พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย-เลิกห้าง-อำนาจฟ้อง-ภาษีเด็ดขาด-หนี้ภาษี
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้อง เลิกกันและต้อง มีการชำระบัญชี ซึ่ง ห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดย จำเลยที่ 2ในฐานะ หุ้นส่วนผู้จัดการย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12491251 และมีอำนาจแก้ต่างว่าต่าง ในนามห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1โดย จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการให้รับผิดในหนี้ภาษีอากรได้ จำเลยที่ 3 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ถึง วันที่ 7 กันยายน 2526 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2528 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3 ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 จึงยังคงต้อง รับผิดในหนี้ของห้างอยู่ ตาม นัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10681080 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการการค้าต่ำ กว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดไว้เจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงมีหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้มาไต่สวนกับให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนิน กิจการมาให้ตรวจสอบ แต่ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 กับประเมินภาษีในปี พ.ศ. 2522,2523 แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบฉะนั้น ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตาม นัยประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ 88 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ มีหมายเรียกมาไต่สวนและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบ แต่ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ ประเมินและแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว ฉะนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตาม นัยประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1)21 เมื่อรวมเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกับภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้วรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,278,593.69 บาทจำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลายได้ .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย, ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ, และการประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยยกขึ้นฎีกาโดยมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชี แต่ห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ชำระบัญชีและมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามของห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการให้จำเลยรับผิดในหนี้ภาษีอากรได้ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดในหนี้ของห้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068,1050 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการค้าต่ำกว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดเจ้าหน้าที่ของโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1ให้มาพบกับมีหมายเรียกให้มาไต่สวนให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนินกิจการมาให้ตรวจสอบ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนทั้งไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลประเมินภาษีแล้วให้จำเลยที่ 1ทราบ จำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้อุทธรณ์แต่อย่างใด ฉะนั้นภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นภาษีเด็ดขาดตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 87 ทวิ,88,21 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินภาษีที่เจ้าพนักงานประเมิน ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ เจ้าหน้าที่ของโจทก์หมายเรียกมาสอบถามและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบแต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปไต่สวนและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ประเมินและแจ้งผลการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ทราบแล้วจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ หนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 71(1),21 จำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมเป็นเงิน8,278,593.69 บาท จำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า500,000 บาท โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วน, อำนาจผู้ชำระบัญชี, การแต่งทนาย, และการดำเนินคดีเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรม ห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจแต่งทนายสู้คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้งทนายสู้คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้องเพิกถอนเสีย เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉินตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้องเป็นตัวแทนกันมาก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังผู้จัดการเสียชีวิต และอำนาจของผู้ชำระบัญชีในการดำเนินคดีแทน
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึง แก่กรรมห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้อง เลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจแต่ง ทนายสู้ คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้ง ทนายสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้อง เพิกถอนเสีย เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้อง เป็นตัวแทนกันมาก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสมาคมที่ถูกเพิกถอน: ผู้ชำระบัญชียังมีอำนาจฟ้องได้จนกว่าการชำระบัญชีจะเสร็จสิ้น
ป. นายกสมาคมโจทก์ย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของสมาคมโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 1294 แม้สมาคมโจทก์ถูกลบชื่อจากทะเบียนแล้ว ตามมาตรา 1249 ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี สมาคมโจทก์โดยป. ผู้ชำระบัญชีจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของผู้ชำระบัญชีในการทำสัญญาดูแลรักษาสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนที่เลิกแล้ว และผลต่อฐานะคู่สัญญา
ในกรณีที่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนและอยู่ในระหว่าง ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น ผู้มีหน้าที่จัดการดำเนินงานแทนห้างหุ้นส่วนย่อมได้แก่ผู้ชำระบัญชี การนำเอาทรัพย์สินของห้างฯ ไปทำสัญญามอบหมายให้โจทก์ดูแลรักษาไว้ในระหว่างการชำระบัญชีเป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของผู้ชำระบัญชีการที่ผู้ชำระบัญชีให้โจทก์และจำเลยโดยตัวแทนได้ร่วมลงชื่อในบันทึกการมอบทรัพย์สินของห้างฯ ให้โจทก์เป็นผู้ดูแลรักษาเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีด้วยความรอบคอบเพื่อให้หุ้นส่วนทุกคนได้มีส่วนรับรู้ในการมอบทรัพย์สินของห้างฯ ให้โจทก์ดูแลรักษา เป็นการป้องกันมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนเรียกร้องเอาผิดต่อผู้ชำระบัญชีเป็นส่วนตัว หากมีการเสียหายเกิดขึ้นในภายหลัง จึงหามีผลให้จำเลยตกอยู่ในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ที่จะให้สิทธิแก่โจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาค่าดูแลรักษาทรัพย์สินของห้างฯ จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของผู้ชำระบัญชีในการทำสัญญาดูแลทรัพย์สินหลังเลิกห้างหุ้นส่วน และผลต่อฐานะคู่สัญญา
ในกรณีที่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนและอยู่ในระหว่างชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น ผู้มีหน้าที่จัดการดำเนินงานแทนห้างหุ้นส่วนย่อมได้แก่ผู้ชำระบัญชี การนำเอาทรัพย์สินของห้าง ฯ ไปทำสัญญามอบหมายให้โจทก์ดูแลรักษาไว้ในระหว่างการชำระบัญชีเป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของผู้ชำระบัญชี การที่ผู้ชำระบัญชีให้โจทก์และจำเลยโดยตัวแทนได้ร่วมลงชื่อในบันทึกการมอบทรัพย์สินของห้าง ฯ ให้โจทก์เป็นผู้ดูแลรักษา เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีด้วยความรอบคอบ เพื่อให้หุ้นส่วนทุกคนได้มีส่วนรับรู้ในการมอบทรัพย์สินของห้าง ฯ ให้โจทก์ดูแลรักษา เป็นการป้องกันมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนเรียกร้องเอาผิดต่อผู้ชำระบัญชีเป็นส่วนตัว หากมีการเสียหายเกิดขึ้นในภายหลัง จึงหามีผลให้จำเลยตกอยู่ในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ที่จะให้สิทธิแก่โจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาค่าดูแลรักษาทรัพย์สินของห้าง ฯ จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำฟ้อง: สัญญาจ้างทำของ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องได้ ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจดำเนินคดีแทน
แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในฟ้องว่า ซื้อขาย เช็ค แต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้องเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นเรื่องจ้างทำของก็ต้องถือว่าคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องสัญญาจ้างทำของ เช็คที่โจทก์อ้างมาในฟ้องเป็นเพียงการอ้างถึงหลักฐานแห่งการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของจำเลยที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระเท่านั้น
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้แนบสัญญาจ้างทำของหรือบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับเช็คมาในฟ้อง หรือบรรยายรายละเอียดว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำตั้งแต่วันใด กี่คราวบ้าง ก็เป็นเรื่องรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงหาเคลือบคลุมไม่
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่โดยมีช.เป็นผู้จัดการเมื่อจดทะเบียนเลิกห้างแล้วช. เป็นผู้ชำระบัญชีของโจทก์ต่อมาช. จึงมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์เพื่อชำระสะสางการงานของห้างโจทก์ให้เสร็จไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249,1250 และ 1252 โดยผู้ชำระบัญชีไม่จำต้องแต่งทนายความให้มาดำเนินคดีใหม่หรือยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้าดำเนินคดีแทนห้างโจทก์
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้แนบสัญญาจ้างทำของหรือบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับเช็คมาในฟ้อง หรือบรรยายรายละเอียดว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำตั้งแต่วันใด กี่คราวบ้าง ก็เป็นเรื่องรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงหาเคลือบคลุมไม่
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่โดยมีช.เป็นผู้จัดการเมื่อจดทะเบียนเลิกห้างแล้วช. เป็นผู้ชำระบัญชีของโจทก์ต่อมาช. จึงมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์เพื่อชำระสะสางการงานของห้างโจทก์ให้เสร็จไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249,1250 และ 1252 โดยผู้ชำระบัญชีไม่จำต้องแต่งทนายความให้มาดำเนินคดีใหม่หรือยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้าดำเนินคดีแทนห้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำฟ้อง: แม้ฟ้องระบุซื้อขายเช็ค แต่หากเนื้อหาเป็นจ้างทำของ ศาลถือเป็นคดีจ้างทำของได้ และการฟ้องดำเนินคดีหลังเลิกห้าง
แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในฟ้องว่า ซื้อขาย เช็ค แต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้อง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นเรื่องจ้างทำของ ก็ต้องถือว่าคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องสัญญาจ้างทำของ เช็คที่โจทก์อ้างมาในฟ้องเป็นเพียงการอ้างถึงหลักฐานแห่งการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของจำเลยที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระเท่านั้น
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้แนบสัญญาจ้างทำของหรือบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับเช็คมาในฟ้อง หรือบรรยายรายละเอียดว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำตั้งแต่วันใด กี่คราวบ้าง ก็เป็นเรื่องรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงหาเคลือบคลุมไม่
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่โดยมี ช. เป็นผู้จัดการ เมื่อจดทะเบียนเลิกห้างแล้ว ช. เป็นผู้ชำระบัญชีของโจทก์ต่อมาช. จึงมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์เพื่อชำระสะสางการงานของห้างโจทก์ให้เสร็จไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249,1250 และ 1252 โดยผู้ชำระบัญชีไม่จำต้องแต่งทนายความให้มาดำเนินคดีใหม่หรือยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้าดำเนินคดีแทนห้างโจทก์
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้แนบสัญญาจ้างทำของหรือบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับเช็คมาในฟ้อง หรือบรรยายรายละเอียดว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำตั้งแต่วันใด กี่คราวบ้าง ก็เป็นเรื่องรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงหาเคลือบคลุมไม่
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่โดยมี ช. เป็นผู้จัดการ เมื่อจดทะเบียนเลิกห้างแล้ว ช. เป็นผู้ชำระบัญชีของโจทก์ต่อมาช. จึงมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์เพื่อชำระสะสางการงานของห้างโจทก์ให้เสร็จไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249,1250 และ 1252 โดยผู้ชำระบัญชีไม่จำต้องแต่งทนายความให้มาดำเนินคดีใหม่หรือยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้าดำเนินคดีแทนห้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้วทำสัญญาค้ำประกัน: หุ้นส่วนไม่ต้องรับผิด ผู้จัดการต้องรับผิดเอง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ที่บัญญัติว่า ห้างหุ้นส่วนแม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้ฟังถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีนั้น มิได้หมายความว่า ในระหว่างนั้น ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะทำกิจการได้ทุกอย่าง แต่จะทำได้เฉพาะกิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเท่านั้น ซึ่งได้แก่กิจการอันเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้ว และอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทน แต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้ว และอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทน แต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823