คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิพัฒน์ จักรางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานประกอบกิจการเดียว การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างจังหวัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายจ้างมีอำนาจลงโทษวินัยได้
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยมีผู้ว่าการเป็นผู้บริหารงานและเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานทุกคน ดำเนินการโดยสั่งการจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคมิได้มีการแบ่งหน่วยงานที่ดำเนินกิจการโดยลำพังเป็นหน่วย ๆ จึงเป็นสถานประกอบกิจการเพียงหน่วยเดียวและมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียว พนักงานของจำเลยจึงจะแยกเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในแต่ละเขตการเดินรถหรือแต่ละจังหวัดไม่ได้
เมื่อคำสั่งของสหภาพแรงงานจำเลยที่แต่งตั้งโจทก์กับพวกเป็นกรรมการลูกจ้างประจำจังหวัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงมีอำนาจลงโทษทางวินัยแก่โจทก์โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานประกอบกิจการเดียว: การรถไฟฯ มีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียว การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างประจำจังหวัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยมีผู้ว่าการเป็นผู้บริหารงานและเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานทุกคน ดำเนินการโดยสั่งการจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคมิได้มีการแบ่งหน่วยงานที่ดำเนินกิจการโดยลำพังเป็นหน่วย ๆ จึงเป็นสถานประกอบกิจการเพียงหน่วยเดียวและมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียว พนักงานของจำเลยจึงจะแยกเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในแต่ละเขตการเดินรถหรือแต่ละจังหวัดไม่ได้
เมื่อคำสั่งของสหภาพแรงงานจำเลยที่แต่งตั้งโจทก์กับพวกเป็นกรรมการลูกจ้างประจำจังหวัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีอำนาจลงโทษทางวินัยแก่โจทก์โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโยกย้าย vs. เลื่อนตำแหน่ง: ข้อห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ มาตรา 31 ไม่ครอบคลุมการเลื่อนตำแหน่ง
ข้อห้ามตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 ที่ห้ามมิให้นายจ้างโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงานหรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงานซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ข้อเรียกร้องอยู่ในระหว่างการเจรจานั้น หมายถึงการโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่การงานตามปกติ มิได้หมายถึงกรณีการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการห้ามโยกย้ายลูกจ้างช่วงเจรจา: การเลื่อนตำแหน่งตามระเบียบ ไม่เข้าข่ายต้องห้ามตามกฎหมาย
ข้อห้ามตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 ที่ห้ามมิให้นายจ้างโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงานหรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงานซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ข้อเรียกร้องอยู่ในระหว่างการเจรจานั้นหมายถึงการโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่การงานตามปกติ มิได้หมายถึงกรณีการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2327/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างหลังถูกเลิกจ้าง: ค่าจ้างระหว่างถูกเลิกจ้าง, สวัสดิการ, และการปรับเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี
ข้อบังคับองค์การจำเลยมีใจความว่า พนักงานที่ถูกตั้งกรรมการสอบสวนอาจถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนก็ได้ แต่ถ้าการสอบสวนได้ความว่าไม่มีมลทินหรือมัวหมองก็จะสั่งให้กลับเข้าทำงานและมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนนั้นได้ดังนี้ เมื่อโจทก์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนแล้วจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานตามความเห็นของคณะกรรมการ ต่อมาจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างเดิมตามคำพิพากษาของศาล ก็หาทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างไม่
สำหรับเงินค่าช่วยเหลือบุตร เงินค่าการศึกษาของบุตร ค่ารักษาพยาบาลและการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนนั้น ผู้ที่จะมีสิทธิรับหรือได้รับการพิจารณาจะต้องมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลย เมื่อโจทก์พ้นจากฐานะพนักงานของจำเลยแล้ว แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยนับอายุงานติดต่อกัน ก็หาได้หมายความว่าในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างโจทก์ยังคงมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวและไม่มีสิทธิรับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน
ส่วนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจปรับเงินเดือนแก่พนักงานก็มีวัตถุประสงค์จะปรับเงินเดือนเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ที่ยังมีสภาพเป็นพนักงานอยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติเมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยและไม่มีอัตราเงินเดือนประจำในขณะนั้น จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2327/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างถูกเลิกจ้าง: ค่าจ้างระหว่างถูกเลิกจ้าง, สวัสดิการ, และการปรับเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี
ข้อบังคับองค์การจำเลยมีใจความว่า พนักงานที่ถูกตั้งกรรมการสอบสวนอาจถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนก็ได้ แต่ถ้าการสอบสวนได้ความว่าไม่มีมลทินหรือมัวหมองก็จะสั่งให้กลับเข้าทำงานและมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนนั้นได้ดังนี้ เมื่อโจทก์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนแล้วจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานตามความเห็นของคณะกรรมการ ต่อมาจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างเดิมตามคำพิพากษาของศาล ก็หาทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างไม่
สำหรับเงินค่าช่วยเหลือบุตร เงินค่าการศึกษาของบุตร ค่ารักษาพยาบาลและการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนนั้น ผู้ที่จะมีสิทธิรับหรือได้รับการพิจารณาจะต้องมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลย เมื่อโจทก์พ้นจากฐานะพนักงานของจำเลยแล้ว แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยนับอายุงานติดต่อกัน ก็หาได้หมายความว่าในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างโจทก์ยังคงมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวและไม่มีสิทธิรับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน
ส่วนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจปรับเงินเดือนแก่พนักงานก็มีวัตถุประสงค์จะปรับเงินเดือนเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ที่ยังมีสภาพเป็นพนักงานอยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติ เมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยและไม่มีอัตราเงินเดือนประจำในขณะนั้น จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311-2313/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตามกฎหมาย
นายจ้างประสบปัญหาขาดทุน จำเป็นต้องยุบหน่วยงานที่ขาดทุนและเลิกจ้างลูกจ้างที่ประจำอยู่หน่วยงานนั้น การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของนายจ้าง เป็นกรณีมีเหตุอันสมควร มิใช่การกลั่นแกล้ง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะระบุว่า นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ทุกขณะโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ก็ตาม แต่ค่าชดเชย ค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างจึงมิใช่ค่าเสียหายใด ๆ ตามสัญญาจ้าง เมื่อนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดและไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่าย นายจ้างจะอ้างสัญญาจ้างมาเป็นข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกจ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311-2313/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตามกฎหมาย
นายจ้างประสบปัญหาขาดทุน จำเป็นต้องยุบหน่วยงานที่ขาดทุนและเลิกจ้างลูกจ้างที่ประจำอยู่หน่วยงานนั้น การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของนายจ้างเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร มิใช่การกลั่นแกล้ง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะระบุว่า นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ทุกขณะโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ก็ตาม แต่ค่าชดเชยค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างจึงมิใช่ค่าเสียหายใด ๆ ตามสัญญาจ้าง เมื่อนายจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดและไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่าย นายจ้างจะอ้างสัญญาจ้างมาเป็นข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกจ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐหลังประกาศ คปฎ.ฉบับที่ 96: ฎีกายืนตามศาลล่าง
ประมวลกฎหมายที่ดินบัญญัติความผิดในการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐไว้เป็น 2 กรณี กล่าวคือถ้าเป็นกรณีเข้ายึดถือครอบครอง ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515ใช้บังคับก็เป็นความผิดตามมาตรา 108 ถ้าเป็นกรณีเข้ายึดถือครอบครอง นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวใช้บังคับ ก็เป็นความผิด ตามมาตรา 108 ทวิ ซึ่งมีองค์ประกอบแตกต่างกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ใช้บังคับแล้ว และศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 ทวิ หาใช่ มาตรา108 ไม่ การที่จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยไม่ครบ หลักเกณฑ์หรือไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 108 จึงไม่มีผลที่จะเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นอย่างอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยึดครองที่ดินของรัฐหลังประกาศ คปต.ฉบับที่ 96: ศาลยืนตามบทมาตรา 108 ทวิ
ประมวลกฎหมายที่ดินบัญญัติความผิดในการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐไว้เป็น 2 กรณี กล่าวคือถ้าเป็นกรณีเข้ายึดถือครอบครองก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ใช้บังคับก็เป็นความผิดตามมาตรา 108 ถ้าเป็นกรณีเข้ายึดถือครอบครองนับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวใช้บังคับ ก็เป็นความผิดตามมาตรา 108 ทวิ ซึ่งมีองค์ประกอบแตกต่างกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ใช้บังคับแล้ว และศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 ทวิ หาใช่ มาตรา108 ไม่ การที่จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยไม่ครบหลักเกณฑ์หรือไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 108 จึงไม่มีผลที่จะเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นอย่างอื่นได้
of 24