พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อถูกทำร้ายและถูกไล่ติดตามด้วยอาวุธปืน
ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุชกต่อยและยิงจำเลยก่อน จำเลยวิ่งหนีก็ยังติดตามจะใช้อาวุธปืนยิงอีก การที่จำเลยหันกลับมายิงผู้ตายในขณะนั้นถือได้ว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนพอสมควรแก่เหตุ ซึ่งเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา288
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน: การพิจารณาความแตกต่างของลักษณะเครื่องหมายและการเน้นจุดเด่นของสินค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรโรมันล้วนๆ ส่วนของจำเลยมีอักษรไทยปนอยู่กับอักษรโรมัน ทั้งคำในเครื่องหมายการค้าทั้งสองก็แตกต่างกันเกือบทั้งหมดมีตรงกันเฉพาะคำว่า "DEOCOLOGNE"เท่านั้น แต่ลักษณะการเขียนและความใหญ่ของตัวอักษรก็แตกต่างกันมากสำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้ตัวพิมพ์เล็ก(DEOCOLOGNE) เขียนตัวอักษรโตมากและเล่นตัวอักษรด้วยแสดงถึงการเน้นตรงคำนี้ ส่วนของจำเลยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่(DEOCOLOGNE) และตัวอักษรก็ไม่โต ทั้งยังไม่ได้เล่นตัวอักษรซึ่งแสดงถึงไม่ได้มุ่งที่จะเน้นถึงคำนี้เลย แต่ไปเขียนตัวอักษรโตและเล่นตัวอักษรเน้นตรงคำว่า "ARCHE" คำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันจะชี้ให้เห็นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์อยู่ตรงคำว่า "DEOCOLOGNE" แต่ของจำเลยอยู่ตรงคำว่า ARCHE' ทั้งอักษรโรมันและอักษรไทยเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่แสดงสำหรับสินค้าสบู่ก็ระบุว่าทำในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ส่วนของจำเลยหาปรากฏข้อความเช่นนั้นไม่ ไม่อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดไปในลักษณะของเครื่องหมายการค้า หรือลวงผู้ซื้อในแหล่งกำเนิด หรือทำให้เกิดสับสนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าหมดอายุเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกเลิกสัญญาเช่าใหม่ หากไม่ตกลง โจทก์มีสิทธิขับไล่
โจทก์รับโอนตึกแถวสามชั้นครึ่งจาก พ. ตึกแถวดังกล่าวจำเลยทำสัญญาเช่ากับ พ. มีกำหนด 10 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าย่อมระงับไปโดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 ก่อนและหลังสัญญาเช่าครบกำหนดโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าจะไม่ให้เช่าตึกแถวดังกล่าวเฉพาะชั้นสองและชั้นสามยอมให้จำเลยเช่าเฉพาะชั้นล่าง ให้จำเลยมาทำสัญญาเช่า แต่จำเลยไม่สนองรับจำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในตึกดังกล่าว และ หนังสือดังกล่าวมิใช่หนังสือบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกเลิกสัญญาใหม่ โจทก์มีสิทธิขับไล่จำเลย
โจทก์รับโอนตึกแถวสามชั้นครึ่งจาก พ. ตึกแถวดังกล่าวจำเลยทำสัญญาเช่ากับ พ. มีกำหนด 10 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าย่อมระงับไปโดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 ก่อนและหลังสัญญาเช่าครบกำหนดโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าจะไม่ให้เช่าตึกแถวดังกล่าวเฉพาะชั้นสองและชั้นสามยอมให้จำเลยเช่าเฉพาะชั้นล่าง ให้จำเลยมาทำสัญญาเช่า แต่จำเลยไม่สนองรับ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในตึกดังกล่าว และ หนังสือดังกล่าวมิใช่หนังสือบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการร่วมกระทำความผิด: การพิสูจน์การมีส่วนร่วมโดยตรง
จำเลยแทงถูกผู้ตายล้มลง แต่ฟังไม่ได้ว่าแทงถูกอวัยวะส่วนไหนของผู้ตาย หลังจากนั้นมีชาวบ้านหลายคนช่วยกันแทงผู้ตาย บาดแผลที่ทำให้ตายเกิดจากการกระทำของพวกชาวบ้าน เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกฆ่าผู้ตาย ทั้งทางพิจารณาก็ไม่ปรากฏเช่นนั้น ดังนี้จะนำการกระทำของผู้อื่นซึ่งจำเลยไม่ได้ร่วมด้วยมาลงโทษจำเลยหาได้ไม่จำเลยคงมีความผิดตาม ป.อ. ม.295 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อลูกจ้างและการพิพากษาคดีอาญาที่มีผลผูกพันในคดีแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ในผลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาและนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้เพียงประการเดียวว่า จำเลยที่ 1 ทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยไปตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ จะวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการโดยจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนและให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และเมื่อข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 กับ ส.ลูกจ้างของโจทก์ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คร่อมเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนและล้ำเข้าไปในช่องทางเดินรถของ ส.แล้วเฉี่ยวชนรถยนต์คันที่ส.ขับ ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ยกฟ้อง ส. ดังนั้นในการพิพากษาคดีนี้ ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในคำพิพากษาดังกล่าว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1เป็นฝ่ายประมาทฝ่ายเดียว
จำเลยที่ 1 กับ ส.ลูกจ้างของโจทก์ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คร่อมเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนและล้ำเข้าไปในช่องทางเดินรถของ ส.แล้วเฉี่ยวชนรถยนต์คันที่ส.ขับ ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ยกฟ้อง ส. ดังนั้นในการพิพากษาคดีนี้ ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในคำพิพากษาดังกล่าว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1เป็นฝ่ายประมาทฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้างและการรับผิดในผลละเมิด การวินิจฉัยนอกประเด็นและผลของคำพิพากษาในคดีอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาและนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้เพียงประการเดียวว่า จำเลยที่ 1 ทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยไปตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ จะวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการโดยจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนและให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและเมื่อข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 กับ ส.ลูกจ้างของโจทก์ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คร่อมเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนและล้ำเข้าไปในช่องทางเดินรถของ ส. แล้วเฉี่ยวชนรถยนต์คันที่ ส.ขับลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ยกฟ้อง ส. ดังนั้นในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในคำพิพากษาดังกล่าว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทฝ่ายเดียว
จำเลยที่ 1 กับ ส.ลูกจ้างของโจทก์ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คร่อมเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนและล้ำเข้าไปในช่องทางเดินรถของ ส. แล้วเฉี่ยวชนรถยนต์คันที่ ส.ขับลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ยกฟ้อง ส. ดังนั้นในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในคำพิพากษาดังกล่าว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน: แจ้งความเท็จ, ฟ้องเท็จ, เบิกความเท็จ ต้องลงโทษทุกกรรม
จำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ แม้ความที่เป็นเท็จนั้นจะเป็นเรื่องเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมีอำนาจวินิจฉัยลายมือชื่อได้ แม้ความเห็นผู้เชี่ยวชาญขัดแย้ง พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักกว่า
สิ่งใดที่บุคคลธรรมดาอาจตรวจเห็นได้แล้ว ศาลก็ย่อมตรวจเห็นเองได้ ศาลจึงมีอำนาจตรวจลายมือชื่อจำเลยในเอกสารหลายฉบับเปรียบเทียบกัน เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีได้ โดยศาลเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของบุคคลเดียวกัน ทั้งที่ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์แล้วลงความเห็นได้แต่เพียงว่าน่าเชื่อว่าจะไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกและปลอมเอกสาร: การถอนฟ้องและขอบเขตความรับผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265, 353 ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมขอถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนหรือใช้เงินที่ขาดแก่โจทก์ร่วม ส่วนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264, 265 ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ สิทธิฟ้องของอัยการยังไม่ระงับ
เมื่อมีลูกค้าแต่ละรายนำเงินมาชำระ จำเลยก็ปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินให้มีจำนวนเงินน้อยกว่าเงินที่รับจริงแล้วยักยอกเงินส่วนที่เกินไว้นั้น การปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับหนึ่งแล้วยักยอกเอาเงินจำนวนที่เกินกว่าสำเนาใบเสร็จนั้นไว้ครั้งหนึ่ง ย่อมเป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งตั้งแต่เวลายักยอกเงินจำนวนนั้นแล้ว การที่จำเลยรวบรวมเงินแต่ละวันส่งให้หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ร่วม เป็นแต่เพียงการปฏิบัติตามหน้าที่ของจำเลย หาใช่เป็นการยักยอกเงินในตอนนั้นไม่
สำเนาใบเสร็จรับเงินเป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าได้มีการออกต้นฉบับใบเสร็จรับเงินมีข้อความตรงกับสำเนาใบเสร็จเท่านั้น ไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ อันจะถือว่าเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9)
เมื่อมีลูกค้าแต่ละรายนำเงินมาชำระ จำเลยก็ปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินให้มีจำนวนเงินน้อยกว่าเงินที่รับจริงแล้วยักยอกเงินส่วนที่เกินไว้นั้น การปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับหนึ่งแล้วยักยอกเอาเงินจำนวนที่เกินกว่าสำเนาใบเสร็จนั้นไว้ครั้งหนึ่ง ย่อมเป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งตั้งแต่เวลายักยอกเงินจำนวนนั้นแล้ว การที่จำเลยรวบรวมเงินแต่ละวันส่งให้หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ร่วม เป็นแต่เพียงการปฏิบัติตามหน้าที่ของจำเลย หาใช่เป็นการยักยอกเงินในตอนนั้นไม่
สำเนาใบเสร็จรับเงินเป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าได้มีการออกต้นฉบับใบเสร็จรับเงินมีข้อความตรงกับสำเนาใบเสร็จเท่านั้น ไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ อันจะถือว่าเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9)