พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด: ข้อจำกัดการทำสัญญาค้ำประกันหลังเลิกห้าง และความรับผิดของตัวแทนที่ไม่มีอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ที่บัญญัติว่าห้างหุ้นส่วนแม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีนั้นมิได้หมายความว่าในระหว่างนั้นห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะทำกิจการได้ทุกอย่าง แต่จะทำได้เฉพาะกิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเท่านั้น ซึ่งได้แก่กิจการอันเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1259
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้วและอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทนแต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้วและอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทนแต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338-339/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าของนิติบุคคล แม้หยุดประกอบกิจการ แต่ยังไม่จดทะเบียนเลิกห้าง ยังมีอำนาจฟ้องร้องได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้เช่าตึกพิพาททำการค้าโจทก์อยู่ในตึกในฐานะบุคคลธรรมดาดูแลรักษาทรัพย์สินแทนห้าง เป็นบริวารของห้างแม้นานกว่า 10 ปี ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเป็นสัญญาเช่าขึ้นได้ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้ทำการค้ามากว่า 10 ปี แต่ไม่ได้ชำระบัญชีจดทะเบียนเลิกห้างยังมีสภาพนิติบุคคลและฟ้องขับไล่ผู้โต้แย้งสิทธิการเช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้วแต่ยังชำระบัญชี: อำนาจของผู้ช่วยผู้จัดการในการสั่งซื้อเพื่อป้องกันความเสียหาย
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดตาย แต่ยังถือว่าตั้งอยู่ระหว่างชำระบัญชี ผู้ช่วยผู้จัดการห้างสั่งซื้อกระดาษเพื่อดำเนินการที่ค้างมามิให้ห้างหุ้นส่วนเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้รับอาวัลและการสิ้นสภาพนิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนที่ชำระบัญชี
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่งและต่อมาได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชี ระหว่างการชำระบัญชี จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ยอมรับใช้เงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ดังกล่าวโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวได้ลงนามเป็นผู้รับอาวัลในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ดังนี้ แม้ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่1 จะจดทะเบียนเลิกกันแล้วก็ยังไม่สิ้นสภาพเป็นนิติบุคคลเพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเมื่อจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ในระหว่างการชำระบัญชีโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ชำระบัญชีด้วยเป็นผู้ทำแทนและเป็นผู้รับอาวัลในฐานะส่วนตัวด้วยจำเลยทั้งสองจึงต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้นๆ ถึงกำหนดใช้เงินโดยไม่ได้ระบุถึงอายุความฟ้องร้องผู้รับอาวัล แต่มาตรา940 วรรคแรก บัญญัติว่า ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกันดังนี้ จึงต้องใช้มาตรา 1001 บังคับแก่จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลด้วยจะนำมาตรา 1002 ซึ่งใช้บังคับแก่ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วเงินมาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่พ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้นๆ ถึงกำหนดใช้เงินโดยไม่ได้ระบุถึงอายุความฟ้องร้องผู้รับอาวัล แต่มาตรา940 วรรคแรก บัญญัติว่า ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกันดังนี้ จึงต้องใช้มาตรา 1001 บังคับแก่จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลด้วยจะนำมาตรา 1002 ซึ่งใช้บังคับแก่ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วเงินมาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่พ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้รับอาวัลและการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง และต่อมาได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชี ระหว่างการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ยอมรับใช้เงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวได้ลงนามเป็นผู้รับอาวัลในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ดังนี้ แม้ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเลิกกันแล้ว ก็ยังไม่สิ้นสภาพเป็นนิติบุคคล เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี เมื่อจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ในระหว่างการชำระบัญชี โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ชำระบัญชีด้วยเป็นผู้แทนและเป็นผู้รับอาวัลในฐานะส่วนตัวด้วย จำเลยทั้งสองจึงต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้น ๆ ถึงกำหนดใช้เงิน โดยไม่ได้ระบุถึงอายุความฟ้องร้องผู้รับอาวัล แต่มาตรา 940 วรรคแรก บัญญัติว่าผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน ดังนี้ จึงต้องใช้มาตรา 1001 บังคับแต่จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลด้วยจะนำมาตรา 1002 ซึ่งใช้บังคับแก่ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วเงินมาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่พ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้น ๆ ถึงกำหนดใช้เงิน โดยไม่ได้ระบุถึงอายุความฟ้องร้องผู้รับอาวัล แต่มาตรา 940 วรรคแรก บัญญัติว่าผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน ดังนี้ จึงต้องใช้มาตรา 1001 บังคับแต่จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลด้วยจะนำมาตรา 1002 ซึ่งใช้บังคับแก่ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วเงินมาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่พ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันสัญญาหลังห้างหุ้นส่วนเลิก: ตัวแทนยังมีอำนาจสั่งซื้อเพื่อรักษาประโยชน์กิจการ
แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเลิกกันโดยผลของกฎหมายเนื่องจากหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดตาย แต่ก็พึงถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 การที่ตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ดูแลกิจการตลอดจนสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ มาดำเนินการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้สั่งซื้อกระดาษมาใช้ดำเนินกิจการด้านโรงพิมพ์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ยังค้างอยู่ตามที่ไปรับงานมา แม้จะมิใช่เป็นการกระทำเพื่อชำระบัญชีก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำเพื่อปกปักรักษาประโยชน์อันสมควรมิให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นตัวการต้องเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828ห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวจึงต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้วยังผูกพันสัญญาได้ หากเป็นการกระทำเพื่อรักษาประโยชน์ของห้างฯ ก่อนการชำระบัญชี
แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเลิกกันโดยผลของกฎหมาย เนื่องจากหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดตาย แต่ก็พึงถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 การที่ตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ดูแลกิจการตลอดจนสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ มาดำเนินการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้สั่งซื้อกระดาษมาใช้ดำเนินกิจการด้านโรงพิมพ์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ยังค้างอยู่ตามที่ไปรับงานมา แม้จะมิใช่เป็นการกระทำเพื่อชำระบัญชีก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำเพื่อปกปักรักษาประโยชน์อันสมควรมิให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นตัวการต้องเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828ห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวจึงต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกหนี้หลังเลิกบริษัท, อำนาจทนาย, และการตีราคาไม้ของกลาง
แม้การชำระบัญชีสิ้นสุดไปแล้ว กฎหมายยังให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นเป็นหนี้อยู่ได้
กรณีเรื่องนี้ว่ากล่าวกันให้บริษัทผู้ร้องต้องรับผิดเป็นเงินวางศาลเมื่อบริษัทผู้ร้องรับไม้ของกลางไปและได้ว่ากล่าวกันก่อนเลิกบริษัท ฉะนั้น ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ประกอบมาตรา 1272 คู่กรณีจึงคงว่ากล่าวคดีกันต่อมาได้และทนายของบริษัทผู้ร้องคงมีอำนาจดำเนินคดีต่อมาตามที่ได้รับแต่งตั้งไว้ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บริษัทผู้ร้องนำเงินราคาไม้ของกลางที่ยังขาด 1,398,000 บาท มาวางศาลภายใน 15 วันบริษัทผู้ร้องฎีกาต่อมาได้ไม่ต้องห้ามไม่อยู่ภายในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
บริษัทผู้ร้องขอให้คิดราคาไม้ของกลาง 4 เท่าของอัตราค่าภาคหลวงราคานี้กรมป่าไม้ขายให้เฉพาะองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งเป็นองค์การรัฐบาลเท่านั้นการตีราคาในคดีนี้ต้องถือราคาในท้องตลาดเป็นเกณฑ์ คือลูกบาศก์เมตรละ 2,050 บาท
กรณีเรื่องนี้ว่ากล่าวกันให้บริษัทผู้ร้องต้องรับผิดเป็นเงินวางศาลเมื่อบริษัทผู้ร้องรับไม้ของกลางไปและได้ว่ากล่าวกันก่อนเลิกบริษัท ฉะนั้น ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ประกอบมาตรา 1272 คู่กรณีจึงคงว่ากล่าวคดีกันต่อมาได้และทนายของบริษัทผู้ร้องคงมีอำนาจดำเนินคดีต่อมาตามที่ได้รับแต่งตั้งไว้ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บริษัทผู้ร้องนำเงินราคาไม้ของกลางที่ยังขาด 1,398,000 บาท มาวางศาลภายใน 15 วันบริษัทผู้ร้องฎีกาต่อมาได้ไม่ต้องห้ามไม่อยู่ภายในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
บริษัทผู้ร้องขอให้คิดราคาไม้ของกลาง 4 เท่าของอัตราค่าภาคหลวงราคานี้กรมป่าไม้ขายให้เฉพาะองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งเป็นองค์การรัฐบาลเท่านั้นการตีราคาในคดีนี้ต้องถือราคาในท้องตลาดเป็นเกณฑ์ คือลูกบาศก์เมตรละ 2,050 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกหนี้หลังชำระบัญชีเลิกบริษัท และอำนาจทนายความในการดำเนินคดี
แม้การชำระบัญชีสิ้นสุดไปแล้ว กฎหมายยังให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นเป็นหนี้อยู่ได้ กรณีเรื่องนี้ว่ากล่าวกันให้บริษัทผู้ร้องต้องรับผิดเป็นเงินวางศาลเมื่อบริษัทผู้ร้องรับไม้ของกลางไปและได้ว่ากล่าวกันก่อนเลิกบริษัท ฉะนั้น ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ประกอบมาตรา 1272 คู่กรณีจึงคงว่ากล่าวคดีกันต่อมาได้และทนายของบริษัทผู้ร้องคงมีอำนาจดำเนินดคีต่อมาตามที่ได้รับแต่งตั้งไว้ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บริษัทผู้ร้องนำเงินราคาไม้ของกลางที่ยังขาด 1,398,000 บาท มาวางศาลภายใน 15 วัน บริษัทผู้ร้องฎีกาต่อมาได้ไม่ต้องห้าม ไม่อยู่ภายในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
บริษัทผู้ร้องขอให้คิดราคาไม้ของกลาง 4 เท่าของอัตราค่าภาคหลวง ราคานี้กรมป่าไม้ขายให้เฉพาะองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งเป็นองค์การรัฐบาลเท่านั้น การตีราคาในคดีนี้ต้องถือราคาในท้องตลาดเป็นเกณฑ์ คือ ลูกบาศก์เมตรละ 2,050 บาท
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บริษัทผู้ร้องนำเงินราคาไม้ของกลางที่ยังขาด 1,398,000 บาท มาวางศาลภายใน 15 วัน บริษัทผู้ร้องฎีกาต่อมาได้ไม่ต้องห้าม ไม่อยู่ภายในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
บริษัทผู้ร้องขอให้คิดราคาไม้ของกลาง 4 เท่าของอัตราค่าภาคหลวง ราคานี้กรมป่าไม้ขายให้เฉพาะองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งเป็นองค์การรัฐบาลเท่านั้น การตีราคาในคดีนี้ต้องถือราคาในท้องตลาดเป็นเกณฑ์ คือ ลูกบาศก์เมตรละ 2,050 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งทนายโดยใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้อง และอำนาจของผู้ชำระบัญชีในการดำเนินคดี
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัวและฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการบริษัทนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะลงชื่อในใบแต่งทนาย 2 แห่งโดยมิได้ระบุว่าลงชื่อในฐานะอะไรก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อในฐานะที่เป็นจำเลยเองแห่งหนึ่ง กับลงชื่อในนามบริษัทซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 อีกแห่งหนึ่งแล้ว
การใช้ดวงตราซึ่งมิใช่ดวงตราที่บริษัทจดทะเบียนไว้ไปประทับในใบแต่งทนายนั้น ถือว่าใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้อง แม้จะนำดวงตรานี้ไปจดทะเบียนภายหลัง ก็หามีผลย้อนหลังเป็นการรับรองให้การใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องนั้นเป็นการใช้ได้ขึ้นมาอย่างใดไม่
เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทมีมติให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว ผู้ชำระบัญชีนั้นก็ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีในนามบริษัท และอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้แทนตนในคดีอีกชั้นหนึ่งได้ การลงลายมือชื่อของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องประทับตราอย่างใด ฉะนั้น เพียงแต่ผู้รับมอบอำนาจลงชื่ออย่างเดียวในใบแต่งทนาย ก็มีผลเป็นการแต่งทนายในนามบริษัทนั้นแล้ว แม้ผู้รับมอบอำนาจเอาดวงตราที่ไม่เคยจดทะเบียนมาประทับด้วย ก็ไม่ทำให้ใบแต่งทนายเสียไป
การใช้ดวงตราซึ่งมิใช่ดวงตราที่บริษัทจดทะเบียนไว้ไปประทับในใบแต่งทนายนั้น ถือว่าใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้อง แม้จะนำดวงตรานี้ไปจดทะเบียนภายหลัง ก็หามีผลย้อนหลังเป็นการรับรองให้การใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องนั้นเป็นการใช้ได้ขึ้นมาอย่างใดไม่
เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทมีมติให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว ผู้ชำระบัญชีนั้นก็ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีในนามบริษัท และอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้แทนตนในคดีอีกชั้นหนึ่งได้ การลงลายมือชื่อของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องประทับตราอย่างใด ฉะนั้น เพียงแต่ผู้รับมอบอำนาจลงชื่ออย่างเดียวในใบแต่งทนาย ก็มีผลเป็นการแต่งทนายในนามบริษัทนั้นแล้ว แม้ผู้รับมอบอำนาจเอาดวงตราที่ไม่เคยจดทะเบียนมาประทับด้วย ก็ไม่ทำให้ใบแต่งทนายเสียไป