พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีส่วนร่วมในการยื่นข้อเรียกร้อง ถือเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
จำเลยเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเตรียมการยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์นายจ้าง โดยเข้าร่วมประชุมปรึกษากับลูกจ้างอื่นแม้จะไม่มีชื่อและลายมือชื่อของจำเลยในหนังสือแจ้งข้อเรียกร้องที่ยื่นต่อโจทก์ ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นลูกจ้างที่ยื่นข้อเรียกร้องด้วย การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มาตรา 121(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตักเตือนลูกจ้างต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจของนายจ้าง การมอบอำนาจให้หัวหน้าแผนกต้องชัดเจน
การตักเตือนเป็นหนังสือตามกฎหมายเป็นอำนาจของนายจ้าง การที่หัวหน้าแผนกของนายจ้างออกใบเตือนแก่ลูกจ้างโดยไม่ปรากฏว่าผู้มีอำนาจว่าจ้างหรือเลิกจ้างของนายจ้างมอบหมายอำนาจในการออกใบเตือนให้ จะถือว่าหัวหน้าแผนกเป็นตัวแทนของนายจ้างในการออกใบเตือนด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการตักเตือนทางหนังสือ: ใบเตือนของหัวหน้าแผนกที่ไม่ได้รับมอบอำนาจ ไม่ถือเป็นใบเตือนของนายจ้าง
การตักเตือนเป็นหนังสือตามกฎหมายเป็นอำนาจของนายจ้าง การที่หัวหน้าแผนกของนายจ้างออกใบเตือนแก่ลูกจ้างโดยไม่ปรากฏว่าผู้มีอำนาจว่าจ้างหรือเลิกจ้างของนายจ้างมอบหมายอำนาจในการออกใบเตือนให้ จะถือว่าหัวหน้าแผนกเป็นตัวแทนของนายจ้างในการออกใบเตือนด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติชั่วร้ายแรง และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องวินัยและการรักษาวินัยกำหนดให้ถือตามระเบียบข้าราชการพลเรือนซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ ห้ามมิให้ข้าราชการพลเรือนฯ ประพฤติชั่ว หากผู้ใดประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งมีโทษให้ออกปลดออก หรือไล่ออก การที่โจทก์นำตัวเหี้ยไปผูกไว้ที่ต้นปาล์มหน้าโรงงาน และปิดประกาศมีข้อความหยาบคาย ด่าดูหมิ่นเหยียดหยาม ขับไล่ อ. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา อันเป็นการไม่เคารพและแสดงถึงความประพฤติในทางเสื่อมทรามของโจทก์จึงถือได้ว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับฯ ของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือและไม่จ่ายค่าชดเชยได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 68 ให้อำนาจนายจ้างกำหนดวินัยและโทษทางวินัยขึ้นใช้บังคับแก่ลูกจ้างได้ แต่ในกรณีลูกจ้างกระทำผิดวินัยอันมีโทษถึงปลดออกและนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่าการกระทำผิดของลูกจ้างต้องด้วยกรณีใดกรณีหนึ่งตามข้อ 47(1) ถึง (6) แห่งประกาศฯดังกล่าวเป็นสำคัญ
ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 68 ให้อำนาจนายจ้างกำหนดวินัยและโทษทางวินัยขึ้นใช้บังคับแก่ลูกจ้างได้ แต่ในกรณีลูกจ้างกระทำผิดวินัยอันมีโทษถึงปลดออกและนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่าการกระทำผิดของลูกจ้างต้องด้วยกรณีใดกรณีหนึ่งตามข้อ 47(1) ถึง (6) แห่งประกาศฯดังกล่าวเป็นสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรงตามข้อบังคับบริษัทที่อ้างอิงระเบียบข้าราชการ และสิทธิในค่าชดเชย บำเหน็จ โบนัส
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องวินัยและการรักษาวินัยกำหนดให้ถือตามระเบียบข้าราชการพลเรือน ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ ห้ามมิให้ข้าราชการพลเรือน ฯ ประพฤติชั่ว หากผู้ใดประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งมีโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก การที่โจทก์นำตัวเหี้ยไปผูกไว้ที่ต้นปาล์มหน้าโรงงาน และปิดประกาศมีข้อความหยาบคาย ด่าดูหมิ่นเหยียดหยาม ขับไล่ อ. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา อันเป็นการไม่เคารพและแสดงถึงความประพฤติในทางเสื่อมทรามของโจทก์ จึงถือได้ว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ ฯ ของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือและไม่จ่ายค่าชดเชยได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 68 ให้อำนาจนายจ้างกำหนดวินัยและโทษทางวินัยขึ้นใช้บังคับแก่ลูกจ้างได้ แต่ในกรณีลูกจ้างกระทำผิดวินัยอันมีโทษถึงปลดออกและนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่าการกระทำผิดของลูกจ้างต้องด้วยกรณีใดกรณีหนึ่งตามข้อ 47(1) ถึง (6) แห่งประกาศ ฯ ดังกล่าวเป็นสำคัญ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 68 ให้อำนาจนายจ้างกำหนดวินัยและโทษทางวินัยขึ้นใช้บังคับแก่ลูกจ้างได้ แต่ในกรณีลูกจ้างกระทำผิดวินัยอันมีโทษถึงปลดออกและนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่าการกระทำผิดของลูกจ้างต้องด้วยกรณีใดกรณีหนึ่งตามข้อ 47(1) ถึง (6) แห่งประกาศ ฯ ดังกล่าวเป็นสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิเรียกร้องหนี้จากสัญญาแบ่งรายได้ การฟ้องบังคับชำระหนี้
จำเลยให้โจทก์จัดหาที่ดินมาให้จำเลยเสนอขายให้บริษัท ส. โดยสัญญาจะแบ่งรายได้สุทธิจากการขายให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง เมื่อถึงกำหนดจำเลยไม่ชำระให้โจทก์โดยครบถ้วนย่อมได้ชื่อว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว แม้ทนายความของโจทก์จะมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระเงินอีกภายในกำหนด 7 วัน จำเลยก็ยังปฏิเสธอยู่เช่นเดิม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิเรียกร้องค่าส่วนแบ่งรายได้จากการขายที่ดิน การฟ้องบังคับชำระหนี้
จำเลยให้โจทก์จัดหาที่ดินมาให้จำเลยเสนอขายให้บริษัทส. โดยสัญญาจะแบ่งรายได้สุทธิจากการขายให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง เมื่อถึงกำหนดจำเลยไม่ชำระให้โจทก์โดยครบถ้วนย่อมได้ชื่อว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วแม้ทนายความของโจทก์จะมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระเงินอีกภายในกำหนด 7 วัน จำเลยก็ยังปฏิเสธอยู่เช่นเดิมโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141-1144/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์ตามคำพิพากษา: ระยะเวลาการขอเฉลี่ยหนี้และการตีความ 'อายัด' ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสี่ บัญญัติถึงระยะเวลายื่นขอเฉลี่ยของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไว้ว่า "ในกรณีอายัดทรัพย์สินให้ยื่นคำขอเสียก่อนที่มีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ และไม่ว่ากรณีใด ๆ ห้ามมิให้ยื่นคำขอช้ากว่าสามเดือนนับแต่วันอายัด" คำว่า อายัด ในมาตรานี้ หมายถึงการอายัดของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพราะเป็นการเฉลี่ยระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน หามีผลรวมถึงการอายัดชั่วคราวก่อนคำพิพากษาด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141-1144/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์ตามคำพิพากษาและระยะเวลายื่นขอเฉลี่ยหนี้: คำว่า 'อายัด' หมายถึงการอายัดของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสี่ บัญญัติถึงระยะเวลายื่นขอเฉลี่ยของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไว้ว่า'ในกรณีอายัดทรัพย์สินให้ยื่นคำขอเสียก่อนที่มีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ และไม่ว่ากรณีใดๆห้ามมิให้ยื่นคำขอช้ากว่าสามเดือนนับแต่วันอายัด'คำว่า อายัด ในมาตรานี้ หมายถึงการอายัดของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพราะเป็นการเฉลี่ยระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน หามีผลรวมถึงการอายัดชั่วคราวก่อนคำพิพากษาด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงาน: การกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นพนักงานธนาคารจำเลย ทำงานธุรการ ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การที่โจทก์ฉวยโอกาสละทิ้งหน้าที่เป็นครั้งคราว และการที่มีเจ้าหนี้หลายรายมาทวงหนี้จำเลยที่สำนักงาน ยังถือไม่ได้ว่าพฤติการณ์ของโจทก์เป็นการทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ตักเตือนเป็นหนังสือก่อน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์