คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิพัฒน์ จักรางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนเงินที่เบิกจ่ายเกินสิทธิและหักกลบลบหนี้ได้หรือไม่ในคดีแรงงาน
โจทก์เป็นพนักงานธนาคารออมสิน จำเลยได้เบิกเงินค่าเล่าเรียนจากจำเลยไปโดยไม่มีสิทธิ จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกคืนได้ตามระเบียบวิธีปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุต รและการยืมเงินทดรองสิทธิเรียกร้องเงินของจำเลยที่จ่ายให้โจทก์ไปโดยไม่ถูกต้องดังกล่าวคืนนั้น ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 344 จำเลยมีสิทธิหักเงินเดือนโจทก์เพื่อชดใช้เงินซึ่งโจทก์เบิกไปโดยมิชอบได้ไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานขับรถรองประธานบริษัท ไม่ใช่ขนส่ง ลูกจ้างมีสิทธิค่าล่วงเวลา หากทำงานเกิน 9 ชม./วัน
งานขับรถประจำตำแหน่งรองประธานกรรมการบริษัทไม่ใช่งานขนส่งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 3(2) แต่เป็นงานอื่นตามข้อ 3(4) ซึ่งนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานเกินกว่าสัปดาห์ละ 54 ชั่วโมงไม่ได้ เมื่อลักษณะการทำงานตามปกติมีกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดแน่นอน การทำงานนอกเหนือเวลาดังกล่าวเป็นการทำงานชั่วครั้งชั่วคราวตามที่นายจ้างสั่ง จึงไม่ใช่การทำงานนอกสถานที่ซึ่งตามสภาพไม่อาจกำหนดเวลาอันแน่นอนตามข้อ 36(7) ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 3(4) และข้อ 34 การที่ลูกจ้างยินยอมปฏิบัติงานเกินเวลาตลอดมาหาทำให้ลูกจ้างหมดสิทธิเรียกร้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินบำเหน็จของลูกจ้างชั่วคราวตามระเบียบพนักงานยาสูบ การจ้างงานเป็นช่วง ๆ ไม่ถือเป็นพนักงานประจำ
โจทก์เข้าทำงานกับจำเลยวันที่ 2 กรกฎาคม 2488และได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2500ก่อนได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำโจทก์ถูกเรียกกลับเข้าปฏิบัติงานใหม่สองครั้ง ครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ 5 ของปี พ.ศ. 2498 จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2498 และวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2499 จำเลยก็เรียกโจทก์มาปฏิบัติงานใหม่อีก ลักษณะงานของโจทก์เป็นการจ้างเฉพาะเวลาที่จำเลยมีงานให้ทำ หมดงานก็ให้โจทก์พักและเมื่อมีงานใหม่จำเลยจะเรียกโจทก์เข้ามาทำงานอีก งานของโจทก์ก่อนวันที่ 5 มีนาคม 2500 จึงมีลักษณะเป็นการชั่วคราวโจทก์จึงเป็นลูกจ้างชั่วคราวมิใช่ลูกจ้างประจำของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินบำเหน็จของลูกจ้างชั่วคราวที่ไม่เข้าข่ายพนักงานประจำตามระเบียบ
โจทก์เข้าทำงานกับจำเลยวันที่ 2 กรกฎาคม 2488 และได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2500 ก่อนได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำโจทก์ถูกเรียกกลับเข้าปฏิบัติงานใหม่สองครั้ง ครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ 5 ของปี พ.ศ. 2498 จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2498 และวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2499 จำเลยก็เรียกโจทก์มาปฏิบัติงานใหม่อีก ลักษณะงานของโจทก์เป็นการจ้างเฉพาะเวลาที่จำเลยมีงานให้ทำ หมดงานก็ให้โจทก์พักและเมื่อมีงานใหม่จำเลยจะเรียกโจทก์เข้ามาทำงานอีก งานของโจทก์ก่อนวันที่ 5 มีนาคม 2500 จึงมีลักษณะเป็นการชั่วคราวโจทก์จึงเป็นลูกจ้างชั่วคราวมิใช่ลูกจ้างประจำของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงดูบุตรตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การชำระหนี้ที่สมบูรณ์ แม้มีเช็คปฏิเสธ
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลโดยโจทก์ตกลงยอมให้ค่าเลี้ยงดูบุตรจำเลยเป็นรายเดือนจนกว่าบุตรจำเลยจะมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ข้อตกลงดังกล่าวขึ้นอยู่กับอายุของบุตรจำเลยในอนาคตเป็นเงื่อนไขสำคัญอยู่ในตัว ถ้าบุตรจำเลยตายลงก่อนอายุครบ 20 ปี โจทก์ก็ย่อมไม่มีความผูกพันต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูอีกต่อไป แม้โจทก์ผิดนัดงวดใดแต่โจทก์ก็ได้นำเงินมาวางชำระหนี้ค่าเลี้ยงดู ให้บุตรจำเลยเท่ากับมูลหนี้ที่ตนมีหน้าที่ต้องชำระในขณะนั้น ซึ่งเป็นการชำระหนี้โดยครบถ้วนสมบูรณ์ตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องยึดทรัพย์สินของโจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าเลี้ยงดูทั้งหมดครบทุกงวด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การสิ้นสภาพข้อพิพาทเมื่อลูกจ้างไม่ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด และการโต้แย้งสิทธิจากคำวินิจฉัยรัฐมนตรี
แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุตำแหน่งจำเลยมาในฟ้อง แต่ในคำบรรยายฟ้องได้กล่าวว่าจำเลยเป็นพนักงานปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อาศัยความตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยและคำสั่งที่ มท 1206/9094 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2515 ของจำเลยโดยระบุตำแหน่งจำเลยไว้ด้วย ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัว
แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาของข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่ได้วินิจฉัยอำนาจร้องของลูกจ้างอันเป็นประโยชน์ต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์ของลูกจ้างแล้วจึงเป็นการครบขั้นตอนตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 23 กำหนดไว้ ฝ่ายที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้
การยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างต่อนายจ้างต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 กำหนดไว้ โดยลูกจ้างต้องมีอยู่ครบจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง หาใช่มีอยู่ครบจำนวนเพียงเฉพาะในวันยื่นข้อเรียกร้องไม่ การที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องถอนชื่อออกจากการสนับสนุนข้อเรียกร้องด้วยความสมัครใจเหลือจำนวนลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบร้อยละสิบห้าของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อพิพาทแรงงานนั้น จึงสิ้นสภาพนับแต่วันที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบจำนวนตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งตัวข้าราชการยืมตัวกลับหน่วยงานเดิม ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง และไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
จำเลยส่งตัวโจทก์กลับกรมการค้าภายในอันเป็นหน่วยงานเดิมของโจทก์เพราะสภาบริหารคณะปฏิวัติลงมติให้ข้าราชการและลูกจ้างกรมการค้าภายในที่ยืมตัวไปปฏิบัติงานในองค์การจำเลยกลับหน่วยเดิม ตำแหน่งเดิมที่โจทก์เคยทำในองค์การจำเลยก็ยังคงมีอยู่ดังนี้ มิใช่กรณีโจทก์ต้องออกจากงานเพราะยุบเลิก หรือตัดทอนงาน
จำเลยให้โจทก์ออกจากงานก่อนที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ ใช้บังคับ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างข้าราชการยืมตัว: สิทธิบำเหน็จและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยส่งตัวโจทก์กลับกรมการค้าภายในอันเป็นหน่วยงานเดิมของโจทก์เพราะสภาบริหารคณะปฏิวัติลงมติให้ข้าราชการและลูกจ้างกรมการค้าภายในที่ยืมตัวไปปฏิบัติงานในองค์การจำเลยกลับหน่วยเดิม ตำแหน่งเดิมที่โจทก์เคยทำในองค์การจำเลยก็ยังคงมีอยู่ดังนี้ มิใช่กรณีโจทก์ต้องออกจากงานเพราะยุบเลิก หรือตัดทอนงาน
จำเลยให้โจทก์ออกจากงานก่อนที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ ใช้บังคับ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดชอบของผู้ขนส่ง: การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความตกลงของคู่กรณี
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า การที่โจทก์จ้างจำเลยให้ส่งของ จำเลยไม่ได้แจ้งเรื่องจำกัดความรับผิดให้โจทก์ทราบ และโจทก์ไม่ได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดดังกล่าว จำเลยอุทธรณ์โต้เถียงว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าโจทก์ได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งแล้วเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน20,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ลูกจ้างขัดคำสั่งเนื่องจากเหตุผลส่วนตัวอันสมควร
โจทก์เป็นลูกจ้างที่นายจ้างยอมให้ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานตลอดมาเป็นเวลา 3 ปีเศษ เหตุที่โจทก์ไม่สามารถไปทำงานต่างจังหวัดเพราะต้องดูแลบุตรซึ่งยังเล็กและป่วยเป็นโรคหัวใจพิการ ต่อมาจำเลยผู้เป็นนายจ้างสั่งให้โจทก์ไปทำงานต่างจังหวัดโดยไม่ได้ให้โอกาสและเวลาแก่โจทก์ในการปรับตัวและหาทางแก้ไขข้อขัดข้องดังกล่าวบ้างตามสมควร โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ดังนี้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโดยมิได้ตักเตือนเป็นหนังสือก่อนจึงต้องจ่ายค่าชดเชย
of 24