คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุนท์ จันทรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,707 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการนับอายุงานต่อเนื่อง: การเว้นช่วงอายุงานตามข้อบังคับบริษัท
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ลูกจ้างร้องทุกข์ต่อผู้อำนวยการของนายจ้างผู้อำนวยการเห็นว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม มีคำสั่งให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามเดิม และให้นับอายุงานต่อเนื่องโดยเว้นช่วงระหว่างเลิกจ้างถึงวันกลับเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างเลิกจ้าง ดังนี้ เมื่อเหตุที่ไม่นับอายุการเข้าทำงานต่อเนื่องนั้นนายจ้างอาศัยเทียบเคียงระเบียบว่าด้วยวินัยฯ ซึ่งหากลูกจ้างอุทธรณ์คำสั่งเลิกจ้างตามระเบียบดังกล่าว นายจ้างก็สามารถเว้นช่วงการนับอายุงานระหว่างเลิกจ้างถึงวันเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างนั้นได้ ทั้งช่วงเวลาที่ถูกเลิกจ้างลูกจ้างก็มิได้ทำงานให้แก่นายจ้างเลยการที่นายจ้างไม่นับอายุงานต่อเนื่องและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างเลิกจ้างถึงวันที่ลูกจ้างกลับเข้าทำงานจึงหาเป็นการไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้างไม่ นายจ้างออกคำสั่งเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การนับอายุงานต่อเนื่อง และสิทธิประโยชน์หลังกลับเข้าทำงาน
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ลูกจ้างร้องทุกข์ต่อผู้อำนวยการของนายจ้าง ผู้อำนวยการเห็นว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม มีคำสั่งให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามเดิม และให้นับอายุงานต่อเนื่องโดยเว้นช่วงระหว่างเลิกจ้างถึงวันกลับเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างเลิกจ้าง ดังนี้ เมื่อเหตุที่ไม่นับอายุการเข้าทำงานต่อเนื่องนั้นนายจ้างอาศัยเทียบเคียงระเบียบว่าด้วยวินัย ฯ ซึ่งหากลูกจ้างอุทธรณ์คำสั่งเลิกจ้างตามระเบียบดังกล่าว นายจ้างก็สามารถเว้นช่วงการนับอายุงานระหว่างเลิกจ้างถึงวันเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างนั้นได้ ทั้งช่วงเวลาที่ถูกเลิกจ้างลูกจ้างก็มิได้ทำงานให้แก่นายจ้างเลย การที่นายจ้างไม่นับอายุงานต่อเนื่องและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างเลิกจ้างถึงวันที่ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน จึงหาเป็นการไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้างไม่ นายจ้างออกคำสั่งเช่นนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการนับอายุงานต่อเนื่อง นายจ้างมีอำนาจพิจารณาสั่งให้กลับเข้าทำงานและเว้นช่วงอายุงานได้
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ลูกจ้างร้องทุกข์ต่อผู้อำนวยการของนายจ้าง ผู้อำนวยการเห็นว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม มีคำสั่งให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามเดิม และให้นับอายุงานต่อเนื่องโดยเว้นช่วงระหว่างเลิกจ้างถึงวันกลับเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างเลิกจ้าง ดังนี้ เมื่อเหตุที่ไม่นับอายุการเข้าทำงานต่อเนื่องนั้น นายจ้างอาศัยเทียบเคียงระเบียบว่าด้วยวินัย ฯ ซึ่งหากลูกจ้างอุทธรณ์คำสั่งเลิกจ้างตามระเบียบดังกล่าว นายจ้างก็สามารถเว้นช่วงการนับอายุงานระหว่างเลิกจ้างถึงวันเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างนั้นได้ ทั้งช่วงเวลาที่ถูกเลิกจ้างลูกจ้างก็มิได้ทำงานให้แก่นายจ้างเลย การที่นายจ้างไม่นับอายุงานต่อเนื่องและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างเลิกจ้างถึงวันที่ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน จึงหาเป็นการไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้างไม่ นายจ้างออกคำสั่งเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325-2326/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประกันการทำงานเป็นเบี้ยปรับได้ หากลูกจ้างลาออกก่อนครบกำหนดและไม่แจ้งล่วงหน้า
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดให้โจทก์วางเงินประกันการทำงานไว้ต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างและกำหนดเงื่อนไขในการที่โจทก์จะได้เงินดังกล่าวคืนเมื่อลาออกจากงานว่า โจทก์ได้ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีโดยแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยกว่า 1 เดือนเงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ประกันความเสียหายเนื่องจากการทำงานไม่ครบกำหนดสองปีตามข้อตกลง และมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามเงื่อนไขข้อบังคับของจำเลย มิใช่เป็นเงินประกันค่าเสียหายเนื่องจากการทำงานของโจทก์ขณะที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยแต่ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับในกรณีผิดข้อตกลงหรือผิดสัญญาเมื่อโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยไม่ถึงสองปี และได้ลาออกโดยมิได้แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยกว่า 1 เดือน อันเป็นการผิดข้อตกลงและเงื่อนไขเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยย่อมได้รับความเสียหาย และกรณีไม่มีข้อโต้แย้งว่าเป็นจำนวนค่าเสียหายที่สูงเกินส่วน จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินประกันได้ทั้งหมด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325-2326/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประกันการทำงานและการผิดสัญญาจ้าง: การริบเงินประกันเมื่อลูกจ้างลาออกก่อนกำหนดและไม่แจ้งล่วงหน้า
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดให้โจทก์วางเงินประกันการทำงานไว้ต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างและกำหนดเงื่อนไขในการที่โจทก์จะได้เงินดังกล่าวคืนเมื่อลาออกจากงานว่า โจทก์ได้ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีโดยแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยกว่า 1 เดือน เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ประกันความเสียหายเนื่องจากการทำงานไม่ครบกำหนดสองปีตามข้อตกลง และมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามเงื่อนไขข้อบังคับของจำเลย มิใช่เป็นเงินประกันค่าเสียหายเนื่องจากการทำงานของโจทก์ขณะที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย แต่ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับในกรณีผิดข้อตกลงหรือผิดสัญญาเมื่อโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยไม่ถึงสองปี และได้ลาออกโดยมิได้แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยกว่า 1 เดือน อันเป็นการผิดข้อตกลงและเงื่อนไขเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยย่อมได้รับความเสียหาย และกรณีไม่มีข้อโต้แย้งว่าเป็นจำนวนค่าเสียหายที่สูงเกินส่วน จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินประกันได้ทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ที่มีผลบังคับได้ แม้จะรวมดอกเบี้ยที่โจทก์ชดใช้ให้ลูกค้าไปแล้ว
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้รับเงินคืนประกันอากรของลูกค้าโจทก์คืนจากกรมศุลกากรแล้วยักยอกเสีย จำเลยได้ทำบันทึกตกลงรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์ว่าจะยอมคืนเงินดังกล่าวและดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่รับเงินคืนจากกรมศุลกากรจนถึงวันที่ชำระแก่โจทก์เสร็จสิ้น บันทึกความตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นนิติกรรมซึ่งจำเลยทำขึ้นด้วยความสมัครใจ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงมีผลบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับของบันทึกตกลงรับสภาพหนี้: การชำระดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันไว้
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้รับเงินคืนประกันอากรของลูกค้าโจทก์คืนจากกรมศุลกากรแล้วยักยอกเสีย จำเลยได้ทำบันทึกตกลงรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์ว่าจะยอมคืนเงินดังกล่าวและดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่รับเงินคืนจากกรมศุลกากรจนถึงวันที่ชำระแก่โจทก์เสร็จสิ้น บันทึกความตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นนิติกรรมซึ่งจำเลยทำขึ้นด้วยความสมัครใจและไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงมีผลบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ที่มีผลผูกพัน แม้โจทก์จะชำระดอกเบี้ยให้ลูกค้าเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้รับเงินคืนประกันอากรของลูกค้าโจทก์คืนจากกรมศุลกากรแล้วยักยอกเสีย จำเลยได้ทำบันทึกตกลงรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์ว่าจะยอมคืนเงินดังกล่าวและดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่รับเงินคืนจากกรมศุลกากรจนถึงวันที่ชำระแก่โจทก์เสร็จสิ้น บันทึกความตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นนิติกรรมซึ่งจำเลยทำขึ้นด้วยความสมัครใจ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงมีผลบังคับได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ่ายค่าชดเชยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ย่อมมีผลผูกพันนายจ้าง แม้ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
การที่นายจ้างทำหนังสือยินยอมจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง 6 เดือนทั้งที่ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 มิได้ห้ามไว้แต่อย่างใด จึงต้องบังคับไปตามสัญญาดังกล่าว และหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอันตกเป็นโมฆะไม่ ข้อตกลงนั้นย่อมผูกพันนายจ้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่2629/2527).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ่ายค่าชดเชยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ย่อมผูกพันนายจ้าง แม้ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
การที่นายจ้างทำหนังสือยินยอมจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง 6 เดือน ทั้งที่ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 มิได้ห้ามไว้แต่อย่างใด จึงต้องบังคับไปตามสัญญาดังกล่าว และหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอันตกเป็นโมฆะไม่ ข้อตกลงนั้นย่อมผูกพันนายจ้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2629/2527)
of 171