พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการถอนตัวทนาย: จำเลยยังไม่ทราบคำขอถอนตัว ทนายมาศาลแล้ว ถือไม่ได้ว่าขาดนัด
วันนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลย ทนายจำเลยมาศาลยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนาย ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอโดยตัวจำเลยไม่มาศาลและไม่ปรากฏว่าได้ทราบคำขอของทนายความแล้วหาได้ไม่ ทั้งเมื่อทนายของจำเลยมาศาลในวันนัดแล้วเช่นนี้การที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาคดีไปนั้น จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิเรียงคำฟ้องแทนโจทก์ได้ แม้ไม่ใช่ทนายความ
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความซึ่งมีอำนาจยื่นคำฟ้องได้จึงชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้อง รวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย หาจำต้องมอบอำนาจให้ทนายความเรียงหรือแต่งคำฟ้องให้อีกต่อหนึ่งไม่ ฉะนั้น คำฟ้องของโจทก์ซึ่งผู้รับมอบอำนาจลงชื่อเป็น ผู้เรียงจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2516)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดี: ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิเรียง/แต่งคำฟ้องแทนโจทก์ได้ แม้ไม่ใช่ทนายความ
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความซึ่งมีอำนาจยื่นคำฟ้องได้จึงชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้อง รวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย หาจำต้องมอบอำนาจให้ทนายความเรียงหรือแต่งคำฟ้องให้อีกต่อหนึ่งไม่ ฉะนั้น คำฟ้องของโจทก์ซึ่งผู้รับมอบอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2516)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกลูกหนี้ล้มละลาย และการใช้เอกสารประกอบการพิจารณาคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 ไม่ใช้บังคับถึงวิธีการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกลูกหนี้ของผู้ล้มละลายให้ชำระหนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของผู้ล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 มาตรา 119 ได้กำหนดวิธีการให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายล้มละลาย โดยเฉพาะเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในการสอบสวนหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการไปตามอำนาจและหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้มีฐานะเป็นคู่ความในคดีดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 89ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีหน้าที่อ้างเอกสารหมาย ร.ค.1 และ ร.ค.4 มาประกอบคำกล่าวอ้างของตน และซักค้าน ผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ของผู้ล้มละลายและถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกร้องให้ชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกลูกหนี้ - ไม่ผูกพันด้วยวิธีพิจารณาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 ไม่ใช้บังคับถึงวิธีการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกลูกหนี้ของผู้ล้มละลายให้ชำระหนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของผู้ล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 มาตรา 119 ได้กำหนดวิธีการให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายล้มละลายโดยเฉพาะเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในการสอบสวนหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการไปตามอำนาจและหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้มีฐานะเป็นคู่ความในคดีดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 89 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีหน้าที่อ้างเอกสารหมาย ร.ค.1 และ ร.ค.4 มาประกอบคำกล่าวอ้างของตน และซักค้านผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ของผู้ล้มละลายและถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกร้องให้ชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขับไล่บุคคลเดิมและบุคคลที่ร้องสอดคดี ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำหากไม่ใช่คู่ความเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่บุตรเขยจำเลยให้รื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่พิพาท ซึ่งอ้างว่าเป็นของโจทก์บุตรเขยจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยรื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่พิพาทบุตรเขยจำเลยร้องสอดเข้าต่อสู้คดีร่วมกับจำเลย ดังนี้คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะจำเลยในคดีนี้มิใช่คู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนการที่บุตรเขยจำเลยร้องสอดเข้ามาในคดีด้วยความสมัครใจเองไม่ทำให้ฟ้องระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นฟ้องซ้ำส่วนคดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอด ไม่ว่าบุตรเขยจำเลยจะมีอำนาจร้องสอดหรือไม่ คำพิพากษาคดีก่อนจะผูกพันโจทก์กับผู้ร้องสอดเพียงใดหรือไม่และคดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดจะเป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ศาลก็ย่อมพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไปได้โดยไม่จำต้องแยกวินิจฉัยคดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขับไล่ซ้ำกับคดีก่อน แม้จำเลยต่างกัน แต่มีประเด็นข้อเท็จจริงเกี่ยวพันกัน ศาลพิจารณาได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่บุตรเขยจำเลยให้รื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่พิพาท ซึ่งอ้างว่าเป็นของโจทก์. บุตรเขยจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์. ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยรื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่พิพาท. บุตรเขยจำเลยร้องสอดเข้าต่อสู้คดีร่วมกับจำเลย. ดังนี้คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำ.เพราะจำเลยในคดีนี้มิใช่คู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อน. การที่บุตรเขยจำเลยร้องสอดเข้ามาในคดีด้วยความสมัครใจเอง. ไม่ทำให้ฟ้องระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นฟ้องซ้ำ. ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอด. ไม่ว่าบุตรเขยจำเลยจะมีอำนาจร้องสอดหรือไม่. คำพิพากษาคดีก่อนจะผูกพันโจทก์กับผู้ร้องสอดเพียงใดหรือไม่. และคดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดจะเป็นฟ้องซ้ำหรือไม่. ศาลก็ย่อมพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไปได้โดยไม่จำต้องแยกวินิจฉัยคดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการดำเนินกระบวนการเมื่อทนายจำเลยเสียชีวิต - การมีอยู่ของคู่ความ
กรณีโต้แย้งในตอนที่คดีถึงที่สุดแล้วอยู่ในระหว่างการบังคับคดี ไม่ใช่เป็นเรื่องคดีค้างพิจารณา ซึ่งถ้าหากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะ ศาลจะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าจะมีผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ (อ้างคำสั่งคำร้องฎีกาที่ 65/2492)
ในชั้นบังคับคดี จำเลยแต่งทนายไว้แล้วถึงแก่กรรมลง ในระยะที่เกี่ยวพันติดต่อกัน เมื่อทนายจำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีไว้ ศาลก็ย่อมผ่อนให้ทนายจำเลยยังพึงมีทางกระทำเพื่อรักษาประโยชน์ให้แก่คู่ความได้ในระหว่างที่ยังไม่มีตัวความ และเป็นการกระทำที่ไม่ใช่เป็นเรื่องการพิจารณาคดีค้าง
คดีถึงที่สุดแล้ว หากมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลในชั้นบังคับคดี ก็มีกรณีที่จะต้องตั้งต้นพิจารณาชั้นอุทธรณ์ขึ้นใหม่ในระหว่างคู่ความเมื่อปรากฏว่าจำเลยมรณะ ทนายจำเลยย่อมสิ้นสภาพ การพิจารณาคดีต่อไปจะต้องจัดการให้มีผู้มารับมรดกความเสียก่อน
การที่ศาลล่างดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยไม่มีคู่ความทั้งสองฝ่ายพร้อมเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้
ในชั้นบังคับคดี จำเลยแต่งทนายไว้แล้วถึงแก่กรรมลง ในระยะที่เกี่ยวพันติดต่อกัน เมื่อทนายจำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีไว้ ศาลก็ย่อมผ่อนให้ทนายจำเลยยังพึงมีทางกระทำเพื่อรักษาประโยชน์ให้แก่คู่ความได้ในระหว่างที่ยังไม่มีตัวความ และเป็นการกระทำที่ไม่ใช่เป็นเรื่องการพิจารณาคดีค้าง
คดีถึงที่สุดแล้ว หากมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลในชั้นบังคับคดี ก็มีกรณีที่จะต้องตั้งต้นพิจารณาชั้นอุทธรณ์ขึ้นใหม่ในระหว่างคู่ความเมื่อปรากฏว่าจำเลยมรณะ ทนายจำเลยย่อมสิ้นสภาพ การพิจารณาคดีต่อไปจะต้องจัดการให้มีผู้มารับมรดกความเสียก่อน
การที่ศาลล่างดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยไม่มีคู่ความทั้งสองฝ่ายพร้อมเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหลังจำเลยเสียชีวิต: ศาลต้องรอทายาทก่อนดำเนินการต่อ
กรณีโต้แย้งในตอนที่คดีถึงที่สุดแล้วอยู่ในระหว่างการบังคับคดี. ไม่ใช่เป็นเรื่องคดีค้างพิจารณา. ซึ่งถ้าหากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะ ศาลจะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าจะมีผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ (อ้างคำสั่งคำร้องฎีกาที่ 65/2492).
ในชั้นบังคับคดี จำเลยแต่งทนายไว้แล้วถึงแก่กรรมลง ในระยะที่เกี่ยวพันติดต่อกัน. เมื่อทนายจำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีไว้. ศาลก็ย่อมผ่อนให้ทนายจำเลยยังพึงมีทางกระทำเพื่อรักษาประโยชน์ให้แก่คู่ความได้ในระหว่างที่ยังไม่มีตัวความ. และเป็นการกระทำที่ไม่ใช่เป็นเรื่องการพิจารณาคดีค้าง.
คดีถึงที่สุดแล้ว หากมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลในชั้นบังคับคดี. ก็มีกรณีที่จะต้องตั้งต้นพิจารณาชั้นอุทธรณ์ขึ้นใหม่ในระหว่างคู่ความ. เมื่อปรากฏว่าจำเลยมรณะ ทนายจำเลยย่อมสิ้นสภาพ. การพิจารณาคดีต่อไปจะต้องจัดการให้มีผู้มารับมรดกความเสียก่อน.
การที่ศาลล่างดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยไม่มีคู่ความทั้งสองฝ่ายพร้อมเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา. ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้.
ในชั้นบังคับคดี จำเลยแต่งทนายไว้แล้วถึงแก่กรรมลง ในระยะที่เกี่ยวพันติดต่อกัน. เมื่อทนายจำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีไว้. ศาลก็ย่อมผ่อนให้ทนายจำเลยยังพึงมีทางกระทำเพื่อรักษาประโยชน์ให้แก่คู่ความได้ในระหว่างที่ยังไม่มีตัวความ. และเป็นการกระทำที่ไม่ใช่เป็นเรื่องการพิจารณาคดีค้าง.
คดีถึงที่สุดแล้ว หากมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลในชั้นบังคับคดี. ก็มีกรณีที่จะต้องตั้งต้นพิจารณาชั้นอุทธรณ์ขึ้นใหม่ในระหว่างคู่ความ. เมื่อปรากฏว่าจำเลยมรณะ ทนายจำเลยย่อมสิ้นสภาพ. การพิจารณาคดีต่อไปจะต้องจัดการให้มีผู้มารับมรดกความเสียก่อน.
การที่ศาลล่างดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยไม่มีคู่ความทั้งสองฝ่ายพร้อมเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา. ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ความรับผิดของนายประกันเมื่อไม่ปฏิบัติตามสัญญา และอำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน แล้วผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามนัด จำเลยย่อมมีหน้าที่ใช้เงินตามสัญญา ไม่จำเป็นที่พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญา
เงินที่จำเลยผู้ประกันสัญญาจะใช้เมื่อผิดสัญญาประกัน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยมิได้ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดก็เป็นการผิดสัญญา ย่อมต้องใช้เบี้ยปรับ การนำตัวผู้ต้องหามาส่งภายหลังหรือคดีนั้นมีการสั่งไม่ฟ้อง.หรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่ เป็นแต่เพียงเหตุในการใช้ดุลพินิจว่าควรปรับมากน้อยเพียงใด (อ้างฎีกาที่ 1072/2491 และ1039/2499)
พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รับคำร้องขอประกันผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมอยู่ ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล และเป็นผู้มีหน้าที่พิจารณาสั่งคำร้อง แล้วให้ผู้ร้องทำสัญญาประกันจึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันได้ (อ้างฎีกาที่701/2498)
นายตำรวจสองนายซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจเดียวกันคนหนึ่งลงชื่อเป็นผู้รับสัญญาประกันอีกคนหนึ่งลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาประกัน เป็นการกระทำของบุคคลในตำแหน่งหน้าที่เดียว ไม่ใช่ทำแทนกัน และหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวเป็นอำนาจของตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้.จึงฟ้องคดีโดยระบุตำแหน่งหน้าที่ และระบุนามบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เป็นคู่ความได้(อ้างฎีกาที่ 2106-2108/2492)
กรณีจำเลยผู้ประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด.พนักงานสอบสวนย่อมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนผู้ต้องหาได้ จึงเป็นการเสียหายต่อราชการ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและมีหน้าที่ชำระเบี้ยปรับแล้วไม่ชำระเป็นการผิดนัด ย่อมต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่จำเลยร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วม อ้างว่ามีส่วนได้เสียร่วมกับจำเลย ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้นั้น หากศาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็น จะไม่เรียกเข้ามาก็ได้
เงินที่จำเลยผู้ประกันสัญญาจะใช้เมื่อผิดสัญญาประกัน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยมิได้ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดก็เป็นการผิดสัญญา ย่อมต้องใช้เบี้ยปรับ การนำตัวผู้ต้องหามาส่งภายหลังหรือคดีนั้นมีการสั่งไม่ฟ้อง.หรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่ เป็นแต่เพียงเหตุในการใช้ดุลพินิจว่าควรปรับมากน้อยเพียงใด (อ้างฎีกาที่ 1072/2491 และ1039/2499)
พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รับคำร้องขอประกันผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมอยู่ ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล และเป็นผู้มีหน้าที่พิจารณาสั่งคำร้อง แล้วให้ผู้ร้องทำสัญญาประกันจึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันได้ (อ้างฎีกาที่701/2498)
นายตำรวจสองนายซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจเดียวกันคนหนึ่งลงชื่อเป็นผู้รับสัญญาประกันอีกคนหนึ่งลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาประกัน เป็นการกระทำของบุคคลในตำแหน่งหน้าที่เดียว ไม่ใช่ทำแทนกัน และหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวเป็นอำนาจของตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้.จึงฟ้องคดีโดยระบุตำแหน่งหน้าที่ และระบุนามบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เป็นคู่ความได้(อ้างฎีกาที่ 2106-2108/2492)
กรณีจำเลยผู้ประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด.พนักงานสอบสวนย่อมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนผู้ต้องหาได้ จึงเป็นการเสียหายต่อราชการ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและมีหน้าที่ชำระเบี้ยปรับแล้วไม่ชำระเป็นการผิดนัด ย่อมต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่จำเลยร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วม อ้างว่ามีส่วนได้เสียร่วมกับจำเลย ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้นั้น หากศาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็น จะไม่เรียกเข้ามาก็ได้