พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขรก.ขับรถราชการส่วนตัวไปส่งบุคคลภายนอก เกิดอุบัติเหตุ นายจ้างไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการกรมพัฒนาที่ดินจำเลยที่ 4 ได้ขับรถยนต์ซึ่งเป็นรถใช้ในราชการของจำเลยที่ 4 ไปส่ง น. กับพวก บุคคลภายนอกที่มิใช่ลูกจ้างหรือข้าราชการของจำเลยที่ 4 แต่ได้มาหาจำเลยที่ 1 เพื่อปรึกษาเรื่องจัดงานสังสรรค์ แล้ว น. เกิดปวดท้องเนื่องจากมีประจำเดือน เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อชนกับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายพังยับเยิน ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของ จำเลยที่ 4 ไปส่ง น. กับพวก กลับบ้านนั้น เป็นเรื่องทำไปโดยความเอื้อเฟื้อส่วนตัวของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่เป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่แต่อย่างใด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นแก่โจทก์ด้วย
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่13/2527)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่13/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการเพื่อเอื้อประโยชน์ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขโทษรวมเป็น 20 ปี
เอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 ของ ย. เป็นเอกสารซึ่ง ปลอมว่านายทะเบียนตำบลบ้านโฮ่งได้รับแจ้งย้ายออกของย. ว่าย้ายออกจากบ้านเลขที่ 190/7 หมู่ที่ 8 ในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง ไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 4/8 ถนนประชาราษฎร์แขวงบางซื่อเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นการก่อให้เกิดสิทธิอย่างใดแก่ ย. ในตัวเอกสารนั้นใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนของ ย. ก็เป็นเพียงหลักฐานที่แสดงว่าเจ้าพนักงาน ได้รับคำขอของ ย. ไว้แล้วมิได้มีข้อความที่เป็นการก่อให้เกิดสิทธิอย่างใดแก่ ย.ในตัวเอกสารนั้นจึงถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารสิทธิ คงถือได้ว่าเป็นเอกสารราชการเท่านั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266,84. เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กรณีเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,84 ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกา ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่1 ผู้มิได้ฎีกาด้วยได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,84 รวม 31 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี แต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ที่แก้ไขใหม่ ได้บัญญัติในเรื่องรวมโทษทุกกระทงสำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3ปีแต่ไม่เกิน10 ปีไว้ให้จำคุกทั้งสิ้นได้ไม่เกิน 20ปี ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย และความผิดของจำเลยต้องด้วยมาตรา 91(2) จึงให้รวมโทษทั้ง 31 กระทงเป็นจำคุกจำเลย 20 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการเพื่อเอื้อประโยชน์ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ศาลพิจารณาความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารราชการ
เอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 ของ ย. เป็นเอกสารซึ่ง ปลอมว่านายทะเบียนตำบลบ้านโฮ่งได้รับแจ้งย้ายออกของ ย. ว่าย้ายออกจากบ้านเลขที่ 190/7 หมู่ที่ 8 ในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง ไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 4/8 ถนนประชาราษฎร์แขวงบางซื่อเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นการก่อให้เกิดสิทธิอย่างใดแก่ ย. ในตัวเอกสารนั้น ใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนของ ย. ก็เป็นเพียงหลักฐานที่แสดงว่าเจ้าพนักงาน ได้รับคำขอของ ย. ไว้แล้วมิได้มีข้อความที่เป็นการก่อให้เกิดสิทธิอย่างใดแก่ ย.ในตัวเอกสารนั้นจึงถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารสิทธิคงถือได้ว่าเป็นเอกสารราชการเท่านั้น
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266, 84. เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กรณีเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266, 84 ตามที่จำเลยที่ 2ฎีกา ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่1 ผู้มิได้ฎีกาด้วยได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นเหตุในลักษณะคดี
ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265, 84 รวม 31 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี แต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ที่แก้ไขใหม่ได้บัญญัติในเรื่องรวมโทษทุกกระทงสำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3ปีแต่ไม่เกิน10 ปีไว้ให้จำคุกทั้งสิ้นได้ไม่เกิน20ปี ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย และความผิดของจำเลยต้องด้วยมาตรา 91(2) จึงให้รวมโทษทั้ง 31 กระทงเป็นจำคุกจำเลย 20 ปี
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266, 84. เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กรณีเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266, 84 ตามที่จำเลยที่ 2ฎีกา ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่1 ผู้มิได้ฎีกาด้วยได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นเหตุในลักษณะคดี
ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265, 84 รวม 31 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี แต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ที่แก้ไขใหม่ได้บัญญัติในเรื่องรวมโทษทุกกระทงสำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3ปีแต่ไม่เกิน10 ปีไว้ให้จำคุกทั้งสิ้นได้ไม่เกิน20ปี ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย และความผิดของจำเลยต้องด้วยมาตรา 91(2) จึงให้รวมโทษทั้ง 31 กระทงเป็นจำคุกจำเลย 20 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2194/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประมูลค่าเช่าที่ดินมีผลผูกพันจนคดีถึงที่สุด แม้จำเลยจะขอเลิกสัญญาระหว่างคดี
ระหว่างเป็นความกันในคดีก่อนเรื่องแย่งสิทธิครอบครองในที่พิพาทนั้นโจทก์จำเลยได้ตกลงประมูลเข้าทำสวนยางและ นาพิพาท โดยตกลงกันให้นำเงินที่ประมูลได้มาวางศาลจนกว่าคดีจะถึงที่สุดเพื่อให้ฝ่ายชนะคดีรับไป โจทก์เสนอราคาปีละ 16,000 บาท จำเลยเสนอราคาปีละ 16,500 บาทจึงเป็นฝ่ายประมูลได้ ศาลได้จดบันทึกข้อตกลงระหว่างคู่ความไว้ว่าจำเลยจะต้องนำเงินมาวางศาลภายในเดือนพฤษภาคมของทุกปีเริ่มตั้งแต่ปี 2520เป็นต้นไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อคดีก่อนได้ถึงที่สุดในชั้นศาลฎีกาโดยเพิ่งอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2523 และจำเลยได้ชำระค่าประมูลในปี 2520 แล้ว ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าประมูลสำหรับปี 2521, 2522 และ 2523 ตามข้อตกลงที่ทำไว้ต่อหน้าศาลซึ่งมีผลบังคับได้ ส่วนที่ข้อตกลงนั้นได้มีเงื่อนไขไว้ด้วยว่าหากจำเลยผิดนัดยอมให้โจทก์เข้าทำประโยชน์โดยนำเงินมาวางศาลปีละ16,000 บาทนั้น เป็นเงื่อนไขที่บังคับไว้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดสำหรับค่าประมูลในปีเริ่มต้นคือในปี 2520 นั้นเอง แต่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระค่าประมูลในปี 2520 แล้ว ปัญหาที่โจทก์จะเข้าทำประโยชน์เสียเองในที่พิพาทจึงหมดไป
ที่โจทก์ฎีกาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นโดยรวมค่าจ้างทนายความค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดจนการที่จำเลยทำให้ต้นยางของโจทก์เสียหายนั้น โจทก์มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายเกี่ยวกับค่าเสียหายเหล่านี้มาโดยชัดแจ้งในฎีกาว่า ศาลล่างพิพากษามาโดยไม่ชอบอย่างไร โดยเฉพาะโจทก์มิได้ กล่าวมาโดยชัดแจ้งตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์จนศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้มาแล้ว ฎีกาส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์ฎีกาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นโดยรวมค่าจ้างทนายความค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดจนการที่จำเลยทำให้ต้นยางของโจทก์เสียหายนั้น โจทก์มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายเกี่ยวกับค่าเสียหายเหล่านี้มาโดยชัดแจ้งในฎีกาว่า ศาลล่างพิพากษามาโดยไม่ชอบอย่างไร โดยเฉพาะโจทก์มิได้ กล่าวมาโดยชัดแจ้งตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์จนศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้มาแล้ว ฎีกาส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2194/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประมูลค่าเช่าที่ดินมีผลผูกพันจนคดีถึงที่สุด แม้จำเลยชำระค่าเช่าปีแรกแล้วก็ต้องชำระค่าเช่าปีถัดไป
ระหว่างเป็นความกันในคดีก่อนเรื่องแย่งสิทธิครอบครองในที่พิพาทนั้น โจทก์จำเลยได้ตกลงประมูลเข้าทำสวนยางและนาพิพาท โดยตกลงกันให้นำเงินที่ประมูลได้มาวางศาลจนกว่าคดีจะถึงที่สุดเพื่อให้ฝ่ายชนะคดีรับไปโจทก์เสนอราคาปีละ 16,000 บาท จำเลยเสนอราคาปีละ 16,500 บาทจึงเป็นฝ่ายประมูลได้ ศาลได้จดบันทึกข้อตกลงระหว่างคู่ความไว้ว่าจำเลยจะต้องนำเงินมาวางศาลภายในเดือนพฤษภาคมของทุกปีเริ่มตั้งแต่ปี 2520เป็นต้นไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อคดีก่อนได้ถึงที่สุดในชั้นศาลฎีกาโดยเพิ่งอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2523 และจำเลยได้ชำระค่าประมูลในปี 2520 แล้ว ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าประมูลสำหรับปี 2521,2522 และ 2523 ตามข้อตกลงที่ทำไว้ต่อหน้าศาลซึ่งมีผลบังคับได้ ส่วนที่ข้อตกลงนั้นได้มีเงื่อนไขไว้ด้วยว่าหากจำเลยผิดนัดยอมให้โจทก์เข้าทำประโยชน์โดยนำเงินมาวางศาลปีละ 16,000 บาทนั้น เป็นเงื่อนไขที่บังคับไว้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดสำหรับค่าประมูลในปีเริ่มต้นคือในปี 2520 นั้นเอง แต่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระค่าประมูลในปี 2520 แล้ว ปัญหาที่โจทก์จะเข้าทำประโยชน์เสียเองในที่พิพาทจึงหมดไป
ที่โจทก์ฎีกาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นโดยรวมค่าจ้างทนายความค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดจนการที่จำเลยทำให้ต้นยางของโจทก์เสียหายนั้นโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายเกี่ยวกับค่าเสียหายเหล่านี้มาโดยชัดแจ้งในฎีกาว่า ศาลล่างพิพากษามาโดยไม่ชอบอย่างไร โดยเฉพาะโจทก์มิได้ กล่าวมาโดยชัดแจ้งตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์จนศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้มาแล้ว ฎีกาส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์ฎีกาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นโดยรวมค่าจ้างทนายความค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดจนการที่จำเลยทำให้ต้นยางของโจทก์เสียหายนั้นโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายเกี่ยวกับค่าเสียหายเหล่านี้มาโดยชัดแจ้งในฎีกาว่า ศาลล่างพิพากษามาโดยไม่ชอบอย่างไร โดยเฉพาะโจทก์มิได้ กล่าวมาโดยชัดแจ้งตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์จนศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้มาแล้ว ฎีกาส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาเช่าซื้อและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย สิทธิสมบูรณ์ของผู้รับโอน
เดิม ธ. ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับจำเลยที่ 2 ต่อมา ธ. ได้โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่ดินดังกล่าวให้แก่ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 2 จนครบถ้วนแล้ว แต่ยังไม่ทันได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ก็ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดังนี้หนี้ขอรับชำระจึงเป็นหนี้ที่มีมูลมาจากการเช่าซื้อที่ดินซึ่งเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจาก ธ. ผู้เช่าซื้อเดิม อันเป็นหนี้ที่มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 และเจ้าหนี้ เป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อนี้มาโดยชอบตามมาตรา 303 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการโอนสิทธิเรียกร้องก็ทำโดยถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรา 306 โดย ธ. ผู้โอนได้บันทึกการโอนสิทธิเป็นหนังสือ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธินั้นได้บันทึกยินยอมไว้เป็น หนังสือในสัญญาเช่าซื้อโดยแจ้งชัด เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิสมบูรณ์ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ โดยชอบ และกรณีไม่จำต้องมีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อกัน ใหม่ระหว่างเจ้าหนี้ผู้รับโอนกับจำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าซื้ออีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอฟังลงโทษคดีลักทรัพย์ ศาลฎีกายกฟ้องแม้จำเลยไม่ได้ฎีกา
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นคนร้ายลักทรัพย์ของผู้เสียหายไป แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213,225 เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2050/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอุทธรณ์ฎีกาในคดีผิดสัญญาประกัน: ผู้มีอำนาจต้องเป็นคู่ความโดยตรง
จำเลยขอประกันตัวเองเมื่อผิดสัญญาประกัน และศาลสั่งปรับจำเลยแล้วน้องจำเลยไม่มีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน มิฉะนั้นฟ้องบังคับคดีได้แค่ 3 ปี
สัญญาเช่าตึกแถวทั้งสองฉบับทำวันเดียวกัน มีกำหนดการเช่าเป็นเวลาติดต่อกันไปรวม 5 ปี 10 เดือนเป็นการเช่ามีกำหนดเวลาเกินกว่า 3 ปีขึ้นไปเมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียง 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538และการฟ้องร้องให้บังคับคดีดังกล่าวหมายความรวมถึงการที่ยกขึ้นกล่าวอ้างต่อสู้ให้บังคับคดีไปตามข้อกล่าวอ้างนั้นด้วย เพราะการบังคับคดีย่อมทำได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเล็กน้อย และหลักการรวมโทษจำคุกตามมาตรา 91
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ จำคุก กระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 13 กระทง เป็นจำคุก 43 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยเบียดบังทรัพย์ รายเดียวกัน ลงโทษตามบทเดิม เท่าเดิม แต่แก้เป็น14 กระทง รวมเป็นจำคุก 46 ปี 8 เดือนดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 คำว่า 'อัตราโทษ' ตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราต่างๆ ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ที่แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 นั้นหมายถึงอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้หาได้หมายถึงอัตราโทษจำคุกอย่างสูงที่ศาลลงแก่จำเลยไม่ (วรรคสองวินิจฉัยโดยการประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2527)