พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,707 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการรับพยานเพิ่มเติมและการปฏิบัติตามหลักวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งรับเอกสารตามบัญชีเพิ่มเติมของจำเลยเป็นพยานหลังจากโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนสืบพยานเสร็จแล้ว เป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคแรก เอกสารดังกล่าวถือว่าเป็นพยานศาลจึงย่อมรับฟังได้
เมื่อศาลแรงงานกลางยอมให้นำสืบเอกสารดังกล่าวและจำเลยแถลงหมดพยานแล้ว โจทก์มิได้แถลงขอสืบพยานเพื่อหักล้างเอกสารนั้นทั้งศาลแรงงานกลางคงได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรจะเรียกพยานมาสืบอีกตามความในตอนท้ายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 วรรคสามจึงมิได้ใช้อำนาจดังกล่าว เช่นนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางชอบแล้ว.
เมื่อศาลแรงงานกลางยอมให้นำสืบเอกสารดังกล่าวและจำเลยแถลงหมดพยานแล้ว โจทก์มิได้แถลงขอสืบพยานเพื่อหักล้างเอกสารนั้นทั้งศาลแรงงานกลางคงได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรจะเรียกพยานมาสืบอีกตามความในตอนท้ายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 วรรคสามจึงมิได้ใช้อำนาจดังกล่าว เช่นนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญ ไม่จำเป็นต้องพิจารณาการสอบสวนทางวินัย
ความที่ว่า 'การเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง'ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา49 มีความหมายว่า การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุที่จะเลิกจ้างได้เลย หรือแม้จะมีเหตุแห่งการเลิกจ้างอยู่บ้างก็เป็นเหตุเพียงเล็กน้อยไม่สมควรถึงกับจะเลิกจ้างลูกจ้าง ดังนั้น เมื่อการปฏิบัติงานของโจทก์ล่าช้า ไม่ติดตามผลงานและผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ประเด็นที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ จะต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นอย่างไร มีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ โดยมิพักต้องพิจารณาว่าก่อนการเลิกจ้างได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้วหรือไม่ การสอบสวนของคณะกรรมการได้กระทำไปโดยชอบหรือไม่ เพราะมิใช่เหตุที่จะทำให้การเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
ประเด็นที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ จะต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นอย่างไร มีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ โดยมิพักต้องพิจารณาว่าก่อนการเลิกจ้างได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้วหรือไม่ การสอบสวนของคณะกรรมการได้กระทำไปโดยชอบหรือไม่ เพราะมิใช่เหตุที่จะทำให้การเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและการพิจารณาเงินช่วยเหลือบุตรว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่
เงินช่วยเหลือบุตร เป็นเงินที่นายจ้างให้เฉพาะลูกจ้างที่มีบุตรมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างหาใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ จึงไม่เป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าช่วยเหลือบุตรไม่ใช่ค่าจ้าง ไม่นำมารวมคำนวณค่าชดเชย
เงินช่วยเหลือบุตร เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้เฉพาะลูกจ้างที่มีบุตร มีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างหาใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้จึงไม่เป็นค่าจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการร่วมรับผิดเช็ค: แม้พ้นตำแหน่งแล้ว หากมีส่วนร่วมออกเช็คโดยเจตนาทุจริต หรือสั่งห้ามจ่ายเงินย่อมเป็นตัวการ
กรรมการผู้จัดการหรือกรรมการนิติบุคคลเป็นผู้แสดงออกซึ่งการกระทำของนิติบุคคล หากร่วมกับนิติบุคคลออกเช็คหรือสลักหลังเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คต้องถือว่าเป็นตัวการกระทำผิดร่วมกับนิติบุคคลนั้นด้วย ทั้งนี้ไม่ว่ากรรมการจะอยู่ในตำแหน่งในวันที่เช็คนั้นถึงกำหนดหรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการร่วมรับผิดชอบเช็ค: แม้พ้นตำแหน่งแล้ว ก็ยังมีความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี
กรรมการผู้จัดการหรือกรรมการนิติบุคคลเป็นผู้แสดงออกซึ่งการกระทำของนิติบุคคลหากร่วมกับนิติบุคคลออกเช็คหรือสลักหลังเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คต้องถือว่าเป็นตัวการกระทำผิดร่วมกับนิติบุคคลนั้นด้วย ทั้งนี้ไม่ว่ากรรมการจะอยู่ในตำแหน่งในวันที่เช็คนั้นถึงกำหนดหรือไม่ก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิดและอาญา: การรู้ตัวผู้ละเมิดและการกระทำแทนผู้อำนวยการ
หัวหน้าแผนกประกันภัยและสอบสวนขององค์การโจทก์ได้ทำหนังสือตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบของโจทก์ ซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.) พ.ศ. 2496 มาตรา 21,22 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นอันมีผลเท่ากับเป็นการปฎิบัติงานตามหน้าที่ของผู้อำนวยการของโจทก์และแทนผู้อำนวยการของโจทก์ ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2523 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วอย่างช้าตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2523 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 9 สิงหาคม 2525 จึงเกินกว่า 1 ปี คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิดและการรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน เมื่อโจทก์ทราบการละเมิดช้ากว่า 1 ปี
หัวหน้าแผนกประกันภัยและสอบสวนขององค์การโจทก์ได้ทำหนังสือตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบของโจทก์ซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) พ.ศ. 2496 มาตรา 21, 22 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น อันมีผลเท่ากับเป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้อำนวยการของโจทก์และแทนผู้อำนวยการของโจทก์ ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2523 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วอย่างช้าตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2523 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 9 สิงหาคม 2525 จึงเกินกว่า 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน
เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว.
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน
เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดและคดีอาญาจากการชนรถยนต์ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่แทนผู้อำนวยการ
หัวหน้าแผนกประกันภัยและสอบสวนขององค์การโจทก์ได้ทำหนังสือตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบของโจทก์ซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) พ.ศ. 2496 มาตรา21,22 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น อันมีผลเท่ากับเป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้อำนวยการของโจทก์และแทนผู้อำนวยการของโจทก์ ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2523 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วอย่างช้าตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2523 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 9 สิงหาคม 2525 จึงเกินกว่า 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน
เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว.
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน
เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การร้องเรียนเท็จและหมิ่นประมาทผู้บังคับบัญชาเป็นเหตุเพียงพอต่อการเลิกจ้าง
การที่จะพิจารณาว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเป็นธรรมหรือไม่หากสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเกิดแต่ด้านลูกจ้าง พึงพิจารณาว่าลูกจ้างได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอันใดหรือไม่ และการนั้น ๆเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นการเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ส่วนการแต่งตั้งกรรมการสอบสวนลูกจ้างจะชอบหรือไม่ หรือคณะกรรมการสอบสวนมิได้ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอย่างใด หาเป็นข้อสำคัญที่จะทำให้การเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่
โจทก์ร้องเรียนกล่าวหาจำเลยที่ 2 ด้วยเรื่องอันเป็นเท็จ และเป็นการหมิ่นประมาทจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลยที่1 ข้อ 60(6) การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุนี้ จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางไม่ได้วินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาหรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อที่ว่าการกระทำของโจทก์มิใช่เป็นการกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริม)
โจทก์ร้องเรียนกล่าวหาจำเลยที่ 2 ด้วยเรื่องอันเป็นเท็จ และเป็นการหมิ่นประมาทจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลยที่1 ข้อ 60(6) การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุนี้ จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางไม่ได้วินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาหรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อที่ว่าการกระทำของโจทก์มิใช่เป็นการกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริม)