คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 939

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การออกเช็ค การลงวันที่ การระบุชื่อผู้รับ และการสลักหลัง
เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ต้องการความเชื่อถือในระหว่างผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงทั้งหลายว่า เมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วจะมีการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ อันเป็นการห้ามหรือจำกัดการจ่ายเงินจะพึงมีได้จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย
การที่จำเลยออกเช็คพิพาทโดยขีดเส้นสีดำไว้ในช่องวันที่ไว้เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่ากระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เช็คนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 899 กรณีถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ เมื่อโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาและนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารย่อมลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อ บ.เป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า"หรือผู้ถือ" ออก แม้จำเลยอ้างว่าประสงค์จะออกเช็คระบุชื่อ แต่ด้วยความไม่สันทัดของจำเลยจึงมิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกก็ตาม ก็ต้องถือว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ
โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ มีผลเป็นการประกันหรืออาวัลผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 ซึ่งเป็นการอาวัลตามผลของกฎหมาย มิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึงไม่ต้องมีการเขียนข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คผู้ถือ การลงวันออกเช็ค และผลของการสลักหลังในฐานะอาวัล
เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ต้องการความเชื่อถือในระหว่างผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงทั้งหลายว่า เมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วจะมีการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ อันเป็นการห้ามหรือจำกัดการจ่ายเงินจะพึงมีได้ จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่จำเลยออกเช็คพิพาทโดยขีดเส้นสีดำในช่องวันที่ไว้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่ากระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 899 กรณีถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ เมื่อโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาและนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารย่อมลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้ายประกอบ มาตรา 989 จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อ บ. เป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกแม้จำเลยอ้างว่าประสงค์จะออกเช็คระบุชื่อ แต่ด้วยความไม่สันทัดของจำเลยจึงมิได้ ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกก็ตาม ก็ต้องถือว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ มีผลเป็นการประกัน หรืออาวัลผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989ซึ่งเป็นการอาวัลตามผลของกฎหมาย มิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึงไม่ต้องมีการเขียน ข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อประกันหนี้กู้ยืม การลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คทำให้มีผลผูกพันตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ปฏิเสธว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทมิใช่ของตนโจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาท และในสำนวนมีลายมือชื่อแท้จริงของจำเลยที่ 2 ในสัญญาจำนอง ใบแต่งทนาย และคำให้การ เมื่อเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง ศาลมีอำนาจอาศัยลายมือชื่อดังกล่าวตรวจเปรียบเทียบ เพื่อชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่า เพียงพอให้เชื่อฟังได้หรือไม่
มูลหนี้คดีนี้เป็นหนี้กู้ยืมเงิน 1,000,000 บาท มิได้ทำสัญญากู้กันไว้ แต่มีการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน หลังจากนั้นจำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นเงิน 1,000,000 บาท มอบให้โจทก์อีกโดยตกลงว่าเพื่อเป็นประกัน เช็คพิพาทจึงออกเพื่อประกันการกู้ยืมเงินด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน
การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คที่สั่งจ่ายระบุชื่อ โจทก์ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก และมุม ซ้ายบนของด้านหน้ามีข้อความว่าเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้นห้ามเปลี่ยนมือ และในเช็คไม่ปรากฏว่ามีถ้อยคำสำนวนว่าใช้ได้เป็นอาวัล หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับอาวัลแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คที่จำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายโดยระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและจำเลยทั้งสองนำเช็คไปมอบให้โจทก์ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คด้วยความสมัครใจที่จะผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง ในอันที่จะรับผิดตามข้อความในเช็คอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายด้วยการลงลายมือชื่อของตนในเช็คตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย
คำขอให้โจทก์ทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ เห็นได้ว่าเป็นการพิมพ์ผิดเพราะโจทก์มีเพียงคนเดียวจะขอให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ย่อมไม่ได้ ทั้งในที่อื่นตามฟ้องทั้งหมดได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ขอให้ชำระดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จนถึงวันที่ชำระเสร็จตามคำพิพากษาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อหลังเช็คเพื่อผูกพันตนเองตามกฎหมาย และการบังคับชำระหนี้ตามเช็ค
จำเลยที่ 2 ปฏิเสธว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทมิใช่ของตนโจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาท และในสำนวนมีลายมือชื่อแท้จริงของจำเลยที่ 2 ในสัญญาจำนอง ใบแต่งทนาย และคำให้การ เมื่อเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง ศาลมีอำนาจอาศัยลายมือชื่อดังกล่าวตรวจเปรียบเทียบ เพื่อชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่า เพียงพอให้เชื่อฟังได้หรือไม่ มูลหนี้คดีนี้เป็นหนี้กู้ยืมเงิน 1,000,000 บาท มิได้ทำสัญญากู้กันไว้ แต่มีการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน หลังจากนั้นจำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นเงิน 1,000,000 บาท มอบให้โจทก์อีกโดยตกลงว่าเพื่อเป็นประกัน เช็คพิพาทจึงออกเพื่อประกันการกู้ยืมเงินด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คที่สั่งจ่ายระบุชื่อ โจทก์ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก และมุม ซ้ายบนของด้านหน้ามีข้อความว่าเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้นห้ามเปลี่ยนมือ และในเช็คไม่ปรากฏว่ามีถ้อยคำสำนวนว่าใช้ได้เป็นอาวัล หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับอาวัลแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คที่จำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายโดยระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและจำเลยทั้งสองนำเช็คไปมอบให้โจทก์ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คด้วยความสมัครใจที่จะผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง ในอันที่จะรับผิดตามข้อความในเช็คอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายด้วยการลงลายมือชื่อของตนในเช็คตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย คำขอให้โจทก์ทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ เห็นได้ว่าเป็นการพิมพ์ผิดเพราะโจทก์มีเพียงคนเดียวจะขอให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ย่อมไม่ได้ ทั้งในที่อื่นตามฟ้องทั้งหมดได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ขอให้ชำระดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จนถึงวันที่ชำระเสร็จตามคำพิพากษาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโดยปราศจากมอบหมาย: ธนาคารต้องรับผิดต่อเช็คที่พนักงานลงนามโดยเกินอำนาจ หากสร้างความเชื่อมั่นโดยสุจริต
จำเลยที่ 2 เป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 3 เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชีของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอำนาจทำคำรับรองเช็คว่าใช้เงินได้ และจำเลยที่ 2 ยังมีอำนาจลงลายมือชื่อในตำแหน่งผู้จัดการของจำเลยที่ 1ได้ด้วย ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1ลงบนด้านหลังเช็คซึ่งจำเลยที่ 4 เป็นผู้สั่งจ่าย แล้วนำไปแลกเงินจากโจทก์ แม้ตราที่ประทับจะใช้สำหรับกรณีลูกค้าของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีหรือถอนเงิน และเป็นการกระทำเกินอำนาจจำเลยที่ 2 ที่ 3ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์และการปฏิบัติของจำเลยทั้งสามทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันควรเชื่อว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 อยู่ภายในขอบอำนาจที่จะกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้จำเลยที่ 1 จึงร่วมรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำเกินอำนาจของตัวแทนและการรับผิดของหลักต่อบุคคลภายนอก
จำเลยที่ 2 เป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 3 เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชีของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอำนาจทำคำรับรองเช็คว่าใช้เงินได้ และจำเลยที่ 2 ยังมีอำนาจลงลายมือชื่อในตำแหน่งผู้จัดการของจำเลยที่ 1ได้ด้วย ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1ลงบนด้านหลังเช็คซึ่งจำเลยที่ 4 เป็นผู้สั่งจ่าย แล้วนำไปแลกเงินจากโจทก์ แม้ตราที่ประทับจะใช้สำหรับกรณีลูกค้าของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีหรือถอนเงิน และเป็นการกระทำเกินอำนาจจำเลยที่ 2 ที่ 3ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์และการปฏิบัติของจำเลยทั้งสามทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันควรเชื่อว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 อยู่ภายในขอบอำนาจที่จะกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้จำเลยที่ 1 จึงร่วมรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อหลังเช็คของผู้ถือ ถือเป็นการอาวัลจำเลยที่ 1 ผู้ทรงมีสิทธิเรียกร้องเงินจากผู้ลงลายมือชื่อ
จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือย่อมเป็นการสลักหลังเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921, 989 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อผู้ทรงอย่างเดียวกับผู้สั่งจ่าย
โจทก์ฟ้องคดีในฐานะเป็นหัวหน้าวงแชร์ใช้เงินตามเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ แทนลูกวงแชร์และได้รับเช็คคืนมาไว้ในครอบครอง โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังเช็คเพื่อค้ำประกัน (อาวัล) และสิทธิของผู้ทรงเช็คในฐานะหัวหน้าวงแชร์
จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือย่อมเป็นการสลักหลังเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921, 989 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อผู้ทรงอย่างเดียวกับผู้สั่งจ่าย
โจทก์ฟ้องคดีในฐานะเป็นหัวหน้าวงแชร์ใช้เงินตามเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ แทนลูกวงแชร์และได้รับเช็คคืนมาไว้ในครอบครอง โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรง จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อหลังเช็คโดยไม่ระบุเป็นผู้รับอาวัล ความรับผิดตามกฎหมายตั๋วเงิน
การที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังของเช็ค โดยไม่ปรากฏถ้อยคำสำนวนว่าใช้ได้เป็นอาวัลหรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกันไม่เป็นการลงลายมือชื่อเป็นผู้รับอาวัลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 939 วรรค 1 และ 2 ประกอบด้วยมาตรา 989
จำเลยลงลายมือชื่อด้านหลังของเช็คแม้เช็คดังกล่าวระบุชื่อโจทก์ เป็นผู้รับเงินขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือ และที่มุมซ้ายบนด้านหน้ามีข้อความ ว่าเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น ห้ามเปลี่ยนมือก็ตามแต่ด้วยความสมัครใจ ของจำเลยยอมผูกพันตนต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงในอันที่จะรับผิดเป็นอย่างเดียวกับผู้สั่งจ่าย ด้วยการลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงิน ยอมรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินดังบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 ดังนั้น เมื่อธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว จำเลยย่อมต้องรับผิดชำระเงิน ตามเช็คให้แก่โจทก์ (ข้อวินิจฉัยในวรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่12/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อหลังเช็คโดยไม่ระบุเป็นอาวัล ทำให้จำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงิน
การที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังของเช็ค โดยไม่ปรากฏถ้อยคำสำนวนว่าใช้ได้เป็นอาวัลหรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกันไม่เป็นการลงลายมือชื่อเป็นผู้รับอาวัลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 939 วรรค 1 และ 2 ประกอบด้วยมาตรา 989
จำเลยลงลายมือชื่อด้านหลังของเช็คแม้เช็คดังกล่าวระบุชื่อโจทก์ เป็นผู้รับเงินขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือ และที่มุมซ้ายบนด้านหน้ามีข้อความ ว่าเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น ห้ามเปลี่ยนมือก็ตามแต่ด้วยความสมัครใจ ของจำเลยยอมผูกพันตนต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงในอันที่จะรับผิดเป็นอย่างเดียวกับผู้สั่งจ่าย ด้วยการลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงิน ยอมรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินดังบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 ดังนั้น เมื่อธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว จำเลยย่อมต้องรับผิดชำระเงิน ตามเช็คให้แก่โจทก์ (ข้อวินิจฉัยในวรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่12/2524)
of 2