พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำเหน็จนายหน้า: การคืนเงินเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดก่อนกำหนดโดยผู้เช่าได้รับประโยชน์
จำเลยเป็นนายหน้าจัดการให้โจทก์ทำสัญญาเช่าตึกกับเจ้าของตึกมีกำหนด 3 ปี สัญญาเช่าตึกจึงได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่จำเลยจัดการ จำเลยจึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จจากโจทก์
ข้อความตามสัญญาที่ว่า ถ้าโจทก์ต้องเลิกการเช่าด้วยเหตุใด ๆ จำเลยต้องคืนเงินค่าตอบแทนที่ได้รับล่วงหน้าให้โจทก์นั้นหมายความถึงกรณีที่มีเหตุจากฝ่ายผู้ให้เช่าหรือการรอนสิทธิจนโจทก์ไม่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าคุ้มกับค่าเช่าและค่าบำเหน็จที่ให้แก่จำเลย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้และได้รับประโยชน์ในตึกที่เช่าจนเกือบจะครบสัญญาแล้วโจทก์จึงส่งคืนตึกที่เช่าให้แก่เจ้าของ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าตอบแทนอันเป็นบำเหน็จค่านายหน้าคืนจากจำเลย
ข้อความตามสัญญาที่ว่า ถ้าโจทก์ต้องเลิกการเช่าด้วยเหตุใด ๆ จำเลยต้องคืนเงินค่าตอบแทนที่ได้รับล่วงหน้าให้โจทก์นั้นหมายความถึงกรณีที่มีเหตุจากฝ่ายผู้ให้เช่าหรือการรอนสิทธิจนโจทก์ไม่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าคุ้มกับค่าเช่าและค่าบำเหน็จที่ให้แก่จำเลย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้และได้รับประโยชน์ในตึกที่เช่าจนเกือบจะครบสัญญาแล้วโจทก์จึงส่งคืนตึกที่เช่าให้แก่เจ้าของ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าตอบแทนอันเป็นบำเหน็จค่านายหน้าคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าพาหนะส่วนตัวมิใช่ค่าจ้าง: ไม่ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย/สินจ้างบอกกล่าวล่วงหน้า
ค่าพาหนะที่มิได้เหมาจ่ายเป็นจำนวนแน่นอน มิใช่ค่าจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 2จึงไม่ต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นค่าชดเชยหรือ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าพาหนะที่ไม่ใช่ค่าจ้างเหมาจ่าย ไม่ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ค่าพาหนะที่มิได้เหมาจ่ายเป็นจำนวนแน่นอน มิใช่ค่าจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 จึงไม่ต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นค่าชดเชยหรือ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในการเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดี แม้หนี้จากการชำระค่าทดแทน
แม้หนี้ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ค่าทดแทนซึ่งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 62 จะกำหนดว่าเงินทดแทนไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีก็ตาม ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมมีสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดี: เจ้าหนี้ภาษีอากรมีสิทธิแม้หนี้เป็นค่าทดแทน
แม้หนี้ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ค่าทดแทนซึ่งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 62 จะกำหนดว่าเงินทดแทนไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีก็ตาม ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมมีสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างลงโทษเกินระดับที่ระบุในข้อบังคับและระเบียบ
แม้ลูกจ้างจะฟ้องว่านายจ้างลงโทษทางวินัยลูกจ้างไม่ชอบด้วยข้อบังคับของนายจ้างเพียงกรณีเดียว แต่เมื่อระเบียบการพิจารณาระดับการลงโทษของนายจ้างเป็นส่วนหนึ่งของข้อบังคับดังกล่าว ดังนั้น การที่ศาลแรงงานฯ วินิจฉัยว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างไม่ชอบด้วยระเบียบดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินไปจากที่ฟ้อง
ลูกจ้างเล่นการพนันนอกสถานที่ทำการและนอกเวลาปฏิบัติงาน ซึ่งตามระเบียบพิจารณาระดับการลงโทษของนายจ้างให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับโดยกำหนดระดับโทษเพียงลดขั้นเงินเดือน มิได้ถือเป็นความผิดที่ร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกปลดออก ดังนั้น การที่นายจ้างไล่ลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการลงโทษเกินระดับ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ลูกจ้างเล่นการพนันนอกสถานที่ทำการและนอกเวลาปฏิบัติงาน ซึ่งตามระเบียบพิจารณาระดับการลงโทษของนายจ้างให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับโดยกำหนดระดับโทษเพียงลดขั้นเงินเดือน มิได้ถือเป็นความผิดที่ร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกปลดออก ดังนั้น การที่นายจ้างไล่ลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการลงโทษเกินระดับ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การลงโทษทางวินัยเกินระดับตามข้อบังคับ และการพิจารณาความผิดตามระเบียบของนายจ้าง
แม้ลูกจ้างจะฟ้องว่านายจ้างลงโทษทางวินัยลูกจ้างไม่ชอบด้วยข้อบังคับของนายจ้างเพียงกรณีเดียว แต่เมื่อระเบียบการพิจารณาระดับการลงโทษของนายจ้างเป็นส่วนหนึ่งของข้อบังคับดังกล่าว ดังนั้น การที่ศาลแรงงานฯ วินิจฉัยว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างไม่ชอบด้วยระเบียบดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินไปจากที่ฟ้อง ลูกจ้างเล่นการพนันนอกสถานที่ทำการและนอกเวลาปฏิบัติงาน ซึ่งตามระเบียบพิจารณาระดับการลงโทษของนายจ้างให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับโดยกำหนดระดับโทษเพียงลดขั้นเงินเดือน มิได้ถือเป็นความผิดที่ร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกปลดออก ดังนั้น การที่นายจ้างไล่ลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการลงโทษเกินระดับ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601-1603/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลในขณะเลิกจ้าง แม้เหตุผลที่อ้างภายหลังไม่ตรงกับเหตุผลที่ใช้ในการเลิกจ้าง
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมต่อลูกจ้างหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงเหตุของการเลิกจ้างในขณะที่เลิกจ้างเป็นสำคัญ เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอ้างเหตุว่าลางานเกิน 30 วันในรอบปี 2 ปีติดต่อกัน ดังนั้น ข้อที่อ้างว่านายจ้างขาดความเชื่อถือในตัวลูกจ้างจึงไม่เป็นเหตุของการเลิกจ้างที่นายจ้างจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601-1603/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลขณะเลิกจ้าง การอ้างเหตุผลอื่นภายหลังใช้ต่อสู้ไม่ได้
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมต่อลูกจ้างหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงเหตุของการเลิกจ้างในขณะที่เลิกจ้างเป็นสำคัญเมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอ้างเหตุว่าลางานเกิน 30 วันในรอบปี 2 ปีติดต่อกัน ดังนั้น ข้อที่อ้างว่านายจ้างขาดความเชื่อถือในตัวลูกจ้างจึงไม่เป็นเหตุของการ เลิกจ้างที่นายจ้างจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีส่วนร่วมเตรียมข้อเรียกร้องถือเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
จำเลยเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเตรียมการยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์นายจ้าง โดยเข้าร่วมประชุมปรึกษากับลูกจ้างอื่น แม้จะไม่มีชื่อและลายมือชื่อของจำเลยในหนังสือแจ้งข้อเรียกร้องที่ยื่นต่อโจทก์ ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นลูกจ้างที่ยื่นข้อเรียกร้องด้วย การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121(1)