คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุนท์ จันทรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,707 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยสถานะลูกจ้างที่ไม่ชัดเจน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางแสดงเหตุผลการรับฟังพยานหลักฐานให้ชัดเจน
คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยในประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ เพียงแต่สรุปเป็นข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในเบื้องต้นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย เพราะโจทก์ได้เปอร์เซ็นต์จากค่าขายโฆษณาและมีนามบัตรที่จำเลยให้โจทก์กับคณะไปแสดงต่อบุคคลภายนอกในการติดต่อหาโฆษณาว่าโจทก์และคณะอยู่ที่สำนักงานของจำเลย ไม่ได้วินิจฉัยหรือแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยให้ชัดแจ้งว่าที่รับฟังเช่นนั้นโจทก์มีพยานหลักฐานใดมาแสดง หรือศาลมีเหตุผลในการรับฟังอย่างไร จึงมีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาท เป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ซึ่งนำมาใช้บังคับในศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง และย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทให้ถูกต้องแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยสถานะลูกจ้างที่ไม่ชัดเจน ศาลต้องแสดงเหตุผลการรับฟังพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน
คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยในประเด็นว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ เพียงแต่สรุปเป็นข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในเบื้องต้นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย เพราะโจทก์ได้เปอร์เซ็นต์จากค่าขายโฆษณาและมีนามบัตรที่จำเลยให้โจทก์กับคณะไปแสดงต่อ บุคคลภายนอกในการติดต่อหาโฆษณาว่าโจทก์และคณะอยู่ที่สำนักงานของจำเลย ไม่ได้วินิจฉัยหรือแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยให้ชัดแจ้งว่าที่รับฟังเช่นนั้นโจทก์มีพยานหลักฐานใดมาแสดง หรือศาลมีเหตุผลในการรับฟังอย่างไร จึงมีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาท เป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยไมได้อุทธรณ์แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ซึ่งนำมาใช้บังคับในศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง และย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทให้ถูกต้องแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานปล้นทรัพย์และทำร้ายร่างกาย: ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วย มาตรา 340 ตรี ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่22 ปี 6 เดือน ถึง 30 ปี เป็นบทที่มีโทษเบากว่าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80,52(1) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษ ตามบทหนัก ศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้ อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อนี้ จึงพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท: ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ต้องมีคู่ความอุทธรณ์ฎีกาในประเด็นนั้น
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี ซึ้งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 22 ปี 6 เดือน ถึง 30 ปี เป็นบทที่มีโทษเบากว่าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80, 52 (1) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว
จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามบทหนัก ศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อนี้จึงพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการไล่แทงซ้ำๆ ด้วยอาวุธมีดอันตราย แม้ไม่สำเร็จก็เป็นความพยายามฆ่า
จำเลยมีปากเสียงกับผู้เสียหาย แล้วจำเลยถือมีดปลายแหลมตัวมีดยาว 6 นิ้ว วิ่งไล่แทงผู้เสียหายเป็นระยะทางประมาณ 100 เมตรเมื่อทันกันและผู้เสียหายล้ม จำเลยจ้วงแทงผู้เสียหายโดยแรง ด้วยมีดที่หน้าอก 2-3 ครั้งแต่ไม่ถูกเนื่องจากผู้เสียหายใช้กระดาน ไม้อัดปิดป้องและดันจำเลยออกไป การที่จำเลยใช้มีดปลายแหลมตัวมีดยาวถึง 6 นิ้ว เลือกแทงหน้าอกผู้เสียหายและแทงอย่างซ้ำซ้อนเช่นนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เมื่อจำเลยแทงไม่ถูกเพราะผู้เสียหายปิดป้องได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการไล่แทงด้วยมีดแหลมและการกระทำต่อเนื่องบ่งชี้ถึงเจตนาทำร้ายถึงชีวิต
จำเลยมีปากเสียงกับผู้เสียหาย แล้วจำเลยถือมีดปลายแหลมตัวมีดยาว 6 นิ้ว วิ่งไล่แทงผู้เสียหายเป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร เมื่อทันกันและผู้เสียหายล้ม จำเลยจึงแทงผู้เสียหายโดยแรงด้วยมีดที่หน้าอก 2-3 ครั้ง แต่ไม่ถูกเนื่องจากผู้เสียหายใช้กระดานไม้อัดปิดป้องและดันจำเลยออกไป การที่จำเลยใช้มีดปลายแหลมตัวมีดยาวถึง 6 นิ้ว เลือกแทงหน้าอกผู้เสียหายและแทงอย่างซ้ำซ้อนเช่นนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เมื่อจำเลยแทงไม่ถูกเพราะผู้เสียหายปิดป้องได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างปิดงานเมื่อข้อพิพาทแรงงานตกลงกันไม่ได้ และการดำเนินกิจการต่อไปได้
บริษัทจำเลยและสหภาพแรงงานฯ ซึ่งโจทก์เป็นสมาชิกอยู่ด้วยได้แจ้งข้อเรียกร้องเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อกัน แม้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยแล้วก็ไม่สามารถตกลงกันได้ จำเลยได้เสนอข้อตกลงไปยังลูกจ้างโดยตรง ลูกจ้างจำนวน 623 คน เห็นด้วยจึงทำสัญญาตามข้อเสนอของจำเลย โจทก์และลูกจ้างประมาณ 90 คน ไม่เห็นด้วยและไม่ยอมทำสัญญา จำเลยย่อมมีสิทธิปิดงานบางส่วนได้โดยชอบและไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์ในระหว่างปิดงาน
การปิดงานตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 5 มิได้บังคับว่านายจ้างต้องหยุดหรือปิดกิจการทั้งหมดและจะให้ลูกจ้างอื่นทำงานต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินกิจการไปตามปกติหรือมีสิทธิให้พนักงานอื่นเข้าทำงานต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของนายจ้างในการปิดงานเมื่อข้อเรียกร้องเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ไม่สามารถตกลงกันได้ และขอบเขตการดำเนินกิจการระหว่างปิดงาน
บริษัทจำเลยและสหภาพแรงงานฯ ซึ่งโจทก์เป็นสมาชิกอยู่ด้วยได้แจ้งข้อเรียกร้องเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อกันแม้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยแล้วก็ไม่สามารถตกลงกันได้ จำเลยได้เสนอข้อตกลงไปยังลูกจ้างโดยตรง ลูกจ้างจำนวน 623 คนเห็นด้วยจึงทำสัญญาตามข้อเสนอของจำเลยโจทก์และลูกจ้างประมาณ 90 คน ไม่เห็นด้วยและไม่ยอมทำสัญญาจำเลยย่อมมีสิทธิปิดงานบางส่วนได้โดยชอบและไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์ในระหว่างปิดงาน การปิดงานตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 5 มิได้บังคับว่านายจ้างต้องหยุดหรือปิดกิจการทั้งหมดและจะให้ลูกจ้างอื่นทำงานต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินกิจการไปตามปกติหรือมีสิทธิให้พนักงานอื่นเข้าทำงานต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดไม่รวมคำนวณค่าชดเชย เพราะไม่ใช่ค่าจ้างตามกฎหมาย
เงินค่าล่วงเวลา และเงินค่าทำงานในวันหยุดนั้น มิใช่ค่าจ้างเพราะมิใช่เงินหรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติของวันทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ ฉะนั้นเงินค่าล่วงเวลาและเงินค่าทำงานในวันหยุดจึงมิใช่ค่าจ้างที่จะนำมารวมเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาหลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ย่อมมีผลผูกพันหากกระทำโดยสมัครใจและปราศจากข่มขู่
โจทก์ทำใบขอรับเงินจำนวนหนึ่งจากจำเลยโดยมีข้อความว่า ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องเงิน สิทธิหรือประโยชน์อื่นใดจากจำเลยอีกเมื่อการทำใบขอรับเงินดังกล่าวได้กระทำหลังจากที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีอิสระแก่ตน พ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาจากจำเลยโดยสิ้นเชิงการทำเอกสารสละสิทธิตามที่กล่าวข้างต้นจึงเป็นไปตามความสมัครใจโดยแท้จริงการสละสิทธิดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้.
of 171