คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 1 (11)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5216/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำเรื่องครอบครองปรปักษ์: เหตุเดิมฟ้องแล้ว ศาลยกคำร้อง ขอใหม่ไม่ได้ แม้มีข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
ผู้ร้องเป็นทั้งคู่ความในคดีก่อนและคู่ความในคดีนี้ ประเด็นในคดีก่อนและในคดีนี้เป็นอย่างเดียวกันคือ ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ เหตุที่อาศัยเป็นหลักแห่งการวินิจฉัยในคดีก่อนคือฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอย่างเจ้าของ และฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงวันที่ยื่นคำร้องขอในคดีก่อนคือวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีนี้ว่าครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปี 2518 จนถึงวันยื่นคำร้องขอคดีนี้คือวันที่ 25 มิถุนายน2533 เป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว จึงเป็นการอาศัยเหตุแห่งการวินิจฉัยเดียวกันคำร้องขอในคดีนี้จึงเป็นการฟ้องซ้ำ
แม้ในคดีก่อนมีแต่ผู้ร้องฝ่ายเดียว ไม่มีผู้คัดค้านก็ตาม ผู้ร้องก็เป็นคู่ความตามความหมายของ ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) เมื่อผู้ร้องเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อน คดีของผู้ร้องจึงเป็นการฟ้องซ้ำได้
การที่ผู้ร้องอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่า ผู้ร้องเป็นผู้ขอติดตั้งน้ำประปา ไฟฟ้า และเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของผู้ร้อง ซึ่งบางส่วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากศาลยกคำร้องขอในคดีก่อน แต่เกิดขึ้นยังไม่ถึง 10 ปีก็เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในเหตุที่ศาลชั้นต้นอาศัยเป็นหลักแห่งการวินิจฉัยยกคำร้องขอนั่นเอง ผู้ร้องจะนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่มารวมกับข้อเท็จจริงเดิมเพื่อให้เห็นว่าครอบครองปรปักษ์ครบ 10 ปีแล้วไม่ได้
ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง กฎหมายมิได้บัญญัติให้อำนาจศาลในการสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียมแก่ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5216/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีครอบครองปรปักษ์: ศาลยกฟ้องเนื่องจากประเด็นและเหตุผลเดิม
ผู้ร้องเป็นทั้งคู่ความในคดีก่อนและคู่ความในคดีนี้ประเด็นในคดีก่อนและในคดีนี้เป็นอย่างเดียวกันคือ ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ เหตุที่อาศัยเป็นหลักแห่งการวินิจฉัยในคดีก่อนคือฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอย่างเจ้าของ และฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของที่ดินติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงวันที่ยื่นคำร้องขอในคดีก่อนคือวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีนี้ว่าครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปี2518 จนถึงวันยื่นคำร้องขอคดีนี้คือวันที่ 25 มิถุนายน 2533เป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว จึงเป็นการอาศัยเหตุแห่งการวินิจฉัยเดียวกันคำร้องขอในคดีนี้จึงเป็นการฟ้องซ้ำ แม้ในคดีก่อนมีแต่ผู้ร้องฝ่ายเดียว ไม่มีผู้คัดค้านก็ตามผู้ร้องก็เป็นคู่ความตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) เมื่อผู้ร้องเป็นคู่ความเดียวกับคู่ความในคดีก่อน คดีของผู้ร้องจึงเป็นการฟ้องซ้ำได้ การที่ผู้ร้องอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่า ผู้ร้องเป็นผู้ขอติดตั้งน้ำประปา ไฟฟ้า และเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของผู้ร้อง ซึ่งบางส่วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากศาลยกคำร้องขอในคดีก่อน แต่เกิดขึ้นยังไม่ถึง 10 ปี ก็เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในเหตุที่ศาลชั้นต้นอาศัยเป็นหลักแห่งการวินิจฉัยยกคำร้องขอนั่นเอง ผู้ร้องจะนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่มารวมกับข้อเท็จจริงเดิมเพื่อให้เห็นว่าครอบครองปรปักษ์ครบ 10 ปีแล้วไม่ได้ ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง กฎหมายมิได้บัญญัติให้อำนาจศาลในการสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียมแก่ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันจากการท้าสาบาน: ทนายความมีอำนาจทำได้ตามมอบหมาย แม้ถอดถอนภายหลังก็มีผลผูกพัน
แม้ภายหลัง ส. และ ว. จะถูกถอดถอนไม่ได้เป็นทนายความให้จำเลยทั้งสี่ก็ตามแต่คำท้าสาบานซึ่งถือว่าเป็นการยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้องซึ่ง ส. และ ว.มีอำนาจทำได้ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยทั้งสี่ตามที่ระบุในใบแต่งทนายความก็มีผลบังคับได้ตามกฎหมายจำเลยทั้งสี่จึงมิอาจถอนคำท้าได้แม้จะได้ถอดถอน ส. และ ว. จากการเป็นทนายความก่อนถึงวันนัดท้าสาบานก็ตามเมื่อโจทก์สาบานได้ตามคำท้าจำเลยทั้งสี่จึงต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากเช็คที่ถูกนำไปขึ้นเงินโดยมีการลงลายมือชื่อถูกต้อง และไม่มีเหตุโต้แย้ง
จำเลยที่8เป็นสาขาของจำเลยที่7โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่8จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจำเลยที่8จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดตามกฎหมายได้ จำเลยที่1ที่2ที่3เป็นข้าราชการของโจทก์มีหน้าที่ต้องนำเช็คสั่งจ่ายในนามของจำเลยทั้งสามไปขอเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่8ซึ่งเป็นสาขาของจำเลยที่7และนำเงินไปมอบโจทก์จำเลยทั้งสามได้ดูลายมือชื่อด้านหลังเช็คและไปขอเบิกเงินจากจำเลยที่8จำเลยที่11พนักงานของจำเลยที่7ได้ตรวจดูบัตรประจำตัวของจำเลยที่1และที่3จำเลยที่10ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีได้ตรวจดูข้อความในเช็คลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายกับผู้รับเงินและเห็นว่าถูกต้องตลอดจนไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยที่7จะไม่จ่ายเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา991และไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ทำให้จำเลยที่7หมดหน้าที่และอำนาจที่จะจ่ายเงินตามเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา992จำเลยที่10จึงอนุมัติให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่1ไปถือว่าจำเลยที่9ถึงที่11ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วแม้จำเลยที่1จะยักยอกเงินไปแต่ความเสียหายของโจทก์ก็มิใช่เพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่7ที่9ถึงที่11 จำเลยที่1ถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์เป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์คดีส่วนแพ่งซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเพราะถือว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์จึงต้องห้ามมิให้โจทก์นำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่1อีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5786/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการในการว่าต่างคดี และข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
อ.เป็นพนักงานอัยการ มีอำนาจที่จะรับว่าต่างคดีให้โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาได้ตาม พระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(5)และอ.ได้รับเป็นทนายความว่าต่างให้โจทก์แล้วตามใบแต่งทนายความในสำนวนคดีนี้ อ.จึงมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ รวมทั้งการเรียงคำฟ้องแทนโจทก์ได้โดย ไม่จำต้องระบุถึงฐานะเช่นนั้นในช่องผู้เรียกคำฟ้องอีก จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าฉาง และค่ากรรมกรขนข้าวเปลือกจากโจทก์มากกว่าจำนวนที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง หรือขอให้ใช้ราคาทรัพย์และค่าเสียหายเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่ส่งมอบ มิใช่เป็นการอ้างอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 ที่จำเลยฎีกาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4907/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนมติคณะกรรมการเช่าที่ดินฯ จำเลยที่ 1 ไม่อยู่ในฐานะถูกฟ้องได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งได้ให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 เช่าทำนา ต่อมาโจทก์เรียกค่าเช่านาเพิ่ม โดยได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล แต่โจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าว โจทก์จึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด จำเลยที่ 1แต่จำเลยที่ 1 มีมติยืนตาม จึงขอให้เพิกถอนมติของจำเลยที่ 1 และบังคับให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ชำระค่าเช่านาที่เพิ่ม ดังนี้เมื่อพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 บัญญัติแต่เพียงว่าคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล(คชก.ตำบล) ก็ดี คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด(คชก. จังหวัด) ก็ดี ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง แต่หาได้มีกฎหมายบัญญัติรับรองให้คณะกรรมการดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคล หรือเป็นบุคคลธรรมดาแต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะที่ถูกฟ้องร้องได้ และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และการที่จะขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ชำระค่าเช่าที่นาเพิ่มได้ก็ต่อเมื่อมีการเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดก่อน เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้ชำระค่าเช่านาที่เพิ่มได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีบุคคลที่เสียชีวิตแล้ว: คู่ความไม่มีสภาพตามกฎหมาย ศาลจำหน่ายคดี
จำเลยถึงแก่ความตายก่อนโจทก์ฟ้องคดี แสดงว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามกฎหมาย ไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลได้ แต่เมื่อศาลรับฟ้องไว้แล้วจึงต้องจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2045/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการบรรยายฟ้องชัดแจ้งในคดีกู้ยืมเงิน
สามีโจทก์เข้ารับดำเนินคดีแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจ โดยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจ และเป็นผู้ลงลายมือชื่อแต่งทนายโจทก์ให้ดำเนินคดี พฤติการณ์ดังกล่าวของสามีโจทก์แสดงให้เห็นว่าสามีโจทก์ยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2524 จำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามสำเนาหนังสือกู้เงินเอกสารท้ายฟ้อง แม้ในสำเนาสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่ากู้เงินไป พ.ศ. 24 ก็เป็นคำฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งยังดำเนินได้แม้ฟ้องเดิมถูกจำหน่ายคดี: สิทธิจำเลยในการเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์
ศาลสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา แม้ต่อมาโจทก์จะทิ้งฟ้องและศาลได้สั่งจำหน่ายคดีอันทำให้ไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปก็ตาม แต่ก็ยังมีตัวโจทก์ที่ยังคงเป็นจำเลยขอฟ้องแย้งอยู่ จึงมีคู่ความครบถ้วนทั้งสองฝ่ายที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นจึงมีอำนาจดำเนินคดี
จำเลยยื่นฎีกาด้วยตนเองภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตั้งแต่แรก แม้คดีล้มละลายจะอยู่ในระหว่างจำเลยขอพิจารณาใหม่ ซึ่งไม่ว่าศาลจะอนุญาตให้พิจารณาใหม่ในภายหลังหรือไม่ก็ตาม ก็มิอาจลบล้างกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบดังกล่าวได้ และปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้อง เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้.
of 19