พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันนอกขอบวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้จัดการไม่มีอำนาจผูกพัน
สัญญาค้ำประกันที่ ส. ผู้จัดการไปทำอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 4 แม้ ส. เป็นภรรยาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 และการทำสัญญาค้ำประกันเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ก็เป็นเรื่องส่วนตัวของ ส. ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 4 ให้ต้องรับผิดตามสัญญา จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้จัดการห้างจำเลยที่ 4 ต่อจาก ส. ก็ไม่ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานระหว่างพิจารณา: จำเลยต้องโต้แย้งหากไม่เห็นด้วย มิฉะนั้นเสียสิทธิอุทธรณ์ฎีกา
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยที่เหลือเพราะไม่มาศาลหลายครั้งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากจำเลยไม่เห็นด้วยก็ต้องแถลงโต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เมื่อจำเลยไม่แถลงโต้แย้ง จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการ, การผูกพันสัญญา, การปฏิเสธสิทธิ, และการสละเงื่อนเวลาในการบังคับตามสัญญา
การเป็นหม้ายเป็นเพียงรายละเอียดข้อเท็จจริง มิใช่สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่ง ข้อหา แม้โจทก์จะมิได้ระบุไว้ในคำฟ้องและหนังสือมอบอำนาจ โจทก์นำสืบได้ว่าโจทก์เป็นหม้าย หาเป็นการนำสืบนอกฟ้อง แต่อย่างใดไม่
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเองแม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทเมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่ จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็น ประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา นั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา ได้
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเองแม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทเมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่ จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็น ประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา นั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการ, สัญญา, การปฏิเสธสิทธิ, การสละประโยชน์, การบังคับตามสัญญา
การเป็นหม้ายเป็นเพียงรายละเอียดข้อเท็จจริง มิใช่สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่ง ข้อหา แม้โจทก์จะมิได้ระบุไว้ในคำฟ้องและหนังสือมอบอำนาจ โจทก์นำสืบได้ว่าโจทก์เป็นหม้าย หาเป็นการนำสืบนอกฟ้องแต่อย่างใดไม่
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเอง แม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมา ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเอง แม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมา ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่ออายุ: บันทึกต่อท้ายสัญญาไม่ใช่สัญญาเช่าใหม่ สิทธิเช่าสิ้นสุดเมื่อไม่ได้ทำสัญญาใหม่
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวจากโจทก์มีกำหนด 3 ปี มีบันทึกต่อท้ายสัญญาว่า 'เมื่อสัญญาเช่าฉบับนี้หมดอายุ และคู่สัญญาตกลงกันที่จะต่ออายุสัญญาเช่าต่อไปอีก 3 ปี ผู้ให้เช่าสัญญาว่าจะเรียกเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าในอัตราไม่ เกินกว่า 20,000 บาทต่อเดือน' บันทึกดังกล่าวมีความหมายว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด ถ้าคู่สัญญาตกลงกันที่จะ เช่าต่อไปอีก 3 ปี ผู้ให้เช่าจะคิดค่าเช่าไม่เกินเดือนละ20,000 บาท ซึ่งคู่สัญญาจะต้องทำสัญญาเช่ากันใหม่ เมื่อคู่สัญญามิได้ทำสัญญาเช่ากันใหม่เพราะไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยเช่าอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในตึกแถวดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นผ่านตัวแทนและการรับผิดชอบในหนี้จากการซื้อขายหุ้นโดยการโอนลอย
จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้น ย่อมมี ความ ผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาตัวแทน เมื่อโจทก์ออกเงินทดรอง ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แทนจำเลยอันเป็นการจัดทำกิจการ ตามที่จำเลยมอบหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเอา เงินชดใช้ จากจำเลยซึ่งเป็นตัวการได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816การที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ ที่โจทก์ออก เงินทดรองไป จึงเป็นการชำระหนี้ที่มีมูลหนี้โดย ชอบด้วยกฎหมายเมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยจึง ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ย
แบบการโอนหุ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสองใช้บังคับเฉพาะการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ ลงในใบหุ้น เท่านั้น ส่วนหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์จะเป็นหุ้น ชนิดใดไม่ปรากฏจะอนุมานเอาว่าเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อ ลงในใบหุ้น ซึ่งตกอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ ไม่
การที่จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีวิธีปฏิบัติปกติโดยการโอนลอยเมื่อโจทก์ซื้อ หุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์แทนจำเลยโดยดำเนินตามทางที่เคยทำกัน มา ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนโดยชอบ จำเลยซึ่ง เป็นตัวการจะต้องรับสนองในผลแห่งการกระทำของโจทก์ถึงหากนิติกรรมการซื้อหุ้นจะตกเป็นโมฆะ จำเลยก็ต้องรับ ผลแห่งการนั้น จะยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธไม่ชำระหนี้ ที่โจทก์ออกเงินทดรองไปในการจัดทำกิจการแทนจำเลยหาได้ไม่
แบบการโอนหุ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสองใช้บังคับเฉพาะการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ ลงในใบหุ้น เท่านั้น ส่วนหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์จะเป็นหุ้น ชนิดใดไม่ปรากฏจะอนุมานเอาว่าเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อ ลงในใบหุ้น ซึ่งตกอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ ไม่
การที่จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีวิธีปฏิบัติปกติโดยการโอนลอยเมื่อโจทก์ซื้อ หุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์แทนจำเลยโดยดำเนินตามทางที่เคยทำกัน มา ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนโดยชอบ จำเลยซึ่ง เป็นตัวการจะต้องรับสนองในผลแห่งการกระทำของโจทก์ถึงหากนิติกรรมการซื้อหุ้นจะตกเป็นโมฆะ จำเลยก็ต้องรับ ผลแห่งการนั้น จะยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธไม่ชำระหนี้ ที่โจทก์ออกเงินทดรองไปในการจัดทำกิจการแทนจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนซื้อขายหุ้น: ตัวการต้องรับผิดชอบหนี้ที่ตัวแทนจ่ายทดรองไป แม้การซื้อขายหุ้นจะตกเป็นโมฆะ
จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้น ย่อมมีความผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาตัวแทน เมื่อโจทก์ออกเงินทดรอง ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แทนจำเลยอันเป็นการจัดทำกิจการ ตามที่จำเลยมอบหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเอา เงินชดใช้ จากจำเลยซึ่งเป็นตัวการได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 การที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ที่โจทก์ออก เงินทดรองไป จึงเป็นการชำระหนี้ที่มีมูลหนี้โดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ย
แบบการโอนหุ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสองใช้บังคับเฉพาะการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นเท่านั้น ส่วนหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์จะเป็นหุ้นชนิดใดไม่ปรากฏ จะอนุมานเอาว่าเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น ซึ่งตกอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ ไม่
การที่จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีวิธีปฏิบัติปกติโดยการโอนลอย เมื่อโจทก์ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แทนจำเลยโดยดำเนินตามทางที่เคยทำกันมา ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนโดยชอบ จำเลยซึ่ง เป็นตัวการจะต้องรับสนองในผลแห่งการกระทำของโจทก์ ถึงหากนิติกรรมการซื้อหุ้นจะตกเป็นโมฆะจำเลยก็ต้องรับผลแห่งการนั้น จะยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธไม่ชำระหนี้ ที่โจทก์ออกเงินทดรองไปในการจัดทำกิจการแทนจำเลยหาได้ไม่
แบบการโอนหุ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสองใช้บังคับเฉพาะการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นเท่านั้น ส่วนหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์จะเป็นหุ้นชนิดใดไม่ปรากฏ จะอนุมานเอาว่าเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น ซึ่งตกอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ ไม่
การที่จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีวิธีปฏิบัติปกติโดยการโอนลอย เมื่อโจทก์ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แทนจำเลยโดยดำเนินตามทางที่เคยทำกันมา ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนโดยชอบ จำเลยซึ่ง เป็นตัวการจะต้องรับสนองในผลแห่งการกระทำของโจทก์ ถึงหากนิติกรรมการซื้อหุ้นจะตกเป็นโมฆะจำเลยก็ต้องรับผลแห่งการนั้น จะยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธไม่ชำระหนี้ ที่โจทก์ออกเงินทดรองไปในการจัดทำกิจการแทนจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเรียกค่าขึ้นศาลก่อนพิจารณาคำร้องรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น: ห้ามอุทธรณ์ระหว่างพิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้เอาเงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องขอดังกล่าว แก่โจทก์จำเลยนัดไต่สวนและให้งดการขายทอดตลาดไว้ก่อน ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้พิจารณาแล้วต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลมาชำระ ก่อนวันนัดไต่สวนคำร้อง มิฉะนั้นจะจำหน่ายคดีดังนี้ เป็นคำสั่งก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และ มิใช่คำสั่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้ชำระค่าขึ้นศาลก่อนพิจารณาคำร้องรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น: คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่สามารถอุทธรณ์ได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้เอาเงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องขอดังกล่าว แก่โจทก์จำเลยนัดไต่สวนและให้งดการขายทอดตลาดไว้ก่อนถือได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้พิจารณาแล้วต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสีย ค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลมาชำระ ก่อนวันนัดไต่สวนคำร้อง มิฉะนั้นจะจำหน่ายคดี ดังนี้ เป็นคำสั่งก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และ มิใช่คำสั่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญา: เลือกใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด หรือกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ โดยยึดตามหลักกฎหมายเดิม
ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในระดับที่ใช้กฎหมายขณะกระทำความผิดก็ได้ หรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดก็ได้ เช่นนี้ควรปรับบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายในขณะกระทำความผิด(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1292/2500)