คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิพัฒน์ จักรางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเมื่อนายจ้างไม่คำนึงถึงเหตุผลความจำเป็นส่วนตัวของลูกจ้างและไม่ตักเตือนก่อน
โจทก์เป็นลูกจ้างที่นายจ้างยอมให้ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานตลอดมาเป็นเวลา 3 ปีเศษเหตุที่โจทก์ไม่สามารถไปทำงานต่างจังหวัดเพราะต้องดูแลบุตรซึ่งยังเล็กและป่วยเป็นโรคหัวใจพิการ ต่อมาจำเลยผู้เป็นนายจ้างสั่งให้โจทก์ไปทำงานต่างจังหวัดโดยไม่ได้ให้โอกาสและเวลาแก่โจทก์ในการปรับตัวและหาทางแก้ไขข้อขัดข้องดังกล่าวบ้างตามสมควร โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ดังนี้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโดยมิได้ตักเตือนเป็นหนังสือก่อนจึงต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตศาล แม้มีพฤติกรรมผิดตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
แม้กรรมการลูกจ้างจะกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 123 ก็ตาม แต่การที่นายจ้างจะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง ต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน แม้มีการกระทำผิด
แม้กรรมการลูกจ้างจะกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 ก็ตาม แต่การที่นายจ้างจะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3223/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชย คำนวณจากเบี้ยเลี้ยงชีพ-เงินเดือน, การบังคับตามกฎหมายสัญญาต่างประเทศ, สินจ้างบอกกล่าวเกินคำขอ
บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยย่อมจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไทย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายมหาชนหรือกฎหมายเอกชนโดยเฉพาะในทางอาญา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 บัญญัติว่าผู้ใดกระทำผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมาย ส่วนในทางแพ่งข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในบางกรณีหากมีปัญหาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ ก็ต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ
ปัญหาแรงงานส่วนใหญ่ต้องบังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 โดยเฉพาะพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมวด 10 มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน หากมีการกระทำผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ ภายในราชอาณาจักรก็ต้องฟ้องร้องต่อศาลไทยและบังคับตามกฎหมายไทยไม่มีเหตุผลใดที่จะแยกฟ้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศไทยเฉพาะในทางอาญาแต่ปัญหาแรงงานแท้ ๆ ให้ฟ้องร้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศอื่น ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานในประเทศไทย แม้จะมีการตกลงจ้างกันในประเทศอื่น ก็ต้องฟ้องร้องและบังคับคดีตามกฎหมายไทยโดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่กรณีเจตนาให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อมามีการผิดสัญญาในประเทศไทย โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินเดือนค่าเบี้ยเลี้ยง เงินโบนัส ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางค่าใช้พาหนะของโจทก์ ค่าซ่อมรถ ค่าภาษีและค่าปรับภาษีจากจำเลย กรณีต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ฯ มาตรา 13 คือต้องถือตามเจตนาของคู่กรณี แต่เมื่อไม่อาจทราบได้ว่าขณะทำสัญญาคู่กรณีประสงค์จะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับและปรากฏว่าคู่กรณีมีสัญชาติอเมริกันทั้งสองฝ่าย กฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณีตามฟ้องจึงต้องเป็นกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันของคู่กรณีคือกฎหมายของสหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่ากฎหมายของสหรัฐอเมริกาในเรื่องนี้มีอยู่อย่างไร กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 8 คือให้ใช้กฎหมายของประเทศไทย
อุทธรณ์ว่าที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามคำพยานโจทก์นั้นเป็นการรับฟังขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนเพราะเป็นการฟังพยานบอกเล่า โจทก์สืบไม่ได้ตามที่ตนมีหน้าที่นำสืบจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลย ดังนี้ เป็นอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 55
เบี้ยเลี้ยงชีพที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างมีจำนวนแน่นอนและจ่ายให้เป็นประจำเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแม้โจทก์นำสืบฟังได้ว่าจำเลยบอกเลิกจ้างและเลิกจ้างในวันเดียวกันก็ยังไม่พออนุมานได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จึงเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3223/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การคำนวณค่าชดเชยต้องรวมเบี้ยเลี้ยงชีพ, การบังคับใช้กฎหมายสัญชาติคู่กรณี, และขอบเขตคำขอในฟ้อง
บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยย่อมจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไทย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายมหาชนหรือกฎหมายเอกชนโดยเฉพาะในทางอาญา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 บัญญัติว่าผู้ใดกระทำผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมาย ส่วนในทางแพ่งข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในบางกรณีหากมีปัญหาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ ก็ต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ
ปัญหาแรงงานส่วนใหญ่ต้องบังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 โดยเฉพาะพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมวด 10มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน หากมีการกระทำผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ ภายในราชอาณาจักรก็ต้องฟ้องร้องต่อศาลไทยและบังคับตามกฎหมายไทยไม่มีเหตุผลใดที่จะแยกฟ้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศไทยเฉพาะในทางอาญาแต่ปัญหาแรงงานแท้ ๆ ให้ฟ้องร้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศอื่น ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานในประเทศไทย แม้จะมีการตกลงจ้างกันในประเทศอื่น ก็ต้องฟ้องร้องและบังคับคดีตามกฎหมายไทยโดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่กรณีเจตนาให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อมามีการผิดสัญญาในประเทศไทย โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินเดือนค่าเบี้ยเลี้ยง เงินโบนัส ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางค่าใช้พาหนะของโจทก์ ค่าซ่อมรถ ค่าภาษีและค่าปรับภาษีจากจำเลย กรณีต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ฯ มาตรา 13 คือต้องถือตามเจตนาของคู่กรณี แต่เมื่อไม่อาจทราบได้ว่าขณะทำสัญญาคู่กรณีประสงค์จะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับและปรากฏว่าคู่กรณีมีสัญชาติอเมริกันทั้งสองฝ่าย กฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณีตามฟ้องจึงต้องเป็นกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันของคู่กรณีคือกฎหมายของสหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่ากฎหมายของสหรัฐอเมริกาในเรื่องนี้มีอยู่อย่างไร กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 8 คือให้ใช้กฎหมายของประเทศไทย
อุทธรณ์ว่าที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามคำพยานโจทก์นั้นเป็นการรับฟังขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนเพราะเป็นการฟังพยานบอกเล่า โจทก์สืบไม่ได้ตามที่ตนมีหน้าที่นำสืบจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลย ดังนี้ เป็นอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 55
เบี้ยเลี้ยงชีพที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างมีจำนวนแน่นอนและจ่ายให้เป็นประจำเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแม้โจทก์นำสืบฟังได้ว่าจำเลยบอกเลิกจ้างและเลิกจ้างในวันเดียวกันก็ยังไม่พออนุมานได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จึงเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างต้องเป็นไปตามข้อตกลงและจำนวนที่กฎหมายกำหนด โดยเขตพื้นที่ต้องสอดคล้องกับหน่วยงานหรือสาขา
คำว่า "สถานประกอบกิจการ" ตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมายความถึงสถานประกอบกิจการทั้งหมดที่เป็นของนายจ้างคนเดียวกันมิได้หมายความถึงแต่ละหน่วยงานหรือแต่ละโรงงานที่แยกออกไป ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งจึงมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียวทำหน้าที่เป็นตัวแทนลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบกิจการนั้นเว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่นลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเช่นว่านั้นอาจตกลงเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะก็ได้ แต่การเลือกตั้งกรรมการลูกจ้าง และจำนวนคณะกรรมการลูกจ้างแต่ละจังหวัด จะต้องถือเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในแต่ละจังหวัดที่หน่วยงานหรือสาขาซึ่งลูกจ้างประจำทำงานอยู่เป็นเกณฑ์
เขตบำรุงทางขอนแก่นของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีเขตพื้นที่คลุมหลายจังหวัด จึงมิใช่หน่วยงานหรือสาขา (ในจังหวัดอื่น)ตามความหมายของประกาศกรมแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ลงวันที่16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1
นายจ้างตกลงให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างโดยถือเขตพื้นที่แต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์ โจทก์กับพวกจัดการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างผิดไปจากข้อตกลงและมีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการที่ได้รับเลือกจึงเป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิขอให้นายจ้างจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างต้องเป็นไปตามข้อตกลงและกฎหมายกำหนด หากไม่ถูกต้อง คณะกรรมการนั้นไม่มีสิทธิ
คำว่า 'สถานประกอบกิจการ' ตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมายความถึงสถานประกอบกิจการทั้งหมดที่เป็นของนายจ้างคนเดียวกันมิได้หมายความถึงแต่ละหน่วยงานหรือแต่ละโรงงานที่แยกออกไป ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งจึงมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียวทำหน้าที่เป็นตัวแทนลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบกิจการนั้นเว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่นลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเช่นว่านั้นอาจตกลงเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะก็ได้ แต่การเลือกตั้งกรรมการลูกจ้าง และจำนวนคณะกรรมการลูกจ้างแต่ละจังหวัด จะต้องถือเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในแต่ละจังหวัดที่หน่วยงานหรือสาขาซึ่งลูกจ้างประจำทำงานอยู่เป็นเกณฑ์
เขตบำรุงทางขอนแก่นของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีเขตพื้นที่คลุมหลายจังหวัด จึงมิใช่หน่วยงานหรือสาขา (ในจังหวัดอื่น)ตามความหมายของประกาศกรมแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ลงวันที่16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1
นายจ้างตกลงให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างโดยถือเขตพื้นที่แต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์ โจทก์กับพวกจัดการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างผิดไปจากข้อตกลงและมีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดคณะกรรมการที่ได้รับเลือกจึงเป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิขอให้นายจ้างจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3131/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังตามข้อบังคับบริษัท ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดว่า ห้ามลูกจ้างเสพสุราเครื่องดื่มดองของเมาหรือจนเป็นโรคติดสุราเรื้อรัง นายจ้างย่อมเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังได้ตามข้อบังคับดังกล่าว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3131/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังตามข้อบังคับบริษัท ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดว่าห้ามลูกจ้างเสพสุราเครื่องดื่มดองของเมาหรือจนเป็นโรคติดสุราเรื้อรัง นายจ้างย่อมเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังได้ตามข้อบังคับดังกล่าว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่จงใจทำให้นายจ้างเสียหายจากการแจ้งลูกค้าถึงการนัดหยุดงาน
เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นและผ่านขั้นตอนเจรจาแล้วไม่เป็นผล สหภาพแรงงานย่อมมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 99 ไม่มีกฎหมายอนุญาตให้สหภาพแรงงานออกหนังสือเวียนแจ้งให้ลูกค้าของนายจ้างทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่สหภาพแรงงานอ้างว่าจะเกิดขึ้นโดยการกระทำของตนเองจนเป็นเหตุให้ลูกค้าของนายจ้างงดใช้หรือเกิดความลังเลที่จะใช้บริการของนายจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อคณะกรรมการลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการบริหารของสหภาพแรงงานออกหนังสือดังกล่าว จึงถือได้ว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
of 24