คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุนท์ จันทรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,707 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง, การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, และขอบเขตการพิจารณาคดีแรงงานที่ไม่ผูกพันคดีอาญา
การฟ้องคดีเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติส่วนหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการคุ้มครองแรงงาน หาใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2525 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง, การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, และขอบเขตการพิจารณาคดีแรงงานที่แยกจากคดีอาญา
การฟ้องคดีเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติส่วนหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการคุ้มครองแรงงาน หาใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม2525 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง แรงงาน: ศาลแรงงานพิจารณาจากข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณา ไม่ผูกติดคำพิพากษาคดีอาญา
การฟ้องคดีเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติส่วนหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการคุ้มครองแรงงานหาใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2525เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165(9).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารเพื่อเบิกจ่ายค่าจ้างกระทบสิทธินายจ้าง ศาลยืนยันเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นหัวหน้าคนงานมีหน้าที่รับผิดชอบในการลาของลูกจ้างและทำบันทึกรายงานสถิติการมาทำงานของลูกจ้าง โจทก์ต้องปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยและรายงานการมาทำงานของลูกจ้างต่อจำเลยตามความเป็นจริง โจทก์ปลอมใบลาอันเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งสำหรับใช้คำนวณค่าจ้างจำเลยได้จ่ายค่าจ้างและเบี้ยขยันให้แก่ว. โดยเชื่อตามพยานหลักฐานปลอมที่โจทก์ทำขึ้น โจทก์มีความผิดฐานปลอมเอกสาร ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1)(3) ดังนี้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนในการคำนวณเงินบำเหน็จ และสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จมีอายุความ 10 ปี
นายจ้างจ่ายค่าครองชีพแก่ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอน เป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือน ค่าครองชีพจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนเช่นเดียวกับเงินเดือน เป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องนำค่าครองชีพมารวมเพื่อคำนวณในการจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์ตามข้อบังคับของนายจ้างด้วย
การที่ลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างยังไม่ครบถ้วนแม้จะไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้โต้แย้งคัดค้านการจ่ายเงินบำเหน็จของจำเลยไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินบำเหน็จในส่วนที่ยังขาดจากนายจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องให้นายจ้างชำระเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายขาดไปนั้นได้
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 191 ลูกจ้างฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นายจ้างจะยกข้อบังคับของนายจ้างขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จหาได้ไม่
เงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้างดังเช่นค่าชดเชย นายจ้างจะผิดนัดก็ต่อเมื่อลูกจ้างได้ทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างรับผิดชำระเงินบำเหน็จเมื่อใด ลูกจ้างจึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างหลังเลิกสัญญาจ้างและการประสบอันตราย: นายจ้างไม่ต้องรับผิดชอบหากอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างเดินทางไปรับค่าจ้างด้วยความยินยอม
แม้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้าง ณ สถานที่ที่ลูกจ้างทำงานก็ตามแต่ถ้าลูกจ้างยินยอมนายจ้างจะจ่าย ณ สถานที่อื่นก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมไปรับค่าจ้าง ณ สำนักงานของนายจ้าง หลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้ว และเกิดอุบัติเหตุระหว่างเดินทาง จึงไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ส่วนการที่นายจ้างได้จัดรถยนต์ไปรับลูกจ้างก็เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกเท่านั้น หาทำให้นายจ้างต้องรับผิดจ่ายเงินทดแทนด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดนายจ้างต่ออุบัติเหตุหลังเลิกจ้าง: การจ่ายค่าจ้าง ณ สถานที่อื่นด้วยความยินยอมของลูกจ้าง
แม้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้าง ณ สถานที่ที่ลูกจ้างทำงานก็ตามแต่ถ้าลูกจ้างยินยอมนายจ้างจะจ่าย ณ สถานที่อื่นก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมไปรับค่าจ้าง ณ สำนักงานของนายจ้าง หลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้ว และเกิดอุบัติเหตุระหว่างเดินทาง จึงไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างส่วนการที่นายจ้างได้จัดรถยนต์ไปรับลูกจ้างมานั้นก็เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกเท่านั้น หาทำให้นายจ้างต้องรับผิดจ่ายเงินทดแทนด้วยไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.แรงงาน และผลของการไม่โต้แย้งคำสั่งศาล
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนวันที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ใช้บังคับ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม และเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ โดยให้ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ให้งดสืบพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษา เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหากโจทก์ไม่เห็นด้วยและจะอุทธรณ์คำสั่งนั้น ก็จะต้องโต้แย้งคัดค้านไว้ในคดีนี้ศาลนัดฟังคำพิพากษาหลังจากมีคำสั่งดังกล่าวถึง 3 วัน จึงมีเวลาเพียงพอที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งได้ เมื่อไม่โต้แย้งคัดค้าน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2021/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถือเป็นความผิดตามข้อบังคับบริษัท
เมื่อพยานหลักฐานของผู้ร้องที่นำสืบเพียงพอแก่การวินิจฉัยชี้ขาดคดีแล้วการที่ผู้ร้องขอสืบพยานบุคคลซึ่งเห็นเหตุการณ์จึงไม่ทำให้ข้อเท็จจริงมีผลเปลี่ยนแปลงและไม่เป็นประโยชน์แก่คดี
ข้อบังคับของผู้ร้องนั้นศาลพิจารณาได้เองโดยไม่ต้องสืบพยานข้อบังคับของผู้ร้องที่ว่า 'ห้ามก่อการวิวาทหรือชกต่อยในบริเวณโรงงานหรือบริษัท' นั้นหมายเฉพาะผู้ที่กระทำผิดในฐานเป็นผู้ก่อให้เกิดการวิวาทชกต่อยกันและลูกจ้างที่ถูกทำร้ายไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะใช้สิทธิตอบโต้ป้องกันการกระทำผิดของผู้ก่อเรื่องได้เท่านั้น หาได้หมายความรวมถึงกรณีที่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือด้วยความจำเป็นที่กฎหมายยกเว้นโทษให้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการสืบพยานเอกสารและการไม่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิคู่ความ
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งรับเอกสารตามบัญชีเพิ่มเติมของจำเลยเป็นพยานหลังจากโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนสืบพยานเสร็จแล้วเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา45 วรรคแรก เอกสาร ดังกล่าว ถือ ว่า เป็น พยานศาล จึง ย่อม รับฟังได้ เมื่อศาลแรงงานกลางยอมให้นำสืบเอกสารดังกล่าวและจำเลยแถลงหมดพยานแล้ว โจทก์มิได้แถลงขอสืบพยานเพื่อหักล้างเอกสารนั้นทั้งศาลแรงงานกลางคงได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรจะเรียกพยานมาสืบอีกตามความในตอนท้ายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 89 วรรคสาม จึงมิได้ใช้อำนาจดังกล่าว เช่นนี้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางชอบแล้ว
of 171