คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิพัฒน์ จักรางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งสิทธิเรียกร้องเงินทดแทนด้วยวาจาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และสิทธิได้รับเงินทดแทนเป็นสิทธิเฉพาะตัว
โจทก์แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนด้วยวาจาขอรับเงินค่าทดแทนโดยมิได้ยื่นคำร้องตามแบบ เป็นการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทน ฯ ข้อ 15 วรรคสอง กำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 50 กำหนดตัวผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนไว้ว่าถ้าไม่มีผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง สิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนจึงจะได้แก่ผู้มีสิทธิตามวรรคสอง มิได้หมายความว่าเมื่อผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่งได้รับค่าทดแทนไปบางส่วนแล้วต่อมาผู้นั้นหมดสิทธิลง บุคคลตามวรรคสองเข้ารับเงินทดแทนส่วนที่เหลือต่อไปได้
สิทธิได้รับค่าทดแทนเป็นสิทธิเฉพาะตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิต สิทธิของภริยาและบุตรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
โจทก์แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนด้วยวาจาขอรับเงินค่าทดแทนโดยมิได้ยื่นคำร้องตามแบบ เป็นการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทน ฯข้อ 15 วรรคสอง กำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ50 กำหนดตัวผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนไว้ว่าถ้าไม่มีผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง สิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนจึงจะได้แก่ผู้มีสิทธิตามวรรคสอง มิได้หมายความว่าเมื่อผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่งได้รับค่าทดแทนไปบางส่วนแล้วต่อมาผู้นั้นหมดสิทธิลง บุคคลตามวรรคสองเข้ารับเงินทดแทนส่วนที่เหลือต่อไปได้
สิทธิได้รับค่าทดแทนเป็นสิทธิเฉพาะตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การสูญเสียอุปการะและแรงงาน
รถจำเลยขับชนรถโจทก์ จนโจทก์ต้องพิการตลอดชีวิต ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตาย จำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะและขาดแรงงานจากภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3572/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งย้ายงานอันชอบด้วยกฎหมาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่จำเลยยุบหน่วยงานที่โจทก์ประจำอยู่เพราะมีความจำเป็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของจำเลยนั้น จำเลยย่อมมีอำนาจโดยชอบที่จะจัดให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเข้าทำงานในตำแหน่งใหม่ที่เหมาะสมต่อไป โจทก์จะไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งโดยอ้างเหตุว่าเงินเดือนต่ำกว่าที่เคยได้รับหาได้ไม่เพราะเป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวเนื่องกัน ดังนั้นการที่โจทก์ไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยจึงถือได้ว่าเป็นการจงใจฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างอันเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจผู้แทนเจรจาข้อพิพาทแรงงาน แม้ไม่มีอากรแสตมป์ก็ผูกพันจำเลยได้ หากเป็นการแจ้งชื่อผู้แทนตามกฎหมาย
การแจ้งชื่อตนเองหรือผู้แทนของฝ่ายรับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 16 นั้นกฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องกระทำในรูปแบบใด เพียงแต่บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1มอบอำนาจให้ลูกจ้างจำเลยสองคนมาเป็นผู้แทนในการเจรจาตกลงกับฝ่ายเรียกร้องจึงใช้บังคับได้ แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรก็ตาม
การประนอมข้อพิพาทแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯนั้นหมายถึงทั้งสองฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันเพื่อที่จะระงับข้อพิพาทแรงงานอันเกิดจากการเรียกร้องของลูกจ้างดังนั้นข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันโดยมีเหตุสืบเนื่องมาจากการยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างนั้น ย่อมใช้บังคับได้
ข้อบังคับของบริษัทที่ว่าต้องมีกรรมการลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันบริษัทนั้น หมายถึงบริษัททำการเอง ไม่ใช้แก่กิจการที่ผู้แทนบริษัททำแทนบริษัท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจผู้แทนในการเจรจาข้อพิพาทแรงงาน ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ ผูกพันจำเลย หากสืบเนื่องจากข้อเรียกร้อง
การแจ้งชื่อตนเองหรือผู้แทนของฝ่ายรับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 16 นั้น กฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องกระทำในรูปแบบใด เพียงแต่บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้ลูกจ้างจำเลยสองคนมาเป็นผู้แทนในการเจรจาตกลงกับฝ่ายเรียกร้องจึงใช้บังคับได้ แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรก็ตาม
การประนอมข้อพิพาทแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ นั้นหมายถึงทั้งสองฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันเพื่อที่จะระงับข้อพิพาทแรงงานอันเกิดจากการเรียกร้องของลูกจ้างดังนั้นข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันโดยมีเหตุสืบเนื่องมาจากการยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างนั้นย่อมใช้บังคับได้
ข้อบังคับของบริษัทที่ว่าต้องมีกรรมการลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันบริษัทนั้น หมายถึงบริษัททำการเอง ไม่ใช้แก่กิจการที่ผู้แทนบริษัททำแทนบริษัท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3544/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นจากการเบิกเงินเกินบัญชีและการจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาจำนองมีข้อความว่า หากเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชี ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยเป็นรายเดือนโดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีของธนาคาร และข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชีธนาคารโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้ทันทีที่ค้างชำระทุกคราวไปดอกเบี้ยที่ทบเข้านี้ก็กลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดเวลาชำระอย่างเดียวกันตราบใดที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่ยุติลง ดอกเบี้ยที่ค้างชำระจะมีได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น
จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1จำนวน 100,000 บาท ในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เกินจำนวน 100,000 บาทอยู่แล้วจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยทบต้นเพียงต้นเงิน 100,000 บาทนับแต่วันทำสัญญาจำนองเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3544/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นจากการจำนองประกันการเบิกเงินเกินบัญชี, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาจำนองมีข้อความว่า หากเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชี ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยเป็นรายเดือนโดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีของธนาคาร และข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชีธนาคาร โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้ทันทีที่ค้างชำระทุกคราวไปดอกเบี้ยที่ทบเข้านี้ก็กลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดเวลาชำระอย่างเดียวกันตราบใดที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่ยุติลง ดอกเบี้ยที่ค้างชำระจะมีได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น
จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน 100,000 บาท ในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เกินจำนวน 100,000 บาทอยู่แล้วจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยทบต้นเพียงต้นเงิน 100,000 บาท นับแต่วันทำสัญญาจำนองเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3482/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนเกินขอบเขต หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดส่วนตัวเมื่อทำสัญญาค้ำประกันเกินวัตถุประสงค์ของห้าง
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้เข้าทำสัญญาค้ำประกันบุคคลภายนอกแทนห้างอันเป็นกิจการนอกวัตถุประสงค์ของห้าง การกระทำของจำเลยจึงเป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจ หรือทำนอกเหนือขอบอำนาจ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลำพัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 จำเลยจะพ้นจากความรับผิดก็ต่อเมื่อจำเลยพิสูจน์ได้ว่า บุคคลภายนอกได้รู้อยู่ว่าจำเลยทำการโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจ(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 1348/2523)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนเงินช่วยเหลือการศึกษาที่ไม่ถูกต้อง และการหักเงินเดือนชดใช้ ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน
โจทก์เป็นพนักงานธนาคารออมสิน จำเลยได้เบิกเงินค่าเล่าเรียนจากจำเลยไปโดยไม่มีสิทธิ จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกคืนได้ตามระเบียบวิธีปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตรและการยืมเงินทดรองสิทธิเรียกร้องเงินของจำเลยที่จ่ายให้โจทก์ไปโดยไม่ถูกต้องดังกล่าวคืนนั้นไม่ใช่สิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344 จำเลยมีสิทธิหักเงินเดือนโจทก์เพื่อชดใช้เงินซึ่งโจทก์เบิกไปโดยมิชอบได้ไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
of 24