คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระ ทรัพยไพศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 285 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางมัดจำซื้อขายที่ดิน สัญญาแปลงเป็นกู้ยืม การระงับเช็คเพื่อป้องกันความเสียหายจากการผิดสัญญา ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยวางมัดจำในวันทำสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นเงินสดส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งจ่ายเป็นเช็คพิพาทให้โจทก์พร้อมทั้งทำสัญญากู้ยืมเงินให้โจทก์โจทก์นำเช็คพิพาทไปขึ้นเงินธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเนื่องจากจำเลยมีคำสั่งให้ระงับการจ่ายโจทก์มาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯการที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายจำเลยมีสิทธิสั่งระงับการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยกระทำโดยสุจริตจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้องเป็นการใช้ดุลพินิจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา227มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์จำเลยทำสัญญากู้ยืมเป็นการแปลงหนี้ใหม่เพราะเป็นการเปลี่ยนสาระสำคัญแห่งหนี้จากเงินมัดจำเป็นหนี้เงินกู้แม้เช็คพิพาทจำเลยจะสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมแต่ก็เป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากการวางเงินมัดจำตามสัญญาซื้อขายเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินให้การที่จำเลยสั่งระงับการจ่ายเงินตามเช็คก็เพื่อมิให้ต้องสูญเสียเงินเพิ่มขึ้นจากการผิดสัญญาของโจทก์จำเลยจึงไม่มีเจตนาทุจริตและไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตเช็ค – การสั่งระงับการจ่ายเช็คเมื่อคู่สัญญาผิดสัญญาซื้อขาย ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยตกลงซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์แต่ในวันทำสัญญาจำเลยชำระค่ามัดจำให้โจทก์ไม่ครบส่วนที่ขาดอยู่จำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้โจทก์ไว้พร้อมทั้งออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวการออกเช็คพิพาทจึงเป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากการวางเงินมัดจำตามสัญญาซื้อขายเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ยอมโอนที่ให้จำเลยการที่จำเลยสั่งระงับการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องหลังชี้สองสถาน, การกำหนดประเด็นข้อพิพาท, และการคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้า
คำฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขจากคำว่า 'เงินมัดจำ' เป็น'เงินที่จ่ายล่วงหน้า' เป็นถ้อยคำที่ก่อให้เกิดผลตามกฎหมายขึ้นแตกต่างกัน ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องหลังจากวันชี้สองสถานแล้ว จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้โจทก์แก้
ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะดำเนินการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้วให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนี้เป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา ซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในระหว่างพิจารณาเว้นแต่คู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้านไว้ คู่ความที่โต้แย้งชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี
ประเด็นแห่งคดีที่ว่า โจทก์ได้ขยายเวลาให้แก่จำเลยนั้นไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งชี้สองสถานของศาลชั้นต้นอันเกี่ยวกับประเด็นข้อนี้ไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อกำหนดประเด็นดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำในการจ้างทำของคืนแล้วขอแก้ฟ้องอ้างว่าเป็นเงินที่จ่ายล่วงหน้าซึ่งศาลไม่อนุญาตแม้ขอใหม่ ศาลฎีกาเห็นว่าไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นเงินที่จ่ายล่วงหน้า ก็พิพากษาให้คืนได้ไม่เป็นการนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องหลังชี้สองสถาน, การกำหนดประเด็นข้อพิพาท, และการคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้า
คำฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขจากคำว่า 'เงินมัดจำ' เป็น'เงินที่จ่ายล่วงหน้า' เป็นถ้อยคำที่ก่อให้เกิดผลตามกฎหมายขึ้นแตกต่างกัน ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องหลังจากวันชี้สองสถานแล้ว จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้โจทก์แก้
ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะดำเนินการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้วให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนี้เป็นคำสั่งในระหว่าง พิจารณาซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในระหว่างพิจารณา เว้นแต่คู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้านไว้ คู่ความที่โต้แย้งชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่ วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี
ประเด็นแห่งคดีที่ว่า โจทก์ได้ขยายเวลาให้แก่จำเลยนั้นไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งชี้สองสถานของศาลชั้นต้นอันเกี่ยวกับประเด็นข้อนี้ไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อกำหนดประเด็นดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำในการจ้างทำของคืนแล้วขอแก้ฟ้องอ้างว่าเป็นเงินที่จ่ายล่วงหน้าซึ่งศาลไม่อนุญาตแม้ขอใหม่ ศาลฎีกาเห็นว่าไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นเงินที่จ่ายล่วงหน้า ก็พิพากษาให้คืนได้ไม่เป็นการนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4346/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่หลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ หากจำเลยยังคงครอบครอง
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมื่อประมาณ 8 เดือนก่อนโจทก์ฟ้องจำเลย เป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 5649-5650/2516 ของศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ได้เข้าครอบครองตึกแถวพิพาทเลขที่166/5 และ 166/6 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โจทก์จึงฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย ศาลฎีกาฟังว่าตึกแถวพิพาทเลขที่ 166/5 เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ การที่จำเลยเข้าครอบครองตึกนั้นย่อมเป็นละเมิดอาจถูกโจทก์ ฟ้องขับไล่ได้หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองตึกแถวพิพาทดังกล่าวตลอดมาอีก โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภรรยากัน ให้ออกจากตึกแถวพิพาท การฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเพื่อขอให้บังคับ ตามสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นจากผลของคำพิพากษาศาลฎีกา ที่กล่าวข้างต้น โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4346/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่หลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ หากจำเลยยังคงครอบครอง
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมื่อประมาณ 8 เดือนก่อนโจทก์ฟ้องจำเลย เป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 5649 - 5650/2516 ของศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ได้เข้าครอบครองตึกแถวพิพาทเลขที่ 166/5 และ 166/6 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โจทก์จึงฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย ศาลฎีกาฟังว่าตึกแถวพิพาทเลขที่ 166/5 เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ การที่จำเลยเข้าครอบครองตึกนั้นย่อมเป็นละเมิดอาจถูกโจทก์ ฟ้องขับไล่ได้หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองตึกแถวพิพาทดังกล่าวตลอดมาอีก โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภรรยากัน ให้ออกจากตึกแถวพิพาท การฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเพื่อขอให้บังคับ ตามสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นจากผลของคำพิพากษาศาลฎีกา ที่กล่าวข้างต้น โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4234/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและสิทธิในทรัพย์สินเช่าซื้อ: การอุทธรณ์ต้องชัดเจนและตรงประเด็น
จำเลยกล่าวในอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นแต่เพียงว่า "จำเลยยอมรับว่ามีจริง แต่เป็นทรัพย์สินของจำเลย แต่ที่ศาลกำหนดเป็นมรดกเพราะไม่มีหลักฐานใดมาสนับสนุน" เท่านั้น และในคำขอท้ายฟ้องอุทธรณ์จำเลยก็มิได้ขอให้ศาลอุทธรณ์บังคับเอาแก่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นอย่างไร ทั้งในคำแก้ฎีกาของจำเลยได้กล่าวถึงปัญหาที่ว่าจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อนี้ด้วย ดังนั้นจึงเห็นว่าจำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ข้อที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีสิทธิหักหนี้จำนวน 86,000 บาทตามที่จำเลยนำสืบว่าได้กู้ยืมเงินบุคคลอื่นและเอาเงินส่วนตัวบางส่วนของจำเลยชำระหนี้แก่เจ้าหนี้กองมรดกไปนั้นจำเลยมิได้ขอบังคับให้ศาลหักกลบลบหนี้ให้จำเลยหรือโดยการฟ้องแย้งจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะบังคับให้เป็นไปตามที่จำเลยขอหักหนี้ให้ได้ โจทก์ทั้งห้าฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์รถยนต์โดยอ้างว่าเป็นมรดกของนายประสิทธิ์ผู้ตาย เมื่อทางพิจารณาได้ความว่ารถยนต์ดังกล่าวนั้นยังมิได้เป็นกรรมสิทธิ์ของนายประสิทธิ์เพียงแต่นายประสิทธิ์เช่าซื้อและยังอยู่ในระยะสัญญาเช่าซื้อที่นายประสิทธิ์ยังชำระค่าเช่าซื้อให้ผู้ให้เช่าซื้อไม่หมดมรดกของนายประสิทธิ์เกี่ยวแก่รถยนต์คงมีแต่สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์เท่านั้น โจทก์ทั้งห้าและจำเลยจึงต้องรับไปตามสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อทั้งหมดที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนั้นชอบแล้ว มิได้เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4054/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีของหญิงมีสามีและประเด็นความสมบูรณ์ของฟ้องที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่าโจทก์เป็นหญิงมีสามีแต่โจทก์ไม่ได้แนบหนังสือให้ความยินยอมมาท้ายคำฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยมิได้อ้างเหตุแห่งการนี้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรส จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1479 จำเลยจะอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1475 วรรคท้ายมาใช้โดยจำเลยมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งหาได้ไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182 มิได้บังคับให้มีการชี้สองสถานทุกคดีไป เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วก็ย่อมมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยได้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3992/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงรับมรดกเป็นทายาทโดยธรรมมีผลเหนือพินัยกรรม และถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินจำนวน 5 ไร่ ให้แก่จำเลยและจำเลยก็ทราบดีเพราะได้เซ็นชื่อเป็นผู้รับทรัพย์ในพินัยกรรมด้วย แต่เมื่อโจทก์และจำเลยไปยื่นคำร้องขอรับมรดกที่ดินนั้นปรากฏว่ามีบันทึกข้อตกลงของทายาทว่าโจทก์และจำเลยมิได้ขอรับมรดกตามพินัยกรรม แต่ขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมและมีทายาทของผู้ตายอีก 2 คนขอสละมรดกเจ้าพนักงานที่ดินจึงได้จดทะเบียนลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท โดยมีโจทก์และจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกัน ในกรณีเช่นนี้ถือว่าตามคำร้องขอรับมรดกและบันทึกข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 โจทก์จำเลยซึ่งขอรับมรดกอย่างทายาทโดยธรรมเพียง 2 คนย่อมมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละครึ่งหนึ่งและต่างก็ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันและแทนกัน จำเลยจึงต้องแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิด หากลูกจ้างบาดเจ็บจนไม่สามารถทำงานได้
ลูกจ้างมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่นายจ้างเมื่อลูกจ้างถูกทำละเมิดจนได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานให้นายจ้างได้ นายจ้างย่อมขาดแรงงานและมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิด (หรือนายจ้างของผู้ทำละเมิด) โดยคำนวณให้เท่ากับ จำนวนเงินที่นายจ้างชำระให้แก่ลูกจ้างนั้น
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 584 - 585/2513)
of 29