คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วรา ไวยหงษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 364 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาพักงานและการคำนวณเวลาทำงานปกติ กรณีทำงานเป็นกะ
โจทก์เป็นพนักงานตัดกระจก ทำงานอยู่ในจุดตัดกระจก ใช้เวลาตัดกระจกประมาณ 50 นาที เสร็จแล้วหยุดพักรอกระจกที่จะส่งมาใหม่เป็นเวลา 20 นาที ทำสลับกันเช่นนี้จนกว่าจะออกกะทำงานกะละ 8 ชั่วโมง 15 นาทีกะหนึ่ง ๆ โจทก์จึงมีเวลาพัก 2 ชั่วโมง 20 นาที
เมื่อปรากฏว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 6 เพียงกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักเท่านั้นมิได้บังคับว่าจะต้องกำหนดในลักษณะที่เป็นรูปแบบอย่างใดไม่ แม้ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานของจำเลยจะระบุให้หัวหน้าแผนกเป็นผู้กำหนดเวลาพัก แต่กลับปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้กำหนดก็หาทำให้เวลาดังกล่าวไม่ใช่เวลาพักไม่ ที่โจทก์จะต้องขออนุญาตก่อนออกนอกโรงงานในช่วงระยะเวลา 20 นาที ก็เพียงเพื่อให้รู้ว่าระยะเวลาดังกล่าวโจทก์อยู่ที่ใดเท่านั้น หลังจากได้รับอนุญาตแล้วโจทก์ย่อมใช้เวลาดังกล่าวได้อย่างอิสระ จึงถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้โจทก์มีเวลาพักโดยถูกต้องตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 6 แล้ว
โจทก์ทำงานกะละ 8 ชั่วโมง 15 นาที กำหนดเวลาทำงานตามปกติย่อมหมายถึงเวลาทำงานอย่างแท้จริง ไม่นับเวลาพักเข้าเป็นเวลาทำงานจึงต้องนำเวลาพัก 20 นาที หักออกจากช่วงระยะเวลาที่โจทก์ทำงานเวลาทำงานตามปกติของโจทก์จึงไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำงานล่วงเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาพักจากการทำงาน: การจัดเวลาพักที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการคำนวณเวลาทำงานปกติ
โจทก์เป็นพนักงานตัดกระจก ทำงานอยู่ในจุดตัดกระจก ใช้เวลาตัดกระจกประมาณ 50 นาที เสร็จแล้วหยุดพักรอกระจกที่จะส่งมาใหม่เป็นเวลา 20 นาที ทำสลับกันเช่นนี้จนกว่าจะออกกะทำงานกะละ 8 ชั่วโมง 15 นาทีกะหนึ่ง ๆ โจทก์จึงมีเวลาพัก 2 ชั่วโมง 20 นาที
เมื่อปรากฏว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 6 เพียงกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องกำหนดในลักษณะที่เป็นรูปแบบอย่างใดไม่ แม้ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานของจำเลยจะระบุให้หัวหน้าแผนกเป็นผู้กำหนดเวลาพัก แต่กลับปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้กำหนดก็หาทำให้เวลาดังกล่าวไม่ใช่เวลาพักไม่ ที่โจทก์จะต้องขออนุญาตก่อนออกนอกโรงงานในช่วงระยะเวลา 20 นาที ก็เพียงเพื่อให้รู้ว่าระยะเวลาดังกล่าวโจทก์อยู่ที่ใดเท่านั้น หลังจากได้รับอนุญาตแล้วโจทก์ย่อมใช้เวลาดังกล่าวได้อย่างอิสระ จึงถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้โจทก์มีเวลาพักโดยถูกต้องตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 6 แล้ว
โจทก์ทำงานกะละ 8 ชั่วโมง 15 นาที กำหนดเวลาทำงานตามปกติย่อมหมายถึงเวลาทำงานอย่างแท้จริง ไม่นับเวลาพักเข้าเป็นเวลาทำงาน จึงต้องนำเวลาพัก 20 นาที หักออกจากช่วงระยะเวลาที่โจทก์ทำงาน เวลาทำงานตามปกติของโจทก์จึงไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำงานล่วงเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างตามระเบียบข้อบังคับ – การจ่ายค่าทำงานล่วงเวลา/วันหยุด แม้ไม่มีงานให้ทำช่วงเวลาที่อยู่เวร
เมื่อฟ้องโจทก์เป็นการขอให้จำเลยจ่ายเงินตามระเบียบ ข้อบังคับซึ่งมีอยู่เดิม มิใช่เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือถึงจำเลยก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้ทันที การที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด กับการมีงานให้ทำจริงๆในช่วงเวลานั้นๆเป็นคนละกรณี กัน เมื่อโจทก์ต้องทำงานในช่วงเวลาที่จำเลยกำหนดแต่ไม่มีงานให้โจทก์ทำ ไม่ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่เป็นการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ต่อสู้ให้เป็น ประเด็นมาในคำให้การ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นการผูกพันที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเรียกร้องค่าทำงานล่วงเวลา/วันหยุด แม้ไม่มีงานจริง การอยู่เวรก็ถือเป็นการทำงาน
เมื่อฟ้องโจทก์เป็นการขอให้จำเลยจ่ายเงินตามระเบียบ ข้อบังคับซึ่งมีอยู่เดิม มิใช่เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือถึงจำเลยก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้ทันที
การที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด กับการมีงานให้ทำจริงๆในช่วงเวลานั้นๆเป็นคนละกรณี กัน เมื่อโจทก์ต้องทำงานในช่วงเวลาที่จำเลยกำหนดแต่ไม่มีงานให้โจทก์ทำ ไม่ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่เป็นการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ต่อสู้ให้เป็น ประเด็นมาในคำให้การ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นการผูกพันที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทำงานนานตามข้อบังคับบริษัท การพิจารณาอนามัยและผลงาน
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยมา 30 ปีแล้ว ผลการ ตรวจสุขภาพประจำปีแพทย์ลงความเห็นว่า โจทก์สุขภาพพอใช้ ซึ่งเท่ากับเป็นการชี้ว่าโจทก์มีอนามัยหรือสุขภาพไม่ สมบูรณ์ สาเหตุหนึ่ง และจำเลยยังตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อ พิจารณาถึงสมรรถภาพการทำงานของโจทก์ คณะทำงานมีความเห็น ว่าโจทก์ผลงานไม่ดีขึ้น ไม่เอาใจใส่ต่องาน และไม่ ติดตามตรวจสอบผลงานสามารถหาคนแทนได้ อีกสาเหตุหนึ่ง ด้วย อันเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อบังคับจำเลยที่จะให้โจทก์ออกจากงานฐานทำงานนานทั้งสองสาเหตุดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ฐานทำงานนาน จึงไม่ใช่เป็นการ เลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทำงานนานและมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยมา 30 ปีแล้ว ผลการ ตรวจสุขภาพประจำปีแพทย์ลงความเห็นว่า โจทก์สุขภาพพอใช้ ซึ่งเท่ากับเป็นการชี้ว่าโจทก์มีอนามัยหรือสุขภาพไม่สมบูรณ์ สาเหตุหนึ่ง และจำเลยยังตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อพิจารณาถึงสมรรถภาพการทำงานของโจทก์ คณะทำงานมีความเห็นว่า โจทก์ผลงานไม่ดีขึ้น ไม่เอาใจใส่ต่องาน และไม่ติดตามตรวจสอบผลงาน สามารถหาคนแทนได้ อีกสาเหตุหนึ่งด้วย อันเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อบังคับจำเลยที่จะให้โจทก์ออกจากงานฐานทำงานนานทั้งสองสาเหตุดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ฐานทำงานนาน จึงไม่ใช่เป็นการ เลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดวันรู้แจ้งคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนสำหรับนายจ้างที่เป็นนิติบุคคล: อำนาจของผู้รับมอบ และการนับระยะเวลาฟ้องคดี
ผู้แทนของโจทก์ได้แก่ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้การที่จะถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทน ก็คือผู้อำนวยการของโจทก์ทราบนั่นเองแม้โจทก์จะมีหน่วยงานอื่นซึ่งได้แก่ส่วนทำไม้ตากและฝ่ายทำไม้ภาคเหนือแต่ทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวก็มิได้มีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการจ่ายเงินทดแทน หรือได้รับมอบอำนาจจากโจทก์เกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าว หรือมิได้มีอำนาจที่จะนำคดีมาสู่ศาลได้ในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอันจะถือได้ว่าส่วนทำไม้ตากเป็นนายจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานการที่แรงงานจังหวัดกำแพงเพชรแจ้งคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนให้ส่วนทำไม้ตากรับทราบในวันที่ 21 ธันวาคม 2526 จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างทราบคำสั่งในวันดังกล่าวถือว่าโจทก์เพิ่งทราบคำสั่งดังกล่าวจากบันทึกรายงานของฝ่ายทำไม้ภาคเหนือเมื่อวันที่ 19 มกราคม2527 การที่โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวและนำคดีมาสู่ศาลในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2527 จึงไม่เกิน 30 วันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรู้คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของนายจ้าง: อำนาจการรับรู้อยู่ที่ผู้อำนวยการองค์การ ไม่ใช่หน่วยงานสาขา
ผู้แทนของโจทก์ได้แก่ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้การที่จะถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทน ก็คือผู้อำนวยการของโจทก์ทราบนั่นเอง แม้โจทก์จะมีหน่วยงานอื่นซึ่งได้แก่ส่วนทำไม้ตากและฝ่ายทำไม้ภาคเหนือ แต่ทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวก็มิได้มีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการจ่ายเงินทดแทน หรือได้รับมอบอำนาจจากโจทก์เกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าว หรือมิได้มีอำนาจที่จะนำคดีมาสู่ศาลได้ในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอันจะถือได้ว่าส่วนทำไม้ตากเป็นนายจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานการที่แรงงานจังหวัดกำแพงเพชรแจ้งคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนให้ส่วนทำไม้ตากรับทราบในวันที่ 21 ธันวาคม 2526 จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างทราบคำสั่งในวันดังกล่าวถือว่าโจทก์เพิ่งทราบคำสั่งดังกล่าวจากบันทึกรายงานของฝ่ายทำไม้ภาคเหนือเมื่อวันที่ 19 มกราคม2527 การที่โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวและนำคดีมาสู่ศาลในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2527 จึงไม่เกิน 30 วันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างมีสิทธิออกแผนบำเหน็จเพิ่มเติมจากข้อบังคับเดิมได้ หากไม่ขัดแย้งและไม่เป็นผลเสียต่อลูกจ้าง
ข้อบังคับเดิมโอกาสที่ลูกจ้างจะได้รับผลประโยชน์หรือบำเหน็จมีครั้งเดียวเมื่อออกจากงานแต่ประกาศแผนบำเหน็จก่อนออกจากงานของนายจ้างซึ่งประกาศใช้ภายหลังมีข้อความเพิ่มเติมให้ลูกจ้างมีโอกาสเลือกจะขอรับผลประโยชน์หรือบำเหน็จก่อนออกจากงานหรือเลือกรับผลประโยชน์ครั้งเดียวตามข้อบังคับเดิมก็ได้ ไม่เป็นการบังคับทั้งไม่มีข้อพิสูจน์ว่า เงินบำเหน็จก่อนออกจากงานซึ่งลูกจ้างรับจากนายจ้างจะให้ผลประโยชน์น้อยกว่าหรือเป็นข้อเสียเปรียบเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่รอรับเมื่อออกจากงาน ข้อบังคับหรือแผนบำเหน็จดังกล่าวไม่มีข้อความขัดหรือแย้งกับข้อบังคับเดิมจึงใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแผนบำเหน็จก่อนออกจากงาน ไม่ขัดแย้งกับข้อบังคับเดิม และใช้บังคับได้
ข้อบังคับเดิมโอกาสที่ลูกจ้างจะได้รับผลประโยชน์หรือบำเหน็จมีครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน แต่ประกาศแผนบำเหน็จก่อนออกจากงานของนายจ้างซึ่งประกาศใช้ภายหลังมีข้อความเพิ่มเติมให้ลูกจ้างมีโอกาสเลือกจะขอรับผลประโยชน์หรือบำเหน็จก่อนออกจากงานหรือเลือกรับผลประโยชน์ครั้งเดียวตามข้อบังคับเดิมก็ได้ ไม่เป็นการบังคับทั้งไม่มีข้อพิสูจน์ว่าเงินบำเหน็จก่อนออกจากงานซึ่งลูกจ้างรับจากนายจ้างจะให้ผลประโยชน์น้อยกว่าหรือเป็นข้อเสียเปรียบเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่รอรับเมื่อออกจากงาน ข้อบังคับหรือแผนบำเหน็จดังกล่าวไม่มีข้อความขัดหรือแย้งกับข้อบังคับเดิมจึงใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 20
of 37