พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,707 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรง กรณีฝ่าฝืนระเบียบการเงินและเบิกจ่าย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่ด้านการเงิน ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญมาก โจทก์ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินของจำเลยโดยเคร่งครัด ทั้งต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังอย่างยิ่งการที่โจทก์ทำหน้าที่ด้านการเงินมา 20 ปีเศษแล้ว ย่อมจะทราบข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินเป็นอย่างดี ปรากฏว่ามีข้อบังคับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2524 ว่าด้วยการเบิกและจ่ายเงิน ในส่วนที่ 3 ข้อ 17 กำหนดไว้ชัดเจนว่า 'ในการจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้เป็นจำนวนตั้งแต่พันบาทขึ้นไปให้สั่งจ่ายเป็นเช็คในนามเจ้าหน้าที่' แต่โจทก์หาได้ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ไม่กลับจ่ายเงินสดเป็นเงินทอนและมิได้บันทึกการทอนเงินไว้เป็นหลักฐานในใบเสร็จกรณีจึงถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินของจำเลยผู้เป็นนายจ้างอย่างแจ้งชัดและเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3) จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความกับการเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง: การชดใช้ค่าเสียหายซ้ำซ้อน
โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมขอให้จ่ายค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าการที่โจทก์เลิกจ้าง เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและโจทก์จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 จำนวนหนึ่ง ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หลังจากนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 อีก ดังนี้ การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจเรียกร้องจากโจทก์อีก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างของโจทก์แล้ว ไม่สมควรให้โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความยุติคดีแล้ว ห้ามเรียกร้องค่าเสียหายซ้ำซ้อนจากการเลิกจ้าง
โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมขอให้จ่ายค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าการที่โจทก์เลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 จำนวนหนึ่ง ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หลังจากนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 อีก ดังนี้ การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจเรียกร้องจากโจทก์อีก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างของโจทก์แล้ว ไม่สมควรให้โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสีย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความกับการเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง: การชดใช้ค่าเสียหายซ้ำซ้อน
โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมขอให้จ่ายค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าการที่โจทก์เลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 จำนวนหนึ่ง ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หลังจากนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 อีก ดังนี้ การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจเรียกร้องจากโจทก์อีก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างของโจทก์แล้ว ไม่สมควรให้โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานปล้นทรัพย์: การระบุวรรคมาตราที่ถูกต้องและการพิจารณาบทเพิ่มโทษ
การที่ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวและใช้ยานพาหนะในการกระทำผิดโดยไม่ระบุวรรคในมาตราที่จำเลยกระทำผิดและใช้คำว่าเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340ตรี นั้น ยังไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 340 ตรี เป็นบทกำหนดโทษไม่ใช่บทเพิ่มโทษ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสอง,83,340 ตรี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานปล้นทรัพย์: การระบุวรรคมาตราที่ถูกต้องและบทเพิ่มโทษ
การที่ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวและใช้ยานพาหนะในการกระทำผิดโดยไม่ระบุวรรคในมาตราที่จำเลยกระทำผิดและใช้คำว่าเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีนั้น ยังไม่ถูกต้องเพราะมาตรา 340 ตรีเป็นบทกำหนดโทษ ไม่ใช่บทเพิ่มโทษ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสอง,83,340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองครอบคลุมหนี้ทั้งที่มีอยู่แล้วและที่จะมีขึ้นในอนาคต สิทธิการไถ่ถอนจำนองขึ้นอยู่กับการชำระหนี้ทั้งหมด
โจทก์จำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของโจทก์และ ก. ที่มีต่อจำเลยทั้งที่มีอยู่แล้วและที่จะมีขึ้นในภายหน้าทุกลักษณะ ต่อมาโจทก์กับพวกร่วมกันกู้เงินจำเลยไปอีก การจำนองดังกล่าวย่อมเป็นประกันหนี้ที่โจทก์กับพวกร่วมกันกู้ไปจากจำเลยด้วยการที่สัญญากู้นั้นมิได้ระบุให้เอาที่ดินตามสัญญาจำนองเป็นประกัน โดยระบุแต่ที่ดินอื่นเป็นประกัน ก็เป็นเพียงการเพิ่มเติมหลักประกันให้มั่นคงขึ้นเท่านั้น หาได้ลบล้างข้อสัญญาตามสัญญาจำนองไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองครอบคลุมหนี้ทั้งปัจจุบันและอนาคต การเพิ่มเติมหลักประกันไม่ลบล้างสัญญาเดิม
โจทก์จำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของโจทก์และ ก.ที่มีต่อจำเลยทั้งที่มีอยู่แล้วและที่จะมีขึ้นในภายหน้าทุกลักษณะต่อมาโจทก์กับพวกร่วมกันกู้เงินจำเลยไปอีก การจำนองดังกล่าวย่อมเป็นประกันหนี้ที่โจทก์กับพวกร่วมกันกู้ไปจากจำเลยด้วยการที่สัญญากู้นั้นมิได้ระบุให้เอาที่ดินตามสัญญาจำนองเป็นประกันโดยระบุแต่ที่ดินอื่นเป็นประกัน ก็เป็นเพียงการเพิ่มเติมหลักประกันให้มั่นคงขึ้นเท่านั้น หาได้ลบล้างข้อสัญญาตามสัญญาจำนองไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองครอบคลุมหนี้ทั้งปัจจุบันและอนาคต สัญญาเพิ่มเติมหลักประกันไม่ลบล้างสัญญาเดิม
โจทก์จำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของโจทก์และ ก. ที่มีต่อจำเลยทั้งที่มีอยู่แล้วและที่จะมีขึ้นในภายหน้าทุกลักษณะ ต่อมาโจทก์กับพวกร่วมกันกู้เงินจำเลยไปอีก การจำนองดังกล่าวย่อมเป็นประกันหนี้ที่โจทก์กับพวกร่วมกันกู้ไปจากจำเลยด้วยการที่สัญญากู้นั้นมิได้ระบุให้เอาที่ดินตามสัญญาจำนองเป็นประกัน โดยระบุแต่ที่ดินอื่นเป็นประกัน ก็เป็นเพียงการเพิ่มเติมหลักประกันให้มั่นคงขึ้นเท่านั้นหาได้ลบล้างข้อสัญญาตามสัญญาจำนองไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีเหตุจำเป็นจากมติคณะรัฐมนตรี
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา52 นายจ้างจะต้องมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโดยเหตุนั้นอาจเกิดจากกรรมการลูกจ้างหรือเป็นเหตุจากทางฝ่ายนายจ้างหรือบุคคลภายนอกก็ได้ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างเป็นรัฐวิสาหกิจ การดำเนินกิจการต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ผู้ร้องปลูกสร้างโรงแรมขึ้นใหม่ในที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงแรมเดิมผู้ร้องจึงจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการโรงแรมดังกล่าว และทำให้งานซึ่งผู้คัดค้านทำอยู่ต้องสิ้นสุดลง ผู้ร้องจึงมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้.