คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสมา รัตนมาลัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบหักล้างข้ออ้างของจำเลยที่ไม่ใช่ประเด็นจากฟ้อง โจทก์มีสิทธิได้ แม้ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับหนังสือพิมพ์จากโจทก์ไปจำหน่ายแล้วค้างชำระราคา ขอให้บังคับจำเลยชำระ จำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เคยรับหนังสือพิมพ์จากโจทก์ แต่ ส. เป็นผู้รับจากโจทก์ไปจำหน่าย และโจทก์กับ ส. ได้ประนีประนอมยอมความกันโดย ส. ได้ทำสัญญากู้เอกสารหมาย จ. 3 ให้โจทก์ไว้และส. จะผ่อนชำระให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ดังนี้โจทก์มีสิทธินำสืบถึงความเป็นมาของสัญญากู้เอกสารหมายจ. 3 ว่าการที่โจทก์ยอมให้ ส. ทำสัญญากู้ไว้กับโจทก์เพราะจำเลยขอร้องให้ช่วยทำแทนจำเลย ส. จึงเป็นตัวแทนของจำเลย เพื่อหักล้างข้ออ้างของจำเลยได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น เพราะประเด็นข้อพิพาทมิใช่เกิดจากคำฟ้องฝ่ายเดียว ย่อมเกิดจากคำให้การได้ด้วย ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 และจำเลยเท่านั้นมีหน้าที่รับหรือปฏิเสธข้ออ้างของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 177 วรรคสอง ฉะนั้น การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีมีข้ออ้างบางประการขึ้นมานั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องบรรยายฟ้องเพิ่มเติม แถลงรับ หรือปฏิเสธข้ออ้างเช่นว่านั้นของจำเลยซ้อนขึ้นมาอีก ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยรับหนังสือพิมพ์จากโจทก์ไปจำหน่ายแต่ ส. ได้ยอมผูกพันตนเข้าทำสัญญากู้เอกสารหมาย จ. 3 เป็นหนี้โจทก์และจะผ่อนชำระจึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่หนี้ของจำเลยระงับพิพากษายกฟ้องโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ว่าสัญญากู้เอกสารหมายจ.3 เป็นนิติกรรมอำพรางดังที่โจทก์นำสืบและไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ได้ ไม่ใช่เป็นเรื่องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสลักหลัง-สัญญาซื้อขายลดเช็ค: การรับผิดของผู้อ้างสลักหลังและผู้สลักหลังต่อผู้ทรง
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาทำสัญญาขายลดรับเงินสดจากโจทก์ จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ในข้อนี้จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าเช็คดังกล่าวจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังไว้ดังโจทก์ฟ้อง
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีเพียงว่ามีเหตุไม่ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ หาได้ต่อสู้ในข้อไม่ต้องรับผิดในต้นเงินด้วยไม่ ฉะนั้นปัญหาว่าจำเลยจะต้องรับผิดในต้นเงินหรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 นำเช็คซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังมาทำสัญญาขายลดรับเงินสดจากโจทก์ โดยสัญญาว่าหากเช็คดังกล่าวถึงกำหนดชำระเงิน โจทก์ไม่ได้รับชำระเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 ยอมชำระเงินตามเช็คพร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีแก่โจทก์เมื่อได้ความว่าโจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็ค จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีส่วนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
เช็คคือหนังสือตราสารซึ่งผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่าผู้รับเงิน จึงเป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99 ซึ่งอาจโอนกรรมสิทธิ์กันได้ตามมาตรา 904, 917 และ 989 โจทก์จึงทำสัญญาซื้อขายลดเช็คอันเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่งซึ่งมีมูลหนี้อยู่ และนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องบังคับได้ และปัญหาว่าโจทก์จะใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาขายลดเช็คได้หรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ภาพถ่ายเช็คท้ายฟ้องจะมีต้นฉบับอยู่หรือไม่โจทก์ได้รับเงินตามเช็คจากผู้สั่งจ่ายแล้วหรือไม่จำเลยไม่ทราบ และตามภาพถ่ายเช็คท้ายฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยลงลายมือชื่อสลักหลังไว้โจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ทั้งโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์โจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องนั้นไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยอำนาจฟ้องของโจทก์ เพราะไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเป็นคู่ความได้หรือไม่เมื่อจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสลักหลัง - สัญญาซื้อขายลดเช็ค - ความรับผิดของผู้อุทธรณ์ - อำนาจฟ้อง
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาทำสัญญาขายลดรับเงินสดจากโจทก์จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ในข้อนี้จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าเช็คดังกล่าวจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังไว้ดังโจทก์ฟ้อง
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีเพียงว่ามีเหตุไม่ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ หาได้ต่อสู้ในข้อไม่ต้องรับผิดในต้นเงินด้วยไม่ ฉะนั้นปัญหาว่าจำเลยจะต้องรับผิดในต้นเงินหรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 นำเช็คซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังมาทำสัญญาขายลดรับเงินสดจากโจทก์ โดยสัญญาว่าหากเช็คดังกล่าวถึงกำหนดชำระเงิน โจทก์ไม่ได้รับชำระเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 ยอมชำระเงินตามเช็คพร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีแก่โจทก์เมื่อได้ความว่าโจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็ค จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
เช็คคือหนังสือตราสารซึ่งผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่าผู้รับเงิน จึงเป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99 ซึ่งอาจโอนกรรมสิทธิ์กันได้ตามมาตรา 904,917 และ 989โจทก์จึงทำสัญญาซื้อขายลดเช็คอันเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่งซึ่งมีมูลหนี้อยู่ และนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องบังคับได้ และปัญหาว่าโจทก์จะใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาขายลดเช็คได้หรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ภาพถ่ายเช็คท้ายฟ้องจะมีต้นฉบับอยู่หรือไม่ โจทก์ได้รับเงินตามเช็คจากผู้สั่งจ่ายแล้วหรือไม่จำเลยไม่ทราบ และตามภาพถ่ายเช็คท้ายฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยลงลายมือชื่อสลักหลังไว้ โจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ทั้งโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์โจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องนั้นไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยอำนาจฟ้องของโจทก์ เพราะไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเป็นคู่ความได้หรือไม่เมื่อจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับฝากทรัพย์: ความรับผิดของผู้รับฝากเมื่อทรัพย์สูญหาย, อายุความ, และการรับช่วงสิทธิ
คดีมีทุนทรัพย์ 42,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดย วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีไม่ขาดอายุความ แต่มีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคงต้องรับผิดเฉพาะจำเลยที่ 3 จึงพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 3 ใช้เงิน 40,000 บาทแก่โจทก์ การแก้ไขเช่นนี้เป็นการแก้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ให้รับผลตรงข้ามกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยที่ 3 ฎีกาข้อเท็จจริงได้
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันที่หายไว้และได้ใช้เงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกผู้ก่อวินาศภัยด้วยอำนาจกฎหมาย โดยโจทก์และบุคคลภายนอกนั้นไม่จำต้องมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
ผู้เอาประกันภัยได้เช่าซื้อรถยนต์มาจากผู้รับประโยชน์แล้วให้จำเลยที่ 2 เช่าไป จำเลยที่ 2 นำรถยนต์นั้นไปฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 แล้วหายไปเพราะจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ เพราะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รถยนต์ที่ให้เช่าคืน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปจอดที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 นั้นจำเลยที่ 3 ก็อยู่ที่ปั๊มน้ำมันและได้รับเงิน 5 บาทที่จำเลยที่ 2มอบให้แก่พนักงานของจำเลยที่ 3 ไว้แล้วรถที่นำมาจอดรายวันและจะจอดตรงไหนก็ได้ในลานจอดรถ จำเลยที่ 3 ประจำอยู่ที่ปั๊มน้ำมันตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นอันเป็นเวลากลางคืนแสดงว่าจำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของปั๊มคอยดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินภายในบริเวณปั๊มทั้งหมดรวมถึงรถยนต์ที่จอดด้วยพฤติการณ์ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติต่อลูกค้าดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับรถยนต์จากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแล้วเข้าลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657หาใช่เป็นการให้เช่าที่จอดรถยนต์ไม่ แม้ผู้นำรถยนต์มาจอดไม่ต้องมอบกุญแจรถให้ไว้ก็ดีจะนำรถคืนไปเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกจำเลยที่ 3 ก่อนก็ดีที่บริเวณกำแพงข้างปั๊มน้ำมันมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3เขียนไว้ก็ดีก็ไม่ทำให้รถยนต์ที่นำมาจอดไม่อยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3
เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามมาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากทรัพย์โดยปริยาย ความรับผิดของผู้รับฝาก และอายุความของคดี
คดีมีทุนทรัพย์ 42,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดย วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีไม่ขาดอายุความ แต่มีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคงต้องรับผิดเฉพาะจำเลยที่ 3 จึงพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 3 ใช้เงิน 40,000 บาทแก่โจทก์ การแก้ไขเช่นนี้เป็นการแก้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ให้รับผลตรงข้ามกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยที่ 3 ฎีกาข้อเท็จจริงได้
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันที่หายไว้และได้ใช้เงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกผู้ก่อวินาศภัยด้วยอำนาจกฎหมาย โดยโจทก์และบุคคลภายนอกนั้นไม่จำต้องมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
ผู้เอาประกันภัยได้เช่าซื้อรถยนต์มาจากผู้รับประโยชน์แล้วให้จำเลยที่ 2 เช่าไป จำเลยที่ 2 นำรถยนต์นั้นไปฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 แล้วหายไปเพราะจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ เพราะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รถยนต์ที่ให้เช่าคืน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปจอดที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 นั้นจำเลยที่ 3 ก็อยู่ที่ปั๊มน้ำมันและได้รับเงิน 5 บาทที่จำเลยที่ 2 มอบให้แก่พนักงานของจำเลยที่ 3 ไว้แล้วรถที่นำมาจอดรายวันและจะจอดตรงไหนก็ได้ในลานจอดรถ จำเลยที่ 3 ประจำอยู่ที่ปั๊มน้ำมันตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นอันเป็นเวลากลางคืนแสดงว่าจำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของปั๊มคอยดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินภายในบริเวณปั๊มทั้งหมดรวมถึงรถยนต์ที่จอดด้วยพฤติการณ์ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติต่อลูกค้าดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับรถยนต์จากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแล้วเข้าลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657หาใช่เป็นการให้เช่าที่จอดรถยนต์ไม่ แม้ผู้นำรถยนต์มาจอดไม่ต้องมอบกุญแจรถให้ไว้ก็ดีจะนำรถคืนไปเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกจำเลยที่ 3 ก่อนก็ดีที่บริเวณกำแพงข้างปั๊มน้ำมันมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3เขียนไว้ก็ดีก็ไม่ทำให้รถยนต์ที่นำมาจอดไม่อยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3
เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามมาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3516/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีอาญา ความผิดอันยอมความได้ สิทธิในการฟ้องระงับ
ในคดีความผิดอันยอมความกันได้ ผู้เสียหายแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ทำสัญญาประนีประนอม โดยได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลย จนเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยทั้งหมด และจำเลยทั้งสี่กับผู้เสียหายได้ลงชื่อไว้ในท้ายรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นแสดงว่าผู้เสียหายและจำเลยได้ยอมความกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272, 273 ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 273 ซึ่งเป็นบทหนักเมื่อปรากฏว่าความผิดตามมาตรา 272 เป็นความผิดอันยอมความได้ และได้มีการยอมความกันโดยถูกต้องจนสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแล้วศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ให้ยกฟ้องในความผิดตามมาตรา 272 คงให้ลงโทษตามมาตรา 273 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3516/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีอาญา: ผลกระทบต่อการฟ้องคดี และการพิจารณาความผิดหลายบท
ในคดีความผิดอันยอมความกันได้ ผู้เสียหายแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ทำสัญญาประนีประนอม โดยได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลย จนเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยทั้งหมด และจำเลยทั้งสี่กับผู้เสียหายได้ลงชื่อไว้ในท้ายรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น แสดงว่าผู้เสียหายและจำเลยได้ยอมความกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272, 273 ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 273 ซึ่งเป็นบทหนักเมื่อปรากฏว่าความผิดตามมาตรา 272 เป็นความผิดอันยอมความได้และได้มีการยอมความกันโดยถูกต้องจนสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแล้วศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ให้ยกฟ้องในความผิดตามมาตรา 272 คงให้ลงโทษตามมาตรา 273 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ไม่รับฟ้องแย้งได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารพร้อมกับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้เพื่อขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งว่า โรงงานของจำเลยปลูกรุกล้ำอยู่บนที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จึงขอให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิในที่ดินเป็นภารจำยอมแก่จำเลย ดังนี้ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคนละเรื่องกับที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมจึงไม่รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3290/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาใหม่: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะเหตุขาดนัดเท่านั้น การอ้างเหตุมีทางชนะคดีไม่จำเป็น
ในการที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาใหม่หรือไม่นั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลไต่สวนพิจารณาเพียงเหตุเดียวคือ มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้หรือไม่เท่านั้น จึงไม่ชอบที่จะต้องทำการไต่สวนว่าคดีของคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดมีทางชนะคดีอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่
คำพิพากษาศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ คำพิพากษาดังกล่าวจึงมีผลเพียงว่าโจทก์ที่ 2 ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วเท่านั้นไม่มีผลเลยไปถึงว่าโจทก์ที่ 2 ได้รับความคุ้มครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง ดังนั้นเมื่อจำเลยขอให้พิจารณาใหม่โดยอ้างว่าจำเลยได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์แล้ว เพราะไม่เคยเช่าหรืออาศัยโจทก์ ซึ่งหากฟังได้ดังข้ออ้างจำเลยย่อมมีทางชนะคดีได้ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นแล้ว ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3290/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาใหม่: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสิน ไม่จำเป็นต้องไต่สวนประเด็นทางชนะคดี
ในการที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาใหม่หรือไม่นั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลไต่สวนพิจารณาเพียงเหตุเดียวคือมีเหตุสมควร เชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้หรือไม่เท่านั้น จึงไม่ชอบที่จะต้องทำการไต่สวนว่าคดีของคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดมีทางชนะคดีอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่
คำพิพากษาศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ คำพิพากษาดังกล่าวจึงมีผลเพียงว่าโจทก์ที่ 2 ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วเท่านั้นไม่มีผลเลยไปถึงว่าโจทก์ที่ 2 ได้รับความคุ้มครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง ดังนั้นเมื่อจำเลยขอให้พิจารณาใหม่โดยอ้างว่าจำเลยได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์แล้ว เพราะไม่เคยเช่าหรืออาศัยโจทก์ ซึ่งหากฟังได้ดังข้ออ้างจำเลยย่อมมีทางชนะคดีได้ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นแล้ว ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
of 17