พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่ารายปีที่ดินและโรงเรือนสำหรับภาษี การเทียบเคียงกับสถานีบริการอื่น และการรวมค่าสิทธิซื้อ
ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆตามมาตรา 6 พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ หมายความว่าที่ดินซึ่งปลูกโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ และบริเวณต่อเนื่องกันซึ่งตามปกติใช้ไปด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ โจทก์เช่าที่ดินและใช้ประโยชน์เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ว่างเปล่า ซึ่งโจทก์ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ต่อมาโจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ก่อสร้างอาคารศูนย์ฝึกอบรมในพื้นที่ว่างเปล่าดังกล่าว ดังนี้เมื่อพื้นที่ว่างเปล่าเป็นส่วนที่มีการแบ่งแยกเนื้อที่ใช้สอยไว้อย่างชัดเจนโดยมีรั้วคอนกรีตแบ่งอาณาเขตและมีประตูปิดแยกต่างหาก ที่ดินในส่วนนี้จึงไม่ใช่ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสถานีบริการน้ำมัน
ตามสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับบริษัท ร. จำกัดนั้นผู้ให้เช่าได้ให้คำมั่นในการซื้อขายที่ดินแก่โจทก์ โดยในระหว่างอายุสัญญาเช่าหากโจทก์มีความประสงค์จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าให้โจทก์แจ้งความประสงค์เป็นหนังสือถึงผู้ให้เช่าแล้วผู้ให้เช่าจะขายทรัพย์สินให้ในราคาตามวิธีคำนวณที่กำหนดไว้ต่อท้ายสัญญา ทั้งเมื่อพิจารณาอัตราค่าเช่าที่ดินที่กำหนดไว้ปีละ 2,176,900 บาท ระยะเวลาการเช่ากำหนด 30 ปี โดยโจทก์ได้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าเป็นเงิน 65,307,000 บาทแก่บริษัท ร.จำกัดแล้ว ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมากอาจจะเท่าหรือสูงกว่าราคาที่ดินที่เช่า สัญญาเช่าดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงสัญญาเช่าธรรมดาแต่เพียงอย่างเดียว หากเป็นสัญญาเช่าที่รวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินที่เช่าในภายหน้าไว้ด้วย การนำค่าเช่าจำนวนดังกล่าวมาเป็นฐานในการกำหนดค่ารายปีของที่ดินต่อเนื่องและโรงเรือนของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
ในการคำนวณค่ารายปีที่ดินต่อเนื่องนี้ต้องเทียบเคียงกับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ แต่เมื่อยังไม่เคยกำหนดค่ารายปีกันมาก่อนเนื่องจากสถานีบริการน้ำมันโจทก์เพิ่งเปิดบริการในการกำหนดค่ารายปีที่ดินต่อเนื่องจึงต้องคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สินขนาดพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกันมาเทียบเคียง
ตามสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับบริษัท ร. จำกัดนั้นผู้ให้เช่าได้ให้คำมั่นในการซื้อขายที่ดินแก่โจทก์ โดยในระหว่างอายุสัญญาเช่าหากโจทก์มีความประสงค์จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าให้โจทก์แจ้งความประสงค์เป็นหนังสือถึงผู้ให้เช่าแล้วผู้ให้เช่าจะขายทรัพย์สินให้ในราคาตามวิธีคำนวณที่กำหนดไว้ต่อท้ายสัญญา ทั้งเมื่อพิจารณาอัตราค่าเช่าที่ดินที่กำหนดไว้ปีละ 2,176,900 บาท ระยะเวลาการเช่ากำหนด 30 ปี โดยโจทก์ได้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าเป็นเงิน 65,307,000 บาทแก่บริษัท ร.จำกัดแล้ว ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมากอาจจะเท่าหรือสูงกว่าราคาที่ดินที่เช่า สัญญาเช่าดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงสัญญาเช่าธรรมดาแต่เพียงอย่างเดียว หากเป็นสัญญาเช่าที่รวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินที่เช่าในภายหน้าไว้ด้วย การนำค่าเช่าจำนวนดังกล่าวมาเป็นฐานในการกำหนดค่ารายปีของที่ดินต่อเนื่องและโรงเรือนของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
ในการคำนวณค่ารายปีที่ดินต่อเนื่องนี้ต้องเทียบเคียงกับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ แต่เมื่อยังไม่เคยกำหนดค่ารายปีกันมาก่อนเนื่องจากสถานีบริการน้ำมันโจทก์เพิ่งเปิดบริการในการกำหนดค่ารายปีที่ดินต่อเนื่องจึงต้องคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สินขนาดพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกันมาเทียบเคียง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ชอบด้วยกฎหมาย และผลของการไม่โต้แย้งการประเมินตามกำหนด
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นเป็นหลักในการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนี้ทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในปี 2538 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2539 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลย ภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539 ที่โจทก์ระบุว่าเป็นการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาคำนวณตามแบบแจ้งรายการจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยได้รับแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540หากจำเลยยังไม่พอใจคำชี้ขาดก็อาจนำคดีไปสู่ศาล เพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบในการโต้แย้งนั้นไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลยผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน
จำเลยได้รับแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540หากจำเลยยังไม่พอใจคำชี้ขาดก็อาจนำคดีไปสู่ศาล เพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบในการโต้แย้งนั้นไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลยผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สิทธิโต้แย้งและการหมดอายุความตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นเป็นหลักในการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนี้ ทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในปี 2538 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2539 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลย ภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539 ที่โจทก์ระบุว่าเป็นการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539 โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาคำนวณตามแบบแจ้งรายการจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยได้รับแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 หากจำเลยยังไม่พอใจคำชี้ขาดก็อาจนำคดีไปสู่ศาล เพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบ ในการโต้แย้งนั้นไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลย ผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน
จำเลยได้รับแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 หากจำเลยยังไม่พอใจคำชี้ขาดก็อาจนำคดีไปสู่ศาล เพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบ ในการโต้แย้งนั้นไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลย ผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สิทธิโต้แย้งของผู้รับประเมิน และภาระการพิสูจน์ของโจทก์
จำเลยมิได้โต้แย้งคำชี้ขาดการประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลได้ว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบ ไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลยอย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ประเมิน ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ประจักษ์ว่าการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโรงแรมของจำเลยมีห้องพักจำนวน 119 ห้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์นำห้องพักรวม 124 ห้องมาคำนวณค่ารายปีและค่าภาษี จึงเกินกว่าจำนวนห้องพักที่มีอยู่จริงการคำนวณในส่วนที่เกินไปจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 18 และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นเป็นหลักในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนี้ ทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในปี 2538 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2539เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลยภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2539 ที่โจทก์ระบุปีภาษี 2539 นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาคำนวณตามแบบแจ้งรายการจึงชอบแล้ว
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 18 และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นเป็นหลักในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนี้ ทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในปี 2538 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2539เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลยภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2539 ที่โจทก์ระบุปีภาษี 2539 นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาคำนวณตามแบบแจ้งรายการจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ค่าเช่ารวมสิทธิซื้อ VS ค่าเช่าที่แท้จริง
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันในประเด็นที่ว่าจะนำค่าเช่าที่ระบุในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้ให้เช่ามาถือเป็นค่ารายปีได้หรือไม่มิได้โต้เถียงกันเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายของสถานีบริการน้ำมันของโจทก์เอกสารบัญชีรายรับรายจ่ายเกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท พ. และบริษัท ร. มิใช่ค่าเช่าที่ดินอย่างเดียว หากแต่เป็นเงินค่าสิทธิที่โจทก์จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำด้วย ที่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวมากำหนดเป็นค่ารายปีเป็นการไม่ถูกต้องขอให้แก้ไขใบแจ้งการประเมินคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาซึ่งจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วโจทก์ไม่จำต้องบรรยายคำฟ้องด้วยว่า ค่าเช่าจำนวนเท่าใด ค่าสิทธิ ที่จะซื้อที่ดินในราคาต่ำจำนวนเท่าใด คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสามหาได้ให้ถือว่าค่าเช่าเป็นค่ารายปีโดยเด็ดขาดไม่ เพราะค่ารายปีหมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 8 วรรคสอง หากค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของ ทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้น ได้รับประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ตามมาตรา 8 วรรคสาม การนำสืบว่า ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำจึงหาต้องห้ามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าค่าเช่าในสัญญาเช่าที่ดินรวม ค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำไว้ด้วย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนดค่ารายปีโดยใช้ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเป็นหลักในการคำนวณ โดยมิได้พิจารณาถึงค่าเช่าที่แท้จริงจึงไม่ชอบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 ให้นำ ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเท่านั้นมิได้บังคับว่าจะต้องนำมาคำนวณภาษีโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ค่าเช่าซึ่งรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินไว้ด้วยเป็นหลักในการคำนวณอันเป็นการไม่ชอบจึงไม่อาจนำค่ารายปีดังกล่าวมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท พ. และบริษัท ร. มิใช่ค่าเช่าที่ดินอย่างเดียว หากแต่เป็นเงินค่าสิทธิที่โจทก์จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำด้วย ที่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวมากำหนดเป็นค่ารายปีเป็นการไม่ถูกต้องขอให้แก้ไขใบแจ้งการประเมินคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาซึ่งจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วโจทก์ไม่จำต้องบรรยายคำฟ้องด้วยว่า ค่าเช่าจำนวนเท่าใด ค่าสิทธิ ที่จะซื้อที่ดินในราคาต่ำจำนวนเท่าใด คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสามหาได้ให้ถือว่าค่าเช่าเป็นค่ารายปีโดยเด็ดขาดไม่ เพราะค่ารายปีหมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 8 วรรคสอง หากค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของ ทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้น ได้รับประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ตามมาตรา 8 วรรคสาม การนำสืบว่า ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำจึงหาต้องห้ามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าค่าเช่าในสัญญาเช่าที่ดินรวม ค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำไว้ด้วย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนดค่ารายปีโดยใช้ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเป็นหลักในการคำนวณ โดยมิได้พิจารณาถึงค่าเช่าที่แท้จริงจึงไม่ชอบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 ให้นำ ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเท่านั้นมิได้บังคับว่าจะต้องนำมาคำนวณภาษีโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ค่าเช่าซึ่งรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินไว้ด้วยเป็นหลักในการคำนวณอันเป็นการไม่ชอบจึงไม่อาจนำค่ารายปีดังกล่าวมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิซื้อที่ดิน ประเมินค่ารายปีต้องพิจารณาค่าเช่าที่แท้จริง
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันในประเด็นที่ว่าจะนำค่าเช่าที่ระบุในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้ให้เช่ามาถือเป็นค่ารายปีได้หรือไม่ มิได้โต้เถียงกันเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายของสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ เอกสารบัญชีรายรับรายจ่ายเกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ ที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท พ. และบริษัท ร. มิใช่ค่าเช่าที่ดินอย่างเดียว หากแต่เป็นเงินค่าสิทธิที่โจทก์จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำด้วย ที่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวมากำหนดเป็นค่ารายปี เป็นการไม่ถูกต้องขอให้แก้ไขใบแจ้งการประเมิน คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ซึ่งจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายคำฟ้องด้วยว่า ค่าเช่าจำนวนเท่าใด ค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในราคาต่ำจำนวนเท่าใด คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสาม หาได้ให้ถือว่าค่าเช่าเป็นค่ารายปีโดยเด็ดขาดไม่ เพราะค่ารายปีหมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 8 วรรคสอง หากค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ ตามมาตรา 8 วรรคสาม การนำสืบว่าค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำจึงหาต้องห้ามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ค่าเช่าในสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำไว้ด้วย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดค่ารายปีโดยใช้ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเป็นหลักในการคำนวณโดยมิได้พิจารณาถึงค่าเช่าที่แท้จริงจึงไม่ชอบ
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 ให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องนำมาคำนวณภาษีโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ค่าเช่าซึ่งรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินไว้ด้วยเป็นหลักในการคำนวณ อันเป็นการไม่ชอบ จึงไม่อาจนำค่ารายปีดังกล่าวมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท พ. และบริษัท ร. มิใช่ค่าเช่าที่ดินอย่างเดียว หากแต่เป็นเงินค่าสิทธิที่โจทก์จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำด้วย ที่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวมากำหนดเป็นค่ารายปี เป็นการไม่ถูกต้องขอให้แก้ไขใบแจ้งการประเมิน คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ซึ่งจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายคำฟ้องด้วยว่า ค่าเช่าจำนวนเท่าใด ค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในราคาต่ำจำนวนเท่าใด คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสาม หาได้ให้ถือว่าค่าเช่าเป็นค่ารายปีโดยเด็ดขาดไม่ เพราะค่ารายปีหมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 8 วรรคสอง หากค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ ตามมาตรา 8 วรรคสาม การนำสืบว่าค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำจึงหาต้องห้ามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ค่าเช่าในสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำไว้ด้วย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดค่ารายปีโดยใช้ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเป็นหลักในการคำนวณโดยมิได้พิจารณาถึงค่าเช่าที่แท้จริงจึงไม่ชอบ
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 ให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องนำมาคำนวณภาษีโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ค่าเช่าซึ่งรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินไว้ด้วยเป็นหลักในการคำนวณ อันเป็นการไม่ชอบ จึงไม่อาจนำค่ารายปีดังกล่าวมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องสอดคล้องกับกฎหมายและราคาตลาด โดยต้องพิจารณาค่ารายปีของปีที่แล้วและภาวะเศรษฐกิจ
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีทรัพย์สินของโจทก์โดยนำเอาแต่เพียงราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางมาเป็นเกณฑ์ประเมิน โดยไม่ได้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาย่อมเป็นการไม่ชอบตามมาตรา 8 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ทั้งจำเลยที่ 1 ก็ไม่นำสืบให้เห็นว่าเหตุที่ประเมินค่ารายปีเพิ่มขึ้นมากมีเหตุผลพิเศษอย่างไร หรือทรัพย์สินของโจทก์ได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะเพิ่มขึ้นมากจนจำเลยที่ 1 ต้องกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นมากเป็นพิเศษอย่างใด ดังนั้น การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การกำหนดค่ารายปีของจำเลยทั้งสองต้องสอดคล้องกับแนวทางการจัดเก็บภาษีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด ซึ่งปัจจุบันคงมีเฉพาะหนังสือของกระทรวงมหาดไทยที่ซักซ้อมแนวทางการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี แม้ตามหนังสือของกระทรวงมหาดไทยให้อำนาจจำเลยที่ 1 กำหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยเป็นตารางเมตรได้แต่ก็ยังกำหนดให้ต้องสำรวจจากที่ได้มีการให้เช่าจริง แบ่งตามประเภทและลักษณะของทรัพย์สินและทำเลที่ตั้งเป็นแนวทางประกอบการประเมินและจะต้องพิจารณาร่วมกับองค์ประกอบอื่น ๆ อีกเช่นดัชนีราคาผู้บริโภคของทางราชการรวมถึงภาวะทางเศรษฐกิจด้วย โดยเฉพาะต้องคำนึงถึงภาระภาษีของราษฎรเป็นสำคัญ ดังนั้นที่จำเลยประเมินค่ารายปี ค่าภาษีให้โจทก์ต้องชำระยังขาดเหตุผลและไม่ปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงมหาดไทยและมติคณะรัฐมนตรี
ราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรที่จำเลยที่ 1 กำหนดขึ้นเป็นการกำหนดเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นแนวทางประกอบการประเมินค่ารายปีแต่มิใช่เป็นราคาประเมินเด็ดขาด เพราะกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่มีบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าว การประเมินจำต้องอยู่ในกรอบของกฎหมายที่ให้กระทำได้และต้องเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริง
การกำหนดค่ารายปีของจำเลยทั้งสองต้องสอดคล้องกับแนวทางการจัดเก็บภาษีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด ซึ่งปัจจุบันคงมีเฉพาะหนังสือของกระทรวงมหาดไทยที่ซักซ้อมแนวทางการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี แม้ตามหนังสือของกระทรวงมหาดไทยให้อำนาจจำเลยที่ 1 กำหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยเป็นตารางเมตรได้แต่ก็ยังกำหนดให้ต้องสำรวจจากที่ได้มีการให้เช่าจริง แบ่งตามประเภทและลักษณะของทรัพย์สินและทำเลที่ตั้งเป็นแนวทางประกอบการประเมินและจะต้องพิจารณาร่วมกับองค์ประกอบอื่น ๆ อีกเช่นดัชนีราคาผู้บริโภคของทางราชการรวมถึงภาวะทางเศรษฐกิจด้วย โดยเฉพาะต้องคำนึงถึงภาระภาษีของราษฎรเป็นสำคัญ ดังนั้นที่จำเลยประเมินค่ารายปี ค่าภาษีให้โจทก์ต้องชำระยังขาดเหตุผลและไม่ปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงมหาดไทยและมติคณะรัฐมนตรี
ราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรที่จำเลยที่ 1 กำหนดขึ้นเป็นการกำหนดเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นแนวทางประกอบการประเมินค่ารายปีแต่มิใช่เป็นราคาประเมินเด็ดขาด เพราะกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่มีบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าว การประเมินจำต้องอยู่ในกรอบของกฎหมายที่ให้กระทำได้และต้องเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9637/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การหักค่าใช้จ่าย ค่าขนส่ง และโบนัสพนักงาน ความถูกต้องตามหลักการบัญชีและกฎหมายภาษี
ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.8/2528 เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ แก้ไขโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 10/2528 ข้อ 1 (2) (ค) หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อลูกจ้างขึ้น ในประเทศ ก็ให้ถือว่านิติบุคคลนั้นมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย ซึ่งผู้ว่าจ้างจะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 ไม่ได้ แม้คำสั่งดังกล่าวจะไม่ใช่กฎหมาย แต่เจ้าพนักงานสรรพากรต้องถือเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับ การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนั้น เมื่อโจทก์นำสืบฟังได้ว่า บริษัท ต. ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว การที่โจทก์หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว จึงถือว่าชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายนั้น ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ก็ต่อเมื่อมีการจ่ายเงิน เมื่อโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภ. เป็นที่ปรึกษาการเงินและตั้งบัญชีค้างจ่ายค่าบริการในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 ไว้ จำนวน 150,000 บาท แต่โจทก์ยกเลิกสัญญาดังกล่าวในเดือนธันวาคม 2531 แล้วนำค่าใช้จ่าย ที่ตั้งบัญชีค้างจ่ายดังกล่าวมาบวกกลับเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 แม้โจทก์จะไม่มีหลักฐานการเลิกสัญญา แต่เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ยังมิได้จ่ายเงินให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภ. โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมารถยนต์โดยสารรับส่งพนักงานกับห้างหุ้นส่วน อ. โดยห้างดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสารแล้ว และเมื่อพิจารณาสัญญาดังกล่าวซึ่งกำหนดให้ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหา รถยนต์โดยสารและเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น ค่าจ้างพนักงานขับรถ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษารถยนต์ ค่าภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แสดงว่าสัญญาดังกล่าวมิใช่เพียงแต่ถือผลสำเร็จของการกระทำเป็นหลักเท่านั้น แต่มีเจตนาประกอบกิจการในการรับขนคนโดยสารเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติ ดังนั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. จึงเป็นผู้ประกอบการขนส่ง การที่โจทก์จ่ายเงินให้กับห้างฯ โจทก์จึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่ง ป. รัษฎากร ประกอบด้วยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528
พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้ง ตามค่ารายปีของทรัพย์สิน โดยให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น ทรัพย์สินที่โจทก์ใช้ในปี 2530 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปี 2531 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมิน และแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องเสียไปยังโจทก์ ภาษีดังกล่าวเรียกว่า ภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2531 เมื่อโจทก์ตั้งค้างจ่ายค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินสูงเกินจำนวน รายจ่ายค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในส่วนที่เกินไปดังกล่าวจึงถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 การที่โจทก์หักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 จึงถือเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเอง โดยไม่มีการจ่ายจริง ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่ง ป. รัษฎากร
เงินโบนัสที่โจทก์จ่ายให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเงินโบนัสปี 2528 และ 2529 ของพนักงาน การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยที่มาช่วยงานโจทก์ เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2528 และปี 2529 โจทก์จึงนำรายจ่ายดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในปี 2530 ไม่ได้ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายนั้น ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ก็ต่อเมื่อมีการจ่ายเงิน เมื่อโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภ. เป็นที่ปรึกษาการเงินและตั้งบัญชีค้างจ่ายค่าบริการในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 ไว้ จำนวน 150,000 บาท แต่โจทก์ยกเลิกสัญญาดังกล่าวในเดือนธันวาคม 2531 แล้วนำค่าใช้จ่าย ที่ตั้งบัญชีค้างจ่ายดังกล่าวมาบวกกลับเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 แม้โจทก์จะไม่มีหลักฐานการเลิกสัญญา แต่เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ยังมิได้จ่ายเงินให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภ. โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมารถยนต์โดยสารรับส่งพนักงานกับห้างหุ้นส่วน อ. โดยห้างดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสารแล้ว และเมื่อพิจารณาสัญญาดังกล่าวซึ่งกำหนดให้ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหา รถยนต์โดยสารและเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น ค่าจ้างพนักงานขับรถ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษารถยนต์ ค่าภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แสดงว่าสัญญาดังกล่าวมิใช่เพียงแต่ถือผลสำเร็จของการกระทำเป็นหลักเท่านั้น แต่มีเจตนาประกอบกิจการในการรับขนคนโดยสารเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติ ดังนั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. จึงเป็นผู้ประกอบการขนส่ง การที่โจทก์จ่ายเงินให้กับห้างฯ โจทก์จึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่ง ป. รัษฎากร ประกอบด้วยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528
พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้ง ตามค่ารายปีของทรัพย์สิน โดยให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น ทรัพย์สินที่โจทก์ใช้ในปี 2530 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปี 2531 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมิน และแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องเสียไปยังโจทก์ ภาษีดังกล่าวเรียกว่า ภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2531 เมื่อโจทก์ตั้งค้างจ่ายค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินสูงเกินจำนวน รายจ่ายค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในส่วนที่เกินไปดังกล่าวจึงถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 การที่โจทก์หักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 จึงถือเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเอง โดยไม่มีการจ่ายจริง ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่ง ป. รัษฎากร
เงินโบนัสที่โจทก์จ่ายให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเงินโบนัสปี 2528 และ 2529 ของพนักงาน การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยที่มาช่วยงานโจทก์ เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2528 และปี 2529 โจทก์จึงนำรายจ่ายดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในปี 2530 ไม่ได้ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องอิงค่ารายปีปีก่อนหน้า และมีเหตุผลรองรับการเปลี่ยนแปลงที่สูงกว่าปกติ
จำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์โดยนำเอาแต่เพียงราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางมาเป็นเกณฑ์ประเมิน มิได้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 18 และจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำสืบว่า เหตุที่ประเมินค่ารายปีเพิ่มขึ้นมากเช่นนั้นมีเหตุผลพิเศษอย่างไร เช่นอัตราค่าภาษีของปีที่ล่วงแล้วต่ำไปหรือไม่เหมาะสมอย่างไรหรือว่าทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะเพิ่มขึ้นมากจนเป็นเหตุเพียงพอให้จำเลยที่ 1กำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นมากเป็นพิเศษตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8ดังนั้น การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1และคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จึงไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ควรเพิ่มขึ้นเป็นอัตราส่วนเท่ากับดัชนีราคาผู้บริโภคปี 2538 ของกองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2537 เพียงร้อยละ 5.8ค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ประจำปีภาษี 2539 จึงควรเป็นเงินจำนวน 634,800 บาท และค่าภาษีควรเป็นเงิน79,350 บาท นั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดค่ารายปีโดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่มิชอบ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่ารายปีของปีที่แล้วเป็นหลัก และแสดงเหตุผลพิเศษในการเพิ่มค่าประเมิน
จำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์โดยนำเอาแต่เพียงราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางมาเป็นเกณฑ์ประเมิน มิได้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 และจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำสืบว่า เหตุที่ประเมินค่ารายปีเพิ่มขึ้นมากเช่นนั้นมีเหตุผลพิเศษอย่างไร เช่น อัตราค่าภาษีของปีที่ล่วงแล้วต่ำไปหรือไม่เหมาะสมอย่างไร หรือว่าทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะเพิ่มขึ้นมากจนเป็นเหตุเพียงพอให้จำเลยที่ 1กำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นมากเป็นพิเศษตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 ดังนั้น การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จึงไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
ส่วนที่โจทก์อ้างว่าค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ควรเพิ่มขึ้นเป็นอัตราส่วนเท่ากับดัชนีราคาผู้บริโภคปี 2538 ของกองดัชนีเศรษฐกิจการค้ากรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2537 เพียงร้อยละ5.8 ค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ประจำปีภาษี 2539 จึงควรเป็นเงินจำนวน634,800 บาท และค่าภาษีควรเป็นเงิน 79,350 บาท นั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดค่ารายปีโดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แล้ว
ส่วนที่โจทก์อ้างว่าค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ควรเพิ่มขึ้นเป็นอัตราส่วนเท่ากับดัชนีราคาผู้บริโภคปี 2538 ของกองดัชนีเศรษฐกิจการค้ากรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2537 เพียงร้อยละ5.8 ค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ประจำปีภาษี 2539 จึงควรเป็นเงินจำนวน634,800 บาท และค่าภาษีควรเป็นเงิน 79,350 บาท นั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดค่ารายปีโดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แล้ว