พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่จงใจทำให้นายจ้างเสียหายจากการแจ้งข้อมูลเท็จต่อลูกค้า
เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นและผ่านขั้นตอนเจรจาแล้วไม่เป็นผล สหภาพแรงงานย่อมมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯมาตรา 99 ไม่มีกฎหมายอนุญาตให้สหภาพแรงงานออกหนังสือเวียนแจ้งให้ลูกค้าของนายจ้างทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่สหภาพแรงงานอ้างว่าจะเกิดขึ้นโดยการกระทำของตนเองจนเป็นเหตุให้ลูกค้าของนายจ้างงดใช้หรือเกิดความลังเลที่จะใช้บริการของนายจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อคณะกรรมการลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการบริหารของสหภาพแรงงานออกหนังสือดังกล่าว จึงถือได้ว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานในโรงพยาบาลของมูลนิธิ: พิจารณาวัตถุประสงค์การจ้างเพื่อบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และความรับผิดของประธานกรรมการ
โจทก์เป็นลูกจ้างทำงานในโรงพยาบาลที่มูลนิธิจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของและเป็นผู้บริหารงานหาผลประโยชน์จากโรงพยาบาลมาบำรุงมูลนิธิจำเลยที่ 1 โรงพยาบาลดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นโจทก์ฟ้องมูลนิธิจำเลยที่ 1ได้แต่เมื่อมีปัญหาต้องพิจารณาสภาพการจ้างว่าเป็นการจ้างที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจหรือไม่ต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของโรงพยาบาลหาใช่พิจารณาวัตถุประสงค์ของมูลนิธิไม่
จำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการมูลนิธิจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงเป็นผู้แทนของนิติบุคคลมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1ต้องถือว่าเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 จำเลยที่ 2 ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการมูลนิธิจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงเป็นผู้แทนของนิติบุคคลมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1ต้องถือว่าเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 จำเลยที่ 2 ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเริ่มนับใหม่เมื่อหนังสือรับสภาพหนี้สิ้นสุดผลผูกพัน แม้มีการผ่อนเวลาด้วยวาจา
หนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยมีข้อความแต่เพียงว่าจำเลย ขอผ่อนเวลาชำระหนี้โดยมิได้ระบุว่าจะใช้ให้อย่างไร เมื่อใด เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงสุดสิ้นลงในวันที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ การที่โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยด้วยวาจาจะเป็นกี่วันก็ตาม หาใช่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสุดสิ้นลงตามกำหนดเวลาดังกล่าวไม่ ดังนี้ อายุความจึงต้อง เริ่มนับใหม่นับแต่เวลาที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ โดยเริ่มนับ หนึ่งตั้งแต่วันรุ่งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3024/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษทางอาญาเนื่องจากอาการผิดปกติทางจิตใจของผู้กระทำผิด
ตามประวัติอาการป่วยของจำเลยเคยมีอาการทางประสาทได้รับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก่อนเกิดเหตุจำเลยเกิดความหวาดกลัวว่าจะพูกเพื่อนยิงจึงปิดประตูขังตัวเองอยู่ในห้องมา 4 วัน โดยอดอาหารและไม่ได้หลับนอนมาตลอด ขณะเกิดเหตุจำเลยเห็นภาพหลอนมีปากกระบอกปืนมาจ้องตามช่องไม้แตกมีเสียงดังเแช็ก ๆ จึงได้จุดไฟเผาสิ่งของในห้องให้บังเกิดควันตลบแล้วจำเลยกระโดดหนีออกไปทางหน้าต่าง ข้อเท็จจริงเพียงแค่นี้แม้ยังไม่เป็นการชัดแจ้งว่าจำเลยกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ อันจะทำให้ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคแรกก็จริง แต่ก็แสดงว่าจำเลยมีอาการผิดปกติทางจิตใจหรือจิตบกพร่องอยู่บ้าง ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใกก็ได้ตามมาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3024/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางอาญาและการลดโทษเนื่องจากอาการทางจิต: ศาลพิจารณาอาการผิดปกติทางจิตของผู้กระทำผิดเพื่อลดโทษ
ตามประวัติอาการป่วยของจำเลยเคยมีอาการทางประสาทได้รับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก่อนเกิดเหตุจำเลยเกิดความหวาดกลัวว่าจะถูกเพื่อนยิง จึงปิดประตูขังตัวเองอยู่ในห้องมา 4 วันโดยอดอาหารและไม่ได้หลับนอนมาตลอด ขณะเกิดเหตุจำเลยเห็นภาพหลอนมี ปากกระบอกปืน มาจ้องตามช่องไม้แตกมีเสียงดังแช็ก ๆ จึงได้จุดไฟเผาสิ่งของในห้องให้บังเกิดควันตลบแล้วจำเลยกระโดดหนีออกไปทางหน้าต่างข้อเท็จจริงเพียงแค่นี้แม้ยังไม่เป็นการชัดแจ้งว่าจำเลยกระทำความผิดในขณะ ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ อันจะทำให้ไม่ต้อง รับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคแรกก็จริง แต่ก็แสดงว่าจำเลยมีอาการผิดปกติทางจิตใจหรือจิตบกพร่องอยู่บ้างซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น เพียงใดก็ได้ตามมาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3002/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยไม่ยื่นคำให้การ และการพิจารณาอำนาจศาลในการจำหน่ายคดีเมื่อจำเลยอื่นยื่นคำให้การ
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดยื่นคำให้การ ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 วรรคสองแต่การจะสมควรจำหน่ายหรือไม่ย่อมเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาอีกชั้นหนึ่งตามมาตรา 132(2) เมื่อศาลสั่งรับคำให้การของจำเลยอื่นและจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรประการใดที่จะจำหน่ายคดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3002/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีที่จำเลยไม่ยื่นคำให้การ และการพิจารณาความสมควรในการจำหน่ายคดีเมื่อจำเลยอื่นยื่นคำให้การแล้ว
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดยื่นคำให้การ ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 วรรคสอง แต่การจะสมควรจำหน่ายหรือไม่ย่อมเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาอีกชั้นหนึ่งตามมาตรา 132(2)
โจทก์ได้จัดการนำหมายเรียกสำเนาฟ้องเพื่อส่งให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นที่รับฟ้องแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งสี่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตมีหนังสือแจ้งมาว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ได้ ศาลชั้นต้นที่รับฟ้องมีคำสั่งว่า รอฟ้องโจทก์แถลง แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบหนังสือรายงานผลการสังหมายและคำสั่งศาลในหนังสือฉบับนั้นเลย กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่จะถือได้ว่า โจทก์เพิกเฉยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
โจทก์ได้จัดการนำหมายเรียกสำเนาฟ้องเพื่อส่งให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นที่รับฟ้องแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งสี่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตมีหนังสือแจ้งมาว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ได้ ศาลชั้นต้นที่รับฟ้องมีคำสั่งว่า รอฟ้องโจทก์แถลง แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบหนังสือรายงานผลการสังหมายและคำสั่งศาลในหนังสือฉบับนั้นเลย กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่จะถือได้ว่า โจทก์เพิกเฉยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2917/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการปลดออกจากงานเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ถือเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ
เดิมจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งยุบตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่ ให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและส่งมอบงานก่อนวันพ้นจากตำแหน่ง ต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ส่งมอบงานภายในกำหนดอันเป็นการขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จำเลยมีสิทธิแก้ไขคำสั่งเดิมเป็นให้ปลดโจทก์ออกจากงานเพราะฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงได้ ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2917/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการปลดออกจากงานเนื่องจากฝ่าฝืนข้อบังคับจำเลย ศาลตัดสินไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ
เดิมจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งยุบตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่ ให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและส่งมอบงานก่อนวันพ้นจากตำแหน่ง ต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ส่งมอบงานภายในกำหนดอันเป็นการขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จำเลยมีสิทธิแก้ไขคำสั่งเดิมเป็นให้ปลดโจทก์ออกจากงานเพราะฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงได้ ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง การคำนวณค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุดต้องรวมค่าครองชีพด้วย ข้อตกลงขัดแย้งกฎหมายเป็นโมฆะ
แม้จะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ลูกจ้างกับจำเลยนายจ้าง ให้เรียกค่าครองชีพว่า 'เงินสวัสดิการ' ก็ไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะทำให้ค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้าง เมื่อถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างการที่มีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยไม่ให้นำ 'เงินสวัสดิการ' มาคำนวณค่าจ้างในการทำงานล่วงเวลาและค่าจ้างในการทำงานในวันหยุด จึงขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 34, 39 ซึ่งกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดโดยคำนวณจากค่าจ้างซึ่งหมายถึงค่าจ้างทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้บังคับ