พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินตามหลักเกณฑ์กฎหมายและหนังสือสั่งการของกรุงเทพมหานคร
ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 18 หมายความถึงค่ารายปี ของปี ก่อนถัดจากปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำลังประเมิน มิใช่ หมายความ ถึงค่ารายปีของปีก่อน ๆ นั้นขึ้นไป ทั้งกฎหมายก็มิได้ มีความหมายว่าให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นค่ารายปีของปีต่อมาโดยตรงเป็นเพียงแต่นำมาเป็นหลักการคำนวณเท่านั้นเพราะค่ารายปีในปีต่อมาอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแล้วแต่พฤติการณ์และความเป็นจริง การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโรงงานโจทก์พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินได้ปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และตามหนังสือสั่งการของกรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นการให้ความ เป็นธรรมแก่โจทก์โดยส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบเกี่ยวกับขนาด สภาพโรงงานของโจทก์เพื่อจะนำมาพิจารณาเทียบกัน พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินมิได้กระทำการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้นตามใจชอบ โดยไม่มีหลักเกณฑ์และการปรับค่ารายปีนั้นพนักงานประเมินก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นแต่ละปีมิได้เพิ่มขึ้นครั้งเดียวให้ถึงอัตราที่อยู่ในอัตราเดียวกับบริษัทอื่น ๆ เมื่อพนักงานประเมินปรับค่ารายปีของโจทก์อยู่ในระดับเดียวกับบริษัทอื่น ๆ แล้วพนักงานประเมินก็มิได้เพิ่มค่ารายปีและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้น ดังนั้นการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้นทุกปีดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อพิรุธทำให้เห็นว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินเป็นไปโดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2592/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่มิชอบ การลดหย่อนภาษีโรงเรือนสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และการงดเว้นภาษีสำหรับสำนักงาน
โรงเรือนของโจทก์เป็นประเภทโรงงานโรงเรือนของบริษัทท.เป็นโรงเรือนธรรมดาสภาพของโรงเรือนไม่เหมือนกันพนักงานของจำเลยที่1นำอัตราค่าเช่าโรงเรือนของบริษัทท. ซึ่งให้บริษัทข. เช่ามาเป็นเกณฑ์คำนวณค่ารายปีของบริษัทโจทก์ด้วยจึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงและที่โรงเรือนของบริษัทท. ให้เช่าได้เดือนละ101,000บาทก็เป็นเรื่องเฉพาะรายไม่ใช่อัตราค่าเช่าทั่วๆไปทั้งที่ดินและโรงเรือนดังกล่าวอยู่คนละถนนกันการที่พนักงานของจำเลยที่1แก้ไขค่ารายปีของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียภาษีโรงเรือนเพิ่มขึ้นมากมายและอัตราส่วนที่เพิ่มก็ไม่แน่นอนดังนี้เป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายสมควรให้ประเมินเงินเพิ่มขึ้นปีละ20เปอร์เซนต์ตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น โรงพ่นสีของโจทก์ใช้เป็นที่พ่นสีกระเบื้องลอนคู่มุงหลังคาบ้านภายในโรงงานมีแท่นสายพาน 3แท่นยาวตลอดโรงงานติดตั้งถาวรกับเสาเหล็กมีกล่องเหล็กสำหรับอบความร้อนและพ่นสีหุ้มสายพานมีเครื่องพ่นสีติดตั้งอยู่เหนือแท่นสายพาน มีเครื่องปั๊มลมอยู่ด้านหลังใกล้ๆเครื่องปั๊มลมมีเครื่องทำความร้อน2เครื่องและมีท่อระบายความร้อนผ่านเหนือแท่นสายพานโรงพ่นสีของโจทก์จึงเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ดำเนินอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องของโจทก์ย่อมได้รับลดหย่อนค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตามมาตรา13แห่งพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475หาจำต้องเป็นเครื่องจักรกลไกที่มีลักษณะเป็นเครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าด้วยไม่ โจทก์เป็นบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าและประกอบการอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องกระดาษเพื่อมุ่งหาผลกำไรสำนักงานนายช่างก็คือสถานที่กำเนิดงานของโจทก์ส่วนโรงอาหารก็จัดไว้เพื่อพนักงานของโจทก์หรือผู้ที่มาติดต่อธุรกิจกับโจทก์ส่วนสถานพยาบาลก็เป็นสถานที่สำหรับรักษาพยาบาลให้แก่พนักงานของโจทก์โดยเฉพาะถือได้ว่าโจทก์ใช้โรงเรือนดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมของโจทก์มิใช่โจทก์อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาตามความหมายของมาตรา11แห่งพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475ที่แก้ไขแล้ว พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475มาตรา39วรรคสองมีความหมายว่าในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอคืนเงินค่าภาษีส่วนที่โจทก์จำต้องชำระเกินไปและศาลพิพากษาให้คืนจำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์ภายในกำหนด3เดือนนับแต่คำพิพากษาถึงที่สุดไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแต่ถ้าไม่คืนในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ย(ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี)ให้โจทก์โดยนับแต่วันครบกำหนด3เดือนจากวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2592/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การลดหย่อนภาษีสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
โรงเรือนของโจทก์เป็นประเภทโรงงาน โรงเรือนของบริษัท ท.เป็นโรงเรือนธรรมดา สภาพของโรงเรือนไม่เหมือนกัน พนักงานของจำเลยที่ 1 นำอัตราค่าเช่าโรงเรือนของบริษัท ท. ซึ่งให้บริษัท ข. เช่ามาเป็นเกณฑ์คำนวณค่ารายปีของบริษัทโจทก์ด้วย จึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง และที่โรงเรือนของบริษัท ท.ให้เช่าได้เดือนละ 100,000 บาท ก็เป็นเรื่องเฉพาะรายไม่ใช่อัตราค่าเช่าทั่ว ๆ ไป ทั้งที่ดินและโรงเรือนดังกล่าวอยู่คนละถนนกัน การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 แก้ไขค่ารายปีของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียภาษีโรงเรือนเพิ่มขึ้นมากมาย และอัตราส่วนที่เพิ่มก็ไม่แน่นอน ดังนี้ เป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สมควรให้ประเมินเพิ่มขึ้นปีละ 20 เปอร์เซ็นต์ตามทภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น
โรงพ่นสีของโจทก์ให้เป็นที่พ่นสีกระเบื้องลอนคู่มุงหลังคาบ้าน ภายในโรงงานมีแท่นสายพาน 3 แท่น ยาวตลอดโรงงานติดตั้งถาวรกับเสาเหล็กมีกล่องเหล็กสำหรับอบความร้อนและพ่นสีหุ้นสายพาน มีเครื่องพ่นสีติดตั้งอยู่เหนือแท่นสายพาน มีเครื่องปั๊มลมอยู่ด้านหลัง ใกล้ ๆ เครื่องปั๊มลมมีเครื่องทำความร้อน 2 เครื่อง และมีท่อระบายความร้อนผ่านเหนือแท่นสายพาน โรงพ่นสีของโจทก์จึงเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อให้ดำเนินอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องของโจทก์ ย่อมได้รับลดหย่อนค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตาม มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 หาจำต้องเป็นเครื่องจักรกลไกที่มีลักษณะเป็นเครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าด้วยไม่
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าและประกอบการอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องกระดาษเพื่อมุ่งหาผลกำไร สำนักงานนายช่างก็คือสถานที่ดำเนินงานของโจทก์ ส่วนโรงอาหารก็จัดไว้เพื่อพนักงานของโจทก์หรือผู้ที่มาติดต่อธุรกิจกับโจทก์ส่วนสถานพยาบาลก็เป็นสถานที่สำหรับรักษาพยาบาลให้แก่พนักงานของโจทก์โดยเฉพาะถือได้ว่าโจทก์ใช้โรงเรือนดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมของโจทก์มิใช่อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาตามความหมาย ของมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475ที่แก้ไขแล้ว
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 39 วรรคสอง มีความหมายว่า ในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอคืนเงินค่าภาษีส่วนที่โจทก์จำต้องชำรเกินไปและศาลพิพากษาให้คืน จำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่คำพิพากษาถึงที่สุดโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย แต่ถ้าไม่คืนในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ย (ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี)ให้โจทก์โดยนับแต่วันครบกำหนด 3 เดือนจากวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
โรงพ่นสีของโจทก์ให้เป็นที่พ่นสีกระเบื้องลอนคู่มุงหลังคาบ้าน ภายในโรงงานมีแท่นสายพาน 3 แท่น ยาวตลอดโรงงานติดตั้งถาวรกับเสาเหล็กมีกล่องเหล็กสำหรับอบความร้อนและพ่นสีหุ้นสายพาน มีเครื่องพ่นสีติดตั้งอยู่เหนือแท่นสายพาน มีเครื่องปั๊มลมอยู่ด้านหลัง ใกล้ ๆ เครื่องปั๊มลมมีเครื่องทำความร้อน 2 เครื่อง และมีท่อระบายความร้อนผ่านเหนือแท่นสายพาน โรงพ่นสีของโจทก์จึงเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อให้ดำเนินอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องของโจทก์ ย่อมได้รับลดหย่อนค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตาม มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 หาจำต้องเป็นเครื่องจักรกลไกที่มีลักษณะเป็นเครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าด้วยไม่
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าและประกอบการอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องกระดาษเพื่อมุ่งหาผลกำไร สำนักงานนายช่างก็คือสถานที่ดำเนินงานของโจทก์ ส่วนโรงอาหารก็จัดไว้เพื่อพนักงานของโจทก์หรือผู้ที่มาติดต่อธุรกิจกับโจทก์ส่วนสถานพยาบาลก็เป็นสถานที่สำหรับรักษาพยาบาลให้แก่พนักงานของโจทก์โดยเฉพาะถือได้ว่าโจทก์ใช้โรงเรือนดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมของโจทก์มิใช่อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาตามความหมาย ของมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475ที่แก้ไขแล้ว
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 39 วรรคสอง มีความหมายว่า ในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอคืนเงินค่าภาษีส่วนที่โจทก์จำต้องชำรเกินไปและศาลพิพากษาให้คืน จำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่คำพิพากษาถึงที่สุดโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย แต่ถ้าไม่คืนในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ย (ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี)ให้โจทก์โดยนับแต่วันครบกำหนด 3 เดือนจากวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2592/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนที่ถูกต้อง: การพิจารณาโรงเรือนประเภทอุตสาหกรรม, ส่วนควบ, และการคืนเงินภาษีเกิน
โรงเรือนของโจทก์เป็นประเภทโรงงานโรงเรือนของบริษัทท.เป็นโรงเรือนธรรมดาสภาพของโรงเรือนไม่เหมือนกันพนักงานของจำเลยที่1นำอัตราค่าเช่าโรงเรือนของบริษัทท.ซึ่งให้บริษทข.เช่ามาเป็นเกณฑ์คำนวณค่ารายปีของบริษัทโจทก์ด้วยจึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงและที่โรงเรือนของบริษัทท.ให้เช่าได้เดือนละ100,000บาทก็เป็นเรื่องเฉพาะรายไม่ใช่อัตราค่าเช่าทั่วๆไปทั้งที่ดินและโรงเรือนดังกล่าวอยู่คนละถนนกันการที่พนักงานของจำเลยที่1แก้ไขค่ารายปีของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียภาษีโรงเรือนเพิ่มขึ้นมากมายและอัตราส่วนที่เพิ่มก็ไม่แน่นอนดังนี้เป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายสมควรให้ประเมินเพิ่มขึ้นปีละ20เปอร์เซนต์ตามทภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น โรงพ่นสีของโจทก์ให้เป็นที่พ่นสีกระเบื้องลอนคู่มุงหลังคาบ้านภายในโรงงานมีแท่นสายพาน3แท่นยาวตลอดโรงงานติดตั้งถาวรกับเสาเหล็กมีกล่องเหล็กสำหรับอบความร้อนและพ่นสีหุ้นสายพานมีเครื่องพ่นสีติดตั้งอยู่เหนือแท่นสายพานมีเครื่องปั๊มลมอยู่ด้านหลังใกล้ๆเครื่องปั๊มลมมีเครื่องทำความร้อน3เครื่องและมีท่อระบายความร้อนผ่านเหนือแท่นสายพานโรงพ่นสีของโจทก์จึงเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อให้ดำเนินอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องของโจทก์ย่อมได้รับลดอย่อนค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตามมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475หาจำต้องเป็นเครื่องจักรกลไกที่มีลักษณะเป็นเครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าด้วยไม่ โจทก์เป็นบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าและประกอบการอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องกระดาษเพื่อมุ่งหาผลกำไรสำนักกานนายช่างก็คือสถานที่ดำเนินงานของโจทก์ส่วนโรงอาหารก็จัดไว้เพื่อพนักงานของโจทก์หรือผู้ที่มาติดต่อธุรกิจกับโจทก์ส่วนสถานพยาบาลก็เป็นสถานที่สำหรับรักษาพยาบาลให้แก่พนักงานของโจทก์โดยเฉพาะถือได้ว่าโจทก์ใช้โรงเรือนดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมของโจทก์มิใช่อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาตามความหมายของมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475ที่แก้ไขแล้ว พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475มาตรา39วรรคสองมีความหมายว่าในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอคืนเงินค่าภาษีส่วนที่โจทก์จำต้องชำรเกินไปและศาลพิพากษาให้คืนจำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์ภายในกำหนด3เดือนนับแต่คำพิพากษาถึงที่สุดโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแต่ถ้าไม่คืนในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ย(ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี)ให้โจทก์โดยนับแต่วันครบกำหนด3เดือนจากวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648-1649/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการประเมินค่ารายปีเพื่อคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องพิจารณาจากค่าเช่าที่สมควรและมีเหตุผลสนับสนุน
กรณีที่จะเป็นการรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ชำระหนี้รับช่วงสิทธิของผู้รับชำระหนี้มาฟ้องร้องเอาจากผู้ที่ตนชำระหนี้แทน แต่กรณีของคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องจำเลยผู้รับชำระหนี้เสียเอง จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3)
การที่ผู้เช่าชำระหนี้ค่าภาษีแทนผู้ให้เช่าในนามของผู้ให้เช่าตามความผูกพันในสัญญาเช่า ระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่า และพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยอมรับชำระหนี้จากผู้เช่าแล้ว ถือได้ว่าผู้เช่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ เมื่อปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บภาษีเกินไป ผู้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินนั้นคืนได้ ถ้าหากได้ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 8 กำหนดให้คิดค่าภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ใช้ค่าเช่าเป็นหลักคำนวณค่ารายปี แต่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินแก้หรือคำนวณค่ารายปีใหม่ได้เมื่อมีเหตุให้เห็นว่าค่าเช่าระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรและมีข้อเท็จจริงว่าปรากฏเหตุเช่นนั้น หากค่าเช่าไม่ได้น้อยจนเกินสมควรหรือไม่มีเหตุที่น่าจะเห็นได้ว่าผู้ให้เช่าและผู้เช่าสมยอมกันแล้ว เจ้าพนักงานประเมินก็ต้องประเมินค่ารายปีเพื่อเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามจำนวนค่าเช่าที่ผู้เช่าชำระให้แก่ผู้ให้เช่า
การที่ผู้เช่าชำระหนี้ค่าภาษีแทนผู้ให้เช่าในนามของผู้ให้เช่าตามความผูกพันในสัญญาเช่า ระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่า และพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยอมรับชำระหนี้จากผู้เช่าแล้ว ถือได้ว่าผู้เช่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ เมื่อปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บภาษีเกินไป ผู้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินนั้นคืนได้ ถ้าหากได้ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 8 กำหนดให้คิดค่าภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ใช้ค่าเช่าเป็นหลักคำนวณค่ารายปี แต่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินแก้หรือคำนวณค่ารายปีใหม่ได้เมื่อมีเหตุให้เห็นว่าค่าเช่าระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรและมีข้อเท็จจริงว่าปรากฏเหตุเช่นนั้น หากค่าเช่าไม่ได้น้อยจนเกินสมควรหรือไม่มีเหตุที่น่าจะเห็นได้ว่าผู้ให้เช่าและผู้เช่าสมยอมกันแล้ว เจ้าพนักงานประเมินก็ต้องประเมินค่ารายปีเพื่อเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามจำนวนค่าเช่าที่ผู้เช่าชำระให้แก่ผู้ให้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การลดหย่อนค่ารายปี และการเพิ่มค่าภาษีตามภาวะเศรษฐกิจ
อาคารของโจทก์มีทั้งโรงเรือนที่เป็นสำนักงานและโรงงานปะปนกันอยู่ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ใช้โรงเรือนที่เป็นสำนักงานเพื่อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมของโจทก์ให้ลุล่วงไปด้วยดี มิใช่โจทก์อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาโรงเรือนของโจทก์ทั้งหมด จึงไม่ได้รับงดเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 10
การเพิ่มค่ารายปีย่อมขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ และควรคำนวณค่าภาษีที่จะต้องเสียโดยถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักในการคำนวณมิใช่อยู่ในดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ประเมินภาษีฝ่ายเดียวที่จะกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นเท่าใดก็ได้ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดค่ารายปีสำหรับทรัพย์สินของโจทก์ขึ้นใหม่และคำนวณภาษีเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ล่วงแล้วมากมาย จึงไม่เป็นการถูกต้อง
ห้องเครื่องเป็นโรงเรือนที่โจทก์ติดตั้งเครื่องจักรสำหรับใช้ดูดผงซีเมนต์จากเรือบรรทุกปูนซีเมนต์ขึ้นเก็บในยุ้งเก็บซีเมนต์อันเป็นขั้นตอนในการประกอบอุตสาหกรรมผลิตสินค้าของโจทก์ ในการประเมินภาษีจึงต้องลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้นตามมาตรา 13แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475
การเพิ่มค่ารายปีย่อมขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ และควรคำนวณค่าภาษีที่จะต้องเสียโดยถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักในการคำนวณมิใช่อยู่ในดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ประเมินภาษีฝ่ายเดียวที่จะกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นเท่าใดก็ได้ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดค่ารายปีสำหรับทรัพย์สินของโจทก์ขึ้นใหม่และคำนวณภาษีเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ล่วงแล้วมากมาย จึงไม่เป็นการถูกต้อง
ห้องเครื่องเป็นโรงเรือนที่โจทก์ติดตั้งเครื่องจักรสำหรับใช้ดูดผงซีเมนต์จากเรือบรรทุกปูนซีเมนต์ขึ้นเก็บในยุ้งเก็บซีเมนต์อันเป็นขั้นตอนในการประกอบอุตสาหกรรมผลิตสินค้าของโจทก์ ในการประเมินภาษีจึงต้องลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้นตามมาตรา 13แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การลดหย่อนค่ารายปี, การเพิ่มค่าภาษี, และการพิจารณาค่าเช่าที่สมควร
อาคารของโจทก์มีทั้งโรงเรือนที่เป็นสำนักงานและโรงงานปะปนกันอยู่ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ใช้โรงเรือนที่เป็นสำนักงานเพื่อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมของโจทก์ให้ลุล่วงไปด้วยดี มิใช่โจทก์อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาโรงเรือนของโจทก์ทั้งหมดจึงไม่ได้รับงดเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 10 การเพิ่มค่ารายปีย่อมขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจและควรคำนวณค่าภาษีที่จะต้องเสียโดยถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักในการคำนวณมิใช่อยู่ในดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ประเมินภาษีฝ่ายเดียวที่จะกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นเท่าใดก็ได้ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดค่ารายปีสำหรับทรัพย์สินของโจทก์ขึ้นใหม่และคำนวณภาษีเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ล่วงแล้วมากมาย จึงไม่เป็นการถูกต้อง ห้องเครื่องเป็นโรงเรือนที่โจทก์ติดตั้งเครื่องจักรสำหรับใช้ดูดผงซีเมนต์จากเรือบรรทุกปูนซีเมนต์ขึ้นเก็บในยุ้งเก็บซีเมนต์อันเป็นขั้นตอนในการประกอบอุตสาหกรรมผลิตสินค้าของโจทก์ ในการประเมินภาษีจึงต้องลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้นตามมาตรา 13แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: เจ้าหน้าที่สามารถปรับค่ารายปีตามพฤติการณ์จริงได้ แม้มีค่ารายปีเดิม
การคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินซึ่งต้องเสียในปีต่อมานั้นไม่จำต้องถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วแต่อย่างเดียวเป็นหลักพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินมีอำนาจที่จะแก้หรือคำนวณค่ารายปีของปีต่อมาเสียให้ถูกต้องตามพฤติการณ์และความเป็นจริงได้เมื่อโจทก์ได้ใช้ประโยชน์อาคารเพิ่มขึ้นจากชั้นเดียวเป็นสามชั้นค่ารายปีแห่งทรัพย์สินก็ย่อมเพิ่มขึ้นตามตัว
อาคารของโจทก์ โจทก์ใช้ประโยชน์เองโดยมิได้ให้ผู้อื่นเช่าการที่จะทราบถึงจำนวนเงินซึ่งอาคารของโจทก์สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ อันถือเป็นค่ารายปีนั้นจะต้องพิจารณาเทียบเคียงกับทรัพย์สินอื่นที่มีผู้เช่าอยู่และอยู่ใกล้เคียงกัน ทั้งมีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกันด้วย
อาคารของโจทก์ โจทก์ใช้ประโยชน์เองโดยมิได้ให้ผู้อื่นเช่าการที่จะทราบถึงจำนวนเงินซึ่งอาคารของโจทก์สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ อันถือเป็นค่ารายปีนั้นจะต้องพิจารณาเทียบเคียงกับทรัพย์สินอื่นที่มีผู้เช่าอยู่และอยู่ใกล้เคียงกัน ทั้งมีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการประเมินค่ารายปีสำหรับภาษีโรงเรือน แม้ค่าเช่าเดิมจะสูงขึ้น และการใช้ค่ารายปีที่สูงขึ้นเป็นหลักในการประเมินภาษีปีต่อ
ถ้ามีเหตุอันบ่งให้เห็นว่า ค่าเช่าอันเป็นหลักคำนวณค่ารายปีมิใช่จำนวนเงินอันสมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจแก้หรือคำนวณค่ารายปีเสียใหม่ได้ แม้จะสูงขึ้นจากเดิมก็ตาม เมื่อค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วสูงขึ้น ดังนี้ ค่ารายปีนั้นก็คงนำมาใช้เป็นหลักสำหรับคำนวณค่าภาษีที่จะต้องเสียในปีต่อมาโดยไม่จำกัดว่าโรงเรือนที่ถูกประเมินนั้นจะได้ให้เช่ามาแล้วหรือเพิ่งจะให้เช่าเป็นครั้งแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือน: การคำนวณภาษีตามระยะเวลาการใช้งานจริง และความแตกต่างระหว่างภาษีโรงร้านกับภาษีโรงเรือน
ภาษีโรงร้านตามประกาศภาษีเรือ โรง ร้าน ตึกแพจ.ศ.1232 นั้นเป็นภาษีประจำปีที่แล้วแต่มาเก็บในปีต่อมา ส่วนภาษีโรงเรือนตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือน 2475 นั้น เป็นภาษีสำหรับปีใดเจ้าพนักงานก็เก็บในปีนั้น
มาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือน พ.ศ.2475 เป็นแต่เพียงหลักในการคำนวณภาษีที่จะเก็บ คือเอาค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักคำนวณภาษี ไม่ได้หมายความว่าภาษีโรงเรือนประจำ พ.ศ.2487 เป็นภาษีของปี 2486
มาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือน พ.ศ.2475 เป็นแต่เพียงหลักในการคำนวณภาษีที่จะเก็บ คือเอาค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักคำนวณภาษี ไม่ได้หมายความว่าภาษีโรงเรือนประจำ พ.ศ.2487 เป็นภาษีของปี 2486