พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อตกลงสภาพการจ้าง และการตีความข้อตกลงเรื่องอัตราเงินเดือน
การที่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แรงงานจังหวัดเป็นผู้ตีความนั้น มิได้มีข้อห้ามมิให้นำข้อตกลงดังกล่าวมาฟ้องต่อศาล โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาในปัญหาเกี่ยวกับการตีความข้อตกลงซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายได้
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า การปรับเงินเดือนให้ถือเกณฑ์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในชั้นที่สูงกว่านั้น หมายความว่าให้ปรับอัตราเงินเดือนเดิมของลูกจ้างให้เท่ากับอัตราเงินเดือนในชั้นที่สูงกว่าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น หาใช่ว่าจะต้องนำอัตราเงินเดือนมากำหนดว่าอยู่ในขั้นที่เท่าใด แล้วไปเทียบให้ตรงกับขั้นที่กำหนดแล้วปรับให้สูงขึ้นอีก 1 ขั้นในบัญชีเงินเดือนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า การปรับเงินเดือนให้ถือเกณฑ์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในชั้นที่สูงกว่านั้น หมายความว่าให้ปรับอัตราเงินเดือนเดิมของลูกจ้างให้เท่ากับอัตราเงินเดือนในชั้นที่สูงกว่าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น หาใช่ว่าจะต้องนำอัตราเงินเดือนมากำหนดว่าอยู่ในขั้นที่เท่าใด แล้วไปเทียบให้ตรงกับขั้นที่กำหนดแล้วปรับให้สูงขึ้นอีก 1 ขั้นในบัญชีเงินเดือนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติเจ้าหนี้ไม่ให้ล้มละลายขัดต่อกฎหมายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลชอบที่ห้ามการปฏิบัติมติดังกล่าว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 31และ61 เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อปรึกษาว่าจะควรยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้หรือควรขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเมื่อการประนอมหนี้ไม่ได้รับ ความเห็นชอบ ก็ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้จะต้องลงมติไปในทางใดทางหนึ่ง คือถ้าไม่ยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ก็ต้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย เจ้าหนี้จะลงมติไม่ให้ลูกหนี้ล้มละลายทั้งที่ลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้หาได้ไม่
ลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้แต่เจ้าหนี้ลงมติไม่ให้ลูกหนี้ล้มละลาย เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นตามมาตรา 36 ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติที่ขัดต่อกฎหมายนั้นได้
เหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 นั้นเป็นข้อที่ศาลจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คือเมื่อ มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็ไม่สั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดโดยพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ แต่เมื่อศาลได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วคำสั่งนั้นผูกพันลูกหนี้อยู่และอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ด้วย เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิจะอ้างมาตรา 14 มาเป็นเหตุขอให้พิพากษายกฟ้องหรือ ยกคำร้องขอให้ล้มละลายในชั้นนี้ได้
ลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้แต่เจ้าหนี้ลงมติไม่ให้ลูกหนี้ล้มละลาย เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นตามมาตรา 36 ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติที่ขัดต่อกฎหมายนั้นได้
เหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 นั้นเป็นข้อที่ศาลจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คือเมื่อ มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็ไม่สั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดโดยพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ แต่เมื่อศาลได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วคำสั่งนั้นผูกพันลูกหนี้อยู่และอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ด้วย เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิจะอ้างมาตรา 14 มาเป็นเหตุขอให้พิพากษายกฟ้องหรือ ยกคำร้องขอให้ล้มละลายในชั้นนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติเจ้าหนี้ขัดแย้งต่อกฎหมายล้มละลาย: ศาลมีอำนาจห้ามการปฏิบัติการตามมติที่ไม่ถูกต้อง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 31และ61 เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อปรึกษาว่าจะควรยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้หรือควรขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเมื่อการประนอมหนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบ ก็ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้จะต้องลงมติไปในทางใดทางหนึ่ง คือถ้าไม่ยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ก็ต้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย เจ้าหนี้จะลงมติไม่ให้ลูกหนี้ล้มละลายทั้งที่ลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้หาได้ไม่
ลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้แต่เจ้าหนี้ลงมติไม่ให้ลูกหนี้ล้มละลาย เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นตามมาตรา 36 ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติที่ขัดต่อกฎหมายนั้นได้
เหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 นั้น เป็นข้อที่ศาลจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คือเมื่อมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็ไม่สั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดโดยพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ แต่เมื่อศาลได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว คำสั่งนั้นผูกพันลูกหนี้อยู่และอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ด้วย เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิจะอ้างมาตรา 14 มาเป็นเหตุขอให้พิพากษายกฟ้องหรือยกคำร้องขอให้ล้มละลายในชั้นนี้ได้
ลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้แต่เจ้าหนี้ลงมติไม่ให้ลูกหนี้ล้มละลาย เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นตามมาตรา 36 ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติที่ขัดต่อกฎหมายนั้นได้
เหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 นั้น เป็นข้อที่ศาลจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คือเมื่อมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็ไม่สั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดโดยพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ แต่เมื่อศาลได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว คำสั่งนั้นผูกพันลูกหนี้อยู่และอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ด้วย เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิจะอ้างมาตรา 14 มาเป็นเหตุขอให้พิพากษายกฟ้องหรือยกคำร้องขอให้ล้มละลายในชั้นนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 157/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียก ณ สำนักทำการงานบริษัทเลิกแล้ว: ชอบด้วยกฎหมายหากยังไม่ได้จดทะเบียนเลิก
เมื่อบริษัทที่จำเลยเป็นกรรมการอยู่ได้เลิกกิจการไป แต่ยังไม่มีการจดทะเบียนเลิกบริษัท การส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ณ ที่ทำการบริษัทอันเป็นสำนักทำการงานของจำเลย จึงชอบด้วยป.วิ.พ. ม.79
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตฟ้อง: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยหากคำสั่งไม่ถึงที่สุด
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตฟ้อง: คำสั่งศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุด โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3703-3705/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะกับภารจำยอม: เมื่อทางสาธารณะมีอยู่แล้ว ย่อมไม่สามารถเป็นภารจำยอมได้
ทางภารจำยอมหมายถึงทางที่ผ่านเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นซึ่งกฎหมายเรียกว่า "ภารยทรัพย์" เจ้าของภารยทรัพย์จำต้องยอมให้มีทางผ่านที่ดินของตนเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งเรียกว่า "สามยทรัพย์" ส่วนทางสาธารณะนั้นเป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งไม่มีบุคคลใดเป็นเจ้าของ เมื่อทางพิพาทเป็นทางสาธารณะแล้ว จึงเป็นทางภารจำยอมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3703-3705/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะกับทางภารจำยอม: เมื่อทางสาธารณะมีอยู่แล้ว จะไม่สามารถเป็นทางภารจำยอมได้
ทางภารจำยอมหมายถึงทางที่ผ่านเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นซึ่งกฎหมายเรียกว่า 'ภารยทรัพย์' เจ้าของภารยทรัพย์จำต้องยอมให้มีทางผ่านที่ดินของตนเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งเรียกว่า 'สามยทรัพย์' ส่วนทางสาธารณะนั้นเป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งไม่มีบุคคลใดเป็นเจ้าของ เมื่อทางพิพาทเป็นทางสาธารณะแล้ว จึงเป็นทางภารจำยอมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3696/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างออกระเบียบปฏิบัติงาน และสิทธิเลิกจ้างเมื่อลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนโดยมีการตักเตือนแล้ว
นายจ้างมีอำนาจที่จะออกระเบียบกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานขายของลูกจ้างเพื่อให้ผลงานของนายจ้างเจริญก้าวหน้าได้ ระเบียบเช่นนี้ไม่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือขัดแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของลูกจ้างโดยทั่วไป จึงเป็นระเบียบที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3693-3695/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเปอร์เซ็นต์จากการขายเป็นค่าจ้าง: นำมารวมคำนวณค่าชดเชยได้ แม้ไม่ตายตัว
แม้เงินเปอร์เซ็นต์จากการขายที่ลูกจ้างได้รับมิได้กำหนดไว้ตายตัวโดยขึ้นอยู่กับสินค้าที่ขายได้แต่ละเดือนซึ่งไม่เท่ากัน แต่การจ่ายเงินเปอร์เซ็นต์ในการขายนี้จ่ายประจำทุกเดือนตามผลงานของลูกจ้าง มิใช่เป็นครั้งคราวย่อมถือได้ว่าเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน