พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,707 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมรดกโดยทายาท การโอนสิทธิครอบครอง และผลของการครอบครองปรปักษ์
หลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม บุตรทุกคนของเจ้ามรดกได้ตกลงขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมรดกมีหลักฐาน น.ส.3ก. ให้แก่โจทก์โดยให้ ห.บุตรคนหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายในฐานะผู้ขาย โจทก์ได้ชำระเงินงวดสุดท้ายในวันทำสัญญาและบุตรของเจ้ามรดกทุกคนได้มอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองตลอดมาดังนี้ถือว่าบุตรของเจ้ามรดกทุกคนได้ขายและสละการครอบครองที่ดิน พิพาทให้แก่โจทก์แล้วแม้ภายหลังจากทำสัญญาฉบับแรกโจทก์และบุตรเจ้ามรดกบางคนจะทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันอีกฉบับหนึ่งโดยมีข้อความว่าจะจัดการโอนทะเบียนที่ดินพิพาทให้แก่กันเมื่อทายาทได้รับมรดกที่ดินตามกฎหมายแล้วก็เป็นเรื่องประสงค์ให้มีหลักฐานทางทะเบียนภายหลังที่ได้โอนสิทธิครอบครองกันแล้วเท่านั้น จะถือว่าไม่ได้สละเจตนาครอบครองหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ไม่ชอบ กรณีใช้ความผิดวินัยที่ไม่เป็นความผิดของลูกจ้างเป็นเหตุ
การที่โจทก์ไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ประจำปีนั้นก็โดยจำเลยถือเอาเหตุที่โจทก์กระทำผิดวินัยและถูกลงโทษทางวินัยเป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณา เมื่อเหตุดังกล่าว ไม่อาจถือเป็นความผิดของโจทก์ การที่จำเลยนำไปประกอบการพิจารณาซึ่งเป็นโทษแก่โจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อตัดเหตุดังกล่าวออกแล้ว จำเลยยังมีเหตุอีกหลายประการในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี จึงจำเป็นต้องให้จำเลยพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีแก่โจทก์ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษจำเลยเกินกว่าที่ฟ้อง สิ้นสุดที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ประมาทโดยการขับรถยนต์ด้วยความเร็วไม่ชิดขอบทางด้านซ้ายของตน เป็นเหตุให้ชนรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับสวนทางมาด้วยความประมาทเช่นกัน แล้วจึงไปชนกับรถยนต์คันอื่นอีก ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ขับรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้ายมือของตนสภาพรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 ขับถูกชนตรงกลางรถ มีลักษณะถูกรถยนต์ที่ ย. ขับชนมากกว่า จำเลยที่ 2 จึงไม่ประมาทในส่วนนี้แต่ที่ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยที่ 2 ประมาท โดยหลังจากที่รถยนต์ที่จำเลยที่ 2 ขับถูกรถยนต์ที่ ย. ขับชนเสียหลักตกลงไปไหล่ถนนทางด้านขวามือแล้ว จำเลยที่ 2 ไม่หยุดรถกลับแล่นขึ้นมาบนถนนทางด้านขวามือ เพื่อจะข้ามไปยังช่องทางด้านซ้ายมือ โดยไม่ดูให้ดีก่อนว่าขณะนั้นมีรถยนต์ของบริษัทขนส่ง จำกัด แล่นสวนทางมาในระยะกระชั้นชิด ซึ่งไม่สามารถหยุดหรือหลบได้ทันจึงเกิดชนกับรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 ขับ เป็นความประมาทของจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่ 2 ขับรถขึ้นมาบนถนนทางด้านขวามือเป็นการขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร และเป็นการขับรถในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดาซึ่งอาจไม่เห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลังได้พอแก่ความปลอดภัยโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่นจนเกิดชนกับรถยนต์ของบริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งแล่นสวนทางมา ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถโดยไม่ใช้ความระมัดระวัง จึงเป็นการขับรถโดยประมาท พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นนั้นเป็นการพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในข้อที่โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก ซึ่งปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กรณีลูกจ้างไม่เข้าประชุม นายจ้างต้องลงโทษตามข้อบังคับเท่านั้น
ตามข้อบังคับในการปฏิบัติงานของห้างจำเลยระบุว่า ฝ่ายตรวจสอบ ต้องเข้าประชุมทุกเดือนตามแต่ทางห้างกำหนด.....ถ้าฝ่าฝืนจะถูก สั่งพักงานไม่น้อยกว่า 30 วัน ข้อบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็น ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิที่จะสั่งลงโทษพักงานโจทก์ได้ไม่น้อยกว่า 30 วัน การที่จำเลยลงโทษเลิกจ้างโจทก์เพราะไม่เข้าประชุม เป็นการลงโทษที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การที่โจทก์ไม่เข้าประชุมเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับในการปฏิบัติงานหรือคำสั่งของจำเลยซึ่งโจทก์เพียงแต่จะต้องถูกสั่งพักงานไม่น้อยกว่า 30 วันเท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเป็นกรณี ร้ายแรงอันจำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่เป็นการจงใจขัดคำสั่งของ นายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: นายจ้างต้องลงโทษตามข้อตกลงสภาพการจ้าง หากฝ่าฝืนต้องพักงานเท่านั้น เลิกจ้างไม่ได้
ตามข้อบังคับในการปฏิบัติงานของห้างจำเลยระบุว่า ฝ่ายตรวจสอบต้องเข้าประชุมทุกเดือนตามแต่ทางห้างกำหนด?. ถ้าฝ่าฝืนจะถูกสั่งพักงานไม่น้อยกว่า 30 วัน ข้อบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิที่จะสั่งลงโทษพักงานโจทก์ได้ไม่น้อยกว่า 30 วัน การที่จำเลยลงโทษเลิกจ้างโจทก์เพราะไม่เข้าประชุม เป็นการลงโทษที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่โจทก์ไม่เข้าประชุมเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับในการปฏิบัติงานหรือคำสั่งของจำเลยซึ่งโจทก์เพียงแต่จะต้องถูกสั่งพักงานไม่น้อยกว่า 30 วันเท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นการฝ่ายื่นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง อันจำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่เป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
การที่โจทก์ไม่เข้าประชุมเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับในการปฏิบัติงานหรือคำสั่งของจำเลยซึ่งโจทก์เพียงแต่จะต้องถูกสั่งพักงานไม่น้อยกว่า 30 วันเท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นการฝ่ายื่นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง อันจำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่เป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510-1511/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงาน: เหตุผลความผิดซ้ำคำเตือนต้องชัดเจนและต่อเนื่อง หากไม่ชัดเจน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยที่ 14 หยุดงานโดยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการลากิจ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับที่เคยได้รับคำเตือนในเรื่องขาดงานโดยยื่นใบลาป่วยและมาสายกับเรื่องแจ้งในใบลาเท็จดังนั้นยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 14 ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ซึ่งโจทก์ได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว อันจะเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1494/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีมลทินมัวหมอง และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
แม้โจทก์เป็นเพียงผู้มีมลทินมัวหมอง ไม่ถึงขั้นที่เรียกว่ากระทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง จำเลยจึงสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่มีมลทินหรือมัวหมอง เพราะโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งการกระทำของโจทก์ ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54
จำเลยสั่งพักงานโจทก์และได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์นับแต่วันที่สั่งให้โจทก์พักงาน ถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันแรกที่สั่งพักงานเป็นต้นไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างตั้งแต่นั้นมา.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่มีมลทินหรือมัวหมอง เพราะโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งการกระทำของโจทก์ ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54
จำเลยสั่งพักงานโจทก์และได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์นับแต่วันที่สั่งให้โจทก์พักงาน ถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันแรกที่สั่งพักงานเป็นต้นไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างตั้งแต่นั้นมา.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์และกรณีการฟ้องร้องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
โจทก์มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถตรากตรำทำงานในหน้าที่พนักงานเก็บค่าโดยสารและพนักงานขับรถอันเป็นงานหนักให้จำเลยได้ กรณีถือได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมีเหตุสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งสหภาพแรงงานฯ ที่โจทก์เป็นสมาชิกได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยโดยที่โจทก์มิได้กระทำความผิด อันเป็นการอ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 121 นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 124 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมดังกล่าว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งสหภาพแรงงานฯ ที่โจทก์เป็นสมาชิกได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยโดยที่โจทก์มิได้กระทำความผิด อันเป็นการอ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 121 นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 124 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์และการดำเนินการตามขั้นตอนการฟ้องร้องกรณีการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถตรากตรำทำงานในหน้าที่พนักงานเก็บค่าโดยสารและพนักงานขับรถอันเป็นงานหนักให้จำเลย ได้กรณีถือได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมีเหตุสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งสหภาพแรงงานฯ ที่โจทก์ เป็นสมาชิกได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยโดยที่โจทก์มิได้กระทำความผิด อันเป็นการอ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำ อันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา121 นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 124 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการกระทำ อันไม่เป็นธรรมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลความจำเป็นในการหยุดงานเพื่อดูแลภรรยาป่วย และการพิสูจน์เหตุอันสมควร
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน ปรากฏว่า วันที่ 31 มีนาคม 2529 เป็นวันจ่ายค่าจ้างเมื่อโจทก์รับค่าจ้างและเลิกงานเวลาประมาณ 17 นาฬิกา โจทก์ไปรับประทานอาหารกับเพื่อนแล้วโดยสารรถยนต์กลับจังหวัดสมุทรสงครามเมื่อเวลาประมาณ 22 นาฬิกา และถึงบ้านเมื่อเวลาประมาณ 23 นาฬิกาเศษ โจทก์ไม่เคยบอกเรื่องการป่วยของภรรยาโจทก์ให้ผู้ใดทราบ โจทก์เพิ่งนำภรรยาไปให้แพทย์ตรวจเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2529 แล้วพากลับบ้าน แสดงว่ามิได้ป่วยหนักพฤติการณ์เช่นนี้ยังไม่เป็นเหตุอันควรที่จำเลยจะหยุดงานได้โดยไม่ต้องขอลาหยุดต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้าง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)