คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นิยม ติวุตานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังเช็คโดยตัวแทนที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ทำให้สัญญาไม่ผูกพันจำเลยอื่น
การที่จำเลยที่ 2 ผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสาขาของธนาคารจำเลยที่ 4 ลงชื่อรับรองการใช้เงินตามเช็คแทนจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นการที่ตัวแทนเข้าทำสัญญากับบุคคลภายนอก แต่ในการเข้าทำสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปโดยเห็นแก่ประโยชน์ที่โจทก์ได้ให้เป็นลาภส่วนตัวแก่จำเลยที่ 2 คือโจทก์ยอมรับชำระหนี้ด้วยเช็คและคืนหลักฐานที่จำเลยที่ 2 ยืมเงินจากโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจะเป็นผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากการเป็นลูกหนี้โจทก์โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 มิได้ยินยอมในการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วยการเข้าทำสัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 825

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884-885/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานพินัยกรรมที่สูญหาย โดยใช้สำเนาและพยานบุคคลประกอบกับลายมือชื่อที่สอดคล้องกัน
ผู้ตายเขียนพินัยกรรมด้วยตนเองและลงชื่อไว้ในสมุดบันทึก (ไดอารี่) และมอบสมุดบันทึกนั้นให้ น. ซึ่งเป็นหลานเก็บรักษาไว้ ต่อมาผู้ตายได้ขอกลับคืนไปโดยอ้างว่าผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาไม่พอใจที่มอบให้หลานเป็นผู้เก็บรักษาสมุดบันทึก ผู้คัดค้านกับ น. จึงถ่ายภาพพินัยกรรมและบันทึกข้อความในสมุดไว้ แล้วคืนสมุดให้ผู้ตาย ดังนี้ ต้นฉบับเอกสารน่าจะอยู่ที่ผู้ร้อง แต่ผู้ร้องปฏิเสธว่าไม่มีอยู่ที่ตน ศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบ และผู้คัดค้านได้สืบถึงที่มาของเอกสารสำเนาเอกสารจึงรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) ฟังได้ว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินค้าเสียหายระหว่างขนส่ง ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบค่าสินค้าที่เหลือ และการบอกกล่าวทวงหนี้ทำได้ทั้งวาจาและหนังสือ
การบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ค่าสินค้า กฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องทำเป็นหนังสือ ก่อนที่โจทก์จะมีหนังสือถึงจำเลย โจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามด้วยวาจาให้จำเลยชำระหนี้แล้วเมื่อจำเลยไม่ชำระ ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด โดยโจทก์ไม่จำต้องมีหนังสือเตือนซ้ำอีก เมื่อตามฟ้องและทางพิจารณาไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด โจทก์จึงควรได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งบรรจุยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
การที่จำเลยบรรจุเฮโรอีนใส่หลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนสั้นๆเป็นการผลิตเฮโรอีนตามความหมายของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯมาตรา 4 แต่เฮโรอีนดังกล่าวเป็นจำนวนเดียวกับเฮโรอีนที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่าย การที่จำเลยแบ่งบรรจุใส่หลอดก็เพื่อสะดวกในการจำหน่ายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย: การชดใช้ค่าเสียหายเมื่อผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิด และข้อยกเว้นความรับผิด
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอม เสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท และที่ว่าการประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันยอมรับตามสัญญาซึ่งความรับผิดนั้นจะไม่เกิดขึ้นหากปราศจากสัญญานั้น เป็นการป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น แต่กรณีเป็นฝ่ายผิด จะเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความชะลอการดำเนินคดีไม่ถือเป็นการร้องทุกข์ ทำให้ฟ้องคดีเกินอายุความ
ในคดียักยอก ข้อความที่ว่า นำความมาแจ้งเพื่อชะลอการดำเนินคดีไว้ก่อน ถ้าหากจำเลยไม่ชำระเงินจะได้มาแจ้งดำเนินคดีต่อไปอีก จึงนำความมาแจ้งไว้เป็นหลักฐานดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย เพราะขณะแจ้งยังไม่ประสงค์จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี ครั้นพ้นกำหนด 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำผิด ผู้เสียหายจึงได้มาแจ้งความให้ดำเนินคดีกับจำเลยคดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการศพ: ทายาทมีอำนาจหน้าที่เหนือวัด แม้ไม่มีทรัพย์มรดก
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวัดมีสิทธิได้รับทรัพย์สินของพระภิกษุมั่นผู้มรณภาพซึ่งได้มาระหว่างสมณเพศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 แต่พระภิกษุมั่นไม่มีทรัพย์สินอันเป็นมรดก ทั้งพระภิกษุมั่นไม่ได้ตั้งบุคคลใด ไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ. ฉะนั้นโจทก์ซึ่งเป็นทายาทพระภิกษุมั่นโดยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับพระภิกษุมั่นจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการศพ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการศพ: ทายาทโดยชอบธรรมมีสิทธิเหนือวัด แม้วัดมีสิทธิในทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมณเพศ
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวัดมีสิทธิได้รับทรัพย์สินของพระภิกษุมั่นผู้มรณภาพซึ่งได้มาระหว่างสมณเพศ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 แต่พระภิกษุมั่นไม่มีทรัพย์สินอันเป็นมรดกทั้งพระภิกษุมั่นไม่ได้ตั้งบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ ฉะนั้นโจทก์ซึ่งเป็นทายาทพระภิกษุมั่นโดยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับพระภิกษุมั่น จึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการศพ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ผูกพันจำเลย: การชดใช้ค่าเสียหายในนามผู้ค้ำประกัน
บ.ทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในนามของตนเองในฐานะผู้ค้ำประกันลูกจ้างของจำเลยในกรณีที่ลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับ บ. ซึ่ง บ. ได้ทำกับโจทก์โดยคิดว่าตนจะได้หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้แก่จำเลยสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้จึงไม่มีผลระงับข้อพิพาทในมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ระงับข้อพิพาท: การทำสัญญาโดยผู้ค้ำประกันโดยมิได้เป็นตัวแทนจำเลย
บ.ทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในนามของตนเองในฐานะผู้ค้ำประกันลูกจ้างของจำเลยในกรณีที่ลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับ บ. ซึ่ง บ. ได้ทำกับโจทก์โดยคิดว่าตนจะได้หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้แก่จำเลย สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้จึงไม่มีผลระงับข้อพิพาทในมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์
of 28