คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 19

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละเครื่องหมายการค้าและขอบเขตการคุ้มครอง: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าต้องถึงขนาดลวงสาธารณชน
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสละรูปภาชนะบรรจุสินค้าและข้อความที่บรรยายทางการค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย ตามที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้โจทก์และจำเลยที่ 1 สละแล้วนั้นย่อมหมายความรวมถึงการวางรูปของเครื่องหมายการค้าและข้อความที่บรรยายในทางการค้าและข้อความที่บรรยายในทางการค้าหรือสิ่งอื่นใด ในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมสละ แล้วด้วย เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CARGLO" ของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียน ได้รับจดทะเบียนเฉพาะคำเท่านั้น ไม่รวมถึงการวางรูปของเครื่องหมายการค้า ดังนั้น รูปลักษณะ ภาชนะบรรจุสินค้า รวมทั้งการวางรูปของเครื่องหมายการค้า และคำบรรยายที่ภาชนะดังกล่าว โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจ ถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว การที่จำเลยที่ 1 ผลิตสินค้า มีรูปลักษณะของภาชนะและคำบรรยายเกี่ยวกับสินค้าอย่างเดียวกับ สินค้าของโจทก์ โจทก์จึงอ้างไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อักษรโรมันคำว่า "CARGLO" หรือ "คาร์โกล้" และ "DINCO" หรือ "ดิงโก้" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันทั้งตัวอักษรที่เขียนและสำเนียงเรียกขาน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และ จำเลยที่ 1 ใช้กับสินค้าจำพวกยาขัดล้าง รถยนต์ แต่บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่ใช้สินค้าดังกล่าว ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยจึงเป็นไปได้ยากที่ผู้ใช้จะหลงผิดเข้าใจว่ายาขัดล้างรถยนต์ภายใต้เครื่องหมายการค้า "DINCO"หรือ "ดิงโก้" ของจำเลยที่ 1 เป็นยาขัดล้าง รถยนต์ ภายใต้เครื่องหมายการค้า "CARGLO" หรือ "คาร์โกล้" ของโจทก์ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์ในทางการค้าของโจทก์มาใช้ และเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละเครื่องหมายการค้าและการเลียนแบบรูปลักษณ์สินค้า ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่มีการเลียนแบบจนก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสละรูปภาชนะบรรจุสินค้าและข้อความที่บรรยายทางการค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย ตามที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งแล้วนั้น ย่อมหมายรวมถึงการวางรูปของเครื่องหมายการค้าและข้อความที่บรรยายในทางการค้าหรือสิ่งอื่นใดในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ยินยอมสละแล้วด้วย ดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่อาจถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในรูปลักษณะภาชนะบรรจุยาขัดล้างรถยนต์และข้อความบรรยายทั้งการวางรูปของเครื่องหมายการค้าและคำบรรยายที่ภาชนะเช่นนี้การที่จำเลยที่ 1 ผลิตสินค้า มีรูปลักษณะของภาชนะและคำบรรยายเกี่ยวกับสินค้าอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงอ้างไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิไม่สุจริต เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน คำว่า "CARGLO" หรือ "คาร์โกล้"ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "DINCO" หรือ "ดิงโก้"ของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันทั้งตัวอักษรที่เขียนและสำเนียงเรียกขานแม้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้กับสินค้าจำพวกยาขัดล้างรถยนต์เหมือนกัน แต่บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่ใช้สินค้าดังกล่าว ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอย จึงเป็นไปได้ยากที่ผู้ใช้จะมาหลงผิดเข้าใจว่ายาขัดล้างรถยนต์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1เป็นยาขัดล้างรถยนต์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงไม่เหมือน หรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดในความเป็นเจ้าของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้มีคำ ‘กุ๊ก’ ร่วมกัน ศาลยืนคำพิพากษายกฟ้อง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปพ่อครัวถือจานอาหารมืออีกข้างหนึ่งชู นิ้วหัวแม่มืออยู่ในวงกลมลวดลายประดิษฐ์ มีอักษรไทยคำว่า "มิสเตอร์กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า "M.R.COOK"อยู่ด้านบนและรูปแถบคล้ายริบบิ้น อยู่ด้านล่าง ส่วนของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า "กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า "COOK" กับเป็นรูปการ์ตูนคล้ายขวดบรรจุน้ำมันพืชมีอักษรไทย คำว่า "กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า "COOK" อยู่บนลำตัวของรูปดังกล่าว แม้ของจำเลยจะมีคำว่า "กุ๊ก" และคำว่า "COOK" เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นคำเดียวกันกับคำในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำดังกล่าวเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไป มิใช่คำประดิษฐ์ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าว และเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายก็มีเสียงเรียกขานแตกต่างกันโดยของโจทก์เรียกว่า กุ๊ก ส่วนของจำเลยเรียกว่า มีสเตอร์กุ๊กสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเพียงชนิดเดียว คือ น้ำมันพืชเท่านั้น ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นน้ำปลา ซอส ชูรส น้ำมันหมู น้ำส้มสายชูและไส้กรอก ไม่มีน้ำมันพืช แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนหลงผิดดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3692/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การลอกเลียนที่ทำให้สาธารณชนสับสน และสิทธิของผู้มีเครื่องหมายการค้าที่ใช้ก่อน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า"DIMETAPP" กับของจำเลยคำว่า"MEDITAPP" ต่างก็เป็นคำของภาษาต่างประเทศพิมพ์ด้วยอักษรโรมันลักษณะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียวกัน สำเนียงอ่านออกเสียงคล้ายกันตัวอักษรมีจำนวนเท่ากัน ถ้าไม่สังเกตจะเข้าใจว่า เครื่องหมายการค้า ของโจทก์และของจำเลยเป็นอย่างเดียวกัน เพราะอักษรทุกตัวเหมือนกันเพียงแต่สลับคำพยางค์หน้า 2 คำ เท่านั้น และจำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก 3 เช่นเดียวกับของโจทก์แม้จะระบุรายการสินค้าว่า ยาแก้หวัด แต่ในข้อบ่งใช้ที่ยา ของจำเลยก็ระบุว่าเป็นยาบรรเทาอาการแพ้ เช่น แพ้อากาศ คัดจมูก น้ำมูกไหล แก้หืด เป็นต้น เช่นเดียวกับยาของโจทก์ ทั้งยาของโจทก์ จำเลยต่างก็เป็นยาเม็ดและยาน้ำด้วยกัน แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่จะลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันถือได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้ นำไปจดทะเบียนไว้แล้วเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจนถึงนับได้ว่า เป็นการลวงสาธารณชน ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 16 คำว่า "TAPP" แม้จะฟังว่าอักษร "TA" ย่อมาจากคำว่า"TABLET" และอักษร "PP" เป็นชื่อย่อของสารเคมี 2 ชนิดแต่เมื่อนำอักษรดังกล่าวมารวมกันเป็นคำว่า "TAPP" จึงจัดว่าเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นพึงรับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้ตามมาตรา 4(3) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 หาใช่ชื่อสามัญหรือสิ่งใดที่ใช้กันสามัญในการค้าขายซึ่งต้องห้ามถือเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้เป็นส่วนหนึ่ง แห่งเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันไม่ แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่นำไปจดทะเบียนจะไม่เหมือนเพียงแต่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และโจทก์ไม่ได้คัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีตามสิทธิของโจทก์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเพราะโจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ายาของโจทก์ผลิตออกจำหน่ายเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ายาของจำเลยเป็นเวลาหลายปี โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยลอกเลียนนำไปจดทะเบียนดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตามมาตรา 41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4559/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาองค์ประกอบทั้งหมดควบคู่กัน และพฤติการณ์แห่งการใช้
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปจระเข้มีตัวหนังสืออักษรภาษาไทยว่าแกรนด์แสลม และตัวหนังสืออักษรโรมันว่า GRANDSLAMยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าในจำพวก 48 รายการสินค้ายาสีฟันน้ำยาสระผม ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปจระเข้และมีตัวหนังสืออักษรโรมันว่า LACOSTE ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วสำหรับสินค้าจำพวก 48 รายการสินค้าน้ำหอม น้ำหอมชโลมตัวหลังอาบน้ำ น้ำหอมหลังโกนหนวด และน้ำหอมทาผิว แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปจระเข้เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งและอาจเรียกได้ว่าตราจระเข้เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าจะเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ต้องพิจารณาส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดเข้าด้วยกัน จะพิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งตามลำพังหาได้ไม่ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวหนังสืออักษรโรมันเป็นชื่อยี่ห้อสินค้าอ่านออกเสียงว่า ลาคอสท์ประกอบด้วยจระเข้อยู่เหนือตัวหนังสือดังกล่าว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนอกจากตัวหนังสืออักษรโรมันแล้ว ยังมีตัวหนังสืออักษรภาษาไทยอ่านได้ชัดเจนว่า แกรนด์แสลม อยู่เหนือตัวหนังสืออักษรโรมันด้วย อันเป็นการบอกให้ทราบแน่ชัดว่าสินค้าของจำเลยเรียกชื่อยี่ห้อว่า แกรนด์แสลม ชื่อยี่ห้อและการอ่านออกเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงแตกต่างจากของโจทก์เป็นอันมากย่อมเป็นที่สังเกตของสาธารณชนทั่วไป และไม่ทำให้สาธารณชนทั่วไปที่ซื้อสินค้ายี่ห้อ แกรนด์แสลม เข้าใจผิดว่าสินค้านั้นเป็นสินค้ายี่ห้อลาคอสท์ของโจทก์ ส่วนคำว่าจระเข้หรือรูปจระเข้ก็มิใช่สิ่งบ่งเฉพาะ เป็นเพียงคำหรือชื่อสามัญทั่วไปโจทก์ไม่มีสิทธิจะสงวนรูปจระเข้ดังกล่าวไปไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าคนละชนิดกับของโจทก์สาธารณชนย่อมไม่เกิดความสับสนหรือหลงผิดในเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ไม่อาจเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจำกัดหลังยอมรับอำนาจคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า: สิทธิฟ้องสิ้นสุดเมื่อไม่นำคดีสู่ศาล
การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 19 ทวิกฎหมายให้อุทธรณ์ได้ใน 2 กรณีคือ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งตามมาตรา 16, 18 หรือ 19 ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น ๆ ภายใน 90 วัน หรือเมื่อนายทะเบียนประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามมาตรา 21 แล้ว และมีผู้คัดค้าน ผู้ขอจดทะเบียนต้องยื่นคำโต้แย้งแล้วให้นายทะเบียนมีคำวินิจฉัย เมื่อนายทะเบียนวินิจฉัยแล้วภายใน 90 วัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็ได้ หรือจะนำคดีไปสู่ศาลก็ได้ โดยต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนถึงการนำคดีไปสู่ศาลใน 90 วันด้วย และให้นายทะเบียนรอฟังคำวินิจฉัยของศาล ถ้ามิได้อุทธรณ์ หรือมิได้นำคดีไปสู่ศาล สิทธิอุทธรณ์หรือสิทธินำคดีไปสู่ศาลเป็นอันสิ้นไปตามมาตรา 22
การนำคดีไปสู่ศาลตามมาตรา 22 หมายถึงการฟ้องผู้คัดค้านและนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำวินิจฉัยเช่นนั้นต่อศาลมิใช่ฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เพราะแม้ฝ่ายหนึ่งจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วอีกฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ก็มีสิทธินำคดีไปฟ้องศาลได้โดยแจ้งแสดงหลักฐานให้นายทะเบียนทราบ และนายทะเบียนจะต้องรอฟังคำพิพากษาของศาล โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า และอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ใช้สิทธินำคดีมีข้อพิพาทไปฟ้องศาล คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา 19 ตรี
ความในมาตรา 19 เบญจ วรรคท้าย ที่บัญญัติว่าคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เป็นที่สุดนั้น หมายถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี(1) หรือคำสั่งตามมาตรา 19 ตรี(2)ซึ่งมีผลบังคับแก่คู่กรณีทุกฝ่าย
เมื่อผู้คัดค้านอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 22 ผู้ขอจดทะเบียนมิได้ใช้สิทธินำคดีไปสู่ศาล เพื่อมิให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นย่อมเป็นการยอมรับให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านตลอดถึงคำขอจดทะเบียน กับคำแถลงโต้แย้งของผู้ขอจดทะเบียนที่ต่อสู้กับผู้คัดค้านในชั้นที่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยแล้วเมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี(1)อย่างไร คำวินิจฉัยนั้นย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 19 เบญจ วรรคท้ายคู่กรณีไม่ว่าฝ่ายใด ไม่มีสิทธิจะฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยต่อศาลในกรณีเดียวกันอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า: การอุทธรณ์และการนำคดีสู่ศาลตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 19 ทวิ กฎหมายให้อุทธรณ์ได้ใน 2 กรณี คือ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งตามมาตรา 16, 18 หรือ 19 ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น ๆ ภายใน 90 วัน หรือเมื่อนายทะเบียนประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามมาตรา 21 แล้ว และมีผู้คัดค้าน ผู้ขอจดทะเบียนต้องยื่นคำโต้แย้งแล้วให้นายทะเบียนมีคำวินิจฉัย เมื่อนายทะเบียนวินิจฉัยแล้วภายใน 90 วัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็ได้ หรือจะนำคดีไปสู่ศาลก็ได้ โดยต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนถึงการนำคดีไปสู่ศาลใน 90 วันด้วย และให้นายทะเบียนรอฟังคำวินิจฉัยของศาล ถ้ามิได้อุทธรณ์หรือมิได้นำคดีไปสู่ศาล สิทธิอุทธรณ์หรือสิทธินำคดีไปสู่ศาลเป็นอันสิ้นไปตามมาตรา 22
การนำคดีไปสู่ศาลตามมาตรา 22 หมายถึงการฟ้องผู้คัดค้านและนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำวินิจฉัยเช่นนั้นต่อศาลมิใช่ฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เพราะแม้ฝ่ายหนึ่งจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วอีกฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ก็มีสิทธินำคดีไปฟ้องศาลได้โดยแจ้งแสดงหลักฐานให้นายทะเบียนทราบและนายทะเบียนจะต้องรอฟังคำพิพากษาของศาล โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า และอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ใช้สิทธินำคดีมีข้อพิพาทไปฟ้องศาล คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา 19 ตรี
ความในมาตรา 19 เบญจ วรรคท้าย ที่บัญญัติว่าคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เป็นที่สุดนั้น หมายถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี (1) หรือคำสั่งตามมาตรา 19 ตรี (2) ซึ่งมีผลบังคับแก่คู่กรณีทุกฝ่าย
เมื่อผู้คัดค้านอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 22 ผู้ขอจดทะเบียนมิได้ใช้สิทธินำคดีไปสู่ศาล เพื่อมิให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ย่อมเป็นการยอมรับให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านตลอดถึงคำขอจดทะเบียน กับคำแถลงโต้แย้งของผู้ขอจดทะเบียนที่ต่อสู้กับผู้คัดค้านในชั้นที่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยแล้วเมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี (1) อย่างไร คำวินิจฉัยนั้นย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 19 เบญจ วรรคท้าย คู่กรณีไม่ว่าฝ่ายใด ไม่มีสิทธิจะฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยต่อศาลในกรณีเดียวกันอีกได้
of 2