พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนหุ้นในคดีล้มละลาย พิจารณาความสุจริตและค่าตอบแทนของผู้รับโอน
เมื่อการโอนหุ้นพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านที่ 1 ได้กระทำขึ้นในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายผู้คัดค้านที่ 1 จึงต้องมีภาระพิสูจน์ว่าได้รับโอนหุ้นพิพาทมาจากจำเลยโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ผู้คัดค้านที่ 1 สนิทสนมกับจำเลยเป็นอย่างดี และได้ประกอบกิจการค้าอยู่ด้วยกัน 4-5 ปี ก่อนจำเลยถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายจำเลยได้ถูกฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คและถูกฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค และในระหว่างระยะเวลานั้นผู้คัดค้านที่ 1 ก็ได้รับโอนหุ้นพิพาทมาจากจำเลย เมื่อผู้ร้องเรียกผู้คัดค้านที่ 1 มาสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องการรับโอนหุ้นพิพาท ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่ยอมมา ส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114 ส่วนการโอนหุ้นพิพาทระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 เป็นการโอนกันภายหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้วจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 116 การเพิกถอนการโอนหุ้นพิพาทเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้อง ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้อื่นในคดีล้มละลาย
ขณะจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองครั้งที่ 4 แก่ผู้คัดค้าน นอกจากจำเลยจะเป็นหนี้ผู้คัดค้าน จำเลยยังเป็นหนี้เจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งหมด 5 ราย เป็นเงินกว่า 11,000,000 บาท การที่ อ.ซึ่งเป็นประธานสหกรณ์จำเลยรู้อยู่ว่าจำเลยเป็นหนี้บรรดาเจ้าหนี้อื่นอยู่เป็นจำนวนมาก ยังไปกระทำการจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นประกันดังกล่าวให้ผู้คัดค้าน โดยที่ขณะนั้นจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้เจ้าหนี้อื่น การจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นประกันดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ศาลต้องเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 กรณีพิพาทแห่งคดีผู้คัดค้านไม่ใช่บุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านกระทำไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ล้มละลายหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6243/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นอำนาจ
จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นในระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการฟ้องให้จำเลยล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ ศาล มีคำสั่งเพิกถอนการโอนดังกล่าว คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของ ศาลฎีกาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้และให้ยกเลิก การล้มละลายของจำเลย จำเลยจึงพ้นจากภาวะการเป็นบุคคลล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจที่จะขอให้เพิกถอนที่ดิน พิพาท ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22,114,116.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5225/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ในคดีล้มละลายเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยโอนที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน เป็นการตีใช้หนี้จำนองหนี้เงินยืมนอกสัญญาจำนอง หนี้ตามเช็คกับได้เงินสดจากผู้คัดค้านจำนวนหนึ่งภายหลังจากมีการขอให้จำเลยล้มละลาย และจำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีกหลายราย มีเจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ 3 รายรวมเป็นเงิน330,607 บาท แต่จำเลยมีทรัพย์สินให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมได้เพียง 29,534.32 บาท จำเลยย่อมรู้อยู่ว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายอื่น ทั้งที่พิพาทก็มีราคาเกินกว่าหนี้จำนอง การโอนที่พิพาทตีใช้หนี้ให้ผู้คัดค้านจึงเป็นการกระทำที่จำเลยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่น ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนในระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 เมื่อผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 รับโอนที่พิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 หลังจากมีการขอให้ล้มละลาย แม้จะรับโอนมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ก็ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองการโอนในระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ผู้รับโอนช่วงย่อมถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลภายนอก
ผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทจาก อ. ผู้จัดการมรดกของ ส. ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้จัดการทรัพย์มรดก ของ ส.โดยขณะรับโอนผู้คัดค้านที่1ทราบว่าส. มีหนี้สินบุคคล หลายราย และ ส. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินพิพาท แสดงว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ทราบถึงสภาพการมีหนี้สินพ้นตัวของกองมรดกของ ส. เป็นการรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริต ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วนผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งรับโอนและรับจำนองที่ดินพิพาทภายหลังจากมี การฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ตามพระราชบัญญัติล้มละลายดังนั้น แม้ทำโดยสุจริต มีค่าตอบแทนและเป็นบุคคลภายนอกก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3213/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินก่อนและหลังล้มละลาย: ความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ล้มละลาย และผลของการจำนองต่อเนื่อง
แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะจดทะเบียนจำนองทรัพย์ พิพาทซึ่ง เดิมเป็นของลูกหนี้ไว้กับผู้คัดค้านที่ 3 หลังลูกหนี้ถูก ฟ้องขอให้ล้มละลาย แต่ เมื่อเป็นการจดทะเบียนจำนองเพราะผู้คัดค้านที่ 2รับโอนทรัพย์พิพาทมาจากผู้คัดค้านที่ 1 จึงรับเป็นลูกหนี้จำนองแทนผู้คัดค้านที่ 1 เท่ากับการจดทะเบียนจำนองดังกล่าวมีผลสืบเนื่องมาจากภารจำนองเดิม ระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3ซึ่ง ทำขึ้นก่อนลูกหนี้ถูก ฟ้องขอให้ล้มละลาย ถือ ไม่ได้ว่าการที่ผู้คัดค้านที่ 2 จดทะเบียนจำนองดังกล่าว เป็นการกระทำภายหลังมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 3 จึงได้ รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3013/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การโอนภายใน 3 ปี & บุคคลภายนอก
จำเลยที่ 2 ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายในการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 มิได้ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และในชั้นพิจารณาก็มิได้ยื่นคำคัดค้านคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งมิได้มาศาลและนำสืบให้ศาลเห็นว่าการโอนดังกล่าวเป็นการโอนโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน ดังนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะแก้ตัวได้ว่า การโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุคคลภายนอก ซึ่งได้รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทดังกล่าว จากผู้คัดค้านที่ 1 หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสาม ขอให้ล้มละลายแล้วแม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็ไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 116 เพราะมิได้เป็นผู้รับโอนหรือได้สิทธิมาก่อนมีการขอให้ล้มละลาย การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้โอนที่พิพาทนั้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้ล้มละลายต่อเนื่องกันมาอีกทอดหนึ่ง ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 จะได้รับโอนโดยสุจริต หรือมีค่าตอบแทนก็ตามย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง ตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 เช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย และสิทธิของผู้ซื้อสุจริต
การที่จำเลยและภริยาซื้อที่ดินพิพาทจากผู้มีชื่อ แล้วใส่ชื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาหาใช่ของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ทั้งการกระทำดังกล่าวของจำเลยก็อยู่ในระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จึงต้องด้วยมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำเฉพาะส่วนของจำเลยเสียได้และการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทไปยังผู้คัดค้านที่ 2 ภายหลังที่มีการขอให้จำเลยล้มละลายแล้ว แม้จะฟังว่าผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 2 ก็หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ แต่อย่างใดไม่ศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งกลับมาเป็นของจำเลย โดยให้ใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในส่วนดังกล่าวหากไม่สามารถโอนใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้ผู้คัดค้านทั้งสองต้องร่วมกันชดใช้เงินเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของราคาทรัพย์พิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อล้มละลาย: การซื้อขายโดยใช้ชื่อผู้อื่นและการคุ้มครองผู้ซื้อสุจริต
การที่จำเลยและภริยาซื้อที่ดินพิพาทจากผู้มีชื่อ แล้วใส่ชื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาหาใช่ของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ ทั้งการกระทำดังกล่าวของจำเลยก็อยู่ในระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จึงต้องด้วยมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำเฉพาะส่วนของจำเลยเสียได้ และการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทไปยังผู้คัดค้านที่ 2 ภายหลังที่มีการขอให้จำเลยล้มละลายแล้ว แม้จะฟังว่าผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 2 ก็หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ แต่อย่างใดไม่ ศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งกลับมาเป็นของจำเลย โดยให้ใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในส่วนดังกล่าว หากไม่สามารถโอนใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้ ผู้คัดค้านทั้งสองต้องร่วมกันชดใช้เงินเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของราคาทรัพย์พิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อล้มละลาย: สินสมรส, สิทธิของผู้สุจริต, และการชดใช้ราคาทรัพย์
การที่จำเลยและภริยาซื้อที่ดินพิพาทจากผู้มีชื่อ แล้วใส่ชื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาหาใช่ของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ ทั้งการกระทำดังกล่าวของจำเลยก็อยู่ในระยะเวลา 3ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จึงต้องด้วยมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำเฉพาะส่วนของจำเลยเสียได้ และการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทไปยังผู้คัดค้านที่ 2 ภายหลังที่มีการขอให้จำเลยล้มละลายแล้ว แม้จะฟังว่าผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 2 ก็หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ แต่อย่างใดไม่ ศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งกลับมาเป็นของจำเลย โดยให้ใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในส่วนดังกล่าว หากไม่สามารถโอนใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้ ผู้คัดค้านทั้งสองต้องร่วมกันชดใช้เงินเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของราคาทรัพย์พิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่ง.