คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุนท์ จันทรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,707 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2630/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเรียกร้องตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ต้องแจ้งนายจ้างโดยตรง สัญญาจ้างหมดอายุ นายจ้างเลิกจ้างได้
โจทก์เป็นตัวแทนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยมีหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในฐานะที่จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดอยู่แม้ต่อมาจะได้มีการเจรจาระหว่างโจทก์กับพวกฝ่ายหนึ่งกับจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่จะแสวงหาข้อยุติเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมตามที่โจทก์กับพวกได้ร้องเรียนเท่านั้น มิใช่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 13 วรรคแรก ดังนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในเวลาต่อมาจึงมิใช่การเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อเรียกร้องของโจทก์ยังมีผลบังคับตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613-2614/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยร่วมในคดีชิงทรัพย์ จำเลยต้องมีส่วนลงมือกระทำความผิดโดยตรง คำให้การชั้นสอบสวนใช้ลงโทษไม่ได้หากให้การปฏิเสธในชั้นศาล
พยานโจทก์ชั้นศาลฟังไม่ได้ว่าพยานจำพวกของจำเลยที่ 1ได้ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนว่าร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิดแต่คำให้การชั้นสอบสวนเป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ให้การปฏิเสธในชั้นศาล ดังนี้ จะนำคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 มาฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 หาได้ไม่
การที่วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่2 ที่ 3 ได้ถอนอุทธรณ์ไปแล้วก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาแก้ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2579/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างประจำ vs. สัญญาจ้างระยะเวลาแน่นอน: การจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
สัญญาจ้างที่จะถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนนั้นหมายถึงการจ้างซึ่งกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ว่าจะจ้างกันกี่วัน กี่เดือน หรือกี่ปี เมื่อถึงกำหนดระยะเวลานั้นแล้วการจ้างเป็นอันระงับสิ้นสุดกันทันที และฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหามีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดนั้นไม่ การเป็นลูกจ้างประจำหรือไม่อยู่ที่การงานของนายจ้างเป็นสำคัญ โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยซึ่งประกอบกิจการเดินเรือรับจ้างขนส่งสินค้าและคนโดยสารระหว่างประเทศ สภาพงานของจำเลยมิใช่มีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจรหรือเป็นเป็นไปตามฤดูกาลจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย และเป็นกรณีที่จำเลยจ้างโจทก์โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีค่าชดเชยแล้วฟ้องใหม่ได้ หากการถอนฟ้องไม่ได้เป็นการสละสิทธิ และค่าชดเชยตามระเบียบของบริษัทไม่ถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมาย
ในคดีก่อนโจทก์แถลงถึงเหตุผลของการถอนฟ้องว่า ตอนออกจากงานโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยเป็นค่าชดเชยตามระเบียบแล้ว เมื่อทราบจากคำให้การจำเลยว่า จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเป็นค่าชดเชย จึงไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป ขอถอนฟ้อง คำแถลงดังกล่าวมีข้อความไม่ชัดแจ้ง หรือแปลได้ว่าโจทก์สละสิทธิที่จะเรียกร้องในมูลกรณีเดียวกันนั้นกับจำเลยอีกในภายหลัง เป็นแต่เพียงโจทก์เชื่อตามคำให้การของจำเลยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย จึงขอถอนฟ้องเท่านั้นโจทก์ฟ้องคดีนี้ได้ใหม่
จำเลยวางระเบียบการจ่ายเงินทดแทนให้พนักงานและคนงานประจำที่ลาออกจากหน้าที่การงาน หรือถูกเลิกจ้าง ต่อมาได้เปลี่ยนคำว่าเงินทดแทนเป็นค่าชดเชย แม้จะเปลี่ยนคำให้ตรงกับคำในกฎหมายแต่หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยของจำเลยก็ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่จะต้องจ่ายตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ไปตามระเบียบของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอนแทนการทำงานของพนักงานหรือลูกจ้างที่ทำงานตลอดมาจนออกจากงานหรือลาออกเอง หรือถึงแก่ความตายดังนี้เงินดังกล่าวไม่ใช่ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานข้อ 47 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้จ่ายแก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดใด ๆ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์ สินสมรส การฉ้อฉล และสิทธิคู่ความในคดีบังคับคดี
การขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ดังกล่าว การที่ผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย ผู้ร้องกับจำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกัน ผู้ร้องหามีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไม่ และที่ผู้ร้องอ้างว่า สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยเป็นนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ หากเป็นดังข้ออ้าง ผู้ร้องก็จะต้องฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลนั้นเสียก่อนจะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนในคดีซึ่งตนมิได้เป็นคู่ความหาได้ไม่ คดีร้องขัดทรัพย์ จำเลยจะเข้ามาในคดีหรือไม่ก็ได้ เมื่อเข้ามาแล้วจำเลยก็มีฐานะเป็นคู่ความ มีสิทธิได้ค่าฤชาธรรมเนียม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขัดทรัพย์สินสมรสและการเพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉล ผู้ร้องต้องฟ้องเพิกถอนก่อนจึงจะขอปล่อยทรัพย์ได้
การขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ดังกล่าว การที่ผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยผู้ร้องกับจำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกัน ผู้ร้องหามีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไม่ และที่ผู้ร้องอ้างว่า สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลย เป็นนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ หากเป็นดังข้ออ้าง ผู้ร้องก็จะต้องฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลนั้นเสียก่อน จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนในคดีซึ่งตนมิได้เป็นคู่ความหาได้ไม่
คดีร้องขัดทรัพย์ จำเลยจะเข้ามาในคดีหรือไม่ก็ได้เมื่อเข้ามาแล้ว จำเลยก็มีฐานะเป็นคู่ความ มีสิทธิได้ค่าฤชาธรรมเนียม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีเลิกจ้าง: แม้เหตุอ้างต่างกัน แต่ประเด็นวินิจฉัยคือเหตุสมควรเลิกจ้างหรือไม่
ฟ้องโจทก์คดีนี้ และคดีก่อนมีมูลมาจากการเลิกจ้างตามคำสั่งเลิกจ้างฉบับเดียวกัน เป็นแต่เพียงโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องคดีก่อนว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนคดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการเลิกจ้างที่ถูกปรักปรำและถูกบีบคั้นของจำเลย ซึ่งไม่ว่าโจทก์จะกล่าวอ้างถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างอย่างในคดีก่อนหรือคดีนี้ก็ตาม คดีทั้งสองก็มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างได้หรือไม่เมื่อคดีก่อนคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีเลิกจ้าง: การเปลี่ยนเหตุแห่งการเลิกจ้างไม่ทำให้คดีใหม่แตกต่างจากคดีเดิม
ฟ้องโจทก์คดีนี้ และคดีก่อนมีมูลมาจากการเลิกจ้างตามคำสั่งเลิกจ้างฉบับเดียวกัน เป็นแต่เพียงโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องคดีก่อนว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนคดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการเลิกจ้างที่ถูกปรักปรำและถูกบีบคั้นของจำเลย ซึ่งไม่ว่าโจทก์จะกล่าวอ้างถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างอย่างในคดีก่อนหรือคดีนี้ก็ตาม คดีทั้งสองก็มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างได้หรือไม่เมื่อคดีก่อนคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีเลิกจ้าง: การอ้างเหตุเลิกจ้างที่แตกต่างกันไม่ทำให้คดีไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นพิจารณาหลักยังคงเดิม
ฟ้องโจทก์คดีนี้และคดีก่อนมีมูลมาจากการเลิกจ้างตามคำสั่งเลิกจ้างฉบับเดียวกัน เป็นแต่เพียงโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องคดีก่อนว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนคดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการเลิกจ้างที่ถูกปรักปรำและถูกบีบคั้นของจำเลย ซึ่งไม่ว่าโจทก์จะกล่าวอ้างถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างอย่างในคดีก่อนหรือคดีนี้ก็ตาม คดีทั้งสองก็มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างได้หรือไม่ เมื่อคดีก่อนคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทุจริตต่อหน้าที่ของลูกจ้างธนาคารและการเลิกจ้างโดยชอบธรรม การลดโทษไม่กระทบสิทธิของนายจ้าง
จำเลยให้โจทก์นำเอกสารที่เป็นความลับของธนาคารจำเลยที่ไม่ต้องการใช้และไม่มีประโยชน์ไปเผาทำลาย แต่โจทก์กลับนำเอกสารบางส่วนไปขายโดยไม่นำไปเผา และเอาเงินที่ขายได้เป็นของตนเองจึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์กระทำความผิดซึ่งจะต้องถูกลงโทษไล่ออก และครั้งแรกจำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ด้วยการไล่ออกแล้ว แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ต่อผู้จัดการของจำเลย ผู้จัดการได้พิจารณาลดโทษให้โจทก์ เป็นให้ลงโทษด้วยการให้ออก การลดโทษดังกล่าวหาได้หมายความว่าจำเลยเห็นว่าการกระทำของโจทก์ไม่เป็นการกระทำผิดข้อบังคับของจำเลยไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
of 171