พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินและการทำเหมืองแร่: สิทธิแยกต่างหาก โอนสิทธิได้ แม้ประทานบัตรหมดอายุ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ได้รับโอนประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ มาจากบริษัท ซ.ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเมื่อปี 2514 โจทก์ได้ยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ แม้บริษัท ซ.ซึ่งเป็นคนต่างด้าวจะได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่มิใช่ว่าการได้มาซึ่งที่ดินนั้นจะไม่มีผลเสียเลย กฎหมายเพียงแต่จำกัดสิทธิมิให้บริษัท ซ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นถือสิทธิหรือใช้สิทธิในที่ดินที่ได้มาอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้และต้องจำหน่ายที่ดินนั้นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94เมื่อบริษัท ซ. โอนสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์ผู้รับโอนย่อมมีสิทธิในที่ดินนั้นโดยสมบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้นเป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้วจะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยไม่ มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่า ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใดโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้ว หากต่อมาได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ซึ่งรับโอนทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์หมดอายุแล้วก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครองครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสิทธิคนละส่วนกันแต่อย่างใดไม่การที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์แต่จำเลยทั้งสองและบริวารยังขืนอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปโดยไม่ยอมส่งมอบคืนโจทก์ จึงเป็นการรบกวนการครอบครองอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินและประทานบัตรทำเหมืองแร่เป็นสิทธิแยกต่างหาก ผู้มีประทานบัตรยังคงมีสิทธิครอบครองได้ แม้ประทานบัตรหมดอายุ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ได้รับโอนประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ มาจากบริษัท ซ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเมื่อปี 2514 โจทก์ได้ยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ แม้บริษัท ซ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวจะได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตตาม ป.ที่ดิน แต่มิใช่ว่าการได้มาซึ่งที่ดินนั้นจะไม่มีผลเสียเลย กฎหมายเพียงแต่จำกัดสิทธิมิให้บริษัท ซ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นถือสิทธิหรือใช้สิทธิในที่ดินที่ได้มาอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้ และต้องจำหน่ายที่ดินนั้นไปตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 เมื่อบริษัท ซ. โอนสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์ผู้รับโอนย่อมมีสิทธิในที่ดินนั้นโดยสมบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้นเป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้ว จะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยไม่ มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่า ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใดโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้ว หากต่อมาได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ซึ่งรับโอนทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์หมดอายุแล้วก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสิทธิคนละส่วนกันแต่อย่างใดไม่การที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ แต่จำเลยทั้งสองและบริวารยังขืนอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปโดยไม่ยอมส่งมอบคืนโจทก์ จึงเป็นการรบกวนการครอบครองอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาทได้
สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้นเป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้ว จะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยไม่ มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่า ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใดโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้ว หากต่อมาได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ซึ่งรับโอนทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์หมดอายุแล้วก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสิทธิคนละส่วนกันแต่อย่างใดไม่การที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ แต่จำเลยทั้งสองและบริวารยังขืนอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปโดยไม่ยอมส่งมอบคืนโจทก์ จึงเป็นการรบกวนการครอบครองอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินแยกจากสิทธิประทานบัตร แม้ประทานบัตรหมดอายุ สิทธิครอบครองยังคงอยู่ ผู้บุกรุกต้องรับผิด
สิทธิตามประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ.2510อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ใช้ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้วจะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้ ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ซึ่งรับโอนทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัทซ. กับผู้มีชื่ออื่นๆและโจทก์ได้ยึดถือครอบครองตลอดมาโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1367แม้ประทานบัตรหมดอายุแล้วก็ไม่ทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครอบครองการที่จำเลยและบริวารบุกรุกเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินพิพาทเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิยาม 'โรงงาน' ตาม พ.ร.บ.โรงงานฯ กว้างถึงสถานที่ติดตั้งเครื่องจักร แม้ไม่มีอาคารถาวร
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358,360 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยทั้งเก้า ความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยืนตามศาลชั้นต้น และความผิดฐานเป็น ตัวการ ในการทำเหมืองแร่ โดยไม่ได้รับประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 8 ที่ 9 ยืน ตามศาลชั้นต้น ความผิดตามข้อหาของจำเลยแต่ละคนข้างต้นดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 คำว่า อาการสถานที่ ตามคำนิยามของคำว่าโรงงานในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.2512 หมายความรวมไปถึงสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักร เพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ โดย ไม่จำเป็นต้องมีตัวอาคารที่ถาวร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9สั่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างกางเต็นท์ ตั้งเครื่องจักร 2 เครื่องมีกำลัง 3 แรงม้า และ 8 แรงม้าเจาะพื้นดินสูบน้ำนำแร่ เกลือ หิน ขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อทำเป็นเกลือสินเธาว์ อันเป็นการแปรสภาพ หรือทำลายสิ่งใด ๆ โดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 2 แรงม้า ขึ้น ไปถือได้ว่าเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงาน เมื่อ ไม่ได้ รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตามมาตรา 5,8,12,43 วรรคหนึ่ง,44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต: การใช้เครื่องจักรในที่ดินเพื่อผลิตแร่เข้าข่ายโรงงานตามกฎหมาย
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358, 360 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยทั้งเก้า ความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยืนตามศาลชั้นต้น และความผิดฐานเป็นตัวการในการทำเหมืองแร่ โดยไม่ได้รับประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 8 ที่ 9 ยืนตามศาลชั้นต้น ความผิดตามข้อหาของจำเลยแต่ละคนข้างต้นดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำว่า อาคารสถานที่ ตามคำนิยามของคำว่าโรงงานในพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.2512 หมายความรวมไปถึงสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักรเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวอาคารที่ถาวร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 สั่งจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างกางเต็นท์ ตั้งเครื่องจักร 2 เครื่อง มีกำลัง 3 แรงม้า และ 8 แรงม้าเจาะพื้นดินสูบน้ำนำแร่เกลือหินขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อทำเป็นเกลือสินเธาว์อันเป็นการแปรสภาพหรือทำลายสิ่งใด ๆ โดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 2 แรงม้าขึ้นไป ถือได้ว่าเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงาน เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตามมาตรา 5, 8, 12, 43 วรรคหนึ่ง, 44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำว่า อาคารสถานที่ ตามคำนิยามของคำว่าโรงงานในพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.2512 หมายความรวมไปถึงสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักรเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวอาคารที่ถาวร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 สั่งจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างกางเต็นท์ ตั้งเครื่องจักร 2 เครื่อง มีกำลัง 3 แรงม้า และ 8 แรงม้าเจาะพื้นดินสูบน้ำนำแร่เกลือหินขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อทำเป็นเกลือสินเธาว์อันเป็นการแปรสภาพหรือทำลายสิ่งใด ๆ โดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 2 แรงม้าขึ้นไป ถือได้ว่าเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงาน เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตามมาตรา 5, 8, 12, 43 วรรคหนึ่ง, 44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางตาม พ.ร.บ.แร่ฯ การประกาศขอริบต้องระบุรายละเอียดชัดเจนเพื่อให้เจ้าของมีโอกาสคัดค้านก่อนศาลตัดสิน
ประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ในหนังสือพิมพ์รายวันเกี่ยวแก่การกระทำผิดของจำเลยไม่ได้ลงข้อความว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะขนแร่ตะกั่ว และไม่มีข้อความว่าพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาลขอให้ริบรถยนต์ของกลาง จึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 154 วรรคสอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2532)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นตัวแทนดำเนินการ มิเช่นนั้นศาลรับฟ้องไม่ได้
การฟ้องคดีอาญาต่อห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล จะต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นผู้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงจะดำเนินคดีได้ ถ้าหุ้นส่วนผู้จัดการไปต่างประเทศไม่อยู่ในขณะฟ้อง ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่มีตัวอยู่อย่างสมบูรณ์ตามกฎหมาย และต้องถือว่าไม่มีตัวจำเลยมาศาลในวันฟ้อง ศาลรับฟ้องไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 165
ห้างจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ ร. มีอำนาจแทนในการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ในกิจการเช่นสำรวจแร่ ทำเหมือง ฯลฯ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมแร่ พ.ศ.2514ดังนี้ ห้างจำเลยมิได้มอบอำนาจให้ ร.ดำเนินคดีแทนจำเลยทั้งการมอบอำนาจให้ร. เป็นเวลาภายหลังจากห้างจำเลยได้กระทำความผิดอาญาแล้ว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ร. ในฐานะเป็นตัวแทนจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยการมอบอำนาจตามใบมอบอำนาจดังกล่าว การดำเนินคดีนี้ของ ร. จึงไม่ผูกพันห้างจำเลยและคำพิพากษาก็ไม่ผูกพันห้างจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยึดทรัพย์ของห้างจำเลยมาชำระค่าปรับตามคำพิพากษาได้
ห้างจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ ร. มีอำนาจแทนในการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ในกิจการเช่นสำรวจแร่ ทำเหมือง ฯลฯ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมแร่ พ.ศ.2514ดังนี้ ห้างจำเลยมิได้มอบอำนาจให้ ร.ดำเนินคดีแทนจำเลยทั้งการมอบอำนาจให้ร. เป็นเวลาภายหลังจากห้างจำเลยได้กระทำความผิดอาญาแล้ว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ร. ในฐานะเป็นตัวแทนจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยการมอบอำนาจตามใบมอบอำนาจดังกล่าว การดำเนินคดีนี้ของ ร. จึงไม่ผูกพันห้างจำเลยและคำพิพากษาก็ไม่ผูกพันห้างจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยึดทรัพย์ของห้างจำเลยมาชำระค่าปรับตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้แทน หากไม่มีตัวแทนย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
การฟ้องคดีอาญาต่อห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล จะต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นผู้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงจะดำเนินคดีได้ ถ้าหุ้นส่วนผู้จัดการไปต่างประเทศไม่อยู่ในขณะฟ้อง ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่มีตัวอยู่อย่างสมบูรณ์ตามกฎหมาย และต้องถือว่าไม่มีตัวจำเลยมาศาลในวันฟ้อง ศาลรับฟ้องไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165
ห้างจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ ร. มีอำนาจแทนในการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ในกิจการเช่นสำรวจแร่ ทำเหมือง ฯลฯ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมแร่ พ.ศ.2514 ดังนี้ ห้างจำเลยมิได้มอบอำนาจให้ ร. ดำเนินคดีแทนจำเลย ทั้งการมอบอำนาจให้ ร. เป็นเวลาภายหลังจากห้างจำเลยได้กระทำความผิดอาญาแล้ว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ร. ในฐานะเป็นตัวแทนจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยการมอบอำนาจตามใบมอบอำนาจดังกล่าว การดำเนินคดีนี้ของ ร. จึงไม่ผูกพันห้างจำเลยและคำพิพากษาก็ไม่ผูกพันห้างจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยึดทรัพย์ของห้างจำเลยมาชำระค่าปรับตามคำพิพากษาได้
ห้างจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ ร. มีอำนาจแทนในการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ในกิจการเช่นสำรวจแร่ ทำเหมือง ฯลฯ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมแร่ พ.ศ.2514 ดังนี้ ห้างจำเลยมิได้มอบอำนาจให้ ร. ดำเนินคดีแทนจำเลย ทั้งการมอบอำนาจให้ ร. เป็นเวลาภายหลังจากห้างจำเลยได้กระทำความผิดอาญาแล้ว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ร. ในฐานะเป็นตัวแทนจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยการมอบอำนาจตามใบมอบอำนาจดังกล่าว การดำเนินคดีนี้ของ ร. จึงไม่ผูกพันห้างจำเลยและคำพิพากษาก็ไม่ผูกพันห้างจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยึดทรัพย์ของห้างจำเลยมาชำระค่าปรับตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้แทน หากไม่มีตัวแทนเมื่อฟ้องคดี ศาลรับฟ้องไม่ได้
การฟ้องคดีอาญาต่อห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลจะต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นผู้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงจะดำเนินคดีได้ถ้าหุ้นส่วนผู้จัดการไปต่างประเทศไม่อยู่ในขณะฟ้องต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่มีตัวอยู่อย่างสมบูรณ์ตามกฎหมายและต้องถือว่าไม่มีตัวจำเลยมาศาลในวันฟ้องศาลรับฟ้องไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา165 ห้างจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ร.มีอำนาจแทนในการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ.2510ในกิจการเช่นสำรวจแร่ทำเหมืองฯลฯและปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมแร่พ.ศ.2514ดังนี้ห้างจำเลยมิได้มอบอำนาจให้ร.ดำเนินคดีแทนจำเลยทั้งการมอบอำนาจให้ร.เป็นเวลาภายหลังจากห้างจำเลยได้กระทำความผิดอาญาแล้วพนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนร.ในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยการมอบอำนาจตามใบมอบอำนาจดังกล่าวการดำเนินคดีนี้ของร.จึงไม่ผูกพันห้างจำเลยและคำพิพากษาก็ไม่ผูกพันห้างจำเลยโจทก์จึงไม่อาจยึดทรัพย์ของห้างจำเลยมาชำระค่าปรับตามคำพิพากษาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีแร่ไว้ในครอบครอง: การขนย้ายและแต่งแร่อยู่คนละกรรม
องค์การเหมืองแร่จ้างจำเลยผลิตแร่ในเขตประทานบัตร ต่อมาจับจำเลยพร้อมแร่ของกลางที่บ้านจำเลยนอกเขตประทานบัตรขององค์การการที่จำเลยมีแร่ไว้ในครอบครองเป็นความผิดสำเร็จลงเมื่อจำเลยขนแร่ลงที่บ้านจำเลย เมื่อจำเลยแต่งแร่หรือล้างแร่ขึ้นอีกจึงเป็นความผิด อีกกรรมหนึ่ง