คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสมา รัตนมาลัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม: ผู้ยืมรถโดยไม่รู้ว่าเอกสารปลอมไม่มีความผิด
รถยนต์ของ ส.ซึ่งถูกคนร้ายลักไปอ. เคยนำมาซ่อมท่อไอเสียกับจำเลย และแสดงตนว่าเป็นเจ้าของรถ จำเลยขอยืมรถจาก อ. ไปใช้ แม้รถมีป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีและป้ายทะเบียนรถยนต์ ซึ่งต่างเป็นเอกสารราชการปลอมเมื่อจำเลยไม่รู้ความจริงดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. ม.268

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องมีเหตุผลชัดเจนถึงปัญหาสำคัญที่ควรพิจารณาของศาลสูงสุด
คำสั่งในคำร้องขอให้รับฎีกาว่า คดีสมควรสู่การพิจารณาของศาลสูงอนุญาตให้ฎีกา ดังนี้ ไม่เป็นคำอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.ว.อ. ม.221

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผูกพันจากคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง: การรับฟังจากคำสารภาพและค่าเสียหายจากการละเมิด
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แม้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นจะเป็นข้อเท็จจริงที่รับฟังจากคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลยก็ตาม
การที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ตกต่ำหรือลดลง เป็นค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการที่จำเลยเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยโดยรู้แล้วว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนค่าเสียหายควรเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผูกพันจากคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง: การรับฟังจากคำให้การรับสารภาพ และการกำหนดค่าเสียหาย
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แม้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นจะเป็นข้อเท็จจริงที่รับฟังจากคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลยก็ตาม
การที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ตกต่ำหรือลดลง เป็นค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการที่จำเลยเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยโดยรู้แล้วว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนค่าเสียหายควรเป็นจำนวนเท่าใดศาลย่อมกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้มีผลบังคับใช้ได้ หากฟ้องระบุมูลหนี้ชัดเจนและจำเลยเข้าใจข้อหา
คำฟ้องของโจทก์เมื่ออ่านประกอบหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยที่โจทก์ส่งประกอบมาท้ายฟ้อง มีใจความว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้ เนื่องจากจำเลยที่1 ได้อนุมัติให้ อ. เบิกเงินเกินบัญชี ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ดังกล่าวให้โจทก์ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้ โดยโจทก์งดคิดดอกเบี้ยในยอดเงินตาม หนังสือรับสภาพหนี้ แต่ถ้าครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากยอดเงินที่ค้างชำระ โดยจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ตามเงื่อนไขในหนังสือรับสภาพหนี้ทุกประการ ดังนี้ฟ้องโจทก์ย่อมแสดงชัดแจ้งแห่งข้อหาแล้วว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ในมูลหนี้ที่จำเลยที่1 อนุมัติให้ อ. เบิกเงินเกินบัญชีไปเป็นการเกินอำนาจของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
เมื่อปรากฏว่าฟ้องโจทก์มุ่งหมายให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเหตุละเมิดและจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์อนุมัติให้ อ. เบิกเงินเกินบัญชี อันเป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 กระทำการนอกเหนืออำนาจอย่างไรจึงไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
การที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ภายในกำหนดอายุความเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 มิใช่เป็นกรณีรับสภาพความรับผิดเมื่อหนี้นั้นขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 188

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้จากการกระทำละเมิดของตัวแทน: ผลบังคับใช้และความรับผิดชอบ
คำฟ้องของโจทก์เมื่ออ่านประกอบหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยที่โจทก์ส่งประกอบมาท้ายฟ้อง มีใจความว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้ เนื่องจากจำเลยที่1 ได้อนุมัติให้ อ. เบิกเงินเกินบัญชี ทำให้โจทก์เสียหายจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ดังกล่าวให้โจทก์ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้ โดยโจทก์งดคิดดอกเบี้ยในยอดเงินตาม หนังสือรับสภาพหนี้ แต่ถ้าครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากยอดเงินที่ค้างชำระ โดยจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ตามเงื่อนไขในหนังสือรับสภาพหนี้ทุกประการดังนี้ฟ้องโจทก์ย่อมแสดงชัดแจ้งแห่งข้อหาแล้วว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ในมูลหนี้ที่จำเลยที่1 อนุมัติให้ อ. เบิกเงินเกินบัญชีไปเป็นการเกินอำนาจของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
เมื่อปรากฏว่าฟ้องโจทก์มุ่งหมายให้จำเลยที่ 1 รับผิดใน เหตุละเมิด และจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์อนุมัติให้อ. เบิกเงินเกินบัญชี อันเป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 กระทำการนอกเหนืออำนาจอย่างไรจึงไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
การที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ภายในกำหนดอายุความเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 มิใช่เป็นกรณีรับสภาพความรับผิดเมื่อหนี้นั้นขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 188

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินฟ้องขอคืนที่ดิน แม้จำเลยอ้างสร้างโดยสุจริต ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่ได้ยกขึ้นมา
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้ โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต
มาตรา 1312 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นบทบัญญัติที่จำกัดอำนาจกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของบุคคลไว้ว่า ถ้าบุคคลภายนอกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นโดยสุจริต บุคคลภายนอกนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น ดังนั้น ถ้าจำเลยประสงค์จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้ ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องกล่าวอ้างความข้อนี้ขึ้นมาเมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้ปลูกสร้างโรงเรือนโดยสุจริต คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทเพียงว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่ การนำสืบของจำเลยว่าจำเลยได้ปลูกสร้างโรงเรือนโดยสุจริต จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น และการที่ศาลยกเรื่องความสุจริตของจำเลยขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นด้วย ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดิน vs. การก่อสร้างรุกล้ำ: ศาลไม่ควรวินิจฉัยประเด็นที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้น
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้ โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต
มาตรา 1312 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นบทบัญญัติที่จำกัดอำนาจกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของบุคคลไว้ว่าถ้าบุคคลภายนอกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นโดยสุจริต บุคคลภายนอกนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น ดังนั้น ถ้าจำเลยประสงค์จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องกล่าวอ้างความข้อนี้ขึ้นมาเมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้ปลูกสร้างโรงเรือนโดยสุจริตคดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทเพียงว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่ การนำสืบของจำเลยว่าจำเลยได้ปลูกสร้างโรงเรือนโดยสุจริต จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นและการที่ศาลยกเรื่องความสุจริตของจำเลยขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นด้วย ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีขัดทรัพย์โดยผู้พิพากษานายเดียวไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีทุนทรัพย์เกินห้าหมื่น
คดีร้องขัดทรัพย์ซึ่งมีทุนทรัพย์เกินกว่าห้าหมื่นบาทผู้พิพากษานายเดียวตรวจคำร้องขอแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอ เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 21(2) เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) และเป็นกรณีที่ต้องมีผู้พิพากษาเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาอย่างน้อยสองนาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22,23 เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ ให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาคดีขัดทรัพย์: การพิจารณาคำร้องขอต้องมีองค์คณะตามกฎหมาย
คดีร้องขัดทรัพย์ซึ่งมีทุนทรัพย์เกินกว่าห้าหมื่นบาท ผู้พิพากษานายเดียวตรวจคำร้องขอแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอ เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 21(2) เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) และเป็นกรณีที่ต้องมีผู้พิพากษาเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาอย่างน้อยสองนาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22, 23 เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ
of 17