คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุนท์ จันทรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,707 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุและการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีฆ่าผู้อื่น
ผู้ตายบุกรุกขึ้นไปบนบ้านจำเลยในเวลากลางคืนโดยผู้ตายกอดรัดคอพาพี่สาวจำเลยขึ้นไปเป็นตัวประกัน แล้วผู้ตายเตะทำลายทรัพย์สินต่าง ๆ บนบ้าน จำเลยกับพวกจึงวิ่งหลบหนีเข้าไปอยู่ในห้องนอนและปิดประตูไว้ ผู้ตายใช้เท้าถีบประตูห้องและร้องบอกให้ทุกคนออกมามิฉะนั้นจะฆ่าให้หมด ผู้ตายถีบประตูหลายครั้งจนประตูเปิดออกและจะเข้าไปทำร้ายจำเลย จำเลยจึงยิงผู้ตายล้มหงายลงกลางบ้านพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงอันจำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตน อย่างไรก็ตามเมื่อผู้ตายไม่มีอาวุธและได้ความว่าผู้ตายมีอาการมึนเมาสุรามาก การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึง 2 นัด จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4216/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการจากการเก็บรักษาเงินผิดระเบียบ ทำให้เงินสูญหาย
จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นหัวหน้าฝ่ายการคลังของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของทางราชการโดยไม่ส่งมอบเงินที่เหลือจ่ายให้แก่คณะกรรมการเก็บรักษาเงิน เพื่อให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยที่โจทก์ได้จัดไว้ให้ซึ่งมีลูกกุญแจ 3 ดอก แต่กลับนำเข้าเก็บไว้ในตู้นิรภัยที่มีลูกกุญแจดอกเดียว ทั้งยังนำลูกกุญแจตู้นิรภัยดังกล่าวไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยที่ 1 เมื่อมีคนร้ายมางัดโต๊ะทำงานของจำเลยที่ 1 และนำลูกกุญแจตู้นิรภัยไปไขตู้นิรภัยลักเอาเงินที่เก็บรักษาไว้ไปได้ ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นโดยตรงจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุในเรื่องหัวหน้าส่วนราชการไม่ทักท้วงสั่งการแก้ไขการปฏิบัติหน้าที่ที่ผิดระเบียบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินให้ถูกต้องมาเป็นเหตุว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4216/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาเงินของเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้เงินสูญหาย ต้องรับผิดทางละเมิด
จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นหัวหน้าฝ่ายการคลังของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของทางราชการ โดยไม่ส่งมอบเงินที่เหลือจ่ายให้แก่คณะกรรมการเก็บรักษาเงิน เพื่อให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยที่โจทก์ได้จัดไว้ให้ซึ่งมีลูกกุญแจ 3 ดอก แต่กลับนำเข้าเก็บไว้ในตู้นิรภัยที่มีลูกกุญแจดอกเดียว ทั้งยังนำลูกกุญแจตู้นิรภัยดังกล่าวไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยที่ 1 เมื่อมีคนร้ายมางัดโต๊ะทำงานของจำเลยที่ 1 และนำลูกกุญแจตู้นิรภัยไปไขตู้นิรภัยลักเอาเงินที่เก็บรักษาไว้ไปได้ ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นโดยตรงจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุในเรื่องหัวหน้าส่วนราชการไม่ทักท้วงสั่งการแก้ไขการปฏิบัติหน้าที่ที่ผิดระเบียบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินให้ถูกต้องมาเป็นเหตุว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นฟ้องซ้ำกับการฟ้องเรียกเงินสำรองที่เบิกไป
คดีก่อนจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์คดีนี้โดยกล่าวอ้างว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 และศาลได้พิพากษาตามยอมถึงที่สุดไปแล้ว ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินสำรองจากจำเลยโดยกล่าวหาว่าจำเลยเบิกเงินสำรองจากโจทก์ไปแล้วไม่ชำระคืน เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาหรือข้อตกลง มูลกรณีซึ่งเป็นเหตุแห่งการฟ้องเรียกและประเด็นซึ่งจะต้องวินิจฉัย จึงต่างเหตุและต่างประเด็นไม่ใช่เป็นเรื่องที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3886/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพัน แม้ศาลแพ่งยกฟ้องคดีละเมิด การชำระหนี้ตามสัญญาเป็นไปโดยมีมูล
โจทก์ขับรถยนต์ของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชนกับรถยนต์โดยสารปรับอากาศของบุคคลภายนอก คณะกรรมการสอบสวนของจำเลยมีมติว่าโจทก์เป็นฝ่ายประมาท โจทก์จึงทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมให้จำเลยหักเงินเดือนและเงินอื่น ๆ ของโจทก์เพื่อชำระหนี้ เกี่ยวกับอุบัติเหตุรายนี้เจ้าของรถยนต์โดยสารปรับอากาศได้ฟ้องโจทก์และจำเลยคดีนี้เรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด ศาลวินิจฉัยว่าเหตุที่รถชนกันไม่ได้เกิดจากความประมาทของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง ดังนี้การที่จำเลยหักเงินของโจทก์ไว้ตามสัญญารับสภาพหนี้ดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายของรถยนต์จำเลยและค่าช่วยเหลือผู้โดยสารในรถยนต์ของจำเลยที่บาดเจ็บที่จำเลยจ่ายไป จึงเป็นการที่จำเลยได้เงินมาโดยมีมูลจะอ้างกฎหมายได้ คำพิพากษาในคดีระหว่างบุคคลภายนอกกับโจทก์และจำเลยย่อมผูกพันระหว่างบุคคลเหล่านั้นเท่านั้น ความเสียหายของจำเลยที่โจทก์ยอมรับชดใช้ยังคงมีอยู่ หามีผลทำให้การชำระหนี้ของจำเลยกลับเป็นไม่มีมูลจะอ้างกฎหมายได้อีกไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างบังคับลูกจ้างทำทัณฑ์บนไม่ได้ ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ทัณฑ์บนเป็นหนังสือที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายทำให้แก่นายจ้างไว้เองด้วยความสมัครใจ โดยมีคำรับรองว่าลูกจ้างจะไม่กระทำผิดซ้ำอีก นายจ้างจึงไม่มีอำนาจที่จะบังคับลูกจ้างให้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้แก่ตนได้ การที่นายจ้างทำหนังสือทัณฑ์บนขึ้น แต่ลูกจ้างไม่ยอมลงลายมือชื่อในหนังสือนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง เมื่อนายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุนี้จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างไม่ลงนามในหนังสือทัณฑ์บน นายจ้างต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ทัณฑ์บนเป็นหนังสือที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายทำให้แก่นายจ้างไว้เองด้วยความสมัครใจ โดยมีคำรับรองว่าลูกจ้างจะไม่กระทำผิดซ้ำอีกนายจ้างจึงไม่อาจที่จะบังคับลูกจ้างให้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้แก่ตนได้การที่นายจ้างทำหนังสือทัณฑ์บนขึ้นแต่ลูกจ้างไม่ยอมลงลายมือชื่อในหนังสือนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง เมื่อนายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุนี้จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3878/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาของลูกจ้าง: นายจ้างไม่รับผิดชอบหากลูกจ้างสมัครใจและไม่มีข้อบังคับ
นายจ้างมิได้มีข้อบังคับกำหนดให้มีการแข่งขันกีฬาระหว่างลูกจ้างไว้เป็นกิจจะลักษณะ คำสั่งของนายจ้างที่สั่งว่า"อนุมัติให้จัดได้" เป็นเพียงอนุญาตให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างลูกจ้างได้เท่านั้น ส่วนลูกจ้างคนใดจะเข้าแข่งขันหรือไม่มิได้มีการบังคับอันจะถือว่าเป็นคำสั่งให้ลูกจ้างผู้นั้นต้องลงแข่งขัน เมื่อปรากฏว่าลูกจ้างสมัครใจลงแข่งเองและถึงแก่ความตายจึงถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างนายจ้างหาจำต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน, ละเมิดจากการก่อสร้าง, ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กับบริษัท ด. และบริษัท อ. ได้จดทะเบียนการค้าสำหรับงานก่อสร้างสะพานไว้กับกรมสรรพากรว่า "สาธรบริดจ์จอยเวนเจอร์"โดยมีอ. เป็นผู้มีอำนาจทำการแทน เช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่ากิจการ"สาธรบริดจ์จอยเวนเจอร์" ก็คือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งจำเลยที่ 1 กับบริษัทในต่างประเทศอีกสองบริษัทร่วมกันกระทำในประเทศไทยนั่นเอง ดังนั้นเมื่อรถยนต์บรรทุกของโจทก์ตกลงไปในหลุมที่ "สาธรบริดจ์จอยเวนเจอร์" ขุดไว้อันเป็นการละเมิดตามฟ้อง เกิดขึ้นในกิจการที่เป็นธรรมดาของ"สาธรบริดจ์จอยเวนเจอร์" จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นจากการละเมิดนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1050 โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1ได้ ทั้งการที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุน"สาธรบริดจ์จอยเวนเจอร์" สัญญาประกันภัยก็ผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วยเมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบต่อวินาศภัยที่เกิดขึ้นตามฟ้องโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน การรับผิดทางละเมิด และความรับผิดของบริษัทประกันภัย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กับบริษัท ด. และบริษัท อ. ได้จดทะเบียนการค้าสำหรับงานก่อสร้างสะพานไว้กับกรมสรรพากรว่า "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" โดยมี อ. เป็นผู้มีอำนาจทำการแทน เช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่ากิจการ " สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" ก็คือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งจำเลยที่ 1 กับบริษัทในต่างประเทศอีกสองบริษัทร่วมกันกระทำในประเทศไทยนั่นเอง ดังนั้นเมื่อรถยนต์บรรทุกของโจทก์ตกลงไปในหลุมที่ "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" ขุดไว้อันเป็นการละเมิดตามฟ้อง เกิดขึ้นในกิจการที่เป็นธรรมดาของ "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน ในการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นจากการละเมิดนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1050 โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งการที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุน "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" สัญญาประกันภัยก็ผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบต่อวินาศภัยที่เกิดขึ้นตามฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
of 171