พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3650/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและส่วนควบที่ติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรม การพิจารณาค่าเช่าที่สมควร และการลดหย่อนภาษี
พระราชบัญญัติ ญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8กำหนดให้ผู้รับประเมินชำระค่าภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สินคือโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ นั้น ค่ารายปีที่โจทก์ยอมให้กำหนด เป็นค่ารายปีเฉพาะส่วนของโรงเรือน หาใช่รวมถึงค่ารายปีของที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนไม่.....เมื่อที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องนี้โจทก์มิได้ให้เช่า การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดค่ารายปีของที่ดินส่วนนี้ เทียบเคียงกับอัตราการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในการทำสวน จึงเป็นอัตราที่ที่ดินนี้สมควรจะให้เช่าได้ โจทก์ลดค่าเช่าท่าเทียบเรือโดยไม่ปรากฏว่าเหตุใดจึงต้องลดค่าเช่า จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันบ่งให้เห็นว่าค่าเช่าที่โจทก์ลดให้แล้ว มิใช่จำนวนเงินอันสมควรให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจแก้หรือคำนวณค่ารายปีเสียใหม่ตามค่าเช่าเดิมที่โจทก์เคยให้เช่า ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 8 วรรคสอง ค่ารายปีของโรงเรือน 7 รายการ พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดขึ้นโดยเทียบเคียงกับค่าเช่าของอาคารคลังสินค้าตามรายการที่ 1แต่เมื่อลักษณะสภาพและประโยชน์การใช้ไม่เหมือนกันไม่อาจบ่งให้เห็นว่าโรงเรือน 7 รายการนี้มีคุณค่าสูงกว่าโรงเรือนตามรายการที่ 1แม้พนักงานเจ้าหน้าที่จะกำหนดค่าเช่าต่อตารางเมตรน้อยกว่าก็ยังไม่อาจบ่งให้เห็นว่าเป็นค่าเช่าที่สมควรจะให้เช่าได้ ต้องนำค่ารายปีที่ล่วงแล้วมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีตามมาตรา 18 และการที่โจทก์ยอมให้เพิ่มค่ารายปีสูงขึ้นอีกร้อยละ 2.5 ตามดัชนีราคาผู้บริโภคของปี 2529 แม้จะไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้นำดัชนีราคาผู้บริโภคดังกล่าวมาคำนวณเพิ่มค่ารายปี แต่ดัชนีดังกล่าวก็เป็นเครื่องชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่สูงขึ้นอย่างหนึ่ง อันสมควรที่ทรัพย์สินดังกล่าวจะได้ค่าเช่าเพิ่มมากขึ้นในเมื่อจำเลยมิได้สืบให้เห็นถึงเหตุที่จะได้ค่าเช่ามากกว่านั้น เมื่อการเพิ่มค่ารายปีของโจทก์ เป็นการเพิ่มให้มากขึ้นกว่าค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วที่เป็นหลักในการคำนวณตามมาตรา 18 ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีมากขึ้นข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่าไม่อาจนำค่ารายปีของอาคารคลังสินค้าตามรายการที่ 1 มาเปรียบเทียบและสมควรเพิ่มค่ารายปีจากค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วในอัตราร้อยละ 2.5 ตามดัชนีราคาผู้บริโภคของปี2529 จึงรับฟังได้ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนอีก4 รายการ โดยเทียบเคียงกับค่าเช่าของอาคารคลังสินค้าตามรายการที่ 1 ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน แม้อาคารที่นำมาเทียบเคียงจะมีลักษณะสภาพและการใช้ประโยชน์ไม่เหมือนกัน แต่ก็พอจะใช้อาศัยเทียบเคียงได้ โรงเรือนทั้งสี่รายการดังกล่าวมีราคาต่อตารางเมตรสูงกว่าอาคารคลังสินค้ามาก เมื่ออาคารคลังสินค้าให้เช่าได้ตารางเมตรละ 55 บาท ต่อเดือน ก็เป็นเหตุอันบ่งให้เห็นว่าค่าเช่าที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้โรงเรือน 4 รายการนี้ ให้เช่าได้ตารางเมตรละ 45 บาท ต่อเดือนเป็นค่าเช่าที่สมควรจะให้เช่าได้ ส่วนค่ารายปีของอาคารไซโลตามรายการที่ 8 พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดเท่าค่ารายปีที่ล่วงมาแล้ว โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโรงเรือนหลังนี้ไม่อาจให้เช่าอันจะได้ค่าเช่าตามค่ารายปีที่ล่วงแล้ว ทั้งมิได้โต้แย้งการกรอกค่ารายปีในช่องค่ารายปีที่ล่วงแล้วในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษี การที่โจทก์เพิ่มค่ารายปี ปี 2529 ของโรงเรือนทั้งห้ารายการนี้สูงขึ้นจากค่ารายปีเมื่อปี 2525 อัตราร้อยละ 26.32 ตามภาวะค่าครองชีพและภาวะเศรษฐกิจของประเทศ แต่ค่ารายปีของปี 2525มิใช่ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว (พ.ศ. 2528) ตามความหมายในพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 จึงไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้กำหนดค่ารายปีตามที่โจทก์อ้าง โรงเรือนทั้งห้ารายการ โจทก์ได้ติดตั้งเครื่องจักรอันเป็นส่วนควบที่สำคัญมาตั้งแต่ปี 2522 พนักงานเจ้าหน้าที่กรอกค่ารายปีของปีล่วงแล้วในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีของโจทก์โดยมิได้ระบุว่าเป็นค่ารายปีเฉพาะโรงเรือน จึงต้องหมายรวมถึงค่ารายปีของส่วนควบดังกล่าวด้วย ค่ารายปีของปี 2529 ที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดขึ้นจึงเป็นค่ารายปีของทรัพย์สินรวมทั้งส่วนควบ ต้องลดลงเหลือหนึ่งในสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนต้องเป็นไปตามกฎหมายและใช้ราคาเช่าที่สมเหตุสมผล ศาลสั่งคืนเงินส่วนเกิน
การประเมินค่ารายปีสำหรับภาษีโรงเรือนประเภทโรงแรมตามสูตรค่ารายปี เท่ากับ ค่าเช่าห้อง คูณ จำนวนห้อง คูณ 15 ส่วน 100ซึ่งโจทก์มิได้ยอมรับว่าถูกต้อง จะถือว่าเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้วไม่ได้ ทั้งข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความก็ไม่ปรากฏว่าจำนวนค่าเช่าปีที่ล่วงมาแล้วและปีที่พิพาทกันที่จะให้เช่าได้นั้นมีราคาแตกต่างกัน จึงต้องนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วกำหนดเป็นค่ารายปีปีที่พิพาท การคืนเงินค่าภาษีส่วนที่ชำระเกินจะต้องคืนภายในกำหนดสามเดือน มิฉะนั้นย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา 39 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนต้องเป็นไปตามกฎหมาย และใช้ค่าเช่าที่สมเหตุสมผล หากประเมินสูงเกินไปต้องคืนส่วนต่างพร้อมดอกเบี้ย
การประเมินค่ารายปีสำหรับภาษีโรงเรือนประเภทโรงแรมตามสูตรค่ารายปี เท่ากับ ค่าเช่าห้อง คูณ จำนวนห้อง คูณ 15 ส่วน100 ซึ่งโจทก์มิได้ยอมรับว่าถูกต้อง จะถือว่าเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้วไม่ได้ ทั้งข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความก็ไม่ปรากฏว่าจำนวนค่าเช่าปีที่ล่วงมาแล้วและปีที่พิพาทกันที่จะให้เช่าได้นั้นมีราคาแตกต่างกัน จึงต้องนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วกำหนดเป็นค่ารายปีปีที่พิพาท
การคืนเงินค่าภาษีส่วนที่ชำระเกินจะต้องคืนภายในกำหนดสามเดือน มิฉะนั้นย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา 39 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ
การคืนเงินค่าภาษีส่วนที่ชำระเกินจะต้องคืนภายในกำหนดสามเดือน มิฉะนั้นย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา 39 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4488/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: ผู้รับประเมินมีสิทธิฟ้องเมื่อถูกประเมินภาษีเกินจริง แม้จะรับประเมินไว้แล้ว
อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทกันในเรื่องภาษีโรงเรือนในคดีนี้นั้นเป็นของโจทก์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังแจ้งรายการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2529 และพ.ศ. 2530 ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้มายังโจทก์โดยตรงในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประเมินภาษีโรงเรือน ทั้งโจทก์ก็ไปชำระภาษีประจำปี พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2530 ตามจำนวนที่ได้รับประเมินในนามของโจทก์เอง พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ก็ยอมรับชำระภาษีดังกล่าวไว้เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือน เมื่อโจทก์เห็นว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีเกินไปโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินไปนั้นคืนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ ในการประเมินค่ารายปีอาคารพิพาทในปี พ.ศ. 2529เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2526 กับปี พ.ศ. 2528 นั้น เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 พบว่า อาคารชั้นลอยในโกดังใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่มิได้ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง การกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นแต่ละรายการก็มิได้ให้เหตุผล ส่วนที่อ้างว่าการกำหนดค่ารายปีของอาคารพิพาทต่ำไปเมื่อเปรียบเทียบกับ โรงเรือนหลังอื่นซึ่งมีสภาพเดียวกันและอยู่ในละแวกเดียวกัน ก็ปรากฏว่าโรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ในถนนซอยและสถานที่ ที่มีความเจริญน้อยกว่า ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้ ยิ่งกว่านั้น ค่ารายปีที่ประเมินเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2529ก็สูงกว่าในปี พ.ศ. 2528 ถึงกว่าหนึ่งเท่าตัว ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลาห่างกันเพียง 1 ปี โดยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลสมควรอย่างไร จึงขึ้นค่ารายปีมากเช่นนั้นแต่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18บัญญัติให้ถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏเหตุผลตามที่จำเลยนำสืบว่าโรงเรือนพิพาทควรมีค่ารายปีสูงขึ้นเพียงใด ในการคำนวณค่ารายปีของปีพ.ศ. 2529 จำเลยจึงต้องถือค่ารายปีในปี พ.ศ. 2528 เป็นหลัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4488/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: ผู้เสียภาษีมีสิทธิโต้แย้งการประเมินที่สูงเกินจริง และศาลต้องใช้ค่ารายปีปีก่อนเป็นหลัก
อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทกันในเรื่องภาษีโรงเรือนในคดีนี้นั้นเป็นของโจทก์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังแจ้งรายการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ.2529 และ พ.ศ.2530 ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้มายังโจทก์โดยตรงในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประเมินภาษีโรงเรือน ทั้งโจทก์ก็ไปชำระภาษีประจำปี พ.ศ.2529 และ พ.ศ.2530 ตามจำนวนที่ได้รับประเมินในนามของโจทก์เองพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับชำระภาษีดังกล่าวไว้เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือน เมื่อโจทก์เห็นว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีเกินไป โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินไปนั้นคืนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ในการประเมินค่ารายปีอาคารพิพาทในปี พ.ศ.2529 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2526 กับปี พ.ศ.2528 นั้น เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1พบว่า อาคารชั้นลอยในโกดังใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่มิได้ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง การกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นแต่ละรายการก็มิได้ให้เหตุผล ส่วนที่อ้างว่าการกำหนดค่ารายปีของอาคารพิพาทต่ำไปเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรือนหลังอื่นซึ่งมีสภาพเดียวกันและอยู่ในละแวกเดียวกัน ก็ปรากฏว่าโรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ในถนนซอยและสถานที่ที่มีความเจริญน้อยกว่า ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้ ยิ่งกว่านั้น ค่ารายปีที่ประเมินเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2529 ก็สูงกว่าในปีพ.ศ.2528 ถึงกว่าหนึ่งเท่าตัว ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลาห่างกันเพียง 1 ปี โดยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลสมควรอย่างไร จึงขึ้นค่ารายปีมากเช่นนั้น แต่ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 บัญญัติให้ถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏเหตุผลตามที่จำเลยนำสืบว่าโรงเรือนพิพาทควรมีค่ารายปีสูงขึ้นเพียงใด ในการคำนวณค่ารายปีของปี พ.ศ.2529 จำเลยจึงต้องถือค่ารายปีในปี พ.ศ.2528เป็นหลัก
ในการประเมินค่ารายปีอาคารพิพาทในปี พ.ศ.2529 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2526 กับปี พ.ศ.2528 นั้น เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1พบว่า อาคารชั้นลอยในโกดังใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่มิได้ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง การกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นแต่ละรายการก็มิได้ให้เหตุผล ส่วนที่อ้างว่าการกำหนดค่ารายปีของอาคารพิพาทต่ำไปเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรือนหลังอื่นซึ่งมีสภาพเดียวกันและอยู่ในละแวกเดียวกัน ก็ปรากฏว่าโรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ในถนนซอยและสถานที่ที่มีความเจริญน้อยกว่า ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้ ยิ่งกว่านั้น ค่ารายปีที่ประเมินเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2529 ก็สูงกว่าในปีพ.ศ.2528 ถึงกว่าหนึ่งเท่าตัว ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลาห่างกันเพียง 1 ปี โดยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลสมควรอย่างไร จึงขึ้นค่ารายปีมากเช่นนั้น แต่ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 บัญญัติให้ถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏเหตุผลตามที่จำเลยนำสืบว่าโรงเรือนพิพาทควรมีค่ารายปีสูงขึ้นเพียงใด ในการคำนวณค่ารายปีของปี พ.ศ.2529 จำเลยจึงต้องถือค่ารายปีในปี พ.ศ.2528เป็นหลัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกคืนภาษีที่ชำระเกินสำหรับผู้เช่าที่ชำระภาษีแทนผู้ให้เช่า แม้มิใช่ผู้รับประเมิน
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า เมื่อจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไป จำเลยก็หามีสิทธิที่จะยึดเงินส่วนที่เกินไว้โดยไม่ต้องคืนให้แก่ผู้มีสิทธิในเงินนั้นไม่เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นผู้ชำระเงินส่วนที่เกินนั้นไป แม้โจทก์จะมิใช่ผู้รับการประเมินและมิได้เป็นผู้ขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเงินส่วนที่เกินนั้นคืนได้
ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฉบับ พ.ศ. 2523-2537 ระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ต้องสร้างโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า ฉะนั้นมูลค่าของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์ก่อสร้างตามสัญญาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับจากการที่ให้โจทก์เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย ดังนั้น เมื่อค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นหลักในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นค่ารายปีที่คำนวณเทียบเคียงได้กับค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่าได้รับในการให้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2การประเมินของเจ้าพนักงานที่แจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฉบับ พ.ศ. 2523-2537 ระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ต้องสร้างโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า ฉะนั้นมูลค่าของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์ก่อสร้างตามสัญญาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับจากการที่ให้โจทก์เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย ดังนั้น เมื่อค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นหลักในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นค่ารายปีที่คำนวณเทียบเคียงได้กับค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่าได้รับในการให้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2การประเมินของเจ้าพนักงานที่แจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเรียกคืนภาษีเกินชำระ แม้ไม่ใช่ผู้รับประเมิน & การประเมินภาษีโรงเรือนเทียบกับค่าเช่า
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า เมื่อจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไปก็หามีสิทธิที่จะยึดเงินส่วนที่เกินไว้โดยไม่ต้องคืนให้แก่ผู้มีสิทธิในเงินนั้นไม่ เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นผู้ชำระเงินส่วนที่เกินนั้นไป แม้โจทก์จะมิใช่ผู้รับการประเมินและมิได้เป็นผู้ขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเงินส่วนที่เกินนั้นคืนได้ ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฉบับ พ.ศ. 2523-2537โจทก์มีหน้าที่ต้องสร้างโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า มูลค่าของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์ก่อสร้างจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับจากการที่ให้โจทก์เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย ดังนั้น เมื่อค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้เป็นหลักในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นค่ารายปีที่คำนวณเทียบเคียงได้กับค่าเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับ การประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยที่แจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกคืนภาษีที่ชำระเกินไป แม้ไม่ใช่ผู้รับประเมิน กรณีสัญญาเช่ากำหนดให้ผู้เช่าชำระภาษีแทนผู้ให้เช่า
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า เมื่อจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไป จำเลยก็หามีสิทธิที่จะยึดเงินส่วนที่เกินไว้โดยไม่ต้องคืนให้แก่ผู้มีสิทธิในเงินนั้นไม่เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นผู้ชำระเงินส่วนที่เกินนั้นไป แม้โจทก์จะมิใช่ผู้รับการประเมินและมิได้เป็นผู้ขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเงินส่วนที่เกินนั้นคืนได้ ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฉบับ พ.ศ. 2523-2537 ระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ต้องสร้างโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า ฉะนั้นมูลค่าของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์ก่อสร้างตามสัญญาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับจากการที่ให้โจทก์เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย ดังนั้น เมื่อค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นหลักในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นค่ารายปีที่คำนวณเทียบเคียงได้กับค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่าได้รับในการให้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2การประเมินของเจ้าพนักงานที่แจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาชี้การประเมินภาษีโรงเรือนสูงเกินควร และการคืนเงินภาษีที่ประเมินเกินจริง รวมถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม.
การลดค่ารายปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 เป็นวิธีการที่กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีกรณีโรงเรือนถูกทำลาย และยังมิได้ทำขึ้นใหม่เท่านั้น จะตีความเลยไปว่ากฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ถึงกำหนดการยื่นรายการเพื่อชำระภาษีด้วยไม่ได้ เพราะตามบทบัญญัติของกฎหมายข้างต้นกรณีทรัพย์ถูกทำลายแล้ว ซ่อมเสร็จในทันใดก็จะลดค่ารายปีลง ดังนั้นการยื่นแบบรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินในปีใดก็เพื่อเสียภาษีในปีนั้น เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ปิดไว้และงดใช้ประโยชน์ตลอดปีภาษีและโรงเรือนที่โจทก์รื้อถอนไปแล้วก่อนปีภาษี โจทก์ย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินดังที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 9(5ป บัญญัติไว้การประเมินให้โจทก์เสียภาษีสำหรับโรงเรือนดังกล่าวจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ
โรงเรือนที่ใช้เป็นโรงงานในการประกอบอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการกำหนดค่ารายปีจึงไม่อาจนำดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งเป็นค่าเช่าบ้านที่อยู่อาศัยมาเทียบเคียงได้เพราะเป็นโรงเรือนคนละประเภท เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยกำหนดค่ารายปีโดยไม่ได้คำนึงถึงค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งต้องเสียในปี ต่อมา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 แล้ว การกำหนดค่ารายปีตลอดจนการคำนวณภาษีของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะชี้ขาดการประเมิน เมื่อผู้รับประเมินยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ การที่จำเลยที่ 2 ชี้ขาดว่าการประเมินชอบแล้วให้โจทก์ชำระภาษีตามที่มีการประเมินจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและเมื่อ ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 แกล้งชี้ขาดให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ค่าภาษีที่โจทก์ชำระก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไดว้ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 รับผิดคืนภาษีที่จำเลยที่ 1 รับชำระไว้ต่อโจทก์ได้
โรงเรือนที่ใช้เป็นโรงงานในการประกอบอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการกำหนดค่ารายปีจึงไม่อาจนำดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งเป็นค่าเช่าบ้านที่อยู่อาศัยมาเทียบเคียงได้เพราะเป็นโรงเรือนคนละประเภท เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยกำหนดค่ารายปีโดยไม่ได้คำนึงถึงค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งต้องเสียในปี ต่อมา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 แล้ว การกำหนดค่ารายปีตลอดจนการคำนวณภาษีของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะชี้ขาดการประเมิน เมื่อผู้รับประเมินยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ การที่จำเลยที่ 2 ชี้ขาดว่าการประเมินชอบแล้วให้โจทก์ชำระภาษีตามที่มีการประเมินจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและเมื่อ ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 แกล้งชี้ขาดให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ค่าภาษีที่โจทก์ชำระก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไดว้ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 รับผิดคืนภาษีที่จำเลยที่ 1 รับชำระไว้ต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การปรับค่ารายปีตามหลักเกณฑ์และสภาพจริง
ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 18 หมายความถึงค่ารายปีของปีก่อนถัดจากปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำลังประเมิน มิใช่หมายความถึงค่ารายปีของปีก่อน ๆ นั้นขึ้นไป ทั้งกฎหมายก็มิได้มีความหมายว่าให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นค่ารายปีของปีต่อมาโดยตรงเป็นเพียงแต่นำมาเป็นหลักการคำนวณเท่านั้น เพราะค่ารายปีในปีต่อมาอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแล้วแต่พฤติการณ์และความเป็นจริง
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโรงงานโจทก์ พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินได้ปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และตามหนังสือสั่งการของกรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นการให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์โดยส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบเกี่ยวกับขนาด สภาพโรงงานของโจทก์เพื่อจะนำมาพิจารณาเทียบกัน พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินมิได้กระทำการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้นตามใจชอบ โดยไม่มีหลักเกณฑ์และการปรับค่ารายปีนั้นพนักงานประเมินก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นแต่ละปีมิได้เพิ่มขึ้นครั้งเดียวให้ถึงอัตราที่อยู่ในอัตราเดียวกับบริษัทอื่น ๆ เมื่อพนักงานประเมินปรับค่ารายปีของโจทก์อยู่ในระดับเดียวกับบริษัทอื่น ๆ แล้ว พนักงานประเมินก็มิได้เพิ่มค่ารายปีและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้น ดังนั้นการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้นทุกปีดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อพิรุธทำให้เห็นว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินเป็นไปโดยมิชอบ
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโรงงานโจทก์ พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินได้ปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และตามหนังสือสั่งการของกรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นการให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์โดยส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบเกี่ยวกับขนาด สภาพโรงงานของโจทก์เพื่อจะนำมาพิจารณาเทียบกัน พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินมิได้กระทำการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้นตามใจชอบ โดยไม่มีหลักเกณฑ์และการปรับค่ารายปีนั้นพนักงานประเมินก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นแต่ละปีมิได้เพิ่มขึ้นครั้งเดียวให้ถึงอัตราที่อยู่ในอัตราเดียวกับบริษัทอื่น ๆ เมื่อพนักงานประเมินปรับค่ารายปีของโจทก์อยู่ในระดับเดียวกับบริษัทอื่น ๆ แล้ว พนักงานประเมินก็มิได้เพิ่มค่ารายปีและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้น ดังนั้นการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้นทุกปีดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อพิรุธทำให้เห็นว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินเป็นไปโดยมิชอบ