พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบกพร่องคำฟ้องอุทธรณ์และการพิจารณาคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ผู้อุทธรณ์มิได้ลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่การที่จะให้โจทก์แก้ฟ้องอุทธรณ์หรือสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติแล้ว เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จไปแล้วคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบกพร่องคำฟ้องอุทธรณ์และการพิจารณาคดีโดยศาลอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ผู้อุทธรณ์มิได้ลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่การที่จะให้โจทก์แก้ฟ้องอุทธรณ์หรือสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติแล้ว เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จไปแล้วคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันของคำพิพากษาตามยอมต่อทายาทผู้รับมรดก: สิทธิในทรัพย์สินร่วม
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวและทายาทผู้รับมรดกของ ก.ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาท 2 แปลงเป็นของโจทก์มีสิทธิครอบครอง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลงดังกล่าวมีบุคคลอื่นซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกของ ก. มีสิทธิครอบครองรวมอยู่ด้วยการที่จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลงเป็นของโจทก์ยินยอมเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนในเอกสารสิทธิให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 และการ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ของที่พิพาทอันจะมีผลใช้ยันทายาทของ ก.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้คำพิพากษาตามยอมมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันทายาทอื่น กรณีเจ้าของรวมไม่ใช้สิทธิครอบครองต่อสู้บุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวและทายาทผู้รับมรดกของ ก.ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาท 2 แปลง เป็นของโจทก์มีสิทธิครอบครอง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลง ดังกล่าวมีบุคคลอื่นซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกของ ก. มีสิทธิครอบครองรวมอยู่ด้วยการที่จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลง เป็นของโจทก์ยินยอมเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนในเอกสารสิทธิให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 และการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ของที่พิพาท อันจะมีผลใช้ยันทายาทของ ก. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ คำพิพากษาตามยอมมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์ แม้มิได้ระบุความประมาทเลินเล่อในการดูแล
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายไว้ด้วยว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุตรอยู่ในความปกครองของจำเลยที่ 2 ที่ 3 บิดามารดาผู้แทนโดยชอบธรรม เป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่จะขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นบิดามารดาของจำเลยที่1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 แม้จะมิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลจำเลยที่ 1 ตามสมควรแก่หน้าที่ก็ตามเพราะการใช้ความระมัดระวังดูแลจำเลยที่ 1 ตามควรแก่หน้าที่นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะต้องพิสูจน์ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 648/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของบุตรผู้เยาว์: การพิสูจน์ความระมัดระวัง
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายไว้ด้วยว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุตรอยู่ในความปกครองของจำเลยที่ 2 ที่ 3 บิดามารดาผู้แทนโดยชอบธรรม เป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่จะขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 แม้จะมิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลจำเลยที่ 1 ตามสมควรแก่หน้าที่ก็ตาม เพราะการใช้ความระมัดระวังดูแลจำเลยที่ 1 ตามควรแก่หน้าที่นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะต้องพิสูจน์ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 648/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ: การทำร้ายตอบโต้หลังถูกแทง และการเลือกใช้กำลังที่ไม่สมเหตุสมผล
ผู้ตายกับจำเลยเป็นพี่น้องกันอยู่บ้านเดียวกัน ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน เกิดทะเลาะโต้เถียงกันแล้วหยุดไป ต่อมาผู้ตายใช้มีดปลายแหลมตัวมีดยาว 1 คืบ กว้าง 1 นิ้ว แทงจำเลยก่อน แล้วเดินเข้าหาจำเลยอีก จำเลยจึงเอาไม้กระดานใช้ปิดฝาท่อระบายน้ำซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุตีผู้ตายที่ศีรษะครั้งเดียวถึงตาย ดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย แต่ไม้นั้นยาว 99 เซนติเมตร หนา 1 นิ้ว กว้าง 10 เซนติเมตร แทนที่จะตีที่มือเพื่อให้มีดหลุด หรืออวัยวะส่วนอื่นเพื่อมิให้ผู้ตายเข้าทำอันตรายจำเลยได้กลับตีไปที่ศีรษะ จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2045/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์และการฟ้องขับไล่: ฟ้องซ้ำหรือไม่ และผลผูกพันคำพิพากษาเดิมต่อคู่ความเดิม
โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพากษาจาก ป. เจ้าของเดิม จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อมาโดยไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะอ้างได้ จึงเป็นการอยู่โดยละเมิดสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ส่วนค่าเสียหายที่ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้แก่ ป. โจทก์ในคดีเดิมย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ ป. จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ ค่าเสียหายของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นค่าเสียหายที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่หาใช่ ค่าเสียหายตามคำพิพากษาในคดีเดิมไม่ จึงเป็นข้อพิพาทคนละประเด็นกับค่าเสียหายของโจทก์ในคดีเดิม ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
แม้โจทก์คดีนี้เป็นคนละคนกับโจทก์ในคดีเดิม แต่โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทสืบต่อมาจากโจทก์ในคดีเดิม และจำเลยเป็นคู่ความคนเดียวกับจำเลยในคดีเดิม คำพิพากษาในคดีเดิมที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทจึงมีผลผูกพันจำเลยในคดีนี้ด้วย
แม้โจทก์คดีนี้เป็นคนละคนกับโจทก์ในคดีเดิม แต่โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทสืบต่อมาจากโจทก์ในคดีเดิม และจำเลยเป็นคู่ความคนเดียวกับจำเลยในคดีเดิม คำพิพากษาในคดีเดิมที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทจึงมีผลผูกพันจำเลยในคดีนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ประธาน-หนี้อุปกรณ์: โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้ได้ทั้งสัญญากู้และจำนอง
คำให้การของจำเลยปรากฏชัดว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้กับโจทก์ไว้ในฐานะเป็นหนี้ประธาน ส่วนสัญญาจำนองได้ทำไว้เพียงเพื่อประกันหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ หนี้จำนองจึงเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้จำเลยตามสัญญาจำนองเมื่อจำเลยรับว่าโจทก์ได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปภายหลังวันทำสัญญากู้เพียง 1 วัน ก็ต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ไปตามสัญญากู้ สัญญากู้ดังกล่าวจึงบริบูรณ์ตามกฎหมาย
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เป็นหนี้ประธาน และหนี้ตามสัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์หนี้ทั้งสองประเภทจึงอาจแยกเป็นส่วนออกต่างหากจากกันได้ โดยอำนาจแห่งมูลหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือตามสัญญาจำนองก็ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เป็นหนี้ประธาน และหนี้ตามสัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์หนี้ทั้งสองประเภทจึงอาจแยกเป็นส่วนออกต่างหากจากกันได้ โดยอำนาจแห่งมูลหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือตามสัญญาจำนองก็ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ประธาน-หนี้อุปกรณ์: สิทธิโจทก์เลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือจำนองก็ได้
คำให้การของจำเลยปรากฏชัดว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้กับโจทก์ไว้ในฐานะเป็นหนี้ประธาน ส่วนสัญญาจำนองได้ทำไว้เพียงเพื่อประกันหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ หนี้จำนองจึงเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้จำเลยตามสัญญาจำนอง เมื่อจำเลยรับว่าโจทก์ได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปภายหลังวันทำสัญญากู้เพียง 1 วัน ก็ต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ไปตามสัญญากู้ สัญญากู้ดังกล่าวจึงบริบูรณ์ตามกฎหมาย
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เป็นหนี้ประธาน และหนี้ตามสัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์หนี้ทั้งสองประเภทจึงอาจแยกเป็นส่วนออกต่างหากจากกันได้ โดยอำนาจแห่งมูลหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือตามสัญญาจำนองก็ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เป็นหนี้ประธาน และหนี้ตามสัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์หนี้ทั้งสองประเภทจึงอาจแยกเป็นส่วนออกต่างหากจากกันได้ โดยอำนาจแห่งมูลหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือตามสัญญาจำนองก็ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว