คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิพัฒน์ จักรางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานต้องมีเหตุร้ายแรงและตักเตือนก่อน หากไม่มีเหตุร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นพนักงานธนาคารจำเลย ทำงานธุรการ ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การที่โจทก์ฉวยโอกาสละทิ้งหน้าที่เป็นครั้งคราว และการที่มีเจ้าหนี้หลายรายมาทวงหนี้จำเลยที่สำนักงาน ยังถือไม่ได้ว่าพฤติการณ์ของโจทก์เป็นการทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ตักเตือนเป็นหนังสือก่อน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติคณะรัฐมนตรีเป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาคดีได้
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ ต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีลงมติสั่งให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าครองชีพแก่พนักงาน จึงมีผลให้จำเลยต้องยอมรับและปฏิบัติตาม ดังนั้นการที่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าครองชีพแก่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอันเป็นการฝ่าฝืนมติดังกล่าวและโจทก์ ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่าย จึงเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิและหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8(1) โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติคณะรัฐมนตรีเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง รัฐวิสาหกิจต้องปฏิบัติตาม โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานได้
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ ต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีลงมติสั่งให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าครองชีพแก่พนักงาน จึงมีผลให้จำเลยต้องยอมรับและปฏิบัติตาม ดังนั้นการที่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าครองชีพแก่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอันเป็นการฝ่าฝืนมติดังกล่าวและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่าย จึงเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิและหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 8 (1) โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าล่วงเวลาจากค่าครองชีพ: มติคณะรัฐมนตรีให้จ่ายเหมาเดือน ไม่ใช่ตามวันทำงานจริง
เมื่อค่าครองชีพซึ่งรัฐวิสาหกิจจ่ายให้ตามมติของคณะรัฐมนตรีเป็นค่าจ้างประเภทหนึ่งซึ่งจะต้องจ่ายในอัตราเหมาเดือนมิได้จ่ายให้เฉพาะวันที่มาทำงานและไม่มีการหักวันหยุดวันลาต่างๆ อันแตกต่างกับการจ่ายค่าจ้างรายชั่วโมงตามปกติของโจทก์ ดังนั้นการคำนวณค่าล่วงเวลารายชั่วโมงของค่าครองชีพให้แก่โจทก์จึงต้องเอาจำนวนค่าครองชีพหารด้วย 30 คูณด้วย 8 (จำนวนชั่วโมงที่โจทก์ทำงานแต่ละวัน) หาใช่เอา 21.75 อันเป็นวันทำงานโดยเฉลี่ยของโจทก์ในแต่ละเดือนคูณด้วย 8 มาเป็นตัวหารไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าครองชีพเป็นค่าจ้างเหมาจ่ายรายเดือนที่ถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรี ไม่ต้องเฉลี่ยตามจำนวนวันทำงาน
เมื่อค่าครองชีพซึ่งรัฐวิสาหกิจจ่ายให้ตามมติของคณะรัฐมนตรีเป็นค่าจ้างประเภทหนึ่งซึ่งจะต้องจ่ายในอัตราเหมาเดือนมิได้จ่ายให้เฉพาะวันที่มาทำงานและไม่มีการหักวันหยุดวันลาต่างๆ อันแตกต่างกับการจ่ายค่าจ้างรายชั่วโมงตามปกติของโจทก์ ดังนั้นการคำนวณค่าล่วงเวลารายชั่วโมงของค่าครองชีพให้แก่โจทก์จึงต้องเอาจำนวนค่าครองชีพหารด้วย 30 คูณด้วย 8(จำนวนชั่วโมงที่โจทก์ทำงานแต่ละวัน) หาใช่เอา21.75 อันเป็นวันทำงานโดยเฉลี่ยของโจทก์ในแต่ละเดือนคูณด้วย 8 มาเป็นตัวหารไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, อายุความประกันภัย, และเขตอำนาจศาล
เมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังได้ว่า ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 1ในทางการที่จ้างโดยประมาทชนรถยนต์บรรทุกที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายแล้ว แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของลูกจ้างตนตามฟ้อง กรณีหาเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี เพื่อใช้ค่าทดแทนในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน อันเป็นการฟ้องตามสัญญาประกันภัย จำเลยร่วมจึงยกอายุความละเมิดมาใช้ไม่ได้ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งอันเป็นศาลที่โจทก์ยื่นฟ้องไว้ เพราะเพิ่งทราบจากคำให้การของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 3มิได้เป็นผู้รับประกันภัยรายนี้และขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยที่แท้จริงการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไม่ตัดอำนาจศาลแพ่งในอันที่จะพิจารณาและชี้ขาดและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งเช่นเดียวกันเข้ามาในคดีตัดสินคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, อายุความประกันภัย, และอำนาจศาล
เมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังได้ว่า ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 1 ในทางการที่จ้างโดยประมาทชนรถยนต์บรรทุกที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายแล้ว แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของลูกจ้างตนตามฟ้อง กรณีหาเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี เพื่อใช้ค่าทดแทนในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน อันเป็นการฟ้องตามสัญญาประกันภัย จำเลยร่วมจึงยกอายุความละเมิดมาใช้ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งอันเป็นศาลที่โจทก์ยื่นฟ้องไว้ เพราะเพิ่งทราบจากคำให้การของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 3 มิได้เป็นผู้รับประกันภัยรายนี้และขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยที่แท้จริงการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไม่ตัดอำนาจศาลแพ่งในอันที่จะพิจารณา และชี้ขาดตัดสินคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173(2)
*และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งเช่นเดียวกันเข้ามาในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่าเลิกจ้างโจทก์เพราะกระทำผิด คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดจำเลยให้การว่าโจทก์ออกจากงานด้วยความสมัครใจเอง มิได้ต่อสู้ว่าเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิด คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์กระทำผิดอันจะเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และปัญหาข้อนี้มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างโดยอ้างเหตุขัดคำสั่งและเหตุสมัครใจออกจากงาน ประเด็นการต่อสู้คดีและค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดจำเลยให้การว่าโจทก์ออกจากงานด้วยความสมัครใจเอง มิได้ต่อสู้ว่าเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดคดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์กระทำผิดอันจะเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และปัญหาข้อนี้มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อตกลงสภาพการจ้าง และการตีความข้อตกลงการปรับเงินเดือน
การที่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แรงงานจังหวัดเป็นผู้ตีความนั้น มิได้มีข้อห้ามมิให้นำข้อตกลงดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาในปัญหาเกี่ยวกับการตีความข้อตกลงซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายได้
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า การปรับเงินเดือนให้ถือเกณฑ์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในชั้นที่สูงกว่านั้นหมายความว่าให้ปรับอัตราเงินเดือนเดิมของลูกจ้างให้เท่ากับอัตราเงินเดือนในชั้นที่สูงกว่าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น หาใช่ว่าจะต้องนำอัตราเงินเดือนมากำหนดว่าอยู่ในขั้นที่เท่าใด แล้วไปเทียบให้ตรงกับขั้นที่กำหนดแล้วปรับให้สูงขึ้นอีก 1 ขั้นในบัญชีเงินเดือนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่
of 24