พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของสภาอุตสาหกรรมจังหวัด: ไม่เป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก
แม้โจทก์จะได้รับการสถาปนาจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำดับที่ 2 โจทก์ก็ยังคงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเท่านั้น เพราะตามพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2530 มิได้กำหนดให้กลุ่ม "อุตสาหกรรม" หรือ "กลุ่มท้องที่" ที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลแยกเป็นต่างหากแต่ประการใด จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นเพียงสำนักงานสาขาในจังหวัดอื่นของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของสภาอุตสาหกรรมจังหวัด: สถานะทางกฎหมายและการเป็นนิติบุคคล
แม้โจทก์จะได้รับการสถาปนาจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำดับที่ 2 โจทก์ก็ยังคงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเท่านั้น เพราะตาม พ.ร.บ.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2530 มิได้กำหนดให้กลุ่ม "อุตสาหกรรม" หรือ "กลุ่มท้องที่" ที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลแยกเป็นต่างหากแต่ประการใด จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นเพียงสำนักงานสาขาในจังหวัดอื่นของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9190/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ศาลฎีกาพิพากษายืนฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 กรณีประเด็นสิทธิมรดกซ้ำกับคดีเดิม
แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้เป็นโจทก์หรือจำเลยในคดีเดิม แต่จำเลยที่ 4 ก็เป็นทนายความของจำเลยที่ 2 ในคดีเดิม ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) บัญญัติว่าคู่ความหมายความรวมถึงทนายความของโจทก์หรือจำเลยด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 4 เป็นคู่ความในคดีเดิมเช่นกัน
คู่ความในคดีเดิมกับคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน มรดกที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายรายเดียวกัน คำขอของโจทก์ในคดีหลังที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันจดทะเบียน โอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ ซึ่งมีข้อต้องวินิจฉัยเบื้องแรกว่ามีพินัยกรรมของผู้ตายฉบับโจทก์อ้าง หรือไม่ก่อน แล้วจึงจะวินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยทั้งสี่สมคบกันปิดบังพินัยกรรมดังกล่าว อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และโอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ต่อไปได้ คดีเดิมกับคดีนี้ต่างมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า ในระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 2 ใครเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย เมื่อในคดีเดิมศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดวินิจฉัยว่าไม่มีพินัยกรรม ของผู้ตายฉบับที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์กลับนำคดีนี้มารื้อร้องฟ้องกันว่ามีพินัยกรรมฉบับดังกล่าวอีก ฟ้องของโจทก์ จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คู่ความในคดีเดิมกับคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน มรดกที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายรายเดียวกัน คำขอของโจทก์ในคดีหลังที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันจดทะเบียน โอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ ซึ่งมีข้อต้องวินิจฉัยเบื้องแรกว่ามีพินัยกรรมของผู้ตายฉบับโจทก์อ้าง หรือไม่ก่อน แล้วจึงจะวินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยทั้งสี่สมคบกันปิดบังพินัยกรรมดังกล่าว อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และโอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ต่อไปได้ คดีเดิมกับคดีนี้ต่างมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า ในระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 2 ใครเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย เมื่อในคดีเดิมศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดวินิจฉัยว่าไม่มีพินัยกรรม ของผู้ตายฉบับที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์กลับนำคดีนี้มารื้อร้องฟ้องกันว่ามีพินัยกรรมฉบับดังกล่าวอีก ฟ้องของโจทก์ จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7991/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเรื่องการส่งคำคู่ความ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้น คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นว่ากล่าวได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น บัญญัติขึ้นใช้กับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น บัญญัติขึ้นใช้กันกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งของการผิดระเบียบนั้นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเท่านั้น มิอาจใช้แก่กรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายเพิ่งทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้มีชื่อในโฉนดหรือทายาท ผู้ร้องยื่นคำแถลงว่า ทายาทของผู้มีชื่อในโฉนดหายสาบสูญ ไม่ทราบที่อยู่แน่นอน ส่วนผู้มีชื่อในโฉนด ถึงแก่กรรมแล้ว ของดส่งสำเนาคำร้องขอให้ผู้มีชื่อในโฉนดและทายาท ศาลชั้นต้นอนุญาต คงมีแต่ประกาศคำร้องขอทางหนังสือพิมพ์สายกลางและปิดประกาศคำร้องขอไว้ ณ บริเวณที่ทรัพย์ตั้งอยู่ ร้านค้าในหมู่บ้านอันเป็นที่ชุมชน ใกล้เคียงที่ทรัพย์ตั้งอยู่ หน้าที่ว่าการอำเภอและหน้าศาลชั้นต้นเท่านั้น หากได้ความว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของผู้มีชื่อในโฉนดมีภูมิลำเนาแน่นอน การส่งคำคู่ความด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้นย่อมไม่ชอบ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องงดส่งสำเนาคำร้องขอให้ผู้คัดค้านก็เนื่องจากเชื่อตามคำแถลงของผู้ร้องว่าทายาทของผู้มีชื่อในโฉนดสาบสูญไปซึ่งไม่เป็นความจริง จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการส่งคำคู่ความ ในกรณีเช่นนี้ เมื่อความปรากฏชัดแจ้งต่อศาลและศาลเห็นสมควร ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้มีชื่อในโฉนดหรือทายาท ผู้ร้องยื่นคำแถลงว่า ทายาทของผู้มีชื่อในโฉนดหายสาบสูญ ไม่ทราบที่อยู่แน่นอน ส่วนผู้มีชื่อในโฉนด ถึงแก่กรรมแล้ว ของดส่งสำเนาคำร้องขอให้ผู้มีชื่อในโฉนดและทายาท ศาลชั้นต้นอนุญาต คงมีแต่ประกาศคำร้องขอทางหนังสือพิมพ์สายกลางและปิดประกาศคำร้องขอไว้ ณ บริเวณที่ทรัพย์ตั้งอยู่ ร้านค้าในหมู่บ้านอันเป็นที่ชุมชน ใกล้เคียงที่ทรัพย์ตั้งอยู่ หน้าที่ว่าการอำเภอและหน้าศาลชั้นต้นเท่านั้น หากได้ความว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของผู้มีชื่อในโฉนดมีภูมิลำเนาแน่นอน การส่งคำคู่ความด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้นย่อมไม่ชอบ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องงดส่งสำเนาคำร้องขอให้ผู้คัดค้านก็เนื่องจากเชื่อตามคำแถลงของผู้ร้องว่าทายาทของผู้มีชื่อในโฉนดสาบสูญไปซึ่งไม่เป็นความจริง จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการส่งคำคู่ความ ในกรณีเช่นนี้ เมื่อความปรากฏชัดแจ้งต่อศาลและศาลเห็นสมควร ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6458-6461/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแรงงาน การกำหนดประเด็นข้อพิพาท การแถลงรับข้อเท็จจริง และดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย
โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยจ่ายค่าเชื่อมมิกซ์ในอัตราวันละ 30 บาท โจทก์แต่ละคนได้รับเฉลี่ยเดือนละ 780 บาท ต่อมาจำเลยไม่จ่ายค่าเชื่อมมิกซ์ซึ่งคำนวณแล้วโจทก์แต่ละคนได้รับเป็นเงินเดือนละไม่ต่ำกว่า 500 บาท ตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 อันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับการทำงานและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจ่ายเงิน ดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้จำเลยจ่ายค่าเชื่อมมิกซ์เพียงอัตราเดือนละ 500 บาท ทั้งที่ในคำฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิได้รับเดือนละ 780 บาท ก็ตาม ก็ถือได้แน่นอนว่าโจทก์เรียกร้องเงินจำนวนนี้ตามคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ฟ้องของโจทก์ทั้งสี่ไม่เคลือบคลุม
แม้ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 จะใช้คำว่า "ให้ศาลแรงงาน จดประเด็นข้อพิพาท" ก็มิใช่บทบังคับศาลเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้ เพราะการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานต้องเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมดังที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา 29 หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้วก็ถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่คู่ความทำได้ เมื่อจำเลยตั้ง ภ. เป็นทนายความ ภ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความมีสิทธิกระทำการแทนจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา อันรวมถึงการแถลงรับข้อเท็จจริงด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 คำแถลงรับของ ภ. ทนายจำเลยจึงต้องผูกพันจำเลยด้วย
โจทก์ทั้งสี่เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและชักชวนให้ลูกจ้างอื่นร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงานและฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเนื่องจากจำเลยปรับลดค่าจ้างโดยไม่มีอำนาจ การกระทำของโจทก์ทั้งสี่เป็นการใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าจ้าง ส่วนที่จำเลยปรับลดอันเป็นค่าจ้างค้างจ่ายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และ 54 และใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยกระทำตามก็เป็นการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นใช้สิทธิตามกฎหมายเช่นกัน การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
อุทธรณ์ของจำเลยซึ่งบิดเบือนข้อเท็จจริงถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาล แรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องเรียกมา ศาลแรงงานกลางได้พิพากษากำหนดเป็นจำนวนเงินไว้แล้ว หนี้ดังกล่าวต้องชำระเป็นเงินจึงเป็นหนี้เงินที่จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ซึ่งจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายนับแต่วัน ผิดนัดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ใช่หนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็น ผู้ผิดนัดและรับผิดชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต่อเมื่อลูกจ้างทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใด จึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ทั้งนี้โดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52
แม้ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 จะใช้คำว่า "ให้ศาลแรงงาน จดประเด็นข้อพิพาท" ก็มิใช่บทบังคับศาลเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้ เพราะการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานต้องเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมดังที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา 29 หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้วก็ถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่คู่ความทำได้ เมื่อจำเลยตั้ง ภ. เป็นทนายความ ภ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความมีสิทธิกระทำการแทนจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา อันรวมถึงการแถลงรับข้อเท็จจริงด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 คำแถลงรับของ ภ. ทนายจำเลยจึงต้องผูกพันจำเลยด้วย
โจทก์ทั้งสี่เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและชักชวนให้ลูกจ้างอื่นร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงานและฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเนื่องจากจำเลยปรับลดค่าจ้างโดยไม่มีอำนาจ การกระทำของโจทก์ทั้งสี่เป็นการใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าจ้าง ส่วนที่จำเลยปรับลดอันเป็นค่าจ้างค้างจ่ายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และ 54 และใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยกระทำตามก็เป็นการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นใช้สิทธิตามกฎหมายเช่นกัน การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
อุทธรณ์ของจำเลยซึ่งบิดเบือนข้อเท็จจริงถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาล แรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องเรียกมา ศาลแรงงานกลางได้พิพากษากำหนดเป็นจำนวนเงินไว้แล้ว หนี้ดังกล่าวต้องชำระเป็นเงินจึงเป็นหนี้เงินที่จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ซึ่งจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายนับแต่วัน ผิดนัดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ใช่หนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็น ผู้ผิดนัดและรับผิดชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต่อเมื่อลูกจ้างทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใด จึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ทั้งนี้โดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลสมควร การอ้างเหตุเดิมซ้ำๆ โดยไม่ปรับปรุงแก้ไข และไม่ให้ความสำคัญกับคำสั่งศาลถือเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลย
ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้วไม่มาศาล ต้องถือว่าจำเลยทราบคำพิพากษา ศาลชั้นต้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษา เมื่อนับแต่วันพิพากษาถึงวันครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่จำเลยในครั้งที่สองรวมแล้วเป็นเวลาถึง 86 วัน และ เมื่อทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นครั้งที่สาม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเตือนทนายจำเลยในคำร้อง ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สามของทนายจำเลยแล้วว่าการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์โดยอ้าง เหตุเดิมเป็นความเฉื่อยชาของจำเลย ไม่ยุติธรรมแก่ฝ่ายโจทก์ แต่ก็ยังให้โอกาสจำเลยอีกครั้ง ทนายจำเลยกลับมายื่น คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีกเป็นครั้งที่สี่อ้างเหตุเดิมอย่างลอย ๆ ทั้งฎีกาของจำเลยก็ยอมรับว่า การอ้างเหตุเดิม เพื่อขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เนื่องจากเป็นแบบพิมพ์ของพนักงานอัยการที่ใช้ร่างขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ซึ่งในบางครั้งอาจมีข้อความที่คลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงไปเพราะความพลั้งเผลอในการตรวจสอบข้อความโดยไม่ได้อ้างว่ามีพฤติการณ์พิเศษอย่างไร เห็นได้ว่าฝ่ายจำเลยไม่ได้ให้ความสำคัญต่อคำสั่งของศาลชั้นต้นและระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ที่ศาลชั้นต้นขยายให้ การที่จำเลยไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ เป็นเพราะความบกพร่องของฝ่ายจำเลย จึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนต้องเกิดจากเจตนา และกรณีที่นายจ้างไม่ส่งเงินสมทบโดยที่ผู้ประกันตนไม่ทราบ
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ลักษณะ 2 หมวด 1 บัญญัติให้เรื่องการเป็นผู้ประกันตน รวมถึงการสิ้นสุดของความเป็นผู้ประกันตน อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของสำนักงานประกันสังคมจำเลย และยังให้สิทธิแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนต่อจำเลยตามมาตรา 39 ว่า หากโจทก์ไม่พอใจคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมที่สั่งการตามกฎหมายฉบับนี้ ให้โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งตามมาตรา 85 คณะกรรมการอุทธรณ์ที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 86 ก็เป็นคณะกรรมการของจำเลยโดยให้ผู้แทนสำนักงานประกันสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการเพื่อต้องการให้คณะกรรมการอุทธรณ์ได้ตรวจสอบคำสั่งของเลขาธิการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมอีกชั้นหนึ่ง คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์จึงเป็นคำสั่งในหน่วยงานของจำเลย นอกจากนี้มาตรา 87 วรรคท้าย ยังได้บัญญัติรับรองสิทธิของโจทก์ไว้อีกว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ดังนี้เมื่อจำเลยแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ และคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีเจตนารมณ์เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างและบุคคลอื่น บทบัญญัติมาตราใดที่กำหนดเงื่อนไขให้บุคคลดังกล่าวต้องสิ้นสิทธิจึงต้องตีความอย่างเคร่งครัดว่าต้องเป็นกรณีกระทำโดยเจตนาเท่านั้น มาตรา 41 (4) ที่บัญญัติให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกันจึงหมายถึงกรณีที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบโดยจงใจ และไม่มีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบ โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่า ธนาคาร ท. นายจ้างโจทก์ยกเลิกการส่งเงินสมทบแทนโจทก์และโจทก์ไม่ได้จงใจไม่ส่งเงินสมทบ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบ ความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์จึงยังไม่สิ้นสุดลงตามมาตรา 41 (4)
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีเจตนารมณ์เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างและบุคคลอื่น บทบัญญัติมาตราใดที่กำหนดเงื่อนไขให้บุคคลดังกล่าวต้องสิ้นสิทธิจึงต้องตีความอย่างเคร่งครัดว่าต้องเป็นกรณีกระทำโดยเจตนาเท่านั้น มาตรา 41 (4) ที่บัญญัติให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกันจึงหมายถึงกรณีที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบโดยจงใจ และไม่มีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบ โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่า ธนาคาร ท. นายจ้างโจทก์ยกเลิกการส่งเงินสมทบแทนโจทก์และโจทก์ไม่ได้จงใจไม่ส่งเงินสมทบ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบ ความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์จึงยังไม่สิ้นสุดลงตามมาตรา 41 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน: จำเลยคือคณะกรรมการในฐานะตำแหน่งหน้าที่
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนกระทำในรูปคณะบุคคลอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนก็มีผลผูกพันกรรมการทุกคนไม่ว่าจะได้เข้าร่วมประชุมพิจารณาวินิจฉัยด้วยหรือไม่ ดังนั้น การฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจึงไม่ใช่เป็นการฟ้องคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนในฐานะส่วนตัวแต่เป็นการฟ้องในทางตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนทั้งคณะจึงถูกฟ้องเป็นจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: ผลของการมอบฉันทะให้เสมียนทนายรับทราบวันนัด และความรับผิดชอบของทนายความ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยบรรยายว่า ทนายจำเลยคนเดิมไม่แจ้งให้จำเลยทราบว่าศาลแรงงานกลางนัดสืบพยาน นัดฟังคำพิพากษาและทนายจำเลยไม่อยู่ในวันนัดสืบพยานโจทก์ เป็นการอ้างเหตุที่จำเลยขาดนัดพิจารณาว่าเกิดจากจำเลยไม่ทราบกำหนดนัดของศาล
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมากำหนดวันนัดรับทราบคำสั่งศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว ถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาลศาลแรงงานกลางให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์โดยให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาลแทนการส่งหมายถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาล ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณา แล้วสืบพยานโจทก์จนเสร็จ และพิพากษาคดีไปในวันเดียวกัน การที่ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ มีผลเท่ากับทนายจำเลยทราบกำหนดนัดด้วยตามข้อความในใบมอบฉันทะที่ระบุว่าให้ผู้รับมอบฉันทะทำการแทนโดยทนายจำเลยยอมรับผิดชอบทุกประการในการกำหนดวันนัด รับทราบคำสั่ง และทนายจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงต้องถือว่าจำเลยทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์เพราะทนายจำเลยไม่แจ้งให้ทราบเพื่อเป็นเหตุขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมากำหนดวันนัดรับทราบคำสั่งศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว ถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาลศาลแรงงานกลางให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์โดยให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาลแทนการส่งหมายถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาล ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณา แล้วสืบพยานโจทก์จนเสร็จ และพิพากษาคดีไปในวันเดียวกัน การที่ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ มีผลเท่ากับทนายจำเลยทราบกำหนดนัดด้วยตามข้อความในใบมอบฉันทะที่ระบุว่าให้ผู้รับมอบฉันทะทำการแทนโดยทนายจำเลยยอมรับผิดชอบทุกประการในการกำหนดวันนัด รับทราบคำสั่ง และทนายจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงต้องถือว่าจำเลยทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์เพราะทนายจำเลยไม่แจ้งให้ทราบเพื่อเป็นเหตุขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: ผลของการมอบฉันทะให้เสมียนทนายรับทราบกำหนดนัด และความรับผิดชอบของทนายจำเลย
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยบรรยายว่า ทนายจำเลยคนเดิมไม่แจ้งให้จำเลยทราบว่าศาลแรงงานกลางนัดสืบพยาน นัดฟังคำพิพากษาและทนายจำเลยไม่อยู่ในวันนัดสืบพยานโจทก์ เป็นการอ้างเหตุที่จำเลยขาดนัดพิจารณาว่าเกิดจากจำเลยไม่ทราบกำหนดนัดของศาล
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมากำหนดวันนัดรับทราบคำสั่งศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว ถึงวันนัด จำเลยไม่มาศาลศาลแรงงานกลางให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์ โดยให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาลแทนการส่งหมาย ถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาล ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณา แล้วสืบพยานโจทก์จนเสร็จ และพิพากษาคดีไปในวันเดียวกัน การที่ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ มีผลเท่ากับทนายจำเลยทราบกำหนดนัดด้วย ตามข้อความในใบมอบฉันทะที่ระบุว่าให้ผู้รับมอบฉันทะทำการแทนโดยทนายจำเลยยอมรับผิดชอบทุกประการในการกำหนดวันนัด รับทราบคำสั่ง และทนายจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงต้องถือว่าจำเลยทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์เพราะทนายจำเลยไม่แจ้งให้ทราบเพื่อเป็นเหตุขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมากำหนดวันนัดรับทราบคำสั่งศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว ถึงวันนัด จำเลยไม่มาศาลศาลแรงงานกลางให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์ โดยให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาลแทนการส่งหมาย ถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาล ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณา แล้วสืบพยานโจทก์จนเสร็จ และพิพากษาคดีไปในวันเดียวกัน การที่ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ มีผลเท่ากับทนายจำเลยทราบกำหนดนัดด้วย ตามข้อความในใบมอบฉันทะที่ระบุว่าให้ผู้รับมอบฉันทะทำการแทนโดยทนายจำเลยยอมรับผิดชอบทุกประการในการกำหนดวันนัด รับทราบคำสั่ง และทนายจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงต้องถือว่าจำเลยทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์เพราะทนายจำเลยไม่แจ้งให้ทราบเพื่อเป็นเหตุขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้