พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน, การต่ออายุสัญญาเช่า, และการประเมินค่าเช่าที่สมควร
สัญญาเช่าทรัพย์สินระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากับโจทก์ผู้เช่าระบุว่าโจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนผู้ให้เช่า การที่จำเลยที่ 1 ก็ยอมรับชำระค่าภาษีดังกล่าวจากโจทก์ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน หากจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีดังกล่าว เกินไปจำเลยที่ 1 ก็หามีสิทธิที่จะยึดเงินส่วนที่เกินไว้โดยไม่คืนให้แก่ผู้มีสิทธิในเงินจำนวนนั้นไม่ เมื่อโจทก์เป็นผู้ชำระเงินส่วนที่อ้างว่าเกินนั้น โจทก์ย่อมเรียกเงินส่วนนี้คืนได้แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้รับประเมินและไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ด้วยอำนาจแห่งสิทธิของโจทก์เองกรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องแทนผู้ให้เช่าโจทก์จึงไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากผู้ให้เช่า พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำการประเมินค่ารายปีโดยใช้ หลักเกณฑ์เทียบเคียงกับอาคารที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งใช้ประโยชน์ คล้ายคลึงกันและมีทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกันคือ เทียบเคียงกับโรงเรือนซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 300 เมตรโดยคำนึงถึงค่ารายปีในปี 2537 ด้วยแล้วจึงประเมินพื้นที่อาคารสำนักงานและลายจอดรถ ซึ่งราคาประเมินลายจอดรถยังต่ำกว่าของอาคารที่อยู่ใกล้เคียงดังกล่าว สำหรับป้อมยาม โรงอาหารโรงไฟฟ้า รวมทั้งพื้นที่ต่อเนื่องกับอาคารไม่มีการประเมินเพิ่มทั้งนี้ได้คำนึงถึงดรรชนีราคาผู้บริโภคของทางราชการประกอบสภาพทางเศรษฐกิจอีกด้วย ค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ประเมินไว้เป็นเงินค่ารายปีอันสมควร และมิได้สูงกว่าค่าเช่าที่อาจให้เช่าได้ในปี 2538 การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักการใช้ค่ารายปีปีก่อนเป็นฐาน และการเปรียบเทียบกับทรัพย์สินอื่น
การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1เป็นการประเมินของปี 2537 ส่วนค่าเช่าที่โจทก์อ้างถึงเป็นค่าเช่าที่โจทก์ทำสัญญากันไว้ในปี 2532 และสัญญาเช่าดังกล่าวมีอายุเพียงปีเดียว จึงเป็นเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจทำการประเมินค่ารายปีได้
ที่โจทก์โต้แย้งว่าแม้สัญญาเช่าโจทก์มีอายุเพียงปีเดียว แต่โจทก์ก็คิดค่าเช่ากับผู้เช่าในอัตราเดิมตลอดมา เพราะตึกที่โจทก์ให้เช่ามิได้ตั้งอยู่ริมถนนเศรษฐกิจ ความเจริญของตึกที่เช่าตั้งแต่ปี 2532 จนถึงปัจจุบันมิได้มีการเปลี่ยนแปลง พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพิ่มค่ารายปีโดยมิได้แสดงให้เห็นว่าถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในปี 2536 ไม่ชอบ แม้โจทก์จะฟ้องคดีและในที่สุดศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีก็ตาม ก็ถือได้ว่าโจทก์โต้แย้งการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในปี 2536 แล้ว และปัญหายังมิได้ยุตินั้น เมื่อโจทก์ทิ้งคำฟ้องจนเป็นเหตุให้ศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีคำฟ้องของโจทก์จึงตกไปและมีผลทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 176 ปัญหาข้อโต้แย้งการประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในปี 2536จึงถือว่าไม่มีข้อโต้แย้งต่อไป ค่ารายปีของปี 2536 ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินจึงฟังเป็นยุติโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ไม่ต้องแสดงว่า ถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่เจริญรุ่งเรืองขึ้นจนทำให้ต้องมีการประเมินเพิ่มขึ้น การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โดยยึดถืออัตราค่ารายปีของปี 2536 ดังกล่าวประกอบทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเล ที่ตั้งและบริการสาธารณะของบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน ย่อมเป็นการประเมินที่ชอบแล้ว
ทรัพย์สินที่โจทก์ใช้เป็นสำนักงานเพื่อประกอบธุรกิจของโจทก์พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้กำหนดค่ารายปีถัวเฉลี่ยตารางเมตรละ48.96 บาทต่อเดือน โดยเทียบเคียงจากโรงเรือนของธนาคาร ซึ่งธนาคารใช้ดำเนินเอง มีค่ารายปีถัวเฉลี่ยตารางเมตรละ 70 บาทต่อเดือน เมื่อโรงเรือนของธนาคารดังกล่าวอยู่ใกล้เคียงกับโรงเรือนของโจทก์และอยู่ติดถนนสี่พระยาเช่นเดียวกับโรงเรือนของโจทก์และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็กำหนดค่ารายปีต่ำกว่าโรงเรือนดังกล่าว มิได้กำหนดสูงเกินไป การกำหนดค่ารายปีของทรัพย์สินตามรายการดังกล่าวจึงชอบแล้ว
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18บัญญัติว่า "ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วนั้นท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา" เมื่อค่ารายปีของปี 2536 เป็นอันยุติตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีของปี 2537โดยอาศัยค่ารายปีของปี 2536 เป็นหลัก จึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
ที่โจทก์โต้แย้งว่าแม้สัญญาเช่าโจทก์มีอายุเพียงปีเดียว แต่โจทก์ก็คิดค่าเช่ากับผู้เช่าในอัตราเดิมตลอดมา เพราะตึกที่โจทก์ให้เช่ามิได้ตั้งอยู่ริมถนนเศรษฐกิจ ความเจริญของตึกที่เช่าตั้งแต่ปี 2532 จนถึงปัจจุบันมิได้มีการเปลี่ยนแปลง พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพิ่มค่ารายปีโดยมิได้แสดงให้เห็นว่าถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในปี 2536 ไม่ชอบ แม้โจทก์จะฟ้องคดีและในที่สุดศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีก็ตาม ก็ถือได้ว่าโจทก์โต้แย้งการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในปี 2536 แล้ว และปัญหายังมิได้ยุตินั้น เมื่อโจทก์ทิ้งคำฟ้องจนเป็นเหตุให้ศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีคำฟ้องของโจทก์จึงตกไปและมีผลทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 176 ปัญหาข้อโต้แย้งการประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในปี 2536จึงถือว่าไม่มีข้อโต้แย้งต่อไป ค่ารายปีของปี 2536 ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินจึงฟังเป็นยุติโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ไม่ต้องแสดงว่า ถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่เจริญรุ่งเรืองขึ้นจนทำให้ต้องมีการประเมินเพิ่มขึ้น การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โดยยึดถืออัตราค่ารายปีของปี 2536 ดังกล่าวประกอบทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเล ที่ตั้งและบริการสาธารณะของบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน ย่อมเป็นการประเมินที่ชอบแล้ว
ทรัพย์สินที่โจทก์ใช้เป็นสำนักงานเพื่อประกอบธุรกิจของโจทก์พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้กำหนดค่ารายปีถัวเฉลี่ยตารางเมตรละ48.96 บาทต่อเดือน โดยเทียบเคียงจากโรงเรือนของธนาคาร ซึ่งธนาคารใช้ดำเนินเอง มีค่ารายปีถัวเฉลี่ยตารางเมตรละ 70 บาทต่อเดือน เมื่อโรงเรือนของธนาคารดังกล่าวอยู่ใกล้เคียงกับโรงเรือนของโจทก์และอยู่ติดถนนสี่พระยาเช่นเดียวกับโรงเรือนของโจทก์และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็กำหนดค่ารายปีต่ำกว่าโรงเรือนดังกล่าว มิได้กำหนดสูงเกินไป การกำหนดค่ารายปีของทรัพย์สินตามรายการดังกล่าวจึงชอบแล้ว
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18บัญญัติว่า "ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วนั้นท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา" เมื่อค่ารายปีของปี 2536 เป็นอันยุติตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีของปี 2537โดยอาศัยค่ารายปีของปี 2536 เป็นหลัก จึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักการใช้ค่าเช่าและค่ารายปีที่ยุติแล้วเป็นฐาน
การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1เป็นการประเมินของปี2537ส่วนค่าเช่าที่โจทก์อ้างถึงเป็นค่าเช่าที่โจทก์ทำสัญญากันไว้ในปี2532และสัญญาเช่าดังกล่าวมีอายุเพียงปีเดียวจึงเป็นเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จึงมีอำนาจทำการประเมินค่ารายปีได้ ที่โจทก์โต้แย้งว่าแม้สัญญาเช่าโจทก์มีอายุเพียงปีเดียวแต่โจทก์ก็คิดค่าเช่ากับผู้เช่าในอัตราเดิมตลอดมาเพราะตึกที่โจทก์ให้เช่ามิได้ตั้งอยู่ริมถนนเศรษฐกิจ ความเจริญของตึกที่เช่าตั้งแต่ปี2532จนถึงปัจจุบันมิได้มีการเปลี่ยนแปลงพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1เพิ่มค่ารายปีโดยมิได้แสดงให้เห็นว่าถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นการประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ในปี2536ไม่ชอบแม้โจทก์จะฟ้องคดีและในที่สุดศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีก็ตามก็ถือได้ว่าโจทก์โต้แย้งการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ในปี2536แล้วและปัญหายังมิได้ยุตินั้นเมื่อโจทก์ทิ้งคำฟ้องจนเป็นเหตุให้ศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีคำฟ้องของโจทก์จึงตกไปและมีผลทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176ปัญหาข้อโต้แย้งการประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ในปี2536จึงถือว่าไม่มีข้อโต้แย้งต่อไปค่ารายปีของปี2536ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ประเมินจึงฟังเป็นยุติโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ไม่ต้องแสดงว่าถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่เจริญรุ่งเรืองขึ้นจนทำให้ต้องมีการประเมินเพิ่มขึ้นการประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1โดยยึดถืออัตราค่ารายปีของปี2536ดังกล่าวประกอบทรัพย์สินขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะของบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกันย่อมเป็นการประเมินที่ชอบแล้ว ทรัพย์สินที่โจทก์ใช้เป็นสำนักงานเพื่อประกอบธุรกิจของโจทก์พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ได้กำหนดค่ารายปีถัวเฉลี่ยตารางเมตรละ48.96บาทต่อเดือนโดยเทียบเคียงจากโรงเรือนของธนาคารซึ่งธนาคารใช้ดำเนินเองมีค่ารายปีถังเฉลี่ยตารางเมตรละ70บาทต่อเดือนเมื่อโรงเรือนของธนาคารดังกล่าวอยู่ใกล้เคียงกับโรงเรือนของโจทก์และอยู่ติดถนนสี่พระยาเช่นเดียวกับโรงเรือนของโจทก์และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ก็กำหนดค่ารายปีต่ำกว่าโรงเรือนดังกล่าวมิได้กำหนดสูงเกินไปการกำหนดค่ารายปีของทรัพย์สินตามรายการดังกล่าวจึงชอบแล้ว พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา18บัญญัติว่า"ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วนั้นท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา"เมื่อค่ารายปีของปี2536เป็นอันยุติตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้วการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1กำหนดค่ารายปีของปี2537โดยอาศัยค่ารายปีของปี2536เป็นหลักจึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: นิติบุคคล-ส่วนราชการ, การประเมินค่ารายปีตามกฎหมาย, และความรับผิดของผู้เกี่ยวข้อง
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลดังกล่าวไว้ในป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) และคำว่าบุคคลนั้นตาม ป.พ.พ.ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับการจะมีขึ้นได้ซึ่งนิติบุคคลนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 65 ให้มีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่ง ป.พ.พ.หรือกฎหมายอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ส่วนอำเภอเมืองชลบุรีจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลโจทก์จึงไม่สามารถฟ้องจำเลยที่ 1 ได้
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ตัวแทนเชิดของนิติบุคคลเป็นนิติบุคคลตามนิติบุคคลตัวการไปด้วย ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ตาม จำเลยที่ 1 การหาใช่เป็นนิติบุคคลตามตัวการด้วยไม่
โจทก์บรรยายฟ้องไปตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดที่โจทก์ได้รับมา ยอดเงินภาษีโรงเรือนพิพาทที่โจทก์จะต้องชำระตามใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ก็ลดลงจากเดิม 2,608,121 บาท เหลือ 1,593,190 บาทส่วนค่ารายปีที่จำเลยที่ 2 แจ้งมาจะมีจำนวน 509,823,175 บาท ตามสำเนาใบแจ้งคำชี้ขาดเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่ เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และการพิจารณาชี้ขาดของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 อีกทั้งไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่ 30 มีนาคม 2535 ที่ว่า กรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการเองหรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ แต่ได้นำหลักเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินมาเป็นเกณฑ์ประเมิน การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบทกฎหมายดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ
กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้วัดภาวะเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพของประชาชนในประเทศและมีหน่วยงานทางราชการหลายแห่งได้นำไปใช้ประมาณการในการจัดเก็บภาษี โดยนำไปประเมินรายได้ของรัฐบาลวิธีการหาข้อมูลเพื่อนำมาทำดัชนีราคาผู้บริโภค จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็เอาข้อมูลมาคำนวณเพื่อทำดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นรายเดือนและรายปี และมีการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่คำนวณได้นั้นในปีปัจจุบันและปีที่แล้วมา โดยเปรียบเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนร้อยละด้วย ดังนั้น การที่โจทก์นำเอาดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ล่วงแล้วนั้นย่อมเป็นวิธีการที่ถือว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร
จำเลยที่ 1 เป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ศาลจึงไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีโรงเรือนพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนั้นจำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามกฎหมาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 รับชำระภาษีไว้จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีคืนภาษีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การ-บริหารส่วนจังหวัดชลบุรีรับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ตัวแทนเชิดของนิติบุคคลเป็นนิติบุคคลตามนิติบุคคลตัวการไปด้วย ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ตาม จำเลยที่ 1 การหาใช่เป็นนิติบุคคลตามตัวการด้วยไม่
โจทก์บรรยายฟ้องไปตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดที่โจทก์ได้รับมา ยอดเงินภาษีโรงเรือนพิพาทที่โจทก์จะต้องชำระตามใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ก็ลดลงจากเดิม 2,608,121 บาท เหลือ 1,593,190 บาทส่วนค่ารายปีที่จำเลยที่ 2 แจ้งมาจะมีจำนวน 509,823,175 บาท ตามสำเนาใบแจ้งคำชี้ขาดเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่ เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และการพิจารณาชี้ขาดของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 อีกทั้งไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่ 30 มีนาคม 2535 ที่ว่า กรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการเองหรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ แต่ได้นำหลักเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินมาเป็นเกณฑ์ประเมิน การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบทกฎหมายดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ
กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้วัดภาวะเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพของประชาชนในประเทศและมีหน่วยงานทางราชการหลายแห่งได้นำไปใช้ประมาณการในการจัดเก็บภาษี โดยนำไปประเมินรายได้ของรัฐบาลวิธีการหาข้อมูลเพื่อนำมาทำดัชนีราคาผู้บริโภค จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็เอาข้อมูลมาคำนวณเพื่อทำดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นรายเดือนและรายปี และมีการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่คำนวณได้นั้นในปีปัจจุบันและปีที่แล้วมา โดยเปรียบเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนร้อยละด้วย ดังนั้น การที่โจทก์นำเอาดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ล่วงแล้วนั้นย่อมเป็นวิธีการที่ถือว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร
จำเลยที่ 1 เป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ศาลจึงไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีโรงเรือนพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนั้นจำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามกฎหมาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 รับชำระภาษีไว้จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีคืนภาษีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การ-บริหารส่วนจังหวัดชลบุรีรับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนที่มิชอบตามมูลค่าทรัพย์สินแทนหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย และการคืนเงินภาษีที่เรียกเก็บเกิน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลดังกล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1(11)และคำว่าบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสำหรับการจะมีขึ้นได้ซึ่งนิติบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา65ให้มีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลส่วนอำเภอเมืองชลบุรีจำเลยที่1จึงเป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีมิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลโจทก์จึงไม่สามารถฟ้องจำเลยที่1ได้ ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ตัวแทนเชิดของนิติบุคคลเป็นนิติบุคคลตามนิติบุคคลตัวการไปด้วยดังนั้นแม้จำเลยที่1เป็นตัวแทนเชิดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ตามจำเลยที่1การหาใช่เป็นนิติบุคคลตามตัวการด้วยไม่ โจทก์บรรยายฟ้องไปตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดที่โจทก์ได้รับมายอดเงินภาษีโรงเรือนพิพาทที่โจทก์จะต้องชำระตามใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยที่2ก็ลดลงจากเดิม2,608,121บาทเหลือ1,593,190บาทส่วนค่ารายปีที่จำเลยที่2แจ้งมาจะมีจำนวน509,823,175บาทตามสำเนาใบแจ้งคำชี้ขาดเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1และการพิจารณาชี้ขาดของจำเลยที่2มิได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา8วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475อีกทั้งไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่30มีนาคม2535ที่ว่ากรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการเองหรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สินขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์แต่ได้นำหลักเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินมาเป็นเกณฑ์ประเมินการกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1และคำชี้ขาดของจำเลยที่2จึงมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบทกฎหมายดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ กองดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้วัดภาวะเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพของประชาชนในประเทศและมีหน่วยงานทางราชการหลายแห่งได้นำไปใช้ประมาณการในการจัดเก็บภาษีโดยนำไปประเมินรายได้ของรัฐบาลวิธีการหาข้อมูลเพื่อนำมาทำดัชนีราคาผู้บริโภคจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็เอาข้อมูลมาคำนวณเพื่อทำดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นรายเดือนและรายปีและมีการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่คำนวณได้นั้นในปีปัจจุบันและปีที่แล้วมาโดยเปรียบเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนร้อยละด้วยดังนั้นการที่โจทก์นำเอาดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ล่วงแล้วนั้นย่อมเป็นวิธีการที่ถือว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร จำเลยที่1เป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1ศาลจึงไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ให้จำเลยที่1คืนเงินภาษีโรงเรือนพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ส่วนจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนั้นจำเลยที่2เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามกฎหมายไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2รับชำระภาษีไว้จำเลยที่2จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีคืนภาษีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีรับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8360/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับสถานีบริการน้ำมัน โดยเทียบเคียงกับสถานีอื่นและดัชนีราคา
การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีในปี 2533 เสียใหม่โดยเทียบเคียงกับสถานีจำหน่ายน้ำมันแห่งอื่นที่มีลักษณะทำเลที่ตั้งและขนาดคล้ายคลึงกันนั้น มิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดที่ทำให้คดีเสร็จไป เพราะคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีจะต้องวินิจฉัยไปตามพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยที่ 1 แล้วชี้ขาดลงไปว่าให้จำเลยที่ 1 ประเมินได้เท่าใด คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางในส่วนนี้จึงไม่ชอบ
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8ให้ความหมายว่า ค่ารายปี คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆแต่สัญญาระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.และบริษัท ด.มิได้กำหนดค่าผลประโยชน์ตอบแทนกันเป็นอัตราที่แน่นอน หากแต่คู่สัญญาได้ตกลงให้ผู้ดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโจทก์ หากเดือนใดซื้อเป็นจำนวนน้อย ก็จะต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ในอัตราสูง แต่ถ้าเดือนใดซื้อเป็นจำนวนมาก ก็จะชำระค่าตอบแทนในอัตราต่ำ ตามอัตราค่าตอบแทนที่ระบุไว้ในสัญญาแต่ละช่วงเวลาไป นอกจากนี้โจทก์ยังได้รับผลประโยชน์เป็นค่าธรรมเนียมการใช้สถานีบริการน้ำมันและเครื่องหมายการค้าอีกจำนวนหนึ่งด้วย เห็นได้ว่าผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นค่าตอบแทนจากการใช้ตัวอาคารสถานที่ส่วนหนึ่งจากเครื่องมือ อุปกรณ์ ในการเก็บรักษาและบริการน้ำมันอีกส่วนหนึ่ง รวมทั้งได้รับผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอีกส่วนหนึ่ง ไม่สามารถจำแนกได้ว่าจะเป็นค่าตอบแทนเฉพาะการใช้โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนดังกล่าว อันจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นจำนวนเดือนละเท่าใด จึงไม่อาจนำค่าตอบแทนตามสัญญาดำเนินงานสถานีบริการน้ำมันมาคำนวณเป็นค่ารายปีได้ สำหรับข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาก็ไม่ปรากฏว่า สถานีบริการน้ำมันเหล่านั้นมีสภาพ ขนาดทำเลที่ตั้งเป็นอย่างไร มีสัญญาในลักษณะต่างตอบแทนเช่นเดียวกับโรงเรือนพิพาทหรือไม่ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ผ่านมาใช้หลักเกณฑ์ประการใด จึงไม่อาจนำค่ารายปีของสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาเทียบเคียงกำหนดเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทในปีภาษีตามฟ้องได้ ค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทตามฟ้องจึงต้องเทียบเคียงกับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งได้ความว่าในปีที่ล่วงมาแล้วคือปี 2532 จำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนเลขที่ 30/7เป็นเงิน 420,000 บาท และระหว่างปี 2532 ถึง 2534 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำดัชนีผู้บริโภคทั่วไปของกรุงเทพมหานครและดัชนีผู้บริโภคทั่วไปทั้งประเทศไว้ ปรากฏว่า ดัชนีผู้บริโภคดังกล่าวทั้งสองประเภทในหมวดเคหสถาน เครื่องเรือน และเครื่องใช้ในบ้านมีอัตราเพิ่มขึ้นในปี 2533ไม่เกินร้อยละ 3.5 ดังนั้นการที่โจทก์ยอมให้มีการเพิ่มค่ารายปีขึ้นอีกร้อยละ 7ของค่ารายปีปี 2532 รวมเป็นเงิน 449,400 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้วและถือเอาเป็นค่ารายปีสำหรับปีภาษี 2533 ได้
สำหรับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองแม้จะได้ความว่ายังไม่เคยกำหนดค่ารายปีกันมาก่อน เนื่องจากเพิ่งจะเปิดดำเนินการได้เพียง9 เดือนก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่า โรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองก็เป็นสถานีบริการน้ำมันเช่นเดียวกับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรก ทั้งยังตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธินและอยู่ในท้องที่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีเช่นเดียวกันอีกด้วย ดังนี้ เมื่อคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่และทำเลที่ตั้งแล้ว เห็นว่า อาจกำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรกได้
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8ให้ความหมายว่า ค่ารายปี คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆแต่สัญญาระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.และบริษัท ด.มิได้กำหนดค่าผลประโยชน์ตอบแทนกันเป็นอัตราที่แน่นอน หากแต่คู่สัญญาได้ตกลงให้ผู้ดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโจทก์ หากเดือนใดซื้อเป็นจำนวนน้อย ก็จะต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ในอัตราสูง แต่ถ้าเดือนใดซื้อเป็นจำนวนมาก ก็จะชำระค่าตอบแทนในอัตราต่ำ ตามอัตราค่าตอบแทนที่ระบุไว้ในสัญญาแต่ละช่วงเวลาไป นอกจากนี้โจทก์ยังได้รับผลประโยชน์เป็นค่าธรรมเนียมการใช้สถานีบริการน้ำมันและเครื่องหมายการค้าอีกจำนวนหนึ่งด้วย เห็นได้ว่าผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นค่าตอบแทนจากการใช้ตัวอาคารสถานที่ส่วนหนึ่งจากเครื่องมือ อุปกรณ์ ในการเก็บรักษาและบริการน้ำมันอีกส่วนหนึ่ง รวมทั้งได้รับผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอีกส่วนหนึ่ง ไม่สามารถจำแนกได้ว่าจะเป็นค่าตอบแทนเฉพาะการใช้โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนดังกล่าว อันจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นจำนวนเดือนละเท่าใด จึงไม่อาจนำค่าตอบแทนตามสัญญาดำเนินงานสถานีบริการน้ำมันมาคำนวณเป็นค่ารายปีได้ สำหรับข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาก็ไม่ปรากฏว่า สถานีบริการน้ำมันเหล่านั้นมีสภาพ ขนาดทำเลที่ตั้งเป็นอย่างไร มีสัญญาในลักษณะต่างตอบแทนเช่นเดียวกับโรงเรือนพิพาทหรือไม่ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ผ่านมาใช้หลักเกณฑ์ประการใด จึงไม่อาจนำค่ารายปีของสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาเทียบเคียงกำหนดเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทในปีภาษีตามฟ้องได้ ค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทตามฟ้องจึงต้องเทียบเคียงกับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งได้ความว่าในปีที่ล่วงมาแล้วคือปี 2532 จำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนเลขที่ 30/7เป็นเงิน 420,000 บาท และระหว่างปี 2532 ถึง 2534 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำดัชนีผู้บริโภคทั่วไปของกรุงเทพมหานครและดัชนีผู้บริโภคทั่วไปทั้งประเทศไว้ ปรากฏว่า ดัชนีผู้บริโภคดังกล่าวทั้งสองประเภทในหมวดเคหสถาน เครื่องเรือน และเครื่องใช้ในบ้านมีอัตราเพิ่มขึ้นในปี 2533ไม่เกินร้อยละ 3.5 ดังนั้นการที่โจทก์ยอมให้มีการเพิ่มค่ารายปีขึ้นอีกร้อยละ 7ของค่ารายปีปี 2532 รวมเป็นเงิน 449,400 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้วและถือเอาเป็นค่ารายปีสำหรับปีภาษี 2533 ได้
สำหรับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองแม้จะได้ความว่ายังไม่เคยกำหนดค่ารายปีกันมาก่อน เนื่องจากเพิ่งจะเปิดดำเนินการได้เพียง9 เดือนก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่า โรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองก็เป็นสถานีบริการน้ำมันเช่นเดียวกับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรก ทั้งยังตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธินและอยู่ในท้องที่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีเช่นเดียวกันอีกด้วย ดังนี้ เมื่อคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่และทำเลที่ตั้งแล้ว เห็นว่า อาจกำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8360/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่ารายปีตามดัชนีผู้บริโภคและลักษณะทรัพย์สิน
การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1กำหนดค่ารายปีในปี 2533 เสียใหม่โดยเทียบเคียงกับสถานีจำหน่ายน้ำมันแห่งอื่นที่มีลักษณะทำเลที่ตั้งและขนาดคล้ายคลึงกันนั้น มิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดที่ทำให้คดีเสร็จไปเพราะคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีจะต้องวินิจฉัยไปตามพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยที่ 1 แล้ว ชี้ขาดลงไปว่าให้จำเลยที่ 1ประเมินได้เท่าใด คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 8 ให้ความหมายว่า ค่ารายปี คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ แต่สัญญาระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.และบริษัทด. มิได้กำหนดค่าผลประโยชน์ตอบแทนกันเป็นอัตราที่แน่นอน หากแต่คู่สัญญาได้ตกลงให้ผู้ดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโจทก์ หากเดือนใดซื้อเป็นจำนวนน้อย ก็จะต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ในอัตราสูง แต่ถ้าเดือนใดซื้อเป็นจำนวนมาก ก็จะชำระค่าตอบแทนในอัตราต่ำตามอัตราค่าตอบแทนที่ระบุไว้ในสัญญาแต่ละช่วงเวลาไปนอกจากนี้โจทก์ยังได้รับผลประโยชน์เป็นค่าธรรมเนียมการใช้สถานีบริการน้ำมันและเครื่องหมายการค้าอีกจำนวนหนึ่งด้วยเห็นได้ว่าผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นค่าตอบแทนจากการใช้ตัวอาคารสถานที่ส่วนหนึ่งจากเครื่องมือ อุปกรณ์ในการเก็บรักษาและบริการน้ำมันอีกส่วนหนึ่ง รวมทั้งได้รับผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอีกส่วนหนึ่ง ไม่สามารถจำแนกได้ว่าจะเป็นค่าตอบแทนเฉพาะการใช้โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนดังกล่าว อันจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นจำนวนเดือนละเท่าใด จึงไม่อาจนำค่าตอบแทนตามสัญญาดำเนินงานสถานีบริการน้ำมันมาคำนวณเป็นค่ารายปีได้ สำหรับข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาก็ไม่ปรากฏว่า สถานีบริการน้ำมันเหล่านั้นมีสภาพ ขนาด ทำเลที่ตั้งเป็นอย่างไรมีสัญญาในลักษณะต่างตอบแทนเช่นเดียวกับโรงเรือนพิพาทหรือไม่ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ผ่านมาใช้หลักเกณฑ์ประการใด จึงไม่อาจนำค่ารายปีของสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาเทียบเคียงกำหนดเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทในปีภาษีตามฟ้องได้ ค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทตามฟ้องจึงต้องเทียบเคียงกับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475ซึ่งได้ความว่าในปีที่ล่วงมาแล้วคือปี 2532 จำเลยที่ 1 กำหนด ค่ารายปีของโรงเรือนเลขที่ 30/7 เป็นเงิน 420,000 บาทและระหว่างปี 2532 ถึง 2534 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำดัชนีผู้บริโภคทั่วไปของกรุงเทพมหานครและดัชนีผู้บริโภคทั่วไปทั้งประเทศไว้ ปรากฏว่า ดัชนีผู้บริโภคดังกล่าวทั้งสองประเภทในหมวดเคหสถานเครื่องเรือน และเครื่องใช้ในบ้านมีอัตราเพิ่มขึ้นในปี 2533ไม่เกินร้อยละ 3.5 ดังนั้นการที่โจทก์ยอมให้มีการเพิ่มค่ารายปีขึ้นอีกร้อยละ 7 ของค่ารายปีปี 2532 รวมเป็นเงิน449,400 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้วและถือเอาเป็นค่ารายปีสำหรับปีภาษี 2533 ได้ สำหรับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองแม้จะได้ความว่ายังไม่เคยกำหนดค่ารายปีกันมาก่อน เนื่องจากเพิ่งจะเปิดดำเนินการได้เพียง 9 เดือนก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่า โรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองก็เป็นสถานีบริการน้ำมันเช่นเดียวกับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรก ทั้งยังตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธินและอยู่ในท้องที่ตำบลคลองหนึ่งอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เช่นเดียวกันอีกด้วยดังนี้ เมื่อคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่และทำเลที่ตั้งแล้ว เห็นว่า อาจกำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4896/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนตามดัชนีราคาผู้บริโภค การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่และการพิจารณาหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม
โรงเรือนตามรายการที่ 9 มีเครื่องจักรเป็นเครื่องทดลองเครื่องซ่อมเครื่องจักรกล เครื่องซ่อมเครื่องช่างไม้ และมีอุปกรณ์การซ่อมเครื่องไฟฟ้าตั้งอยู่ ดังนั้น โรงเรือนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นโรงเรือนธรรมดา แต่เป็นโรงเรือนที่ติดตั้งเครื่องจักรที่ใช้ในการซ่อมเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่ใช้ในการทำหรือกำเนิดสินค้าถือได้ว่าเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ในการดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ มีสิทธิได้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตามความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 แล้ว บทบัญญัติดังกล่าวมิได้จำกัดไว้แต่เพียงว่าต้องเป็นเครื่องจักรที่ใช้กระทำหรือกำเนิดสินค้าเท่านั้นหากเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญเป็นเครื่องจักรหรือกลไก เพื่อใช้ในการดำเนินการอุตสาหกรรมแม้จะไม่ใช่เป็นเครื่องกระทำหรือกำเนิดสินค้าก็อยู่ในความหมายของบทบัญญัติดังกล่าว ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งกองระดับราคากรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้จัดทำขึ้นแบ่งออกเป็น 7 หมวด คือ หมวดอาหาร หมวดเครื่องนุ่งห่มหมวดเคหสถาน หมวดการตรวจรักษา หมวดยานพาหนะ หมวดการบันเทิง การอ่าน-และการศึกษา และหมวดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในเรื่องการตรวจสอบระดับราคาผู้บริโภคตามหมวดต่าง ๆ ดังกล่าว รวมทั้งค่าเช่าเคหสถาน และได้บันทึกข้อมูลไว้เป็น หลักฐานเพื่อใช้อ้างอิง การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่า และ ค่ารายปีที่ปรากฏในดัชนีราคาผู้บริโภค หมวดเคหสถานจึงเป็น อัตราที่มีเหตุผล และที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 บัญญัติว่า "ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว นั้นท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสีย ในปีต่อมา" นั้น มีความหมายเพียงว่า ให้นำค่ารายปีที่ ล่วงมาแล้วมาเป็นหลักหรือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีในปีต่อมา เท่านั้น มิใช่เป็นการบังคับให้ต้องนำมาเป็นหลักเสมอไป ในคดีนี้สำหรับโรงเรือนตามรายการในตารางที่ 2 และที่ 3 การประเมินค่ารายปีในปี 2529 โจทก์ยอมรับและไม่ได้โต้แย้ง นั้น โจทก์ได้นำค่ารายปีของปี 2529 มาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีของปี 2530 แล้ว ส่วนโรงเรือนอื่นนอกจากนี้การประเมินค่ารายปีในปี 2529 โจทก์จำเลยยังโต้แย้งอยู่ไม่ยุติ จึงไม่อาจที่จะนำค่ารายปีของปี 2529 มาเป็นหลักการในการคำนวณภาษีของปี 2530 ได้ ดังนั้น การที่โจทก์นำค่ารายปีโรงเรือนของโจทก์ในปี 2522 และในปี 2527 สำหรับโรงเรือนที่เหลือซึ่งโจทก์จำเลยไม่ได้โต้แย้งและยุติแล้วตามลำดับมาเป็นหลักในการคำนวณตามดัชนีราคาผู้บริโภคดังกล่าวข้างต้นจึงไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 18 ดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นหลักเกณฑ์ที่จำเลยที่ 1 นำมาคำนวณค่ารายปียังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะฟังได้ว่าเป็นการเหมาะสมถูกต้องและเมื่อไม่มีหลักเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมพอจะใช้เป็นหลักในการคำนวณได้ การที่โจทก์นำดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณในคดีนี้ ย่อมเป็นวิธีที่ถือได้ว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร การกำหนดค่ารายปีและการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ประจำปี 2530ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4896/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่ารายปีภาษีโรงเรือนสำหรับโรงเรือนติดตั้งเครื่องจักร และการใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคคำนวณค่ารายปี
โรงเรือนตามรายการที่ 9 มีเครื่องจักรเป็นเครื่องทดลองเครื่องซ่อมเครื่องจักรกล เครื่องซ่อมเครื่องช่างไม้ และมีอุปกรณ์การซ่อมเครื่องไฟฟ้าตั้งอยู่ ดังนั้น โรงเรือนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นโรงเรือนธรรมดา แต่เป็นโรงเรือนที่ติดตั้งเครื่องจักรที่ใช้ในการซ่อมเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่ใช้ในการทำหรือกำเนิดสินค้า ถือได้ว่าเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ในการดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ มีสิทธิได้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตามความในมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แล้ว บทบัญญัติดังกล่าวมิได้จำกัดไว้แต่เพียงว่าต้องเป็นเครื่องจักรที่ใช้กระทำหรือกำเนิดสินค้าเท่านั้น หากเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญเป็นเครื่องจักรหรือกลไก เพื่อใช้ในการดำเนินการอุตสาหกรรมแม้จะไม่ใช่เป็นเครื่องกระทำหรือกำเนิดสินค้าก็อยู่ในความหมายของบทบัญญัติดังกล่าว
ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งกองระดับราคา กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้จัดทำขึ้นแบ่งออกเป็น 7 หมวด คือ หมวดอาหาร หมวดเครื่องนุ่งห่ม หมวดเคหสถาน หมวดการตรวจรักษา หมวดยานพาหนะ หมวดการบันเทิง-การอ่าน-และการศึกษา และหมวดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในเรื่องการตรวจสอบระดับราคาผู้บริโภคตามหมวดต่าง ๆ ดังกล่าว รวมทั้งค่าเช่าเคหสถาน และได้บันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐานเพื่อใช้อ้างอิง การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่า และค่ารายปีที่ปรากฎในดัชนีราคาผู้บริโภค หมวดเคหสถานจึงเป็นอัตราที่มีเหตุผล และที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 บัญญัติว่า "ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา" นั้น มีความหมายเพียงว่า ให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นหลักหรือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีในปีต่อมาเท่านั้น มิใช่เป็นการบังคับให้ต้องนำมาเป็นหลักเสมอไป ในคดีนี้สำหรับโรงเรือนตามรายการในตารางที่ 2 และที่ 3 การประเมินค่ารายปีในปี 2529โจทก์ยอมรับและไม่ได้โต้แย้งนั้น โจทก์ได้นำค่ารายปีของปี 2529 มาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีของปี 2530 แล้ว ส่วนโรงเรือนอื่นนอกจากนี้ การประเมินค่ารายปีในปี 2529 โจทก์จำเลยยังโต้แย้งกันอยู่ไม่ยุติ จึงไม่อาจที่จะนำค่ารายปีของปี 2529 มาเป็นหลักในการคำนวณภาษีของปี 2530 ได้ ดังนั้น การที่โจทก์นำค่ารายปีโรงเรือนของโจทก์ในปี 2522 และในปี 2527 สำหรับโรงเรือนที่เหลือซึ่งโจทก์จำเลยไม่ได้โต้แย้งและยุติแล้วตามลำดับมาเป็นหลักในการคำนวณตามดัชนีราคาผู้บริโภคดังกล่าวข้างต้นจึงไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 18 ดังกล่าวข้างต้นดังนั้นหลักเกณฑ์ที่จำเลยที่ 1 นำมาคำนวณค่ารายปียังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะฟังได้ว่าเป็นการเหมาะสมถูกต้อง และเมื่อไม่มีหลักเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมพอจะใช้เป็นหลักในการคำนวณได้ การที่โจทก์นำดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณในคดีนี้ ย่อมเป็นวิธีที่ถือได้ว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร การกำหนดค่ารายปีและการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ประจำปี 2530 ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ
ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งกองระดับราคา กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้จัดทำขึ้นแบ่งออกเป็น 7 หมวด คือ หมวดอาหาร หมวดเครื่องนุ่งห่ม หมวดเคหสถาน หมวดการตรวจรักษา หมวดยานพาหนะ หมวดการบันเทิง-การอ่าน-และการศึกษา และหมวดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในเรื่องการตรวจสอบระดับราคาผู้บริโภคตามหมวดต่าง ๆ ดังกล่าว รวมทั้งค่าเช่าเคหสถาน และได้บันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐานเพื่อใช้อ้างอิง การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่า และค่ารายปีที่ปรากฎในดัชนีราคาผู้บริโภค หมวดเคหสถานจึงเป็นอัตราที่มีเหตุผล และที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 บัญญัติว่า "ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา" นั้น มีความหมายเพียงว่า ให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นหลักหรือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีในปีต่อมาเท่านั้น มิใช่เป็นการบังคับให้ต้องนำมาเป็นหลักเสมอไป ในคดีนี้สำหรับโรงเรือนตามรายการในตารางที่ 2 และที่ 3 การประเมินค่ารายปีในปี 2529โจทก์ยอมรับและไม่ได้โต้แย้งนั้น โจทก์ได้นำค่ารายปีของปี 2529 มาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีของปี 2530 แล้ว ส่วนโรงเรือนอื่นนอกจากนี้ การประเมินค่ารายปีในปี 2529 โจทก์จำเลยยังโต้แย้งกันอยู่ไม่ยุติ จึงไม่อาจที่จะนำค่ารายปีของปี 2529 มาเป็นหลักในการคำนวณภาษีของปี 2530 ได้ ดังนั้น การที่โจทก์นำค่ารายปีโรงเรือนของโจทก์ในปี 2522 และในปี 2527 สำหรับโรงเรือนที่เหลือซึ่งโจทก์จำเลยไม่ได้โต้แย้งและยุติแล้วตามลำดับมาเป็นหลักในการคำนวณตามดัชนีราคาผู้บริโภคดังกล่าวข้างต้นจึงไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 18 ดังกล่าวข้างต้นดังนั้นหลักเกณฑ์ที่จำเลยที่ 1 นำมาคำนวณค่ารายปียังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะฟังได้ว่าเป็นการเหมาะสมถูกต้อง และเมื่อไม่มีหลักเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมพอจะใช้เป็นหลักในการคำนวณได้ การที่โจทก์นำดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณในคดีนี้ ย่อมเป็นวิธีที่ถือได้ว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร การกำหนดค่ารายปีและการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ประจำปี 2530 ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การเพิ่มค่ารายปีและเหตุผลอันสมควร
กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีของอาคารโจทก์ในส่วนที่เป็นลานจอดรถ และอาคารชั้นที่ 5 โดยได้ประเมินเท่ากับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว ซี่งในส่วนที่เป็นลานจอดรถนั้น จำเลยที่ 1 เคยกำหนดค่ารายปีให้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากอาคาร แม้ค่าเช่าลานจอดรถจะรวมอยู่ในค่าเช่าอาคารด้วยก็ตาม เมื่อโจทก์ยอมรับว่าลานจอดรถสามารถคิดค่าเช่าได้เป็นส่วนหนึ่ง เพียงแต่โจทก์คิดรวมอยู่ในค่าเช่าอาคารด้วยเท่านั้น ดังนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมจะประเมินจำนวนเงินที่สมควรจะให้เช่าลานจอดรถได้ เมื่อโจทก์ยอมชำระภาษีไปแล้วโดยมิได้ร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ เท่ากับโจทก์เห็นด้วยว่าจำเลยที่ 1 ได้ประเมินราคาค่าเช่าอันสมควรแล้ว โจทก์จึงมิอาจยกมาโต้เถียงได้อีก
จำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีในส่วนเป็นอาคารชั้นล่างและชั้นที่ 7 ถึงที่ 10 โดยได้ประเมินเพิ่มขึ้นจากการประเมินค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วและปีก่อนหน้านั้น ซึ่งตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18การประเมินค่ารายปีจะต้องอาศัยค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีในปีต่อมา แม้ค่ารายปีอาจจะมีค่าไม่เท่ากัน แต่จำเลยที่ 1 ก็ต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะเพิ่มค่ารายปีขึ้นจากค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว เมื่อปรากฏว่าอาคารต่าง ๆ หลายอาคารที่ตั้งอยู่บนถนนเดียวกับอาคารของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ประเมินค่ารายปีเท่ากับปีที่ล่วงมาแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 นำอาคารของโจทก์ไปเปรียบเทียบกับอาคารบริเวณใกล้เคียงแล้วประเมินค่ารายปีเฉพาะบางชั้นของอาคารโจทก์ให้สูงขึ้น จึงไม่มีเหตุผลอันสมควร การประเมินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้จึงไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีในส่วนเป็นอาคารชั้นล่างและชั้นที่ 7 ถึงที่ 10 โดยได้ประเมินเพิ่มขึ้นจากการประเมินค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วและปีก่อนหน้านั้น ซึ่งตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18การประเมินค่ารายปีจะต้องอาศัยค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีในปีต่อมา แม้ค่ารายปีอาจจะมีค่าไม่เท่ากัน แต่จำเลยที่ 1 ก็ต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะเพิ่มค่ารายปีขึ้นจากค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว เมื่อปรากฏว่าอาคารต่าง ๆ หลายอาคารที่ตั้งอยู่บนถนนเดียวกับอาคารของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ประเมินค่ารายปีเท่ากับปีที่ล่วงมาแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 นำอาคารของโจทก์ไปเปรียบเทียบกับอาคารบริเวณใกล้เคียงแล้วประเมินค่ารายปีเฉพาะบางชั้นของอาคารโจทก์ให้สูงขึ้น จึงไม่มีเหตุผลอันสมควร การประเมินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้จึงไม่ชอบ