พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,707 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนลูกจ้าง: ไม่ถือเป็นหนี้อื่นตามประกาศ มท. หากเกี่ยวข้องกับสัญญาจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 30 ห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักจากเงินค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง คำว่า "หนี้อื่น" นี้หมายถึงหนี้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง การที่โจทก์มีสิทธิเข้าพักอาศัยอยู่ในบ้านของบริษัทจำเลยนั้น ก็เพราะโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย แม้โจทก์จะเสียเงินค่าเช่าเดือนละ 300 บาท และค่าไฟฟ้าก็เป็นจำนวนน้อยมาก สิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลย หนี้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนี้อันเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง หาใช่หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 ไม่จำเลยมีสิทธิหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากค่าจ้างลูกจ้าง: หนี้ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานไม่ใช่ 'หนี้อื่น' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 30 ห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักจากเงินค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง คำว่า 'หนี้อื่น' นี้หมายถึงหนี้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง การที่โจทก์มีสิทธิเข้าพักอาศัยอยู่ในบ้านของบริษัทจำเลยนั้น ก็เพราะโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย แม้โจทก์จะเสียเงินค่าเช่าเดือนละ 300บาท และค่าไฟฟ้าก็เป็นจำนวนน้อยมาก สิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลย หนี้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนี้อันเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง หาใช่หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 ไม่จำเลยมีสิทธิหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดอ้อยในที่ดินพิพาท แม้ไม่ทราบเจ้าของ แต่เป็นการทำให้เสียทรัพย์
จำเลยทราบดีว่าอ้อยที่จำเลยสั่งให้คนงานตัดเป็นของผู้อื่นที่มาไถพืชผลของจำเลยที่ปลูกไว้ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งโจทก์ร่วมและจำเลยพิพาทแย่งสิทธิครอบครองกันอยู่แล้วปลูกอ้อยขึ้นแทน แม้จำเลยจะไม่ทราบว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของอ้อยและก่อนตัดอ้อยจำเลยจะได้แจ้งความให้เจ้าพนักงานตำรวจรับทราบไว้ล่วงหน้าก็ตาม จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะตัดอ้อยดังกล่าว การที่จำเลยสั่งให้ตัดอ้อยของโจทก์ร่วมจึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 359 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดอ้อยของผู้อื่นในที่พิพาท แม้แจ้งความแล้ว ก็ถือเป็นทำให้เสียทรัพย์
จำเลยทราบดีว่าอ้อยที่จำเลยสั่งให้คนงานตัดเป็นของผู้อื่น ที่มาไถพืชผลของจำเลยที่ปลูกไว้ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งโจทก์ร่วม และจำเลยพิพาทแย่งสิทธิครอบครองกันอยู่แล้วปลูกอ้อยขึ้นแทน แม้จำเลยจะไม่ทราบว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของอ้อยและก่อนตัดอ้อย จำเลยจะได้แจ้งความให้เจ้าพนักงานตำรวจรับทราบไว้ล่วงหน้า ก็ตาม จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะตัดอ้อยดังกล่าว การที่จำเลยสั่งให้ ตัดอ้อยของโจทก์ร่วมจึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 359(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดอ้อยของผู้อื่นในที่ดินพิพาท แม้แจ้งความแล้วก็เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
จำเลยทราบดีว่าอ้อยที่จำเลยสั่งให้คนงานตัดเป็นของผู้อื่นที่มาไถพืชผลของจำเลยที่ปลูกไว้ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งโจทก์ร่วมและจำเลยพิพาทแย่งสิทธิครอบครองกันอยู่แล้วปลูกอ้อยขึ้นแทน แม้จำเลยจะไม่ทราบว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของอ้อยและก่อนตัดอ้อยจำเลยจะได้แจ้งความให้เจ้าพนักงานตำรวจรับทราบไว้ล่วงหน้าก็ตาม จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะตัดอ้อยดังกล่าว การที่จำเลยสั่งให้ตัดอ้อยของโจทก์ร่วมจึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 359(4).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลา: การพิจารณาเจตนาของคู่สัญญาและข้อความในสัญญาเป็นสำคัญ
สัญญาใดจะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ต้องพิจารณาจากเจตนาของนายจ้างและลูกจ้างขณะทำสัญญาประกอบข้อความในสัญญานั้นเป็นประการสำคัญ ส่วนการที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะดำเนินกิจการชั่วคราวอันอาจเลิกกิจการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งได้หรือไม่หาใช่ข้อสำคัญในการนำมาวินิจฉัยไม่ เมื่อปรากฏว่าข้อความในสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาแน่นอน และสัญญาจ้างสิ้นสุดลงตามกำหนดเวลานั้นแล้ว เช่นนี้ต้องถือว่าไม่ใช่กรณีที่จำเลยเลิกจ้างอันจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นข้อเท็จจริงอันต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคแรก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นข้อเท็จจริงอันต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคแรก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197-1206/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงไม่ใช่ค่าจ้างเมื่อลูกจ้างกลับประจำบริษัท เลิกจ้างไม่รวมเบี้ยเลี้ยงคำนวณค่าชดเชย
เมื่อการก่อสร้างอาคารในต่างจังหวัดเสร็จลง โจทก์ต้องเดินทางกลับมาประจำบริษัทจำเลยเพื่อรอฟังคำสั่งให้ไปควบคุมงานในโครงการอื่นต่อไประหว่างรองานที่บริษัทจำเลย โจทก์คงได้รับเงินเดือนเพียงอย่างเดียวไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยง เบี้ยเลี้ยงจึงเป็นเงินตอบแทนในการทำงานเฉพาะในเวลาที่โจทก์ออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดเท่านั้น มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้าง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ระหว่างรองานอยู่ที่บริษัทจำเลย จึงไม่ต้องนำเบี้ยเลี้ยงมารวมคำนวณค่าชดเชยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197-1206/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงไม่ใช่ค่าจ้างเมื่อลูกจ้างกลับประจำบริษัทรอคำสั่ง ค่าชดเชยคำนวณจากเงินเดือน
เมื่อการก่อสร้างอาคารในต่างจังหวัดเสร็จลง โจทก์ต้องเดินทางกลับมาประจำบริษัทจำเลยเพื่อรอฟังคำสั่งให้ไปควบคุมงานในโครงการอื่นต่อไประหว่างรองานที่บริษัทจำเลย โจทก์คงได้รับเงินเดือนเพียงอย่างเดียวไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงเบี้ยเลี้ยงจึงเป็นเงินตอบแทนในการทำงานเฉพาะในเวลาที่โจทก์ออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดเท่านั้น มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้าง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ระหว่างรองานอยู่ที่บริษัทจำเลย จึงไม่ต้องนำเบี้ยเลี้ยงมารวมคำนวณค่าชดเชยด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานและอายุความฟ้องคดีจากความเสียหายจากการขับรถของลูกจ้าง
โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดในคดีนี้รวมกับข้อหาอื่นที่ศาลแพ่ง และอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่า ข้อหาที่โจทก์ฟ้องคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสองโจทก์จึงแยกข้อหาคดีนี้มาฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ขับรถของโจทก์ด้วยความประมาทชนท้ายรถโดยสารประจำทางเป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เช่นนี้เป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานและในมูลละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทาง สำหรับสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนครบกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ขับรถของโจทก์ด้วยความประมาทชนท้ายรถโดยสารประจำทางเป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เช่นนี้เป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานและในมูลละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทาง สำหรับสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนครบกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ หากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน แม้จ่ายค่าชดเชยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่นายจ้างขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยกล่าวหาว่ากระทำผิดนั้น การเลิกจ้างจำต้องอยู่ภายใต้บังคับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อความผิดฐานแจ้งอาการป่วยด้วยความเท็จตามระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องกำหนดให้ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้ก็ต่อเมื่อได้ลงโทษด้วยการเตือนเป็นหนังสือก่อนแล้ว ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเคยลงโทษผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกจ้างด้วยการเตือนเป็นหนังสือมาก่อน แม้ผู้ร้องจะขอเลิกจ้างโดยยินยอมจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ไม่ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้าง.