พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คู่ความในชั้นขอกันส่วน: จำเลยไม่ต้องมีผู้แทนเมื่อเสียชีวิต
คู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1(11) หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลซึ่งในชั้นร้องขอกันส่วน คู่ความ คือผู้ร้องทั้งสองกับโจทก์ผู้ซึ่งยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี ส่วนจำเลยทั้งสองนั้นหาได้เป็นคู่ความในชั้นขอกันส่วนไม่ คู่ความคงมีเฉพาะผู้ร้องกับโจทก์เท่านั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายไปก่อนวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ก็มิใช่กรณีที่จะขอให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาออกไปจนกว่าจะมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10323/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีได้ แม้ไม่ได้เป็นทนายความ หากเป็นฐานะคู่ความตามกฎหมาย
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) จึงมีอำนาจยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย เพราะมิใช่การว่าความอย่างทนายความตามมาตรา 60 วรรคสองและ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10228/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจฟ้องแทนและการแต่งคำฟ้องโดยมิได้เป็นทนายความ
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนต่อจำเลยทั้งสอง ส. ในฐานะตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำกิจการที่ตัวการมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไป ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 1 ได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์ คำว่าคู่ความหมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้นๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ ดังนั้น ส. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทน ย่อมอยู่ในฐานะคู่ความมีอำนาจยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่คำฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย และเมื่อพิจารณาตาม พ.ร.บ.ทนายความฯ มาตรา 33 ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นทนายความว่าความในศาลหรือแต่งคำฟ้อง แต่ก็บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการเรียงหรือแต่งฟ้องนั้น ไม่ห้ามไปถึงบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น ส. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์แม้มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง และการเรียงหรือแต่งคำฟ้องแทนโจทก์ก็มิใช่การว่าความอย่างทนายความดังที่ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติห้ามไว้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10081/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทนของตัวแทนที่มิได้เป็นทนายความ: คำฟ้องชอบด้วยกฎหมายเมื่อได้รับมอบอำนาจตาม ป.วิ.พ.
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนแก่จำเลยทั้งสอง ส. ในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำกิจการที่ตัวการมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 1 ได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้นๆ ตามกฎหมาย หรือในฐานะทนายความ ดังนั้น ส. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทนย่อมอยู่ในฐานะคู่ความมีอำนาจยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่งฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง แต่ก็บัญญัติยกเว้นไว้ว่า การแต่งฟ้องนั้นไม่ห้ามไปถึงบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น แม้ ส. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง และการเรียงหรือแต่งฟ้องแทนโจทก์มิใช่การว่าความอย่างทนายความดังที่ ป.วิ.พ.มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติห้ามไว้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9744/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจฟ้องแทนโจทก์: ชอบด้วยกฎหมายแม้ไม่ได้เป็นทนายความ
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนแก่จำเลยทั้งสอง ส. ในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำกิจการที่ตัวการมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไป ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 1 ได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมาย หรือในฐานะทนายความ ดังนั้น ส. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทนย่อมอยู่ในฐานะคู่ความมีอำนาจยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่งฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย และพ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง แต่ก็บัญญัติยกเว้นไว้ว่า การแต่งฟ้องนั้นไม่ห้ามไปถึงบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น ส. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์แม้มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง และการเรียงหรือแต่งฟ้องแทนโจทก์ก็มิใช่การว่าความอย่างทนายความดังที่ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติห้ามไว้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการแจ้งเหตุขัดข้อง การมอบฉันทะเสมียนทนายไม่ถือเป็นการมาศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) บัญญัติว่า "คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ" การที่เสมียนทนายจำเลยที่ 2 ได้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนายและฟังคำสั่งของศาลชั้นต้น เสมียนทนายจำเลยที่ 2 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความตามบทบัญญัติดังกล่าวเพราะเสมียนทนายจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ นอกจากมายื่นคำร้องดังกล่าวและรับทราบคำสั่งของศาลตามที่รับมอบหมายจากทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์
คดีนี้ฟ้องร้องกันก่อนมีการแก้ไข ป.วิ.พ. มาตรา 202 เดิม จึงต้องใช้มาตรา 202 เดิม ที่บัญญัติว่า " ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว?" และมาตรา 197 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา" ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 จะขาดนัดพิจารณาหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ทนายจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล แต่ทนายจำเลยที่ 2 ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนาย ถือว่าจำเลยที่ 2 แจ้งเหตุขัดข้องที่ฝ่ายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล จึงไม่ครบหลักเกณฑ์ตามมาตราดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 จึงขอให้มีการพิจารณาใหม่ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207
คดีนี้ฟ้องร้องกันก่อนมีการแก้ไข ป.วิ.พ. มาตรา 202 เดิม จึงต้องใช้มาตรา 202 เดิม ที่บัญญัติว่า " ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว?" และมาตรา 197 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา" ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 จะขาดนัดพิจารณาหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ทนายจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล แต่ทนายจำเลยที่ 2 ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนาย ถือว่าจำเลยที่ 2 แจ้งเหตุขัดข้องที่ฝ่ายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล จึงไม่ครบหลักเกณฑ์ตามมาตราดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 จึงขอให้มีการพิจารณาใหม่ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6214/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีล้มละลาย: การอนุญาตเลื่อนคดีและสิทธิในการสืบพยาน
การที่จะถือว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี คำว่า คู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ การที่ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยที่ 1 มาศาลถือว่าคู่ความฝ่ายจำเลยที่ 1 มาศาลแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง ที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณา และนำเอากระบวนพิจารณาโดยขาดนัดมาใช้บังคับแก่คดี ดังนั้น คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวโดยมิได้ให้จำเลยที่ 1 มีโอกาสสืบพยานของตน จึงเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน อีกทั้งการที่ทนายจำเลยที่ 1 ขอเลื่อนการพิจารณาคดีเนื่องจากเพิ่งได้รับการติดต่อจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นทนายความและทนายความจำเลยที่ 1 ติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งได้นัดไว้ก่อนแล้ว ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 ศาลฎีกามีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) และมาตรา 247 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: จำเลยต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลตามกฎหมาย
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีแรงงานได้ต้องเป็นบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 คำว่า "คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ฯลฯ และคำว่าบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ดังนั้นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเท่านั้นที่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยได้ สำหรับนิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น องค์กรต่าง ๆ แม้ประกอบไปด้วยบุคคลหลายคนหากมิได้เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นแล้ว แม้บุคคลในองค์กรเหล่านั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ผู้ที่ได้รับความเสียจากบุคคลในองค์กรเหล่านั้นก็ไม่อาจฟ้ององค์กรเหล่านั้นได้ แต่ชอบที่จะฟ้องบุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้โดยตรง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้ เมื่อศาลแรงงานกลางตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นนิติบุคคลอันจะทำให้เห็นได้ในเบื้องต้นว่าจำเลยที่ 1 อาจเข้าเป็นคู่ความหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยได้ ก็ชอบที่จะให้โจทก์เสนอหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลต่อศาลเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำฟ้องของโจทก์ได้เพราะเป็นการตรวจสอบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ หากจำเลยที่ 1 มิได้เป็นนิติบุคคล ศาลแรงงานกลางก็ไม่อาจรับคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 ไว้ได้ ซึ่งเป็นการตรวจสอบเบื้องต้นในชั้นตรวจรับคำฟ้อง มิใช่ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจตรวจสอบแต่เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ที่ศาลแรงงานกลางไม่รับคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้ เมื่อศาลแรงงานกลางตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นนิติบุคคลอันจะทำให้เห็นได้ในเบื้องต้นว่าจำเลยที่ 1 อาจเข้าเป็นคู่ความหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยได้ ก็ชอบที่จะให้โจทก์เสนอหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลต่อศาลเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำฟ้องของโจทก์ได้เพราะเป็นการตรวจสอบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ หากจำเลยที่ 1 มิได้เป็นนิติบุคคล ศาลแรงงานกลางก็ไม่อาจรับคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 ไว้ได้ ซึ่งเป็นการตรวจสอบเบื้องต้นในชั้นตรวจรับคำฟ้อง มิใช่ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจตรวจสอบแต่เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ที่ศาลแรงงานกลางไม่รับคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแรงงานต้องระบุคู่ความที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเท่านั้น ศาลมีอำนาจตรวจสอบคุณสมบัติคู่ความ
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีแรงงานต้องเป็นบุคคลดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 คำว่า "คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และคำว่าบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งบุคคลดังกล่าวเท่านั้นที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยได้ องค์กรต่างๆ หากมิได้เป็นนิติบุคคล แม้บุคคลในองค์กรนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหาย ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็ไม่สามารถฟ้ององค์กรนั้นได้ แต่ชอบจะฟ้องบุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรง ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลรับไว้ เมื่อศาลแรงงานกลางตรวจคำฟ้องโจทก์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ปรากฏว่าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายใด ศาลแรงงานกลางก็ชอบที่จะให้โจทก์เสนอหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล เพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำฟ้อง เพราะเป็นการตรวจสอบอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งหากจำเลยที่ 1 มิได้เป็นนิติบุคคล ศาลแรงงานกลางก็ไม่อาจรับคำฟ้องในส่วนจำเลยที่ 1 ไว้ได้ เมื่อชั้นตรวจคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ศาลแรงงานกลางไม่รับคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางไม่รับคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยเห็นว่าไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าเป็นนิติบุคคล โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นนิติบุคคล แต่มิได้อ้างว่าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศฉบับใด ที่อ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นองค์กรที่ประเทศไทยรู้จักและกฎหมายไทยรับรองให้องค์กรนี้เข้ามาดำเนินการในประเทศไทย มีข้อตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับรัฐบาลแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 2 ได้รับยกเว้นบรรดารัษฎากรและสามารถออกหนังสือเดินทางให้แก่คนชาติตนได้ ก็เป็นเพียงเรื่องที่รัฐบาลไทยปฏิบัติต่อคณะบุคคลขององค์กรเหล่านี้เท่านั้น มิใช่เหตุผลที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ศาลแรงงานกลางไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางไม่รับคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยเห็นว่าไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าเป็นนิติบุคคล โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นนิติบุคคล แต่มิได้อ้างว่าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศฉบับใด ที่อ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นองค์กรที่ประเทศไทยรู้จักและกฎหมายไทยรับรองให้องค์กรนี้เข้ามาดำเนินการในประเทศไทย มีข้อตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับรัฐบาลแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 2 ได้รับยกเว้นบรรดารัษฎากรและสามารถออกหนังสือเดินทางให้แก่คนชาติตนได้ ก็เป็นเพียงเรื่องที่รัฐบาลไทยปฏิบัติต่อคณะบุคคลขององค์กรเหล่านี้เท่านั้น มิใช่เหตุผลที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ศาลแรงงานกลางไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ไม่รวมคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
ก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 เจ้าพนักงานที่ดิน และจำเลยที่ 2 กรมที่ดินให้เพิกถอนคำสั่งจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท โจทก์ทราบอยู่แล้วว่า ส. และธนาคาร ก. ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวมาก่อน แต่โจทก์กลับฟ้องเพียงจำเลยทั้งสองเท่านั้น มิได้ฟ้องหรือเรียก ส. และธนาคาร ก. ผู้ทำนิติกรรมจำนองที่ดินเข้ามาเป็นคู่ความด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทจึงเป็นการขอให้ศาลพิพากษากระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์มิอาจฟ้องบังคับได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)