คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรานอม มหรรณพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกที่มีอุปสรรคในการแบ่งปันที่ดิน ศาลอนุญาตตั้งผู้จัดการมรดกได้
คดีได้ความว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกเป็นที่ดิน 3 แปลง แต่ละแปลงตั้งอยู่ต่างอำเภอกัน ที่ดินแปลงหนึ่งมีเนื้อที่น้อยไม่สามารถจะแบ่งปันให้แก่ทายาทซึ่งมีทั้งหมด 6 คนได้จึงมีความจำเป็นต้องขายที่ดินนี้แล้วนำเงินมาแบ่งปันกันในระหว่างทายาททุกคน แม้ทายาทจะมีสิทธิขอจดทะเบียนรับมรดกที่ดินโดยทางพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 แต่บทกฎหมายดังกล่าวก็ได้วางวิธีปฏิบัติไว้หลายขั้นตอนและพนักงานเจ้าหน้าที่อาจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จดทะเบียนก็ได้หากมีการโต้แย้งคัดค้านคู่กรณีก็ต้องนำคดีมาสู่ศาลเพื่อวินิจฉัยในที่สุด วิธีการจดทะเบียนรับมรดกที่ดินดังกล่าวจึงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากหลายประการและก็ไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะได้รับอนุญาตเสมอไป กรณีจึงพอถือได้ว่าการจัดการหรือการแบ่งปันมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องชอบที่ทายาทจะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ไม่เข้าข่ายฆ่าเพื่อปล้นทรัพย์ แม้มีการลักทรัพย์ภายหลัง
ก่อนเกิดเหตุ 15 นาที จำเลยเดินเข้ามาดูลาดเลาในร้านอาหาร 3 รอบ โดยมีพวกของจำเลย 2 คนจอดรถอยู่หน้าร้าน ขณะนั้นผู้ตายนั่งรับประทานอาหารอยู่ในร้านเมื่อผู้ตายขับรถจากร้านอาหารจำเลยกับพวกก็ขับรถตามมาฆ่าผู้ตายห่างจากร้านอาหารเพียง 200 เมตร แสดงว่าจำเลยกับพวกมีแผนการนัดหมายกันมาก่อนลงมือกระทำผิด ถือได้ว่าเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ข้อที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา289(6),340,340ตรี เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้ตายมาแต่แรกแต่ต้องการฆ่าผู้ตายเพียงอย่างเดียว จำเลยกับพวกไม่มีเจตนาปล้นทรัพย์ของผู้ตายมาก่อนเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการปล้นทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ จำเลยกับพวกเพิ่งจะมีเจตนาลักเอารถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขี่ภายหลังเมื่อความผิดฐานฆ่าคนได้สำเร็จลงเด็ดขาดแล้ว จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ความผิดฐานนี้เป็นคนละกรรมกับความผิดฐานฆ่าคนตายและปล้นทรัพย์ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องรวมเป็นกรรมเดียวกันมา จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้จากการยื่นคำขอรังวัดที่ดิน ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์เมื่อ พ.ศ.2512โจทก์ชำระราคาให้แล้วบางส่วน วันที่ 7 เมษายน 2518โจทก์จำเลยไปยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินด้วยกัน การที่จำเลยยื่นคำขอดังกล่าวก็เพื่อจะดำเนินการโอนที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญา ถือได้ว่าจำเลยทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ต่อจำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทแล้ว จึงเป็นการรับสภาพหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ซึ่งมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลง เมื่อเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2518 ถึงวันที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ยังไม่เกิน 10 ปี คดียังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้และการสะดุดหยุดอายุความจากการยื่นคำขอรังวัดที่ดินเพื่อโอนกรรมสิทธิ์
จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์เมื่อ พ.ศ.2512 โจทก์ชำระราคาแล้วบางส่วน วันที่ 7 เมษายน 2518 โจทก์จำเลยไปยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินด้วยกัน การที่จำเลยยื่นคำขอดังกล่าวก็เพื่อจะดำเนินการโอนที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญา ถือได้ว่าจำเลยทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่า จำเลยยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ต่อจำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว จึงเป็นการรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ซึ่งมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลง เมื่อเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2518 ถึงวันที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ยังไม่เกิน 10 ปี คดียังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอถอนคืนการให้เนื่องจากผู้รับไม่เลี้ยงดูและประพฤติเนรคุณ ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้องและฐานะผู้ยากไร้ของผู้ฟ้อง
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าการที่จำเลยแจ้งตำรวจให้จับ ฮ. และ ช. เป็นเรื่องจำเลยลองแกล้งแจ้งความเพื่อให้โจทก์อายไม่กล้าใช้ใครไปเก็บมะม่วงอีก และให้ตำรวจจับโจทก์ในฐานะจ้างวานใช้ด้วยนั้น เป็นข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น โดยโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า โจทก์ใช้ให้ ฮ. ไปเก็บมะม่วง จำเลยแจ้งความให้ตำรวจจับโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวอ้างในฟ้องดังฎีกาของโจทก์ ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
แม้โจทก์จะชรามากแล้ว แต่โจทก์มีเงินฝากธนาคารออมสินมีรายได้จากการให้เช่านาเนื้อที่ 7 ไร่ปีละประมาณ 700 - 1,500 บาทมีรายได้จากการขายมะพร้าววันละ 30 - 40 บาท รวมเป็นรายได้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 บาทเศษ ฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานะที่ตกเป็นผู้ยากไร้ถึงขนาดที่ไม่มีสิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีพโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เนื่องจากผู้รับไม่ให้ความช่วยเหลือผู้ให้ยากไร้ และประเด็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าการที่จำเลยแจ้งตำรวจให้จับ ฮ.และช. เป็นเรื่องจำเลยลองแกล้งแจ้งความเพื่อให้โจทก์ อายไม่กล้าใช้ใครไปเก็บมะม่วงอีกและให้ตำรวจจับโจทก์ในฐานะจ้างวานใช้ด้วยนั้น เป็นข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น โดยโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าโจทก์ใช้ให้ ฮ. ไปเก็บมะม่วง จำเลยแจ้งความให้ตำรวจจับโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวอ้างในฟ้องดังฎีกาของโจทก์ ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
แม้โจทก์จะชรามากแล้ว แต่โจทก์มีเงินฝากธนาคารออมสินมีรายได้จากการให้เช่านาเนื้อที่ 7 ไร่ปีละประมาณ700-1,500 บาท มีรายได้จากการขายมะพร้าววันละ 30-40 บาท รวมเป็นรายได้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 บาทเศษ. ฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานะที่ตกเป็นผู้ยากไร้ถึงขนาดที่ไม่มีสิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีพโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืน การให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาของจำเลย ศาลต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาอาจถูกยก
การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ ทั้งที่จำเลยทราบนัดโดยชอบแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 ดังนั้นการที่ศาลมีคำสั่งให้นัดสืบพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งต่อไป และมีคำพิพากษาคดีนี้มา จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณา และปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในเรื่องนี้ไว้ จำเลยก็มีสิทธิยกปัญหานี้ขึ้นอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 กรณีจำเลยไม่มาศาลและศาลไม่สั่งขาดนัด
การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ ทั้งที่จำเลยทราบนัดโดยชอบแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 ดังนั้นการที่ศาลมีคำสั่งให้นัดสืบพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งต่อไป และมีคำพิพากษาคดีนี้มา จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณา และปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในเรื่องนี้ไว้ จำเลยก็มีสิทธิยกปัญหานี้ขึ้นอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถยนต์ของกลางที่มิได้ตกเป็นของแผ่นดิน และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าพนักงาน
มาตรา 24 แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา3 แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่มิได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล เพราะกำหนดระยะเวลาเรียกคืนสิ่งที่ยึดไว้ภายใน 60 วัน หรือ 30 วันแล้วแต่กรณีนับแต่วันยึดอย่างเดียว หากประสงค์จะให้ใช้บังคับในกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยก็น่าจะกำหนดระยะเวลาเรียกร้องขอส่งคืนสิ่งที่ยึดนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดไว้ด้วย
พนักงานศุลกากรยึดรถยนต์พิพาทไว้เพราะมีผู้นำของซุกซ่อนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ต่อมาพนักงานอัยการได้ฟ้องผู้กระทำผิดดังกล่าวโดยมิได้ขอให้ริบรถยนต์พิพาท เมื่อรถยนต์พิพาทมิได้ตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร กรณีการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลนั้นไม่มีบทบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ศุลกากร อีกทั้งรถยนต์พิพาทยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม มาตรา 1327 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรมศุลกากร จำเลยที่1 จึงไม่มีอำนาจยึดรถนั้นไว้ การที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมคืนรถให้แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของและโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ในรถยนต์พิพาท จึงเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดที่ตนได้กระทำส่วนการที่โจทก์ทั้งสองจะนำรถยนต์พิพาทไปรับส่งผู้โดยสารโดยผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการทำละเมิดจึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ยึดรถยนต์ของโจทก์ไว้เป็นเวลานาน การเสื่อมราคาถ้าหากจะมีบ้างก็เป็นการเสื่อมไปตามกาลเวลา ซึ่งเกลื่อนกลืนไปกับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่โจทก์ทั้งสองขาดรายได้จากการใช้รถในระยะเวลาเดียวกันแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ให้โจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัย กรณีลูกจ้างผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่อ ผู้รับประกันภัยยังคงต้องรับผิดตามกฎหมาย
โจทก์ มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นคู่สัญญาผู้เอาประกันภัยไว้กับจำเลย แต่ฟ้องในฐานะที่โจทก์เป็นผู้เสียหาย เป็นบุคคลภายนอก จึงไม่อยู่ใต้บังคับแห่งบทกฎหมายที่ต้องนำพยานเอกสารมาแสดง
มูลละเมิดมิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัยแต่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาประกันภัย ดังนั้นลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยจะประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงผู้รับประกันภัยก็ไม่พ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879
of 27