พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินก่อนมีประมวลกฎหมายที่ดิน สิทธิของผู้เช่า และการฟ้องละเมิด
แม้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 2 จะบัญญัติว่าที่ดินซึ่งมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลใดให้ถือว่าเป็นของรัฐแต่มาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินก็บัญญัติว่าภายใต้บังคับ มาตรา 6 บุคคลใดได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินก่อนวันที่ ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิครอบครองสืบไปและให้ คุ้มครองถึงผู้รับโอนด้วย บิดาโจทก์ครอบครองที่พิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2485 ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ บิดาโจทก์จึง มีสิทธิครอบครองที่พิพาท และเมื่อบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมสิทธิครอบครองที่พิพาทย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ในฐานะบุตรผู้รับโอนทางมรดก ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าที่พิพาทตลอดมาก็ เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ในที่พิพาท ในฐานะที่โจทก์ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองอย่างหนึ่ง มิใช่เป็นการกระทำที่ โจทก์ประสงค์จะสละการครอบครอง
การที่บุคคลจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินรายใด อาจเกิด ขึ้นโดยบุคคลนั้นเข้ายึดถือที่ดินโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 หรือโดยผู้อื่นยึดถือไว้ให้ตามมาตรา 1368. กรณีที่จะมอบให้ผู้อื่นยึดถือไว้ ให้หรือมอบให้ครอบครองแทน มาตรา 1368 มิได้กำหนดแบบไว้แต่อย่างใด การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าที่พิพาทโจทก์ก็ยังเป็น ผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่โดยจำเลยเป็นผู้ยึดถือไว้ให้ จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าจะอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ที่พิพาทขึ้นใช้ต่อสู้กับโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม มาตรา 1381 หาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์มีกำหนดเวลาเช่า 3 ปี. ครบกำหนดตามสัญญาเช่า แล้วโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้ จำเลยทราบแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย การกระทำของจำเลยเป็น การละเมิดต่อสิทธิของโจทก์และมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตั้งแต่ภายหลังที่ครบกำหนดตามสัญญาเช่า ดังนี้ คำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นการกล่าวอ้างว่า การที่ จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทต่อมาภายหลังที่ครบกำหนดสัญญาเช่าและ โจทก์ได้บอกกล่าวแล้วเป็นการอยู่ต่อมาโดยไม่มีสิทธิ เป็นการละเมิดซึ่งพอจะเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลย กระทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่ภายหลังที่ครบกำหนด ตามสัญญาเช่าฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่บุคคลจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินรายใด อาจเกิด ขึ้นโดยบุคคลนั้นเข้ายึดถือที่ดินโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 หรือโดยผู้อื่นยึดถือไว้ให้ตามมาตรา 1368. กรณีที่จะมอบให้ผู้อื่นยึดถือไว้ ให้หรือมอบให้ครอบครองแทน มาตรา 1368 มิได้กำหนดแบบไว้แต่อย่างใด การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าที่พิพาทโจทก์ก็ยังเป็น ผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่โดยจำเลยเป็นผู้ยึดถือไว้ให้ จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าจะอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ที่พิพาทขึ้นใช้ต่อสู้กับโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม มาตรา 1381 หาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์มีกำหนดเวลาเช่า 3 ปี. ครบกำหนดตามสัญญาเช่า แล้วโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้ จำเลยทราบแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย การกระทำของจำเลยเป็น การละเมิดต่อสิทธิของโจทก์และมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตั้งแต่ภายหลังที่ครบกำหนดตามสัญญาเช่า ดังนี้ คำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นการกล่าวอ้างว่า การที่ จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทต่อมาภายหลังที่ครบกำหนดสัญญาเช่าและ โจทก์ได้บอกกล่าวแล้วเป็นการอยู่ต่อมาโดยไม่มีสิทธิ เป็นการละเมิดซึ่งพอจะเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลย กระทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่ภายหลังที่ครบกำหนด ตามสัญญาเช่าฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินก่อนประมวลกฎหมายที่ดิน สิทธิของผู้เช่า และการฟ้องละเมิด
แม้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 2 จะบัญญัติว่าที่ดิน ซึ่งมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลใดให้ถือว่าเป็นของรัฐแต่มาตรา 4แห่งประมวลกฎหมายที่ดินก็บัญญัติว่าภายใต้บังคับ มาตรา 6 บุคคลใดได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินก่อนวันที่ ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิครอบครองสืบไปและให้ คุ้มครองถึงผู้รับโอนด้วย บิดาโจทก์ครอบครองที่พิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2485 ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ บิดาโจทก์จึง มีสิทธิครอบครองที่พิพาท และเมื่อบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมสิทธิครอบครองที่พิพาทย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ในฐานะบุตรผู้รับโอนทางมรดก ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าที่พิพาทตลอดมาก็ เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ในที่พิพาท ในฐานะที่โจทก์ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองอย่างหนึ่ง มิใช่เป็นการกระทำที่ โจทก์ประสงค์จะสละการครอบครอง
การที่บุคคลจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินรายใด อาจเกิด ขึ้นโดยบุคคลนั้นเข้ายึดถือที่ดินโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 หรือโดยผู้อื่นยึดถือไว้ให้ตามมาตรา 1368. กรณีที่จะมอบให้ผู้อื่นยึดถือไว้ ให้หรือมอบให้ครอบครองแทน มาตรา 1368 มิได้กำหนดแบบไว้ แต่อย่างใดการที่โจทก์ให้จำเลยเช่าที่พิพาทโจทก์ก็ยังเป็น ผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่โดยจำเลยเป็นผู้ยึดถือไว้ให้จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าจะอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ที่พิพาทขึ้นใช้ต่อสู้กับโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม มาตรา 1381 หาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์มีกำหนดเวลาเช่า 3 ปี. ครบกำหนดตามสัญญาเช่า แล้ว โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้ จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย การกระทำของจำเลยเป็น การละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ และมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลย ใช้ค่าเสียหายตั้งแต่ภายหลัง ที่ครบกำหนดตามสัญญาเช่า ดังนี้ คำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นการกล่าวอ้างว่า การที่ จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทต่อมาภายหลังที่ครบกำหนดสัญญาเช่าและ โจทก์ได้บอกกล่าวแล้วเป็นการอยู่ต่อมาโดยไม่มีสิทธิเป็นการละเมิดซึ่งพอจะเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลย กระทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่ภายหลังที่ครบกำหนด ตามสัญญาเช่า ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่บุคคลจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินรายใด อาจเกิด ขึ้นโดยบุคคลนั้นเข้ายึดถือที่ดินโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 หรือโดยผู้อื่นยึดถือไว้ให้ตามมาตรา 1368. กรณีที่จะมอบให้ผู้อื่นยึดถือไว้ ให้หรือมอบให้ครอบครองแทน มาตรา 1368 มิได้กำหนดแบบไว้ แต่อย่างใดการที่โจทก์ให้จำเลยเช่าที่พิพาทโจทก์ก็ยังเป็น ผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่โดยจำเลยเป็นผู้ยึดถือไว้ให้จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าจะอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ที่พิพาทขึ้นใช้ต่อสู้กับโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม มาตรา 1381 หาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์มีกำหนดเวลาเช่า 3 ปี. ครบกำหนดตามสัญญาเช่า แล้ว โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้ จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย การกระทำของจำเลยเป็น การละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ และมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลย ใช้ค่าเสียหายตั้งแต่ภายหลัง ที่ครบกำหนดตามสัญญาเช่า ดังนี้ คำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นการกล่าวอ้างว่า การที่ จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทต่อมาภายหลังที่ครบกำหนดสัญญาเช่าและ โจทก์ได้บอกกล่าวแล้วเป็นการอยู่ต่อมาโดยไม่มีสิทธิเป็นการละเมิดซึ่งพอจะเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลย กระทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่ภายหลังที่ครบกำหนด ตามสัญญาเช่า ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2054/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินทับซ้อน: ผู้รับโอนไม่มีสิทธิมากกว่าผู้โอนเดิม
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 การที่ ส.และศ.บุตรจำเลยขอออก น.ส.3 สำหรับที่ดินของตนซึ่งมีเขตติดต่อกับที่พิพาทในภายหลังทับที่ดินพิพาท จึงเป็นการ กระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในที่พิพาทแต่ ประการใด ผู้ร้องซึ่งรับโอนที่พิพาทตาม น.ส.3 จาก ส.และศ.จึงไม่มีสิทธิในที่พิพาทยิ่งไปกว่าผู้โอน ผู้ร้อง จะมาใช้สิทธิ ร้องขัดทรัพย์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2054/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอน น.ส.3 ทับที่ดินเดิม สิทธิของผู้รับโอนย่อมไม่เกินสิทธิของผู้โอน
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 การที่ ส. และ ศ.บุตรจำเลยขอออก น.ส.3 สำหรับที่ดินของตนซึ่งมีเขตติดต่อกับที่พิพาทในภายหลังทับที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในที่พิพาทแต่ประการใด ผู้ร้องซึ่งรับโอนที่พิพาทตาม น.ส.3 จาก ส. และ ศ. จึงไม่มีสิทธิในที่พิพาทยิ่งไปกว่าผู้โอน ผู้ร้องจะมาใช้สิทธิร้องขัดทรัพย์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038-2041/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยุยงปลุกระดม ทำให้เกิดความปั่นป่วนในบ้านเมือง และความเสียหายต่อทรัพย์สินของราชการ
ป. และ จ. จำเลยทั้งสองเป็นผู้มีส่วนริเริ่มชักชวนนักศึกษา นักเรียน และประชาชนให้มาชุมนุมกัน ณ สนามหน้าเมืองที่เกิดเหตุมาแต่ต้นและร่วมกล่าวโจมตีขับไล่ผู้ว่าราชการจังหวัดตลอดจนมีส่วนในการจัดตั้งหน่วยฟันเฟืองขึ้นจากผู้มาร่วมชุมนุม จนคนเหล่านี้รวมตัวกันเป็นจำนวนหลายพันคน ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และขว้างปาและวางเพลิงเผาจวนผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองตลอดจนนักศึกษา นักเรียน และประชาชนดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรอีกสถานหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกรวมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และอำนาจศาลฎีกาในการพิจารณาแม้จำเลยไม่ได้ฎีกา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้ฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 มาตรา 4 แก้ไขมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องรวมโทษทุกกระทง ซึ่งตามมาตรา 91(3) ที่แก้ไขใหม่ได้บัญญัติไว้ว่า สำหรับความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปี ขึ้นไป เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 50 ปี และโดยที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 คือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ซึ่งมีอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ประหารชีวิต กรณีจึงต้องด้วยมาตรา91(3) เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วจะลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1ที่ 2 ได้ไม่เกิน 50 ปี ดังนั้น จึงต้องใช้กฎหมายใหม่ดังกล่าวซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1872/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำเบิกความจากคดีอื่นโดยไม่ได้รับการร้องขอเป็นอำนาจศาลตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การที่ศาลชั้นต้นรับฟังคำเบิกความของพยาน ซึ่งเบิกความไว้ในคดีอื่นมาประกอบการวินิจฉัยชี้ขาดคดีในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานเพิ่มเติมโดยพลการโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอเป็นอำนาจของศาลที่จะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228 ประกอบด้วยมาตรา171
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์พระพุทธรูปที่ไม่เป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน และผลกระทบของ พ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษ
พระพุทธรูปที่จำเลยลักไปหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว ตั้งไว้ที่มุมโต๊ะบูชาในห้องของหอสวดมนต์ ถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก แม้จำเลยจะลักพระพุทธรูปนี้ในวัดก็ ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสอง ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พระราชบัญญัติล้างมลทินได้ใช้ บังคับ โดยพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าบรรดาผู้ต้องโทษและได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้ บังคับ เป็นผู้มิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นๆ ดังนี้ เมื่อความผิดที่ศาลจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้ เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปก่อนวันที่พระราชบัญญัติข้างต้นใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ แต่สำหรับโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษไว้ นำมาบวกแก่โทษของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์พระพุทธรูป และการเพิ่มโทษจากคดีก่อนหน้าที่มีการล้างมลทิน
พระพุทธรูปที่จำเลยลักไปหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว ตั้งไว้ที่มุมโต๊ะบูชาในห้องของหอสวดมนต์ ถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก แม้จำเลยจะลักพระพุทธรูปนี้ในวัดก็ ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสอง
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พระราชบัญญัติล้างมลทินได้ใช้ บังคับ โดยพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าบรรดาผู้ต้องโทษและได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้ บังคับ เป็นผู้มิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นๆ ดังนี้เมื่อความผิดที่ศาลจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปก่อนวันที่พระราชบัญญัติข้างต้นใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ แต่สำหรับโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษไว้นำมาบวกแก่โทษของจำเลยได้
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พระราชบัญญัติล้างมลทินได้ใช้ บังคับ โดยพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าบรรดาผู้ต้องโทษและได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้ บังคับ เป็นผู้มิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นๆ ดังนี้เมื่อความผิดที่ศาลจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปก่อนวันที่พระราชบัญญัติข้างต้นใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ แต่สำหรับโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษไว้นำมาบวกแก่โทษของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการทรัพย์สินร่วม การขายสินสมรสโดยไม่ยินยอม และความรับผิดทางอาญาจากการแจ้งข้อมูลเท็จ
หลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สิน ไว้เป็นพิเศษ อำนาจการจัดการที่ดินสินสมรสระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นสามี และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาตามฟ้องซึ่งรวมถึงอำนาจการจำหน่ายด้วย ย่อมเป็นอำนาจของโจทก์และจำเลยที่ 1 รวมกันตามมาตรา 1476 และมาตรา 1477 แม้จำเลยที่ 1 จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจทำนิติกรรมขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1เป็นหญิงหม้ายหย่ากับสามี ยังไม่มีสามีใหม่เจ้าพนักงานที่ดิน จึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์ ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในข้อหาดังกล่าว