คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรานอม มหรรณพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลวิกลจริต-การตั้งผู้อนุบาล: ศาลฎีกาชี้ขาดตามอาการทางแพทย์
คำว่า บุคคลวิกลจริต ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 29 นั้น มิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลผู้มีจิตผิดปกติหรือตามที่เข้าใจกันทั่วๆ ไปว่าเป็นบ้า เท่านั้นไม่ แต่หมายรวมถึงบุคคลที่มีกิริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาส คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรับผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารถประกอบกิจการของตนหรือประกอบกิจส่วนตัวของตนได้ทีเดียว
มารดาผู้ร้องและผู้คัดค้านมีอาการไม่รู้สึกตัวเอง ไม่รู้จักสถานที่และเวลาพูดจารู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง ซึ่งนายแพทย์เรียกอาการเช่นนี้ว่า สมองเสื่อมหรือวิกลจริตและไม่มีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้ ทั้งเดินทางไปไหนไม่ได้อีกด้วย แสดงให้เห็นว่ามารดาผู้ร้องเป็นคนไม่มีสติสัมปชัญญะ ไร้ความสามารถที่จะดำเนินการทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเองได้ พอถือได้ว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 29 แล้ว(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 490/2509 ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการต่อสู้คดีที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากจำเลยไม่ได้กล่าวแก้ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ และเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่จำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยละเมิดเดือนละห้าร้อยบาท โดยอ้างว่าที่ดินของโจทก์ดังกล่าวอาจให้เช่าได้เดือนละ 500 บาท เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นให้ออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละห้าพันบาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเว้นแต่จำเลยจะกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ คดีนี้จำเลยต่อสู้ว่าบ้านของจำเลยปลูกอยู่ นอกเขตที่ดินของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย หาได้ต่อสู้ว่าที่พิพาทที่จำเลยปลูกบ้านเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลย กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ที่จำเลยฎีกาว่าบ้านจำเลยมิได้ปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์แต่ปลูก อยู่ใน ที่ดินของกรมชลประทาน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่: การต่อสู้ที่ไม่ใช่ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ทำให้ฎีกาไม่ได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ และเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่จำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยละเมิดเดือนละ 500 บาทโดยอ้างว่าที่ดินของโจทก์ดังกล่าวอาจให้เช่าได้เดือนละ 500 บาทเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นให้ออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 500 บาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเว้นแต่จำเลยจะกล่าวแก้เป็นข้อพิพาท ด้วยกรรมสิทธิ์ คดีนี้จำเลยต่อสู้ว่าบ้านของจำเลยปลูกอยู่นอกเขต ที่ดินของโจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยหาได้ต่อสู้ว่าที่พิพาทที่ จำเลยปลูกบ้านเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลย กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงที่จำเลยฎีกาว่าบ้านจำเลยมิได้ปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์แต่ปลูก อยู่ใน ที่ดินของกรมชลประทานเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาบุกรุกเคหะสถานและการทำร้ายร่างกาย: ความผิดสองกระทง
จำเลยมีมีดเป็นอาวุธบุกรุกเข้าไปถึงเตียงนอนผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายหลับอยู่ โดยจำเลยไม่ทำร้ายผู้เสียหายทันที เพิ่งจะทำร้ายผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายดิ้นเพื่อให้พ้นจากการถูกจำเลยบีบคอ แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าที่จำเลยบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายนั้นจำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3950/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้องและการใช้บทกฎหมายใกล้เคียง ศาลไม่อาจปรับใช้มาตรา 166 หากมีบทกฎหมายเฉพาะ
กรณีที่จะยกบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งขึ้นวินิจฉัยคดีได้นั้น จำต้องเป็นกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้เท่านั้น แต่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องนั้น มีบทกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์ฎีกา หรือจะขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในกรณีศาลสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดหลงที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้โดยเฉพาะอยู่แล้ว ศาลจึงไม่อาจยกประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166 มาปรับแก่คดีของโจทก์ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3950/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้องและการใช้บทกฎหมายใกล้เคียง ศาลไม่อาจใช้ ม.166 ปรับใช้ได้
กรณีที่จะยกบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งขึ้นวินิจฉัยคดีได้นั้น จำต้องเป็นกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้เท่านั้นแต่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องนั้น มีบทกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์ฎีกาหรือจะขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในกรณีศาลสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดหลงที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้โดยเฉพาะอยู่แล้วศาลจึงไม่อาจยกประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166 มาปรับแก่คดีของโจทก์ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การตีความกำหนดชำระรายเดือน, การบอกเลิกสัญญา, และข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่ง
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์มีข้อความว่า ผู้เช่าซื้อสัญญาจะผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือน มีกำหนด 2 เดือน ดังนี้ต้องตีความว่าแบ่งชำระเป็น 2 งวด เดือนละ 1 งวดจะตีความว่าชำระงวดเดียวภายใน 2 เดือนหาได้ไม่
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องบอกเลิกเป็นหนังสือและการเช่าซื้อนั้นผู้ให้เช่าซื้อต้องเอาทรัพย์สินออกให้ผู้เช่าซื้อได้ใช้ การที่ผู้ให้เช่าซื้อยึดเอาทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อคืนไป ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว
สัญญาเช่าซื้อที่ว่าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเพียงคราวเดียวหรืองวดเดียว ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้นั้น แม้จะแตกต่างกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 575 วรรคแรก แต่กฎหมายบทนี้มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และมิได้เป็นสัญญาที่ขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การตีความข้อตกลงการชำระหนี้ การบอกเลิกสัญญา และผลของการผิดนัดชำระ
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์มีข้อความว่า ผู้เช่าซื้อสัญญาจะผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือน มีกำหนด 2 เดือน ดังนี้ต้องตีความว่าแบ่งชำระเป็น 2 งวด เดือนละ 1 งวดจะตีความว่าชำระงวดเดียวภายใน 2 เดือนหาได้ไม่
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องบอกเลิกเป็นหนังสือและการเช่าซื้อนั้นผู้ให้เช่าซื้อต้องเอาทรัพย์สินออกให้ผู้เช่าซื้อได้ใช้ การที่ผู้ให้เช่าซื้อยึดเอาทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อคืนไป ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว
สัญญาเช่าซื้อที่ว่าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเพียงคราวเดียวหรืองวดเดียว ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้นั้น แม้จะแตกต่างกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 575 วรรคแรก แต่กฎหมายบทนี้มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และมิได้เป็นสัญญาที่ขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3705/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง คดีฉ้อโกงในศาลแขวง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยให้เหตุผลในการตัดสินว่ากรณียังไม่มีพฤติการณ์ที่จะแสดงว่าจำเลยทั้งสองส่อเจตนาฉ้อโกงโจทก์ เป็นการยกฟ้องในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 โจทก์อุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้สมคบกันหลอกลวงอันเป็นการฉ้อโกงโจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษายกอุทธรณ์โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3611/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองเพื่อประกันหนี้ก่อนล้มละลาย: เจตนาให้เจ้าหนี้ได้เปรียบและผลกระทบตามกฎหมายล้มละลาย
จำนองเป็นสัญญาที่เอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันการชำระหนี้จึงมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่กันอันเป็นหนี้ประธานส่วนหนึ่งคือหนี้เงินกู้ยืมที่เจ้าหนี้จ่ายให้ลูกหนี้รับไปก่อนทำสัญญาและจดทะเบียนจำนอง ส่วนจำนองที่ลูกหนี้ได้ทำสัญญาและจดทะเบียนให้เจ้าหนี้นั้นเป็นแต่เพียงอุปกรณ์แห่งหนี้เงินกู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานซึ่งเป็นหนี้คนละส่วนที่แยกออกจากกันได้ ดังนั้นเมื่อเจ้าหนี้ได้มอบเงินที่กู้ยืมให้ลูกหนี้รับไป การกู้ยืมก็ได้เกิดขึ้น เจ้าหนี้จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ในทันทีนั้นเอง หลังจากนั้นแม้จะเป็นในวันเดียวกัน ลูกหนี้ได้ทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวให้แก่เจ้าหนี้ กรณีก็ถือได้ว่าเจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ก่อนแล้วในขณะที่มีการทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ลูกหนี้มีเจ้าหนี้ถึง 9 ราย มีหนี้รวมกันเป็นจำนวนถึงสองล้านบาทเศษมากกว่าจำนวนทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่หลายเท่าตัว การที่ลูกหนี้นำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทไปทำสัญญาจดทะเบียนจำนองแก่เจ้าหนี้ ซึ่งจะเป็นเหตุให้เจ้าหนี้รายนี้แต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ไม่มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพื่อชำระหนี้บ้างย่อมเป็นกรรมที่แสดงถึงเจตนาของลูกหนี้ว่ามุ่งหมายให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนการจำนองรายนี้
of 27