คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุนท์ จันทรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,707 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำร้องเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ การนำสืบข้อเท็จจริงในชั้นศาล และหน้าที่ในการนำสืบหักล้าง
การพิจารณาคำร้องเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 41,121,124 ต้องปรับด้วยมาตรา 43 มิใช่มาตรา 28ซึ่งเป็นการพิจารณาข้อพิพาทของผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานพระราชบัญญัติ ญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 43 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสำหรับการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงสำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดตาม มาตรา41 แต่มาตราทั้งสองก็หาได้บัญญัติว่า ข้อเท็จจริงที่ได้ มาตามมาตรา 43 ถือเป็นยุติไม่และเมื่อผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหานำคดีไปสู่ศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้ายแล้วคู่ความย่อมนำสืบข้อเท็จจริงได้ทุกอย่างทุกประการเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์และให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีตามความต้องการ ของพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 44,45 การสืบพยานในคดีแรงงานมีข้อแตกต่างจากคดีแพ่งสามัญโดยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 45 วรรคสองให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน การที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงทั้งหลายในคดีได้ ย่อมถือได้ว่าศาลแรงงานกลางอนุญาตแล้ว แม้ว่าโจทก์จะมิได้นำสืบข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ โจทก์ก็นำสืบข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาต่อศาลได้ และจำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังหลักฐานนอกเหนือจากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
การพิจารณาคำร้องเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 41, 121, 124 ต้องปรับด้วยมาตรา 43 มิใช่มาตรา 28 ซึ่งเป็นการพิจารณาข้อพิพาทของผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 43 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารการปฏิบัติการตามหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงสำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 41 แต่มาตราทั้งสองก็หาได้บัญญัติว่า ข้อเท็จจริงที่ได้มาตามมาตรา 43 ถือเป็นยุติไม่ และเมื่อผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหานำคดีไปสู่ศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้ายแล้วคู่ความย่อมนำสืบข้อเท็จจริงได้ทุกอย่างทุกประการ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์และให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีตามความต้องการของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 44, 45
การสืบพยานในคดีแรงงานมีข้อแตกต่างจากคดีแพ่งสามัญโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 45 วรรคสองให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานการที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงทั้งหลายในคดีได้ย่อมถือได้ว่าศาลแรงงานกลางอนุญาตแล้วแม้ว่าโจทก์จะมิได้นำสืบข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ โจทก์ก็นำสืบข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาต่อศาลได้ และจำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335-1336/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้แทนดำเนินคดีแรงงาน และการสิ้นสุดสภาพการจ้าง การจ่ายเงินสะสม-สมทบ
การที่โจทก์หลายคนแต่งตั้งโจทก์คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้แทนดำเนินคดีแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 35 และข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ข้อ 1 เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดวิธีการแต่งตั้งไว้โดยเฉพาะ แตกต่างจากการที่คู่ความในคดีแพ่งธรรมดามอบอำนาจหรือตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้แทนในการดำเนินคดีอันจะต้องปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร เอกสารแสดงการแต่งตั้งดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
โจทก์ฟ้องเรียกเงินสะสม เงินสมทบและค่าจ้างที่ค้างชำระ เมื่อคำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงสิทธิของโจทก์และหน้าที่ของจำเลย รวมทั้งข้อโต้แย้งที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับการทำงาน และคำขอบังคับในจำนวนเงินที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับ แม้จะไม่ระบุว่าจะเลยหักเงินสะสมไว้อย่าไร เพียงใด และรายละเอียดของเงินสมทบมีมาอย่างไร คำฟ้องของโจทก็แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว
ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ทุกคนได้ลาออกจากบริษัทจำเลยซึ่งหมายความว่าสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่สิ้นสุด เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าจำเลยจะต้องรับผิดจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบให้โจทก์หรือไม่จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นรอการลงโทษ เนื่องจากศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษจำคุกเป็นกักขังเล็กน้อย เป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 20 วัน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษกักขัง 20 วัน แทนโทษจำคุก เป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นฎีกาดุลพินิจในการวางโทษจำเลยขอศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษจากจำคุกเป็นกักขังและการจำกัดสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 20 วัน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษกักขัง 20 วัน แทนโทษจำคุก เป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นฎีกาดุลพินิจในการวางโทษจำเลยของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงและการแก้ไขโทษจากจำคุกเป็นกักขัง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 20 วัน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษกักขัง 20 วัน แทนโทษจำคุก เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นฎีกาดุลพินิจในการวางโทษจำเลยขอศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแรงงาน: สัญญาจ้างแรงงาน vs. ละเมิด - การฟ้องผิดหน้าที่ลูกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 1เป็นหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่ควบคุมดูแลให้พนักงานการเงินนำค่าโดยสารเก็บเข้าตู้เซฟ จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานการเงินมีหน้าที่ ควบคุมดูแลพนักงานการเงินแทนจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 มิได้มาปฏิบัติหน้าที่ จำเลยทั้งสองไม่ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่เป็นเหตุให้พนักงานการเงินยักยอกเงินค่าโดยสารของโจทก์ไปทำให้ โจทก์เสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองบกพร่องต่อหน้าที่อันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานในการควบคุมดูแลพนักงานการเงิน มีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะนำอายุความ1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาปรับแก่คดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีสัญญาจ้างแรงงาน: การฟ้องผิดสัญญาจ้าง vs. มูลละเมิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่ควบคุมดูแลให้พนักงานการเงินนำค่าโดยสารเก็บเข้าตู้เซฟ จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานการเงินมีหน้าที่ควบคุมดูแลพนักงานการเงินแทนจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 มิได้มาปฏิบัติหน้าที่ จำเลยทั้งสองไม่ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นเหตุให้พนักงานการเงินยักยอกเงินค่าโดยสารของโจทก์ไป ทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองบกพร่องต่อหน้าที่อันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานในการควบคุมดูแลพนักงานการเงิน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาปรับแก่คดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแรงงาน: สัญญาจ้างแรงงาน vs. ละเมิด - การฟ้องเรียกร้องความรับผิดจากลูกจ้างที่บกพร่องต่อหน้าที่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่ควบคุมดูแลให้พนักงานการเงินนำค่าโดยสารเก็บเข้าตู้เซฟ จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานการเงินมีหน้าที่ควบคุมดูแลพนักงานการเงินแทนจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 มิได้มาปฏิบัติหน้าที่ จำเลยทั้งสองไม่ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นเหตุให้พนักงานการเงินยักยอกเงินค่าโดยสารของโจทก์ไป ทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองบกพร่องต่อหน้าที่อันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานในการควบคุมดูแลพนักงานการเงินมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาปรับแก่คดีไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนลูกจ้าง: ไม่ถือเป็นหนี้อื่นตามประกาศ มท. หากเกี่ยวข้องกับสัญญาจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 30 ห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักจากเงินค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง คำว่า "หนี้อื่น" นี้หมายถึงหนี้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง การที่โจทก์มีสิทธิเข้าพักอาศัยอยู่ในบ้านของบริษัทจำเลยนั้น ก็เพราะโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย แม้โจทก์จะเสียเงินค่าเช่าเดือนละ 300 บาท และค่าไฟฟ้าก็เป็นจำนวนน้อยมาก สิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลย หนี้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนี้อันเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง หาใช่หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 ไม่จำเลยมีสิทธิหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนของโจทก์ได้
of 171