คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 1 (11)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีฐานะนิติบุคคลของวัด: ขั้นตอนการตั้งวัดตามกฎหมาย
ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล และวัดมีสองอย่าง อย่างหนึ่งคือสำนักสงฆ์ ตามมาตรา 32การสร้างวัดและการตั้งวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504) ซึ่งออกตามความในมาตรา 6 และมาตรา 32แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดวิธีการสร้างวัดและการตั้งวัดไว้ ซึ่งเห็นได้ว่าวัดที่จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งรวมถึงวัดประเภทสำนักสงฆ์ด้วยนั้น หลังจากกรมการศาสนาออกหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดแล้ว ยังจะต้องมีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดต่อนายอำเภอและผ่านขั้นตอนการพิจารณา การปรึกษา และการรายงานการขอตั้งวัดโดยหน่วยงานราชการต่าง ๆ ตามลำดับ จนเมื่อมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว กระทรวงศึกษาธิการจึงจะประกาศตั้งเป็นวัดในราชกิจจานุเบกษาได้ วัดโจทก์แม้จะได้รับอนุญาตให้สร้างวัดแล้ว แต่เมื่อยังไม่ได้มีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดและยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ตั้งวัดตามกฎหมาย ย่อมจะถือว่าขณะยื่นฟ้องโจทก์เป็นวัดประเภทสำนักสงฆ์อันจะทำให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะนิติบุคคลของวัด: การดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายเพื่อการตั้งวัด
ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลและวัดมีสองอย่าง อย่างหนึ่งคือสำนักสงฆ์ตามมาตรา 32 การสร้างวัดและการตั้งวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2504) ซึ่งออกตามความในมาตรา 6 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดวิธีการสร้างวัดและการตั้งวัดไว้ซึ่งเห็นได้ว่าวัดที่จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งรวมถึงวัดประเภทสำนักสงฆ์ด้วยนั้น หลังจากกรมการศาสนาออกหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดแล้ว ยังจะต้องมีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดต่อนายอำเภอและผ่านขั้นตอนการพิจารณาการปรึกษา และการรายงานการขอตั้งวัดโดยหน่วยงานราชการต่างๆ ตามลำดับจนเมื่อมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบด้วยแล้วกระทรวงศึกษาธิการจึงจะประกาศตั้งเป็นวัดในราชกิจจานุเบกษาได้ วัดโจทก์แม้จะได้รับอนุญาตให้สร้างวัดแล้วแต่เมื่อยังไม่ได้มีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดและยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ตั้งวัดตามกฎหมาย ย่อมจะถือว่าขณะยื่นฟ้องโจทก์เป็นวัดประเภทสำนักสงฆ์อันจะทำให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทร่วมรับผิดในหนี้จากการทำสัญญา แม้จะอ้างเป็นเพียงตัวแทน
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะทำนิติกรรมใด ๆ เป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้าง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะให้การว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริง คำแถลงของทนายจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการสละข้อต่อสู้ในคำให้การ โดยรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ และยังค้างชำระค่าจ้างจำนวนตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทร่วมรับผิดในหนี้จากการทำนิติกรรม แม้เป็นเพียงกรรมการ
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะทำนิติกรรมใด ๆ เป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้างขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะให้การว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริง คำแถลงของทนายจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการสละข้อต่อสู้ในคำให้การ โดยรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ และยังค้างชำระค่าจ้างจำนวนตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5607/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1(11) "คู่ความ" หมายความรวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความฝ่ายจำเลยมีทนายความเป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและจำเลยเป็นผู้แต่งทนายความ โดยให้ทนายความมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ไปในทางจำหน่ายสิทธิของจำเลยรวมทั้งการประนีประนอมยอมความได้ด้วย การที่ทนายความได้สละข้อต่อสู้และทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำของคู่ความคือจำเลยด้วย จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลว่าทนายจำเลยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยจำเลยไม่ทราบนั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5607/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย แม้จำเลยอ้างไม่ทราบ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11)"คู่ความ" หมายความรวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความฝ่ายจำเลยมีทนายความเป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและจำเลยเป็นผู้แต่งทนายความ โดยให้ทนายความมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ไปในทางจำหน่ายสิทธิของจำเลยรวมทั้งการประนีประนอมยอมความได้ด้วย การที่ทนายความได้สละข้อต่อสู้และทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำของคู่ความคือจำเลยด้วย จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลว่าทนายจำเลยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยจำเลยไม่ทราบนั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีที่พิพาทซ้ำกับคดีก่อน ศาลยกฟ้องตามมาตรา 144
ปัญหาว่า โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณา คดีนี้ซ้ำและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งเรื่องก่อนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และมาตรา 148 หรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิ ที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง เดิมจำเลยทั้งสามในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ส.และต.เป็นจำเลยเป็นคดีแพ่งโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของ ผู้ครอบครองที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ต่อมาส.และต. ไปขอออก น.ส.3 ก. เลขที่ 4618โดยมิชอบทับที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ของจำเลยทั้งสามส.และต. ให้การว่า การขอออก น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ถูกต้องและได้เข้าครอบครองที่พิพาท อย่างเจ้าของ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า น.ส.3 ก. เลขที่ 4618 ออกทับที่พิพาทของจำเลยทั้งสาม อันจะต้องเพิกถอนหรือไม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องสอด ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ในคดีก่อน โจทก์จึงเป็นคู่ความในคดีก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) และ ต้องถูกผูกพันในกระบวนพิจารณาของศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เมื่อ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี ในคดีก่อนแล้วว่า น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ออกทับที่ของจำเลยทั้งสามตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ให้เพิกถอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 4618 อีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ก่อนศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนก็ตาม แต่เมื่อ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดคดีในคดีก่อนแล้ว กรณีก็ต้อง ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีครอบครองที่ดิน: การผูกพันตามคำพิพากษาคดีก่อนและผลกระทบต่อการฟ้องคดีใหม่
ปัญหาว่า โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ซ้ำและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งเรื่องก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 และมาตรา 148 หรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
เดิมจำเลยทั้งสามในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ส.และ ต.เป็นจำเลยเป็นคดีแพ่งโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ต่อมา ส.และ ต.ไปขอออก น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 โดยมิชอบทับที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ของจำเลยทั้งสาม ส.และ ต.ให้การว่า การขอออก น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ถูกต้องและได้เข้าครอบครองที่พิพาทอย่างเจ้าของ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ออกทับที่พิพาทของจำเลยทั้งสาม อันจะต้องเพิกถอนหรือไม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2) ในคดีก่อน โจทก์จึงเป็นคู่ความในคดีก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) และต้องถูกผูกพันในกระบวนพิจารณาของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีในคดีก่อนแล้วว่า น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ออกทับที่ของจำเลยทั้งสามตาม น.ส.3เลขที่ 15 ให้เพิกถอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 อีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ก่อนศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดคดีในคดีก่อนแล้ว กรณีก็ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังจำเลยให้การว่าไม่ใช่ผู้ลงลายมือชื่อเช็ค ถือเป็นการฟ้องผิดคน ศาลไม่รับแก้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท บุคคลที่ ถูกฟ้องมีเพียงคนเดียวเป็นหญิง มีชื่อ 2 ชื่อ การที่โจทก์ ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ชื่อจำเลยเป็น นาย ช. เป็นการแก้ทั้งชื่อและเพศของจำเลย ทั้งเป็นการขอแก้ไข หลังจากที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การต่อสู้คดี ว่าจำเลยมิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทแม้ศาลชั้นต้น จะยังไม่ได้สั่งรับคำให้การก็ตาม แต่ก็ทำให้ปรากฏว่า ผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นผู้อื่นที่ไม่ใช่บุคคล ซึ่งมีชื่อตามที่โจทก์ฟ้อง การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องผิดคนแล้วขอแก้ไขคำฟ้อง ซึ่งถ้าศาลสั่งอนุญาตจะมีผลเป็นการเปลี่ยนตัวบุคคลซึ่งเป็นจำเลยจากบุคคลหนึ่งเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7137/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอพิจารณาคดีใหม่ต้องเป็นคู่ความที่ถูกศาลแสดงว่าขาดนัดและมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ผู้ที่จะมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ได้นั้นจะต้องเป็นคู่ความและเป็นคู่ความฝ่ายที่ถูกศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณา และการขาดนัดพิจารณาเป็นเหตุให้ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ฝ่ายที่ขาดนัดนั้นแพ้คดีในประเด็นข้อพิพาทด้วย คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ทำการไต่สวนเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ไปแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ผู้คัดค้านไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นคู่ความในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(11) และผู้คัดค้านไม่ได้ถูกศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้คัดค้านแพ้คดีในประเด็นที่พิพาทผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
of 19