คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิพัฒน์ จักรางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน และสิทธิการเลิกจ้างของนายจ้าง โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสุดท้ายเป็นเพียงข้อยกเว้นว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำที่นายจ้างแจ้งให้ทราบเป็นหนังสือแต่แรกว่าให้ทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลาไม่เกิน 180 วันแล้วนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยมิใช่เป็นเรื่องห้ามมิให้ทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน ดังนั้นการที่นายจ้างให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน 120 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วนายจ้างจึงมีสิทธิที่จะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานอีก 60 วันได้ และการที่นายจ้างให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานต่อไปอีกนั้นแม้ลูกจ้างจะมีบันทึกข้องใจในคำสั่งนี้ แต่ลูกจ้างก็ยังคงทำงานต่อไปกับนายจ้างอีก จึงถือได้ว่าลูกจ้างยินยอมตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างจึงยังคงมีฐานะเป็นลูกจ้างประจำที่ทดลองปฏิบัติงานอยู่ และเมื่อปรากฏว่าในระหว่างที่ทดลองปฏิบัติงาน ผลงานของลูกจ้างไม่เป็นที่พอใจของ นายจ้างนายจ้างย่อมมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่เนื่องจากนายจ้างไม่ได้เลิกจ้างลูกจ้างภายในกำหนดระยะเวลาที่แจ้งไว้แต่แรกจึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองการฝึกอบรมและเบี้ยปรับ: เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสภาพการจ้าง และอยู่ในอำนาจศาลแรงงาน
ธนาคารโจทก์มีระเบียบว่าผู้สอบคัดเลือกได้จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมก่อนบรรจุแต่งตั้ง จำเลยสอบคัดเลือกได้ โจทก์จึงรับจำเลยเข้าทำการฝึกอบรมและให้จำเลยทำหนังสือรับรองว่า ในกรณีที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งแล้วถ้าจำเลยลาออกจากงานภายใน 18 เดือน นับแต่วันเริ่มเข้ารับการฝึกอบรมยอมชำระเบี้ยปรับแก่ โจทก์ ดังนี้การที่โจทก์ให้จำเลยทำหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงว่า เป็นความประสงค์ของโจทก์ที่จะให้มีข้อตกลงอันเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน หรือประโยชน์ของโจทก์เกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานด้วยหาใช่เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยฝ่ายเดียวไม่ หนังสือรับรองดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับรอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองการฝึกอบรมและเบี้ยปรับ เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสภาพการจ้าง ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา
ธนาคารโจทก์มีระเบียบว่าผู้สอบคัดเลือกได้จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมก่อนบรรจุแต่งตั้ง จำเลยสอบคัดเลือกได้ โจทก์จึงรับจำเลยเข้าทำการฝึกอบรมและให้จำเลยทำหนังสือรับรองว่า ในกรณีที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งแล้วถ้าจำเลยลาออกจากงานภายใน 18 เดือน นับแต่วันเริ่มเข้ารับการฝึกอบรมยอมชำระเบี้ยปรับแก่ โจทก์ ดังนี้ การที่โจทก์ให้จำเลยทำหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงว่า เป็นความประสงค์ของโจทก์ที่จะให้มีข้อตกลงอันเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน หรือประโยชน์ของโจทก์เกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานด้วยหาใช่เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยฝ่ายเดียวไม่ หนังสือรับรองดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับรอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพกพาอาวุธปืนและเจตนาพยายามฆ่า: การกระทำยังไม่ถึงขั้นลงมือ
จำเลยไม่พอใจหาว่าผู้เสียหายเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันฟุตบอลไม่ยุติธรรม จึงกลับไปบ้านนำเอาอาวุธปืนสั้นมีกระสุนบรรจุอยู่แล้วขับรถจักรยานยนต์เข้าไปจอดในสนามฟุตบอลห่างผู้เสียหายประมาณสามเมตร จำเลยหยิบปืนจากใต้เบาะรถจักรยานยนต์เดินเข้าไปหาผู้เสียหายอาวุธปืนยังอยู่ในซองปืน แม้จำเลยถืออาวุธปืนโดยปากกระบอกปืนชี้มาทางผู้เสียหาย แต่ก็ไม่ได้จ้องปืนมาทางผู้เสียหาย ผู้เสียหายเข้าแย่งอาวุธปืนเสียก่อน การกระทำของจำเลยยังไม่ถึงขั้นลงมือกระทำความผิด จำเลยไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบุริมสิทธิในค่าจ้างและค่าชดเชยแรงงาน: แยกแยะมูลหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
หนี้ค่าชดเชยของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่เป็นบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ส่วนหนี้ค่าจ้างคนงานที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เป็นบุริมสิทธิตาม มาตรา 253(4) และมาตรา 257 วรรคสอง ซึ่งโจทก์มีบุริมสิทธิในมูลค่าจ้างนับถอยหลังไปสองเดือนแต่ไม่เกิน 150 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบุริมสิทธิในค่าจ้างและค่าชดเชยแรงงาน: การจำกัดวงเงินบุริมสิทธิในค่าจ้างนับถอยหลัง
หนี้ค่าชดเชยของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่เป็นบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ส่วนหนี้ค่าจ้างคนงานที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เป็นบุริมสิทธิตามมาตรา 253(4) และมาตรา 257 วรรคสอง ซึ่งโจทก์มีบุริมสิทธิในมูลค่าจ้างนับถอยหลังไปสองเดือนแต่ไม่เกิน 150 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่ต้องรับผิดในหนี้ค่าจ้างจากความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง แม้จะเกี่ยวข้องจัดการงาน
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ย่อมถึงที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้จะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้เกี่ยวกับการจ้างแรงงานของลูกจ้างห้างหุ้นส่วนเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่นายจ้างต้องรับผิดต่อลูกจ้าง หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างจึงไม่ต้องรับผิด
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดทำผิดหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดในหนี้อันเกี่ยวกับกิจการที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องต่อบุคคลภายนอก มิใช่ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดหุ้นส่วน: หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่ต้องรับผิดในหนี้จากการจ้างงาน แม้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการ
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยว่า คดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ย่อมถึงที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223
หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้จะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้เกี่ยวกับการจ้างแรงงานของลูกจ้างห้างหุ้นส่วนเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่นายจ้างต้องรับผิดต่อลูกจ้าง หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง จึงไม่ต้องรับผิด
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดทำผิดหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดในหนี้อันเกี่ยวกับกิจการที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องต่อบุคคลภายนอก มิใช่ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีแรงงาน: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องค่าชดเชยนอกประเด็นฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างจากจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์ยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างนับตั้งแต่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน เพราะคำสั่งเลิกจ้างมิได้มีกรรมการอื่นของจำเลยที่ 1 ลงชื่อด้วย และมิได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 จึงเป็นโมฆะไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 และโจทก์คดีไม่มีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ นอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาเกินคำขอ: คดีแรงงานเรียกค่าจ้าง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องค่าชดเชยนอกประเด็นฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างจากจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์ยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างนับตั้งแต่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน เพราะคำสั่งเลิกจ้างมิได้มีกรรมการอื่นของจำเลยที่ 1 ลงชื่อด้วย และมิได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 จึงเป็นโมฆะไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 และโจทก์ คดีไม่มีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอนอกฟ้องนอกประเด็น
of 24