คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 1 (11)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายความไม่ไปศาล และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
จำเลยแต่งตั้งให้ น. เป็นทนายความแก้ต่างแล้ว ต้องถือว่า น. เป็นตัวแทนของจำเลยในการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อ น. ทราบวันนัดของศาลแล้วไม่ไปศาลตามนัดและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดโดยจงใจ
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นจะต้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยให้จำเลยทราบเพื่อที่จะได้สืบพยานจำเลยต่อไป ตามที่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ปัญหานี้ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยผู้ฎีกายกขึ้นอ้างได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยก็มิได้มาศาล แม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ก็ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายความไม่ไปศาล และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
จำเลยแต่งตั้งให้ น. เป็นทนายความแก้ต่างแล้ว ต้องถือว่าน. เป็นตัวแทนของจำเลยในการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อ น. ทราบวันนัดของศาลแล้ว ไม่ไปศาลตามนัดและไม่แจ้งเหตุขัดข้องต้องถือว่าจำเลยขาดนัดโดยจงใจ
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นจะต้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยให้จำเลยทราบเพื่อที่จะได้สืบพยานจำเลยต่อไปตามที่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยผู้ฎีกายกขึ้นอ้างได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยก็มิได้มาศาล แม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ก็ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายจำเลยขาดนัดพิจารณาคดีจำเลยขาดนัดตามไปด้วย แม้จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี
จำเลยแต่งตั้งให้ น.เป็นทนายความแก้ต่างแล้ว ต้องถือว่า น.เป็นตัวแทนของจำเลยในการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อ น.ทราบวันนัดของศาลแล้วไม่ไปศาลตามนัดและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดโดยจงใจ
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นจะต้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยให้จำเลยทราบเพื่อที่จะได้สืบพยานจำเลยต่อไป ตามที่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยผู้ฎีกายกขึ้นอ้างได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ซึ่งป.วิ.พ.มาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยก็มิได้มาศาลแม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ก็ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2800/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินนิคมฯ ไม่ใช่สินสมรสก่อนออกโฉนด คำพิพากษาเดิมใช้บังคับไม่ได้
เดิมโจทก์ฟ้อง ก. ขอหย่าและแบ่งสินสมรส ซึ่งมีที่ดินพิพาทนิคมสร้างตนเองพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี - ลพบุรี จัดสรรให้แก่ ก. สมาชิกนิคมทำประโยชน์รวมอยู่ด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ ก. แบ่งสินสมรส ซึ่งรวมที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง โดยขณะนั้นยังไม่มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทแต่อย่างใด เมื่อกรมประชาสงเคราะห์เป็นบุคคลภายนอกคดีย่อมไม่ใช่คู่ความในคดีเดิม ที่ดินพิพาทจึงอยู่ในบังคับ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่ระบุว่า ก่อนมีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วให้ถือว่าบุคคลที่รัฐอนุญาตให้เข้าทำกินมีสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์เด็ดขาด แต่กลับมีมาตรา 12 บัญญัติว่า "ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน ผู้ที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากการตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยัง สหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ แล้วแต่กรณี" และในวรรคสองบัญญัติว่า "ภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ที่ดินนั้นไม่ตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี" ดังนั้น ที่ดินพิพาทยังคงเป็นที่ดินที่รัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองให้แก่ ก. ในขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อ ก. เพิ่งได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์และออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทมาภายหลัง จึงไม่ใช่สินสมรสระหว่างโจทก์และ ก. ดังนี้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งรับโอนมรดกจาก ก. ให้แบ่งที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และ ก. ตามคำพิพากษาของศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอำนาจฟ้องคดี: การลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความถือเป็นการแต่งตั้งทนายความและทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความ แต่งตั้งให้ อ. เป็นทนายความของโจทก์ และ อ. เป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาเรื่อยมา อ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) และถือว่าโจทก์เป็นผู้ฟ้องคดีนี้ด้วยตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของคณะบุคคลทางภาษี: การแก้ไขคำฟ้องและการเป็นบุคคลตามกฎหมาย
การแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาข้ออ้างที่มีต่อจำเลยอันกล่าวไว้ในคำฟ้อง ที่เสนอต่อศาลแต่แรกโดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ แต่คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ที่จะต้องระบุ ไว้แน่ชัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 เข้ามาในภายหลัง จึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้องตามนัยบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผลแต่อย่างใด
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีจะต้องเป็นบุคคลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ซึ่งคำว่า "บุคคล" ตาม ป.พ.พ. ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โจทก์เป็นเพียงคณะบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตาม ป.รัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ทั้งยังไม่ปรากฏว่าเป็นการฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่ใช่ทั้งบุคคลธรรมดาและมิใช่นิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของคณะบุคคลทางภาษีอากร: การแก้ไขคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการขาดคุณสมบัติเป็นคู่ความ
การแก้ไขคำฟ้องนั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากรพ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17
การแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาข้ออ้างที่มีต่อจำเลยอันกล่าวไว้ในคำฟ้องที่เสนอต่อศาลแต่แรก โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขคำฟ้องจากชื่อโจทก์ว่า "คณะบุคคลบังอร-พงศ์วิทย์โดยนางบังอรลำยองเสถียร ผู้จัดการคณะบุคคล" เป็น "คณะบุคคล บังอร-พงศ์วิทย์โดยนางบังอรลำยองเสถียรผู้จัดการคณะบุคคลในฐานะส่วนตัว และในฐานะผู้รับมอบอำนาจของนายพงศ์วิทย์พนาพิศาล" และขอแก้ไขข้อความในคำฟ้องเดิมเพิ่มเติมว่า"ในการยื่นฟ้องนี้นางบังอรกระทำในฐานะผู้จัดการคณะบุคคล ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจของนายพงศ์วิทย์ด้วยโดยนายพงศ์วิทย์มอบอำนาจให้นางบังอรเป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน" เป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 67 เข้ามาในภายหลังจึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้อง การที่ศาลภาษีอากรมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผล
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติถึงผู้ที่จะเป็นคู่ความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตาม มาตรา 1(11)"คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้อื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาล และคำว่า บุคคล นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล คณะบุคคลบังอร-พงศ์วิทย์ โจทก์ เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตาม ประมวลรัษฎากรมีหน้าที่ยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมิน เพื่อเสียภาษีเสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว โดยบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินของ คณะบุคคลนั้นเพื่อเสียภาษีอีก เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการจดทะเบียน ตาม บทบัญญัติแห่งลักษณะ 22 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1015โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่านางบังอรและนายพงศ์วิทย์ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว ผู้เป็นโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่บุคคลธรรมดาด้วยเช่นกัน จึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้รับโอนที่ดินในคดีประนีประนอมยอมความ การมีส่วนร่วมในการแบ่งแยกที่ดินแสดงถึงการเข้ามาในคดี
ที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องสอดกับ ย. เจ้ามรดกเป็นเจ้าของรวมกันใน น.ส. 3 หลังจากโจทก์ จำเลย และผู้ร้องสอดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่ ค. ค. จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทสืบต่อจากผู้ร้องสอด ทั้งในชั้นที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม ศาลชั้นต้นก็ให้ ค. เข้าไปมีส่วนร่วมในการนำชี้เพื่อแบ่งแยกด้วย จึงถือว่า ค. ได้เข้ามาในคดีและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้แบ่ง ที่ดินพิพาทตามที่จำเลยเป็นผู้นำชี้กระทบสิทธิของ ค. ค. ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8945/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องสอดของหน่วยงานราชการ: อำเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจร้องสอดได้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มิได้กำหนดให้อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคลอย่างเช่นจังหวัด แม้จะมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 122 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 62 วรรคสามและระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2515 ข้อ 4(1) และ ข้อ 5(1) กำหนดให้นายอำเภอหรือกรมการอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ก็ไม่เกี่ยวกับผู้ร้องสอด ซึ่งเป็นส่วนราชการ (อำเภอ) และไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้ผู้ร้องสอดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้ร้องสอดฎีกาขึ้นมาอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8945/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจร้องสอดคดี
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มิได้กำหนดให้อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคลอย่างเช่นจังหวัด แม้จะมี พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่พุทธศักราช 2457 มาตรา 122 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534มาตรา 62 วรรคสาม และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2515 ข้อ 4 (1) และ ข้อ 5 (1) กำหนดให้นายอำเภอหรือกรมการอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ก็ไม่เกี่ยวกับผู้ร้องสอด ซึ่งเป็นส่วนราชการ(อำเภอ) และไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้ผู้ร้องสอดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้ร้องสอดฎีกาขึ้นมาอีกต่อไป
of 19