารในอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี คณะกรรมการบริษัทโจทก์มีมติให้โรงงานน้ำตาลจ่ายค่าบริการแก่โจทก์ร้อยละ 0.5 ต่อปี โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยจากโรงงานน้ำตาลในอัตราร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร แม้การกระทำของโจทก์จะเข้าลักษณะเป็นการกู้เงินจากธนาคารแล้วนำมาให้กู้ต่อโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน ก็เป็นการให้กู้แก่โรงงานน้ำตาลซึ่งโจทก์เป็นตัวแทนโดยเฉพาะ และให้กู้ด้วยเงินที่ได้จากการทำแพคกิ้งเครดิตเพื่อช่วยเหลือให้โรงงานน้ำตาลมีเงินทุนหมุนเวียนก่อนที่จะได้รับชำระราคาน้ำตาลตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หาใช่เป็นการกู้เพื่อหาประโยชน์โดยทั่วไปไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์อันเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ดังนั้น การประเมินของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้า: การกู้เงินเพื่อช่วยเหลือโรงงานน้ำตาล ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคาร
โจทก์เป็นตัวแทนของโรงงานน้ำตาลในการจัดส่งน้ำตาลไปจำหน่ายยังต่างประเทศและบริษัทเจ้าของโรงงานน้ำตาลต่างเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ โจทก์ทำสัญญาขายน้ำตาลกับผู้ซื้อในนามของโจทก์ และผู้ซื้อเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสำหรับราคาน้ำตาลมาในนามของโจทก์ เงินที่โจทก์ให้โรงงานน้ำตาลกู้เป็นเงินที่โจทก์ได้มาจากการนำเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวแล้วไปทำแพคกิ้งเครดิตกับธนาคาร โดยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารในอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี คณะกรรมการบริษัทโจทก์มีมติให้โรงงานน้ำตาลจ่ายค่าบริการแก่โจทก์ร้อยละ 0.5 ต่อปี โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยจากโรงงานน้ำตาลในอัตราร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร แม้การกระทำของโจทก์จะเข้าลักษณะเป็นการกู้เงินจากธนาคารแล้วนำมาให้กู้ต่อโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน ก็เป็นการให้กู้แก่โรงงานน้ำตาลซึ่งโจทก์เป็นตัวแทนโดยเฉพาะ และให้กู้ด้วยเงินที่ได้จากการทำแพคกิ้งเครดิตเพื่อช่วยเหลือให้โรงงานน้ำตาลมีเงินทุนหมุนเวียนก่อนที่จะได้รับชำระราคาน้ำตาลตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หาใช่เป็นการกู้เพื่อหาประโยชน์โดยทั่วไปไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์อันเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ดังนั้น การประเมินของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ผลกระทบของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และการคำนวณค่าเสียหาย
จำเลยที่ 4 ลูกจ้างจำเลยที่ 3 ขับรถเฉี่ยวชนกับรถที่ น.ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับสวนทางมาเป็นเหตุให้ ส.ภริยาโจทก์ในรถที่ น.ขับถึงแก่ความตายจำเลยที่ 4 ถูกฟ้อง ศาลมีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วว่า จำเลยที่ 4 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คำพิพากษามีผลผูกพันเฉพาะโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย หาผูกพัน น. หรือจำเลยที่ 2 นายจ้างของ น. ซึ่งมิใช่คู่ความในคดีอาญาด้วยไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงอาจนำสืบต่อสู้ได้ว่าความเสียหายเกิดขึ้นจากความผิดของจำเลยที่ 4. มิใช่เกิดจากความผิดของ น.เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า น. ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ส.ภริยาโจทก์ตายจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างของตนได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพและค่าปลงศพผู้ตาย โจทก์ในฐานะทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะเรียกได้
ค่าขาดสิทธิที่โจทก์จะได้รับอุปการะเลี้ยงดูจาก ส.ผู้ตายมีตามกฎหมาย โดยไม่จำต้องคำนึงถึงความเป็นจริง จึงไม่ต้องพิจารณาว่าขณะถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย ส.มีรายได้และให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์หรือไม่
ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพและค่าปลงศพผู้ตาย โจทก์ในฐานะทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะเรียกได้
ค่าขาดสิทธิที่โจทก์จะได้รับอุปการะเลี้ยงดูจาก ส.ผู้ตายมีตามกฎหมาย โดยไม่จำต้องคำนึงถึงความเป็นจริง จึงไม่ต้องพิจารณาว่าขณะถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย ส.มีรายได้และให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในสัญญาประกันภัยและการระบุตัวนิติบุคคลผู้เอาประกันภัยที่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในมูลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำในทางการที่จ้างของลูกจ้างจำเลยที่ 1 แต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด ก ความจริงจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ก และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าไม่มีการจดทะเบียนในนามห้างหุ้นส่วนจำกัด ก เช่นนี้จึงเป็นเพียงโจทก์ฟ้องโดยเรียกชื่อประเภทนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ผิดไป มิใช่เป็นการฟ้องนิติบุคคลผิดตัวจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของบริษัทประกันภัยเมื่อมีการระบุประเภทนิติบุคคลของลูกหนี้ผิดพลาด ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริงและเจตนาของผู้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในมูลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำในทางการที่จ้างของลูกจ้างจำเลยที่ 1 แต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ความจริงจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ก. และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าไม่มีการจดทะเบียนในนามห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เช่นนี้ จึงเป็นเพียงโจทก์ฟ้องโดยเรียกชื่อประเภทนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ผิดไป มิใช่เป็นการฟ้องนิติบุคคลผิดตัว จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2990/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานที่เกิดความผิดฐานออกเช็คเด้ง คือสถานที่ตั้งธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่สถานที่ออกเช็ค
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้น ความผิดเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค สถานที่ตั้งของธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น เมื่อธนาคารซึ่งปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่ที่อำเภอกบินทร์บุรีจังหวัดปราจีนบุรี จึงต้องถือว่าความผิดเกิดขึ้นในท้องที่อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี หาใช่เกิดขึ้น ณ สถานที่เขียนเช็คสั่งจ่ายเงินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2990/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานที่เกิดความผิดเช็ค: ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นหลัก
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้น ความผิดเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค สถานที่ตั้งของธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้นเมื่อธนาคารซึ่งปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่ที่อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จึงต้องถือว่าความผิดเกิดขึ้นในท้องที่อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี หาใช่เกิดขึ้น ณสถานที่เขียนเช็คสั่งจ่ายเงินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทต้องมีผลกระทบต่อผลคดี สัญญาเช่าสิ้นสุด ผู้รับโอนสิทธิไม่ผูกพันสัญญาพิเศษ
ในการกำหนดประเด็นข้อพิพาท ศาลย่อมคำนึงว่าข้ออ้างข้อเถียงที่จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทจะต้องมีผลกระทบกระเทือนถึงผลแห่งคดี ถ้าข้อโต้เถียงใดไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผลแห่งคดี ย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทให้คู่ความนำสืบ
คดีฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากห้องพิพาท โจทก์มีโฉนดที่ดินและหนังสือสัญญาซื้อขายซึ่งทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงโดยแจ้งชัดว่า โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพร้อมด้วยห้องพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม การที่จำเลยเถียงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมไม่ใช่เจ้าของที่ดินรวมทั้งห้องพิพาท จึงเป็นการดึงดันเถียงโดยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลสั่งตัดพยานจำเลยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 แล้ว
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับเจ้าของเดิมสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว ถึงหากจำเลยจะมีสัญญาต่างตอบแทนกับเจ้าของเดิมยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา สัญญานั้นก็คงผูกพันเฉพาะคู่สัญญาโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทคงรับโอนมาเฉพาะสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 หาถูกผูกพันตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษนั้นด้วยไม่
คดีฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากห้องพิพาท โจทก์มีโฉนดที่ดินและหนังสือสัญญาซื้อขายซึ่งทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงโดยแจ้งชัดว่า โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพร้อมด้วยห้องพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม การที่จำเลยเถียงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมไม่ใช่เจ้าของที่ดินรวมทั้งห้องพิพาท จึงเป็นการดึงดันเถียงโดยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลสั่งตัดพยานจำเลยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 แล้ว
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับเจ้าของเดิมสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว ถึงหากจำเลยจะมีสัญญาต่างตอบแทนกับเจ้าของเดิมยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา สัญญานั้นก็คงผูกพันเฉพาะคู่สัญญาโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทคงรับโอนมาเฉพาะสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 หาถูกผูกพันตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษนั้นด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าหลังการซื้อขาย และการพิพาทเรื่องการขับไล่ผู้เช่า
ในการกำหนดประเด็นข้อพิพาท ศาลย่อมคำนึงว่าข้ออ้างข้อเถียงที่จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทจะต้องมีผลกระทบกระเทือนถึงผลแห่งคดี ถ้าข้อโต้เถียงใดไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผลแห่งคดี ย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทให้คู่ความนำสืบ
คดีฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากห้องพิพาท โจทก์มีโฉนดที่ดินและหนังสือสัญญาซื้อขายซึ่งทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงโดยแจ้งชัดว่า โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพร้อมด้วยห้องพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม การที่จำเลยเถียงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมไม่ใช่เจ้าของที่ดินรวมทั้งห้องพิพาท จึงเป็นการดึงดันเถียงโดยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลสั่งตัดพยานจำเลยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 แล้ว
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับเจ้าของเดิมสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว ถึงหากจำเลยจะมีสัญญาต่างตอบแทนกับเจ้าของเดิมยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา สัญญานั้นก็คงผูกพันเฉพาะคู่สัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทคงรับโอนมาเฉพาะสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 หาถูกผูกพันตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษนั้นด้วยไม่
คดีฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากห้องพิพาท โจทก์มีโฉนดที่ดินและหนังสือสัญญาซื้อขายซึ่งทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงโดยแจ้งชัดว่า โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพร้อมด้วยห้องพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม การที่จำเลยเถียงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมไม่ใช่เจ้าของที่ดินรวมทั้งห้องพิพาท จึงเป็นการดึงดันเถียงโดยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลสั่งตัดพยานจำเลยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 แล้ว
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับเจ้าของเดิมสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว ถึงหากจำเลยจะมีสัญญาต่างตอบแทนกับเจ้าของเดิมยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา สัญญานั้นก็คงผูกพันเฉพาะคู่สัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทคงรับโอนมาเฉพาะสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 หาถูกผูกพันตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษนั้นด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างรัฐวิสาหกิจกับการบังคับคดีสิทธิเรียกร้องเงินกองทุนสงเคราะห์
การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจ ดำเนินการโดยคณะกรรมการเป็นอิสระ เงินเดือนและเงินอื่นๆ ของลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับจากงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทย มิใช่จากเงินจัดสรรงบประมาณเหมือนข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงมิใช่เป็นลูกจ้างของรัฐบาลตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา286(2) เมื่อจำเลยไม่ใช่ลูกจ้างของรัฐบาลสิทธิเรียกร้องของจำเลยอันมีต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยในอันที่จะได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์ทดแทน จึงตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3)